ผมเฝ้าดูความเป็นไปในสังคมไทย มานานนับสิบปี ในสภาพความขัดแย้งและเกลียดชัง สิ่งหนึ่งที่ได้รับ คือความสะเทือนใจ และเวทนา ที่ชนชาติหนึ่งมีความขัดแย้งด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง แต่ใช้เวลาในการเยียวยารักษาบาดแผลที่ลึกลงไปในจิตใจนานสิบปี ทั้งที่มันก็ไม่ได้มีเเรื่องอะไรที่ร้ายแรง เรื่องเพียงเล็กน้อย ความเข้าใจที่ผิด การเสพข้อมูลข่าวสารที่ผิดกันคนละขั้ว ความคิดที่แตกต่าง และความรู้ที่ไม่เท่าเทียมกัน มันคุ้มค่ามั้ย แน่นอนว่าเป็นใครใครก็บอกว่า ไม่คุ้มเลยสักนิดเดียว จนวันนี้ยังไม่มีวี่แววว่าทุกคน จะออกจากหลุมดำแห่งความเชื่อผิดๆ ที่สื่อสารเฮงซวยยัดเยียดให้ อันนี้แหละน่าเวทนาสังคมไทย!!
แต่ถ้าเราจะคิดว่าความขัดแย้งมันต้องได้อะไรเสียอะไร แน่นอน ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และเศรษฐกิจมากมายประเมินค่ามิได้ แต่ส่วนได้ล่ะ ไม่ใช่ว่าไม่มี การที่เกิดความขัดแย้งขึ้น มันสร้างการเรียนรู้ว่า เบื้องหลังความจริง ความจริงใจ ความชั่วร้ายคิดคด ทรยศ หักหลัง และสังคมชนเผ่าพันธุ์ได้เรียนรู้ถึงคุณถึงโทษ ที่ผ่านมานั้น ทุกอย่างคือบทเรียนทั้งสิ้น ความเชื่อ การรับฟังนักปลุกระดม ความเชื่อ ความเกลียดชัง และความขัดแย้ง การเดินขบวนต่อต้าน การปราบปราม การฆ่า การบาดเจ็บล้มตาย การยึดอำนาจ การเปลี่ยนแปลง การปฎิรูป การได้มาซึ่งผู้นำ คือสิบปี ที่เราร่วมชะตามกรรม อยู่ในวงจรอุบาทนี้ เราทุกคนต่างเรียนรู้ มันจะไม่สูญเปล่า แต่เราได้เรียนรู้ความดีไม่ดีของมัน เมื่อเวลาผ่านไป เราได้อะไรจากความขัดแย้ง เราจะรู้ว่า ทุกอย่างเป็นไปมาอย่างไร เราได้เรียนรู้ว่า ทำไมถึงจะอยู่กันอย่างสันติสุข เราจะได้รู้ว่า เรามีคุณค่า ไม่ใช่สัตว์ ที่ใครมาเป่าหูยุยงกวาดต้อนให้ไปทำอะไรก็ได้ ตามคำสั่งตามบงการ ตามอำเภอใจของพวกมัน !!!
ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น นี่คือการเรียนรู้ ที่หาในตำราไม่ได้ มันคือการเรียนรู้จากของจริง ชีวิตจริง บาดเจ็บจริงตายจริง ทุกอย่างเดิมพันด้วยชีวิตของผู้เรียน ไม่อยากเรียนก็ต้องเรียน ไม่อยากรู้ก็ต้องรู้ เพราะมันถูกบังคับไปโดยปริยาย ......
บ้างครั้งเมื่อคิดย้อนไป มันก็น่าเสียดาย ว่าทำไมประเทศเราต้องขัดแย้งกันขนาดนี้ ทั้งที่ไม่มีเรื่องอะไรมากมาย ถ้าประเทศเราไม่ทะเลาะกัน คงจะเจริญไปมากกว่านี้ เราลองย้อนดู ประเทศต่างๆ ทำไมถึงมีความขัดแย้ง สงครามเกาหลี แบ่งเป็นเหนือใต้ เวียดนาม แบ่งชาติเผ่าพันธุ์เข่นฆ่ากัน ในกัมพูชา ฆ่ากันเป็นล้านคน ชนชาติเดียวกันทั้งนั้น เกิดขึ้นจากอะไร บางครั้งถ้าถามรู้กันทุกคน ว่าเกิดจากความขัดแย้งกัน ในรวันดา ฆ่ากันเป็นล้านภายในร้อยวัน เกิดจากความยุยงส่งเสริมให้ประชาชนเกลียดชังกันแบบเดียวกันทั้งนั้น เราอ่านเรารู้ แต่เราไม่สนใจคิดว่ามันไกลตัว เราจึงไม่เชื่อ ถ้าไม่เกิดขึ้นกับครอบครัว หรือตัวเอง นี่ก็เช่นเดียวกัน เราถูกสอนถูกยุ จนโงหัวไม่ขึ้น จากแกนนำนักปลุกระดมทั้งสองฝ่าย นั่นมันโมเดลเดียวกันทั้งนั้น แล้วทำไมเราไม่จำหรือเรายังไปไม่ถึงที่สุด สุดทางของมัน คือตายกันไปข้างตายกันเป็นล้าน อย่างที่เห็น มันถึงจะจบหลักสูตร มันถึงจะสะใจ เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เป็นเช่นนั้น !
ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนั้น ก็เชื่อว่าคงไม่มีใครยอมให้เป็น การเข้ามาของกองทัพ ก็นับว่าดีที่เข้ามาขัดจังหวะ มาห้ามทัพ มาขจัดความขัดแย้งเข่นฆ่ากัน ถือว่าคือกองทัพของประชาชน อย่างนี้ถือว่า กองทัพทำถูกต้องแล้ว แต่เมื่อขจัดความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้น กองทัพก็ต้องถอนตัวออกไป คืนอำนาจนั้นให้ประชาชนตัดสินใจกันเอง กองทัพจะหลงระเริงอยู่ในอำนาจนานเกินไปก็ไม่ได้ กองทัพจะเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ดี หรือแแอบแนบอิงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็ไม่ควร กองทัพต้องวางตัวเป็นกลางอย่างแท้จริง นั่นถึงจะสมศักดิ์ศรีกองทัพของประชาชน !
การเข้ามาของกองทัพโดยอ้างว่า มาเพื่อขจัดความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองสามัคคีนั้น ถือว่าเป็นเจตนาดีและถูกต้อง แต่สิ่งที่จะต้องลืมไม่ได้เป็นอันขาด คือความเป็นกลาง นี่คือหัวใจสำคัญ การที่จะให้สองฝ่ายยินยอมปรองดองกันได้ คนอยู่ตรงกลางก็ต้องกลางจริงๆ บีบมือทั้งสองฝ่ายก็ต้องให้น้ำหนักที่เท่าเทียมกัน ไม่อคติต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด การปฎิรูปแก้ไขกฎกติกา เพื่อนำมาใช้ด้วยกัน มันก็ต้องเป็นกลางตามหลักนิติรัฐนิติธรรม ถ้าไม่สามารถทำทุกอย่าง ให้เป็นกลางและเป็นธรรมได้ ก็เชื่อว่า การเข้ามาแก้ปัญหาครั้งนี้ มันอาจจะสูญเปล่า หรือที่เรียกว่า "เสียของ ยิ่งกว่าเดิม" ???????
ปัญหาความขัดแย้ง แก้ไขอย่างไร ไม่ให้ " เสียของ " ???
แต่ถ้าเราจะคิดว่าความขัดแย้งมันต้องได้อะไรเสียอะไร แน่นอน ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และเศรษฐกิจมากมายประเมินค่ามิได้ แต่ส่วนได้ล่ะ ไม่ใช่ว่าไม่มี การที่เกิดความขัดแย้งขึ้น มันสร้างการเรียนรู้ว่า เบื้องหลังความจริง ความจริงใจ ความชั่วร้ายคิดคด ทรยศ หักหลัง และสังคมชนเผ่าพันธุ์ได้เรียนรู้ถึงคุณถึงโทษ ที่ผ่านมานั้น ทุกอย่างคือบทเรียนทั้งสิ้น ความเชื่อ การรับฟังนักปลุกระดม ความเชื่อ ความเกลียดชัง และความขัดแย้ง การเดินขบวนต่อต้าน การปราบปราม การฆ่า การบาดเจ็บล้มตาย การยึดอำนาจ การเปลี่ยนแปลง การปฎิรูป การได้มาซึ่งผู้นำ คือสิบปี ที่เราร่วมชะตามกรรม อยู่ในวงจรอุบาทนี้ เราทุกคนต่างเรียนรู้ มันจะไม่สูญเปล่า แต่เราได้เรียนรู้ความดีไม่ดีของมัน เมื่อเวลาผ่านไป เราได้อะไรจากความขัดแย้ง เราจะรู้ว่า ทุกอย่างเป็นไปมาอย่างไร เราได้เรียนรู้ว่า ทำไมถึงจะอยู่กันอย่างสันติสุข เราจะได้รู้ว่า เรามีคุณค่า ไม่ใช่สัตว์ ที่ใครมาเป่าหูยุยงกวาดต้อนให้ไปทำอะไรก็ได้ ตามคำสั่งตามบงการ ตามอำเภอใจของพวกมัน !!!
ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น นี่คือการเรียนรู้ ที่หาในตำราไม่ได้ มันคือการเรียนรู้จากของจริง ชีวิตจริง บาดเจ็บจริงตายจริง ทุกอย่างเดิมพันด้วยชีวิตของผู้เรียน ไม่อยากเรียนก็ต้องเรียน ไม่อยากรู้ก็ต้องรู้ เพราะมันถูกบังคับไปโดยปริยาย ......
บ้างครั้งเมื่อคิดย้อนไป มันก็น่าเสียดาย ว่าทำไมประเทศเราต้องขัดแย้งกันขนาดนี้ ทั้งที่ไม่มีเรื่องอะไรมากมาย ถ้าประเทศเราไม่ทะเลาะกัน คงจะเจริญไปมากกว่านี้ เราลองย้อนดู ประเทศต่างๆ ทำไมถึงมีความขัดแย้ง สงครามเกาหลี แบ่งเป็นเหนือใต้ เวียดนาม แบ่งชาติเผ่าพันธุ์เข่นฆ่ากัน ในกัมพูชา ฆ่ากันเป็นล้านคน ชนชาติเดียวกันทั้งนั้น เกิดขึ้นจากอะไร บางครั้งถ้าถามรู้กันทุกคน ว่าเกิดจากความขัดแย้งกัน ในรวันดา ฆ่ากันเป็นล้านภายในร้อยวัน เกิดจากความยุยงส่งเสริมให้ประชาชนเกลียดชังกันแบบเดียวกันทั้งนั้น เราอ่านเรารู้ แต่เราไม่สนใจคิดว่ามันไกลตัว เราจึงไม่เชื่อ ถ้าไม่เกิดขึ้นกับครอบครัว หรือตัวเอง นี่ก็เช่นเดียวกัน เราถูกสอนถูกยุ จนโงหัวไม่ขึ้น จากแกนนำนักปลุกระดมทั้งสองฝ่าย นั่นมันโมเดลเดียวกันทั้งนั้น แล้วทำไมเราไม่จำหรือเรายังไปไม่ถึงที่สุด สุดทางของมัน คือตายกันไปข้างตายกันเป็นล้าน อย่างที่เห็น มันถึงจะจบหลักสูตร มันถึงจะสะใจ เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เป็นเช่นนั้น !
ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนั้น ก็เชื่อว่าคงไม่มีใครยอมให้เป็น การเข้ามาของกองทัพ ก็นับว่าดีที่เข้ามาขัดจังหวะ มาห้ามทัพ มาขจัดความขัดแย้งเข่นฆ่ากัน ถือว่าคือกองทัพของประชาชน อย่างนี้ถือว่า กองทัพทำถูกต้องแล้ว แต่เมื่อขจัดความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้น กองทัพก็ต้องถอนตัวออกไป คืนอำนาจนั้นให้ประชาชนตัดสินใจกันเอง กองทัพจะหลงระเริงอยู่ในอำนาจนานเกินไปก็ไม่ได้ กองทัพจะเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ดี หรือแแอบแนบอิงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็ไม่ควร กองทัพต้องวางตัวเป็นกลางอย่างแท้จริง นั่นถึงจะสมศักดิ์ศรีกองทัพของประชาชน !
การเข้ามาของกองทัพโดยอ้างว่า มาเพื่อขจัดความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองสามัคคีนั้น ถือว่าเป็นเจตนาดีและถูกต้อง แต่สิ่งที่จะต้องลืมไม่ได้เป็นอันขาด คือความเป็นกลาง นี่คือหัวใจสำคัญ การที่จะให้สองฝ่ายยินยอมปรองดองกันได้ คนอยู่ตรงกลางก็ต้องกลางจริงๆ บีบมือทั้งสองฝ่ายก็ต้องให้น้ำหนักที่เท่าเทียมกัน ไม่อคติต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด การปฎิรูปแก้ไขกฎกติกา เพื่อนำมาใช้ด้วยกัน มันก็ต้องเป็นกลางตามหลักนิติรัฐนิติธรรม ถ้าไม่สามารถทำทุกอย่าง ให้เป็นกลางและเป็นธรรมได้ ก็เชื่อว่า การเข้ามาแก้ปัญหาครั้งนี้ มันอาจจะสูญเปล่า หรือที่เรียกว่า "เสียของ ยิ่งกว่าเดิม" ???????