กระทู้นี้ขอเอาเรื่องของแอร์ LG รุ่นประหยัด ราคาถูก มาแบ่งปัน เพราะเห็นว่าหน้าร้อนนี้ ความนิยมซื้อแอร์ก็มีมาก และก็มีแอร์รุ่นประหยัดราคาแสนถูก ออกมาแข่งขันในท้องตลาดอยู่บ้าง ซึ่งหลายๆท่านที่กำลังตัดสินใจจะซื้อเพราะว่าราคาถูกจนน่าสนใจ ขอให้คิดดูให้ละเอียดหน่อยก็จะดี เพราะของถูกและดี อาจจะไม่มีในโลกก็เป็นได้
ที่มาที่ไปก็เนื่องมาจากช่วงวันหยุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเพิ่งได้มีโอกาสไปติดแอร์เครื่องหนึ่ง งานนี้ผมลงไปติดให้ด้วยตัวเอง เพราะเป็นงานแบบเอ่ยปากขอช่วยจากเพื่อนของผม แม้ว่าการติดตั้งจะต้องเดินทางข้ามจังหวัด แต่ก็ต้องไปให้เพราะถือเป็นงานของพรรคพวกเพื่อนสนิทที่รู้จักกันมานาน ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็เลยถือเป็นโอกาสดีมีเวลาว่างมาจัดการให้
แอร์ที่ติดเป็นแอร์ขนาด 9,000 ของ LG รุ่น K10H GREEN ECONO+ ใช้น้ำยา R410a ซึ่งตัวนี้เป็นโมเดลรุ่นล่าสุด จัดว่าเป็นรุ่นระดับล่างๆของ LG ซึ่งเน้นทำตลาดที่ราคาประหยัด
และแอร์ตัวที่ผมไปติดตั้งให้เพื่อนเครื่องนี้ ก็เป็นแอร์แม่ของเพื่อนไปได้มา จากร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่งแถวละแวกบ้านเขา ซึ่งกำลังจัดโปรโมชั่นลดราคา เมื่อตอนช่วงก่อนสงกรานต์ ในราคาที่ถูกมาก ราวๆแปดพันปลายๆ
เนื่องจากตอนที่ไปติดตั้ง ไม่ได้คิดไว้แต่แรกว่าจะทำรีวิวแบบละเอียดเพราะไม่ใช้แอร์ที่ติดให้กับบ้านตนเอง เลยไม่ได้ถ่ายภาพรายละเอียดเริ่มตั้งแต่ตอนเปิดกล่อง
ชุดคอยล์เย็น หลังจากติดตั้งเสร็จ
ชุดคอยล์ร้อนที่ถูกติดตั้ง
แผงคอยล์ร้อนแบบอลูมิเนียม
และในจุดนี้ก็ถือเป็นประเด็นหลักที่อยากจะนำมาพูดถึง และเป็นสาเหตุที่ผมตัดสินใจนำมาแชร์ ก็คือ
ชุดท่อน้ำยาที่มากับตัวเครื่อง ที่ถูกยัดใส้ด้วยท่ออลูมิเนียมเพื่อลดต้นทุน
และแอร์เครื่องนี้ ส่วนท่อทางเดินของน้ำยา มีอยู่เพียงส่วนน้อยที่ใช้เป็นทองแดง นอกนั้นคืออลูมิเนียม
ตั้งแต่แกะกล่องเลย ชุดท่อน้ำยาของแอร์ตัวนี้ ไม่ได้แพ็คชุดท่อใส่ในกล่องแยกออกมาเฉพาะชุดท่อ แบบที่แอร์หลายๆยี่ห้อทำกัน แต่ท่อถูกซีลใส่ห้อพลาสติกใส่รวมมาในลังของชุดคอยล์ร้อน น้ำหนักของขดท่อแต่และม้วนที่หยิบออกมาในตอนแรกก็เบาแปลกๆ
แถมท่อแอร์ของ LG ที่มากับชุดแอร์เครื่องนี้ ยังได้จัดชุดมาเรียบร้อย โดยมีการบานแฟร์สำหรับขันต่อเข้าที่ตัวเครื่อง บริเวณปลายท่อทั้งสอง มาให้พร้อม ที่ฉนวนยางหุ้มท่อ ก็ได้ติดกาวไว้กับท่อเรียบร้อย ซึ่งเป็นการจงใจจัดมาให้เป็นชุดเพื่อที่ให้ช่างติดตั้งโดยไม่ต่อดำเนินการใดๆกับท่อ อันนี้จะว่าไปมันก็ดีอยู่ แต่มองอีกมุมก็เหมือนจะจงใจหมกเม็ดไม่ให้เห็นท่อด้านใน
แต่ระหว่างที่ติดตั้งไปนั้น ก่อนจะต่อท่อเข้าชุดคอยล์ร้อน ผมก็ลองกรีดฉนวนหุ้มเพื่อดูท่อด้านใน ซึ่งหลังจากเห็นท่อด้านในครั้งแรกก็รู้สึกงงกับสีท่อ เพราะสีที่เห็นคือสีน้ำตาลแดงที่จกใจเลียนแบบให้เป็นสีทองแดง แต่ขอโทษที มันไม่เนียนเลย ท้ายที่สุดจึงตัดสินใจเอามีดคัทเตอร์กรีดที่ผิว แล้วแล้วความจริงก็ปรากฏ ท่อด้านในยัดใส้ไว้ด้วยอลูมิเนียมเกื่อบทั้งหมดของความยาวที่มี
เจอท่อที่เชื่อมหลอกด้วยทองแดงไว้ที่หัวท้ายแบบกรณีนี้ การติดตั้งที่ใช้ท่อไม่ถึง 4 เมตร ท่อส่วนที่เหลือจึงต้องขดม้วนหลบเอาไว้ ไม่เหมาะที่จะตัดต่อท่อเพิ่มเติมนอกเหนือจากชุดที่ให้มา เพราะหากตัดส่วนเกินที่เป็นทองแดงออกไป จะเหลือส่วนของท่ออลูมิเนียมซึ่งท่ออลูมิเนียมแบบนี้ก็อาจจจะไม่เหมาะสำหรับการบานท่อเพื่อสวมข้อต่อแบบแฟร์นัท เพราะเสียงต่อการรั่วซึม
--------------------------------------------------------------------------------------
จะว่าไปแล้ว ท่ออลูมิเนียมกับงานเครื่องทำความเย็น ตามหลักนั้นก็มีการนำมาใช้งานอยู่สำหรับงานเครื่องเย็นอื่นๆ
และในกรณีของแอร์บ้านยุคหลังๆมานี้ก็จะเห็นได้ว่าแผงคอยล์ร้อนแบบอลูมิเนียมล้วน เริ่มเข้ามาแทนที่แผงคอยล์ร้อนแบบเดิม
แต่สำหรับการติดตั้งแอร์บ้าน ส่วนของชุดท่อที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างตัวเครื่องด้านในและด้านนอก มาตรฐานทั่วไปจะใช้เป็นท่อทองแดง ซึ่งก็ใช้มานานแล้ว ด้านความทนทานจึงไม่ต้องพูดถึง แต่ในกรณีท่ออลูมิเนียม การนำมาใช้แบบนี้ อาจจะมีปัญหาในระยะยาวก็เป็นได้ โดยเฉพาะการรั่วซึมบริเวณรอยต่อระหว่างท่อ ซึ่งเป็นโลหะต่างชนิดกัน
จะว่าไป ผมเองอยู่กับแอร์มาหลายปี เรียกได้ว่าโตมากับร้านแอร์ แต่นี่ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เจอท่อแอร์แบบยัดไส้ด้วยตนเอง แม้ช่วงหลังมานี้ก็เคยได้ยินมาบ้าง เกี่ยวกับท่ออลูมิเนียมที่เริ่มถูกนำเข้ามาใช้ในการติดตั้งแอร์ แต่เพราะช่วงหลังๆ ผมเองไม่ค่อยได้ลงไปลุยหน้างานเองบ่อยเหมือนในอดีต ครั้งนี้เลยเหมือนจะเสียความรู้สึกกับแอร์ LG แต่ก็ต้องเข้าใจครับ ว่าราคาขายที่ถูก ผู้ผลิตเลยต้องลดต้นทุนในทุกๆส่วนที่สามารถทำได้
ซึ่งใครเห็นแอร์ราคาถูกๆก็ลองชั่งใจดูให้ดีๆก่อน เพราะถ้าซื้อมาใช้แค่ชั่วครั้งชั่วคราวไม่กี่ปี ก็ยังพอไหวอยู่
แต่ถ้าซื้อมาใช้งานระยะยาว คาดหวังว่ามันจะต้องอยู่เป็นห้าปีสิบปี อันนี้อาจจะไม่เป็นตามที่คาด ก็เป็นได้
สิ่งที่อยากจะนำมาฝาก หลังจากไปติดแอร์ LG - GREEN ECONO+ (รุ่นประหยัด)
ที่มาที่ไปก็เนื่องมาจากช่วงวันหยุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเพิ่งได้มีโอกาสไปติดแอร์เครื่องหนึ่ง งานนี้ผมลงไปติดให้ด้วยตัวเอง เพราะเป็นงานแบบเอ่ยปากขอช่วยจากเพื่อนของผม แม้ว่าการติดตั้งจะต้องเดินทางข้ามจังหวัด แต่ก็ต้องไปให้เพราะถือเป็นงานของพรรคพวกเพื่อนสนิทที่รู้จักกันมานาน ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็เลยถือเป็นโอกาสดีมีเวลาว่างมาจัดการให้
แอร์ที่ติดเป็นแอร์ขนาด 9,000 ของ LG รุ่น K10H GREEN ECONO+ ใช้น้ำยา R410a ซึ่งตัวนี้เป็นโมเดลรุ่นล่าสุด จัดว่าเป็นรุ่นระดับล่างๆของ LG ซึ่งเน้นทำตลาดที่ราคาประหยัด
และแอร์ตัวที่ผมไปติดตั้งให้เพื่อนเครื่องนี้ ก็เป็นแอร์แม่ของเพื่อนไปได้มา จากร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่งแถวละแวกบ้านเขา ซึ่งกำลังจัดโปรโมชั่นลดราคา เมื่อตอนช่วงก่อนสงกรานต์ ในราคาที่ถูกมาก ราวๆแปดพันปลายๆ
เนื่องจากตอนที่ไปติดตั้ง ไม่ได้คิดไว้แต่แรกว่าจะทำรีวิวแบบละเอียดเพราะไม่ใช้แอร์ที่ติดให้กับบ้านตนเอง เลยไม่ได้ถ่ายภาพรายละเอียดเริ่มตั้งแต่ตอนเปิดกล่อง
และในจุดนี้ก็ถือเป็นประเด็นหลักที่อยากจะนำมาพูดถึง และเป็นสาเหตุที่ผมตัดสินใจนำมาแชร์ ก็คือ ชุดท่อน้ำยาที่มากับตัวเครื่อง ที่ถูกยัดใส้ด้วยท่ออลูมิเนียมเพื่อลดต้นทุน
และแอร์เครื่องนี้ ส่วนท่อทางเดินของน้ำยา มีอยู่เพียงส่วนน้อยที่ใช้เป็นทองแดง นอกนั้นคืออลูมิเนียม
ตั้งแต่แกะกล่องเลย ชุดท่อน้ำยาของแอร์ตัวนี้ ไม่ได้แพ็คชุดท่อใส่ในกล่องแยกออกมาเฉพาะชุดท่อ แบบที่แอร์หลายๆยี่ห้อทำกัน แต่ท่อถูกซีลใส่ห้อพลาสติกใส่รวมมาในลังของชุดคอยล์ร้อน น้ำหนักของขดท่อแต่และม้วนที่หยิบออกมาในตอนแรกก็เบาแปลกๆ
แถมท่อแอร์ของ LG ที่มากับชุดแอร์เครื่องนี้ ยังได้จัดชุดมาเรียบร้อย โดยมีการบานแฟร์สำหรับขันต่อเข้าที่ตัวเครื่อง บริเวณปลายท่อทั้งสอง มาให้พร้อม ที่ฉนวนยางหุ้มท่อ ก็ได้ติดกาวไว้กับท่อเรียบร้อย ซึ่งเป็นการจงใจจัดมาให้เป็นชุดเพื่อที่ให้ช่างติดตั้งโดยไม่ต่อดำเนินการใดๆกับท่อ อันนี้จะว่าไปมันก็ดีอยู่ แต่มองอีกมุมก็เหมือนจะจงใจหมกเม็ดไม่ให้เห็นท่อด้านใน
แต่ระหว่างที่ติดตั้งไปนั้น ก่อนจะต่อท่อเข้าชุดคอยล์ร้อน ผมก็ลองกรีดฉนวนหุ้มเพื่อดูท่อด้านใน ซึ่งหลังจากเห็นท่อด้านในครั้งแรกก็รู้สึกงงกับสีท่อ เพราะสีที่เห็นคือสีน้ำตาลแดงที่จกใจเลียนแบบให้เป็นสีทองแดง แต่ขอโทษที มันไม่เนียนเลย ท้ายที่สุดจึงตัดสินใจเอามีดคัทเตอร์กรีดที่ผิว แล้วแล้วความจริงก็ปรากฏ ท่อด้านในยัดใส้ไว้ด้วยอลูมิเนียมเกื่อบทั้งหมดของความยาวที่มี
เจอท่อที่เชื่อมหลอกด้วยทองแดงไว้ที่หัวท้ายแบบกรณีนี้ การติดตั้งที่ใช้ท่อไม่ถึง 4 เมตร ท่อส่วนที่เหลือจึงต้องขดม้วนหลบเอาไว้ ไม่เหมาะที่จะตัดต่อท่อเพิ่มเติมนอกเหนือจากชุดที่ให้มา เพราะหากตัดส่วนเกินที่เป็นทองแดงออกไป จะเหลือส่วนของท่ออลูมิเนียมซึ่งท่ออลูมิเนียมแบบนี้ก็อาจจจะไม่เหมาะสำหรับการบานท่อเพื่อสวมข้อต่อแบบแฟร์นัท เพราะเสียงต่อการรั่วซึม
จะว่าไปแล้ว ท่ออลูมิเนียมกับงานเครื่องทำความเย็น ตามหลักนั้นก็มีการนำมาใช้งานอยู่สำหรับงานเครื่องเย็นอื่นๆ
และในกรณีของแอร์บ้านยุคหลังๆมานี้ก็จะเห็นได้ว่าแผงคอยล์ร้อนแบบอลูมิเนียมล้วน เริ่มเข้ามาแทนที่แผงคอยล์ร้อนแบบเดิม
แต่สำหรับการติดตั้งแอร์บ้าน ส่วนของชุดท่อที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างตัวเครื่องด้านในและด้านนอก มาตรฐานทั่วไปจะใช้เป็นท่อทองแดง ซึ่งก็ใช้มานานแล้ว ด้านความทนทานจึงไม่ต้องพูดถึง แต่ในกรณีท่ออลูมิเนียม การนำมาใช้แบบนี้ อาจจะมีปัญหาในระยะยาวก็เป็นได้ โดยเฉพาะการรั่วซึมบริเวณรอยต่อระหว่างท่อ ซึ่งเป็นโลหะต่างชนิดกัน
จะว่าไป ผมเองอยู่กับแอร์มาหลายปี เรียกได้ว่าโตมากับร้านแอร์ แต่นี่ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เจอท่อแอร์แบบยัดไส้ด้วยตนเอง แม้ช่วงหลังมานี้ก็เคยได้ยินมาบ้าง เกี่ยวกับท่ออลูมิเนียมที่เริ่มถูกนำเข้ามาใช้ในการติดตั้งแอร์ แต่เพราะช่วงหลังๆ ผมเองไม่ค่อยได้ลงไปลุยหน้างานเองบ่อยเหมือนในอดีต ครั้งนี้เลยเหมือนจะเสียความรู้สึกกับแอร์ LG แต่ก็ต้องเข้าใจครับ ว่าราคาขายที่ถูก ผู้ผลิตเลยต้องลดต้นทุนในทุกๆส่วนที่สามารถทำได้
ซึ่งใครเห็นแอร์ราคาถูกๆก็ลองชั่งใจดูให้ดีๆก่อน เพราะถ้าซื้อมาใช้แค่ชั่วครั้งชั่วคราวไม่กี่ปี ก็ยังพอไหวอยู่
แต่ถ้าซื้อมาใช้งานระยะยาว คาดหวังว่ามันจะต้องอยู่เป็นห้าปีสิบปี อันนี้อาจจะไม่เป็นตามที่คาด ก็เป็นได้