ตรรกะนักลงทุน ไม่ควรทำ แต่ เขาก็ทำ
มีอะไรที่เราไม่รู้?แหล่งสังกะสีใหม่ก็ไม่น่าใช่
จะว่า ผบห CGHไม่รู้ก็ไม่น่า
นายฟรานซิส แวนเบลเลน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือพีดีไอ เปิดเผยว่า จากการขออาชญาบัตรเพื่อทำการสำรวจแร่สังกะสีในช่วงที่ผ่านมา บริษัทได้รับความยากลำบากในการออกใบอนุญาต ประกอบกับได้รับการต่อต้านของประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทำให้บริษัทไม่มีแหล่งแร่สังกะสีที่จะมาเพิ่มปริมาณสำรองได้ ซึ่งขณะนี้ได้ประเมินแล้วว่าเหมืองแร่สังกะสีที่อำเภอแม่สอด ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตโลหะสังกะสีในสัดส่วน 50% ของการผลิตสังกะสีบริสุทธิ์ และสังกะสีผสมที่ 7.5 หมื่นตันต่อปี จะหมดลงในช่วงต้นปี 2560 ส่งผลให้บริษัทต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจใหม่ จากปัจจุบันที่มีรายได้หลักมาจากการผลิตสังกะสีโดยตรง
โดยแนวทางที่วางไว้ในปี 2560 บริษัทจะต้องคงรายได้ที่ 30% มาจากการดำเนินธุรกิจโลหะพื้นฐานอื่นๆ จากปัจจุบัน 100% ที่จะครอบคลุมถึงการผลิตสังกะสีที่มีมูลค่าเพิ่มออกสู่ตลาด เช่น ซิงก์ บอล และซิงก์เกรน เป็นต้น และศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มอื่นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึงการนำเข้าผลิตภัณฑ์นำมาผสมแร่อื่นๆ นำออกสู่ตลาดมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันบริษัทได้มีการนำเข้าแร่สังกะสีซัลไฟด์จากอเมริกาใต้ในสัดส่วนประมาณ 40% และสังกะสีออกไซด์ ที่เป็นวัตถุดิบรีไซเคิลจากฝุ่นเหล็กจากเกาหลีใต้ในสัดส่วนประมาณ 7% มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตโลหะสังกะสีอยู่แล้ว หากมีการนำเข้าสังกะสีออกไซด์เพิ่มมากขึ้น และลดแร่สังกะสีซัลไฟด์ที่มีราคาแพง ก็จะช่วยให้บริษัทมีวัตถุดิบในการผลิตโลหะสังกะสีออกป้อนสู่ตลาดได้
ดังนั้นเมื่อสัดส่วนรายได้จากธุรกิจหลักลดลง บริษัทจึงมุ่งเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนและการกำจัดขยะชุมชน โดยจะอาศัยพื้นที่ของบ่อเก็บกากแร่ซึ่งมีอยู่ประมาณ 420 ไร่ ที่เหมืองแม่สอด จังหวัดตาก ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) ขนาด 50 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 2.5 พันล้านบาท(เมกะวัตต์ละ 50 ล้านบาท) โดยระยะแรกจะดำเนินการก่อสร้างขนาด 24 เมกะวัตต์ก่อน โดยมีข้อได้เปรียบคืออยู่ใกล้กับระบบสายส่งและสถานีส่งไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สามารถที่จะรับไฟฟ้าเข้าระบบได้ทันทีโดยไม่ต้องไปลงทุนก่อสร้างใหม่
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวกำลังรอการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากกระทรวงพลังงาน ว่าจะมีนโยบายในการเปิดรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว หรือพีพีเอ ถอนการลงทุนไปหลายโครงการ ทำให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
นายฟรานซิส กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จะจับมือกับพันธมิตร โดยบริษัทจะถือหุ้นในสัดส่วน 80% เพื่อพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ขนาด 18 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 1.8 พันล้านบาท (เมกะวัตต์ละ 100 ล้านบาท) ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาเก็บข้อมูลกำลังลมและใช้ในการออกแบบด้านวิศวกรรม ระหว่างนี้กำลังรอให้กระทรวงพลังงานมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าอยู่เช่นกัน หากทั้ง 2 โครงการนี้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย จะเป็นช่องทางรายได้ของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 40-50%
ขณะที่โครงการที่มีความเป็นไปได้เร็วที่สุด คือ การลงทุนผลิตไฟฟ้าชีวมวลขนาด 8 เมกะวัตต์ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้ทะลายปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบ รวมทั้งออกแบบให้ใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ได้ด้วย โดยโครงการนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตร คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2-3 สัปดาห์นี้ ที่จะเข้าถือหุ้นในสัดส่วนประมาณ 70-80% มูลค่าโครงการรวมประมาณ 600-800 ล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปี 2558 นี้ เนื่องจากโครงการได้มีสัญญารับซื้อไฟฟ้า (พีพีเอ) กับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แล้ว หากทั้ง 3 โครงการนี้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย จะเป็นช่องทางหารายได้ 40-50% ของบริษัทในปี 2560 และจะใช้เงินสดลงทุนประมาณ 1.5 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นเงินกู้
ส่วนรายได้ที่จะเข้ามาอีก 20-30% นั้น จะมาจากการลงทุนในโครงการด้านการกำจัดกากของเสียหรือขยะชุมชน ที่จะร่วมกับบริษัท แม่สอดพลังงานสะอาดฯ ที่ดำเนินธุรกิจผลิตเอทานอล โดยจะใช้พื้นที่เก็บกากแร่ก่อสร้างเป็นเตาเผาขยะ พร้อมผลพลอยได้ผลิตไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้และประมาณขยะ ซึ่งการตัดสินใจลงทุนครั้งนี้ เนื่องจากอำเภอแม่สอดมีปริมาณขยะมากขึ้นทุกวันทำให้หลุมฝังกลบขยะกำลังใกล้จะเต็ม และหาพื้นที่ใหม่ได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสหนึ่งที่จะดำเนินธุรกิจนี้ขึ้นมา
โดยในปี 2557 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้จากการขายสังกะสี 5.593 พันล้านบาท มีกำไร 461 ล้านบาท กลับมาเป็นบวกหลังจากปี 2556 ขาดทุนที่ 522 ล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,035 วันที่ 15 - 18 มีนาคม พ.ศ. 255
ถ้า PDIจะปิดเหมือง ในปี 2560 แล้วCGHจะเข้าไปลงทุนทัมมัย
มีอะไรที่เราไม่รู้?แหล่งสังกะสีใหม่ก็ไม่น่าใช่
จะว่า ผบห CGHไม่รู้ก็ไม่น่า
นายฟรานซิส แวนเบลเลน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือพีดีไอ เปิดเผยว่า จากการขออาชญาบัตรเพื่อทำการสำรวจแร่สังกะสีในช่วงที่ผ่านมา บริษัทได้รับความยากลำบากในการออกใบอนุญาต ประกอบกับได้รับการต่อต้านของประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทำให้บริษัทไม่มีแหล่งแร่สังกะสีที่จะมาเพิ่มปริมาณสำรองได้ ซึ่งขณะนี้ได้ประเมินแล้วว่าเหมืองแร่สังกะสีที่อำเภอแม่สอด ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตโลหะสังกะสีในสัดส่วน 50% ของการผลิตสังกะสีบริสุทธิ์ และสังกะสีผสมที่ 7.5 หมื่นตันต่อปี จะหมดลงในช่วงต้นปี 2560 ส่งผลให้บริษัทต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจใหม่ จากปัจจุบันที่มีรายได้หลักมาจากการผลิตสังกะสีโดยตรง
โดยแนวทางที่วางไว้ในปี 2560 บริษัทจะต้องคงรายได้ที่ 30% มาจากการดำเนินธุรกิจโลหะพื้นฐานอื่นๆ จากปัจจุบัน 100% ที่จะครอบคลุมถึงการผลิตสังกะสีที่มีมูลค่าเพิ่มออกสู่ตลาด เช่น ซิงก์ บอล และซิงก์เกรน เป็นต้น และศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มอื่นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึงการนำเข้าผลิตภัณฑ์นำมาผสมแร่อื่นๆ นำออกสู่ตลาดมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันบริษัทได้มีการนำเข้าแร่สังกะสีซัลไฟด์จากอเมริกาใต้ในสัดส่วนประมาณ 40% และสังกะสีออกไซด์ ที่เป็นวัตถุดิบรีไซเคิลจากฝุ่นเหล็กจากเกาหลีใต้ในสัดส่วนประมาณ 7% มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตโลหะสังกะสีอยู่แล้ว หากมีการนำเข้าสังกะสีออกไซด์เพิ่มมากขึ้น และลดแร่สังกะสีซัลไฟด์ที่มีราคาแพง ก็จะช่วยให้บริษัทมีวัตถุดิบในการผลิตโลหะสังกะสีออกป้อนสู่ตลาดได้
ดังนั้นเมื่อสัดส่วนรายได้จากธุรกิจหลักลดลง บริษัทจึงมุ่งเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนและการกำจัดขยะชุมชน โดยจะอาศัยพื้นที่ของบ่อเก็บกากแร่ซึ่งมีอยู่ประมาณ 420 ไร่ ที่เหมืองแม่สอด จังหวัดตาก ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) ขนาด 50 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 2.5 พันล้านบาท(เมกะวัตต์ละ 50 ล้านบาท) โดยระยะแรกจะดำเนินการก่อสร้างขนาด 24 เมกะวัตต์ก่อน โดยมีข้อได้เปรียบคืออยู่ใกล้กับระบบสายส่งและสถานีส่งไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สามารถที่จะรับไฟฟ้าเข้าระบบได้ทันทีโดยไม่ต้องไปลงทุนก่อสร้างใหม่
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวกำลังรอการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากกระทรวงพลังงาน ว่าจะมีนโยบายในการเปิดรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว หรือพีพีเอ ถอนการลงทุนไปหลายโครงการ ทำให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
นายฟรานซิส กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จะจับมือกับพันธมิตร โดยบริษัทจะถือหุ้นในสัดส่วน 80% เพื่อพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ขนาด 18 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 1.8 พันล้านบาท (เมกะวัตต์ละ 100 ล้านบาท) ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาเก็บข้อมูลกำลังลมและใช้ในการออกแบบด้านวิศวกรรม ระหว่างนี้กำลังรอให้กระทรวงพลังงานมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าอยู่เช่นกัน หากทั้ง 2 โครงการนี้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย จะเป็นช่องทางรายได้ของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 40-50%
ขณะที่โครงการที่มีความเป็นไปได้เร็วที่สุด คือ การลงทุนผลิตไฟฟ้าชีวมวลขนาด 8 เมกะวัตต์ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้ทะลายปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบ รวมทั้งออกแบบให้ใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ได้ด้วย โดยโครงการนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตร คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2-3 สัปดาห์นี้ ที่จะเข้าถือหุ้นในสัดส่วนประมาณ 70-80% มูลค่าโครงการรวมประมาณ 600-800 ล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปี 2558 นี้ เนื่องจากโครงการได้มีสัญญารับซื้อไฟฟ้า (พีพีเอ) กับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แล้ว หากทั้ง 3 โครงการนี้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย จะเป็นช่องทางหารายได้ 40-50% ของบริษัทในปี 2560 และจะใช้เงินสดลงทุนประมาณ 1.5 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นเงินกู้
ส่วนรายได้ที่จะเข้ามาอีก 20-30% นั้น จะมาจากการลงทุนในโครงการด้านการกำจัดกากของเสียหรือขยะชุมชน ที่จะร่วมกับบริษัท แม่สอดพลังงานสะอาดฯ ที่ดำเนินธุรกิจผลิตเอทานอล โดยจะใช้พื้นที่เก็บกากแร่ก่อสร้างเป็นเตาเผาขยะ พร้อมผลพลอยได้ผลิตไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้และประมาณขยะ ซึ่งการตัดสินใจลงทุนครั้งนี้ เนื่องจากอำเภอแม่สอดมีปริมาณขยะมากขึ้นทุกวันทำให้หลุมฝังกลบขยะกำลังใกล้จะเต็ม และหาพื้นที่ใหม่ได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสหนึ่งที่จะดำเนินธุรกิจนี้ขึ้นมา
โดยในปี 2557 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้จากการขายสังกะสี 5.593 พันล้านบาท มีกำไร 461 ล้านบาท กลับมาเป็นบวกหลังจากปี 2556 ขาดทุนที่ 522 ล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,035 วันที่ 15 - 18 มีนาคม พ.ศ. 255