วันนี้เรามาซ่อม LED 50 นิ้ว อาการเปิดแล้วตัด นี่เป็นเครื่องแรกที่คิดจะเปลี่ยนหลอดแบล็กไลท์ ซึ่งมันอันตรายมากถ้าไม่ระวัง จอก็จะแตก ยิ่งจอใหญ่ยิ่งแตกง่าย อ่อแล้วก็การซ่อมอาการนี้ทางศูนย์ ตีราคาประมาณ 80% ของราคาซื้อ ร้านทั่วๆไปก็ 40% ของราคาศูนย์ ซึ่งถ้าจอแตกก็ทิ้งอย่างเดียวแน่ ราคาจอซื้อเครื่องใหม่ดีกว่า
เรามาเริ่มกันเลย ขั้นตอนการตรวจเช็คและซ่อม
1. หลังจากได้เครื่องมา ก็ทำการหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก่อนว่าอาการนี้ เกิดจากอะไร ซ่อมอย่างไร แต่ขั้นตอนพื้นฐานก็คือ ตรวจเช็คตะกั่วร่อน เช็คซีบวม แต่ว่าหาแล้วไม่มี
2.หลังจากเช็คเบื้องต้นแล้ว ไม่มีตะกั่วร่อนหรือซีบวม เราก็หาข้อมูลต่อ โดยหาข้อมูลจากเวปที่เป็นสมาชิกอยู่ ก็ได้คำแนะนำให้ตรวจเช็ควงจรอินเวอร์เตอร์ ผมก็ได้ทำการตรวจเช็คอย่างระเอียด เพราะว่าอาการนี้ เป็นการโปรเทคป้องกัน ซึ่ง LED เมื่อเกิดอาการนี้คือ เกี่ยวกับหลอดแบล็กไลท์ นั้นหมายถึงหลอด LED ที่ใช้เป็นแสงสว่างภาพมีปัญหา ก็ทำการตรวจเช็ค ขั้วไฟที่จ่ายให้กับหลอด LED
3.จากวงจรอินเวอร์เตอร์ของหลอด LED จะมีอยู่ 2 วงจร นั้นก็หมายถึงว่า ต้องมีหลอด LED อยู่ 2แผง แต่ว่าแผงละกี่หลอดกี่แถว เดียวค่อยแกะดูกัน แต่จากการวัดแรงดันที่จ่ายให้ขั้ว ทั้ง 2วงจรไม่เท่ากัน นั้นก็หมายถึงต้องมีวงจรใดวงจรนึง เสียเพราะว่าปกติแล้วต้องกินไฟเท่ากันทั้ง2วงจร มีวงจรนึงวัดได้ 175v ตอนเปิดเครื่อง และอีกวงจรวัดได้ 111v สิ่งที่สงสัยคือวงจร 175v น่าจะมีปัญหาเพราะว่าไม่มีการกินกระแส
4.เมื่อวัดแรงดันที่จ่ายใหเกับวงจร LED ไม่เท่ากันนั้นก็หมายถึงว่าต้องมีปัญหาเกิดขึ้น และปัญหานั้นต้องทำให้ โปรเทคทำงานแน่ๆ เราก็ต้องมาทำการวัดแรงดันที่ขาไอซีอินเวอร์เตอร์ว่าได้เท่าไหร่บ้าง
5.จากที่เราวัดแรงดันที่ขาไอซี เราก็จะสังเกตุได้ว่าขาที่ 14 ของไอซีเป็นขาตรวจเช็คแรงดันเกิน เมื่อมีแรงดันเกิน 0.3v ก็จะทำให้ไอซีสั่งโปรเทคตัวเองให้หยุดการทำงาน สิ่งที่ผมสงสัยคือ วงจร LED1 ต้องมีปัญหาแน่ๆไม่มีโหลด มันจึงทำให้แรงดันเกิน
7.จากการหาข้อมูลผมมั่นใจว่าหลอดLED ต้องมีขาดก็เลยต้องแกะฝาเหล็กครอบหลังออกเพื่อ ตรวจเช็คLED แต่ก่อนที่จะถอด จำเป็นต้องถามเจ้าของเครื่องก่อนว่า ถ้าให้ซ่อมนั้นคือความเสี่ยงที่จอจะแตก 50-50 แล้วถ้าเกิดจอแตก ก็คือทิ้งอย่างเดียว ซื้อจอ หมื่นกว่าบาท ซื้อเครื่องใหม่ดีกว่า คุยกับเจ้าของเครื่องรู้เรื่องก็เป็นอันตกลง
8.หลังจากถอดฝาเหล็กครอบหลังออกมาได้ ก็จะเห็นแผง LED จำนวนมากที่ใช้เป็นแสงสว่างจอ แต่ผมถอดแผงLED จากด้านหลัง จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับจอภาพเลย ก็เลยไม่ต้องเสี่ยง แต่บางรุ่นต้องถอดด้านหน้า นั้นคือเสี่ยงจอแตกมาก
9.เมื่อถอดได้แล้วก็ทำการเช็ค LED อาจจะมีละดวง ด้วยมอเตอร์เข็ม หรือใช้แหล่งจ่าย 13-15v เช็คทีละแถว เพื่อหาหลอดที่เสีย
10.เช็คมาเรื่อย จนมาถึงหลอดเจ้าปัญหาที่ทำให้โปรเทคทำงาน
11.เมื่อเจอหลอดที่เสียก็แกะออกมาทั้งเส้นโดยค่อยๆดึงออกเพราะเขาติดด้วยกาว2หน้าไว้
12.เมื่อตรวจเช็คใกล้ๆก็จะเห็นคราบเขม่าการช็อต ที่ทำให้ LED ขาด
13.เมื่อตรวจเช็คเจอหลอดเสียเราก็ต้องไปซื้อมาใส่ใหม่ แต่ว่าของใหม่ไม่สามารถใช้ได้เลยเพราะเป็นคนละรุ่น
14.ทำการแต่งรอยไหม้ เพื่อที่เราจะทำวงจรใหม่ แงะพลาสติกกระจายแสงออกด้วยเพราะเราจะต้องเอาหลอดเก่าออก ใส่หลอดใหม่
15.ถอดหลอดใหม่ออก ด้วยเครื่องเป่าลมร้อน เป่าจากด้านล่างเพื่อไม่ให้หลอดละลาย
16.เตรียมลวดทองแดงเพื่อที่จะทพลายวงจรใหม่
17.ใช้กาวร้อนยึดลวดทองแดงกับลายปริ้นเก่าที่ไหม้
18.ตัดลวดทองแดงออก เมื่อสามารถบัดกรีถึงลายวงจรเก่าที่ช็อตขาด
19.เมื่อดัดแปลงเสร็จก็จะได้ตามรูป
20.ทำการตรวจเช็คด้วยมิเตอร์เข็มอีกครั้ง ว่าสามารถใช้งานได้ไหม
21.เมื่อหลอดใช้งานได้ปกติก็นำ พลาสติกกระจายแสงติดเข้าที่เดิม
22.ตรวจเช็คทั้งเส้นอีกครั้งว่าหลอด LED ติดทุกดวงหรือเปล่า
23. เมื่อเช็คหลอด LED ทุกเส้นติดครบทุกดวง เราก็ประกอบเครื่อง
นี่เป็นการเปลี่ยนหลอดแบล็กไลท์ ครั้งแรกของผม ซึ่งกดดันมากเพราะกลัวจอจะแตก เพราะถ้าแตกก็ทิ้งทันทีเครื่องนี้ แต่แล้วก็สามารถผ่านไปได้ หวังว่าคงเป็นความรู้แก่เพื่อนๆนะครับ ^_^
รีวิวซ่อม LED 50 นิ้ว LG อาการเปิดแล้วตัด
เรามาเริ่มกันเลย ขั้นตอนการตรวจเช็คและซ่อม
1. หลังจากได้เครื่องมา ก็ทำการหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก่อนว่าอาการนี้ เกิดจากอะไร ซ่อมอย่างไร แต่ขั้นตอนพื้นฐานก็คือ ตรวจเช็คตะกั่วร่อน เช็คซีบวม แต่ว่าหาแล้วไม่มี
2.หลังจากเช็คเบื้องต้นแล้ว ไม่มีตะกั่วร่อนหรือซีบวม เราก็หาข้อมูลต่อ โดยหาข้อมูลจากเวปที่เป็นสมาชิกอยู่ ก็ได้คำแนะนำให้ตรวจเช็ควงจรอินเวอร์เตอร์ ผมก็ได้ทำการตรวจเช็คอย่างระเอียด เพราะว่าอาการนี้ เป็นการโปรเทคป้องกัน ซึ่ง LED เมื่อเกิดอาการนี้คือ เกี่ยวกับหลอดแบล็กไลท์ นั้นหมายถึงหลอด LED ที่ใช้เป็นแสงสว่างภาพมีปัญหา ก็ทำการตรวจเช็ค ขั้วไฟที่จ่ายให้กับหลอด LED
3.จากวงจรอินเวอร์เตอร์ของหลอด LED จะมีอยู่ 2 วงจร นั้นก็หมายถึงว่า ต้องมีหลอด LED อยู่ 2แผง แต่ว่าแผงละกี่หลอดกี่แถว เดียวค่อยแกะดูกัน แต่จากการวัดแรงดันที่จ่ายให้ขั้ว ทั้ง 2วงจรไม่เท่ากัน นั้นก็หมายถึงต้องมีวงจรใดวงจรนึง เสียเพราะว่าปกติแล้วต้องกินไฟเท่ากันทั้ง2วงจร มีวงจรนึงวัดได้ 175v ตอนเปิดเครื่อง และอีกวงจรวัดได้ 111v สิ่งที่สงสัยคือวงจร 175v น่าจะมีปัญหาเพราะว่าไม่มีการกินกระแส
4.เมื่อวัดแรงดันที่จ่ายใหเกับวงจร LED ไม่เท่ากันนั้นก็หมายถึงว่าต้องมีปัญหาเกิดขึ้น และปัญหานั้นต้องทำให้ โปรเทคทำงานแน่ๆ เราก็ต้องมาทำการวัดแรงดันที่ขาไอซีอินเวอร์เตอร์ว่าได้เท่าไหร่บ้าง
5.จากที่เราวัดแรงดันที่ขาไอซี เราก็จะสังเกตุได้ว่าขาที่ 14 ของไอซีเป็นขาตรวจเช็คแรงดันเกิน เมื่อมีแรงดันเกิน 0.3v ก็จะทำให้ไอซีสั่งโปรเทคตัวเองให้หยุดการทำงาน สิ่งที่ผมสงสัยคือ วงจร LED1 ต้องมีปัญหาแน่ๆไม่มีโหลด มันจึงทำให้แรงดันเกิน
7.จากการหาข้อมูลผมมั่นใจว่าหลอดLED ต้องมีขาดก็เลยต้องแกะฝาเหล็กครอบหลังออกเพื่อ ตรวจเช็คLED แต่ก่อนที่จะถอด จำเป็นต้องถามเจ้าของเครื่องก่อนว่า ถ้าให้ซ่อมนั้นคือความเสี่ยงที่จอจะแตก 50-50 แล้วถ้าเกิดจอแตก ก็คือทิ้งอย่างเดียว ซื้อจอ หมื่นกว่าบาท ซื้อเครื่องใหม่ดีกว่า คุยกับเจ้าของเครื่องรู้เรื่องก็เป็นอันตกลง
8.หลังจากถอดฝาเหล็กครอบหลังออกมาได้ ก็จะเห็นแผง LED จำนวนมากที่ใช้เป็นแสงสว่างจอ แต่ผมถอดแผงLED จากด้านหลัง จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับจอภาพเลย ก็เลยไม่ต้องเสี่ยง แต่บางรุ่นต้องถอดด้านหน้า นั้นคือเสี่ยงจอแตกมาก
9.เมื่อถอดได้แล้วก็ทำการเช็ค LED อาจจะมีละดวง ด้วยมอเตอร์เข็ม หรือใช้แหล่งจ่าย 13-15v เช็คทีละแถว เพื่อหาหลอดที่เสีย
10.เช็คมาเรื่อย จนมาถึงหลอดเจ้าปัญหาที่ทำให้โปรเทคทำงาน
11.เมื่อเจอหลอดที่เสียก็แกะออกมาทั้งเส้นโดยค่อยๆดึงออกเพราะเขาติดด้วยกาว2หน้าไว้
12.เมื่อตรวจเช็คใกล้ๆก็จะเห็นคราบเขม่าการช็อต ที่ทำให้ LED ขาด
13.เมื่อตรวจเช็คเจอหลอดเสียเราก็ต้องไปซื้อมาใส่ใหม่ แต่ว่าของใหม่ไม่สามารถใช้ได้เลยเพราะเป็นคนละรุ่น
14.ทำการแต่งรอยไหม้ เพื่อที่เราจะทำวงจรใหม่ แงะพลาสติกกระจายแสงออกด้วยเพราะเราจะต้องเอาหลอดเก่าออก ใส่หลอดใหม่
15.ถอดหลอดใหม่ออก ด้วยเครื่องเป่าลมร้อน เป่าจากด้านล่างเพื่อไม่ให้หลอดละลาย
16.เตรียมลวดทองแดงเพื่อที่จะทพลายวงจรใหม่
17.ใช้กาวร้อนยึดลวดทองแดงกับลายปริ้นเก่าที่ไหม้
18.ตัดลวดทองแดงออก เมื่อสามารถบัดกรีถึงลายวงจรเก่าที่ช็อตขาด
19.เมื่อดัดแปลงเสร็จก็จะได้ตามรูป
20.ทำการตรวจเช็คด้วยมิเตอร์เข็มอีกครั้ง ว่าสามารถใช้งานได้ไหม
21.เมื่อหลอดใช้งานได้ปกติก็นำ พลาสติกกระจายแสงติดเข้าที่เดิม
22.ตรวจเช็คทั้งเส้นอีกครั้งว่าหลอด LED ติดทุกดวงหรือเปล่า
23. เมื่อเช็คหลอด LED ทุกเส้นติดครบทุกดวง เราก็ประกอบเครื่อง
นี่เป็นการเปลี่ยนหลอดแบล็กไลท์ ครั้งแรกของผม ซึ่งกดดันมากเพราะกลัวจอจะแตก เพราะถ้าแตกก็ทิ้งทันทีเครื่องนี้ แต่แล้วก็สามารถผ่านไปได้ หวังว่าคงเป็นความรู้แก่เพื่อนๆนะครับ ^_^