คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
จริงๆ ควรถามว่า "เวลาในแนวคิดของสัมพัทธภาพกับเวลาในแนวคิดเรื่องภพภูมิของพุทธเหมือนกันหรือเปล่า?" มากกว่า
เวลาในสัมพัทธภาพ เป็นสิ่งสัมพัทธ์ คือมันขึ้นกับผู้สังเกตการณ์ ผู้สังเกตการณ์ในแต่ละกรอบอ้างอิงไม่จำเป็นต้องวัดเวลาได้เท่ากัน อีกทั้งเวลายังสามารถช้าลงได้ตามความเร็ว ความเร่ง และความโน้มถ่วง แนวคิดของสัมพัทธภาพตั้งอยู่บนคณิตศาสตร์ และมีหลักฐานทางการทดลอง (และการสังเกตการณ์) ดังนั้นมันจึงเป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์
ส่วนเวลาในภพภูมิของพุทธ ระบุว่าเวลาในแต่ละภพภูมินั้นมีขนาดไม่เท่ากัน ซึ่งจริงๆแล้วมันแปลว่าอะไรเราก็ไม่รู้ มันไม่มีความหมายหรือนัยยะที่แน่ชัด ที่ชอบพูดๆกัน เอามาโยงกับฟิสิกส์ โยงกับสัมพัทธภาพ ฯลฯ ก็มีแต่ตีความกันไปเองทั้งนั้น ไม่มีข้อพิสูจน์อะไรเลยแม้แต่น้อย มันเป็นแนวคิดทางปรัชญาเท่านั้น
สรุป ผมคิดว่ามันไม่เหมือนกันหรอก (หรืออย่างน้อยก็พิสูจน์ไม่ได้ว่ามันเหมือน)
เวลาศึกษาศาสนา ควรพิจารณาแนวคิดต่างๆในแง่ปรัชญา ไม่ใช่มองว่ามันเป็นข้อเท็จจริง (เหมือนข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์)
เวลาในสัมพัทธภาพ เป็นสิ่งสัมพัทธ์ คือมันขึ้นกับผู้สังเกตการณ์ ผู้สังเกตการณ์ในแต่ละกรอบอ้างอิงไม่จำเป็นต้องวัดเวลาได้เท่ากัน อีกทั้งเวลายังสามารถช้าลงได้ตามความเร็ว ความเร่ง และความโน้มถ่วง แนวคิดของสัมพัทธภาพตั้งอยู่บนคณิตศาสตร์ และมีหลักฐานทางการทดลอง (และการสังเกตการณ์) ดังนั้นมันจึงเป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์
ส่วนเวลาในภพภูมิของพุทธ ระบุว่าเวลาในแต่ละภพภูมินั้นมีขนาดไม่เท่ากัน ซึ่งจริงๆแล้วมันแปลว่าอะไรเราก็ไม่รู้ มันไม่มีความหมายหรือนัยยะที่แน่ชัด ที่ชอบพูดๆกัน เอามาโยงกับฟิสิกส์ โยงกับสัมพัทธภาพ ฯลฯ ก็มีแต่ตีความกันไปเองทั้งนั้น ไม่มีข้อพิสูจน์อะไรเลยแม้แต่น้อย มันเป็นแนวคิดทางปรัชญาเท่านั้น
สรุป ผมคิดว่ามันไม่เหมือนกันหรอก (หรืออย่างน้อยก็พิสูจน์ไม่ได้ว่ามันเหมือน)
เวลาศึกษาศาสนา ควรพิจารณาแนวคิดต่างๆในแง่ปรัชญา ไม่ใช่มองว่ามันเป็นข้อเท็จจริง (เหมือนข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์)
แสดงความคิดเห็น
ทฤษฎีเวลาในหลุมดำ กับ เวลาในภพภูมิ มนุษย์ นรก สวรรค์ คล้ายๆ กันหรือเปล่า
ถ้ามันคล้ายๆ กัน ก็แสดงว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องนี้มาก่อน ใช่หรือไม่