ทำไมเงินเดือนแพทย์ ทันตแพทย์ ถึงน้อยกว่าเงินเดือนวิศวกร

สงสัยว่าทำไมเงินเดือนของคณะสายวิทย์ : วิศวกรเทียบกับแพทย์ ทันตแพทย์ ถึงเยอะนักครับ เห็นปัจจุบันจบมาใหม่ขั้นต่ำก็ start 20k+ (ไม่นับรวมบริษัทใหญ่ๆ)
ทั้งที่วิศวะ เรียนแค่ 4 ปี เรียนก็สบายไม่หนักเหมือนเรียนหมอ

ในขณะที่วิศวะจบมาได้เงินเดือนแล้ว แต่แพทย์ยังต้องเรียนอย่างหนักอีก2ปี

ซึ่งหลังจากแพทย์/ทันตแพทย์เรียนจบ ก็ต้องใช้ทุนที่ รพ.ชนบทอีก3ปี ด้วยการรับเงินเดือน+สวัสดิการ รวมแล้วก็แค่ 30k+
แต่ระหว่างนี้วิศวะก้ทำงานได้เงินเดือน+อัพเวล เลื่อนขั้น หรือเปลี่ยนงานเพิ่มฐานเงินเดือน
กว่าพวกหมอจะเรียนจบ วิศวกร ก็ได้เงินเดือนเฉียดแสนแล้ว หรือบริษัทใหญ่ก็ 100k+ เข้าไปแล้ว

ถ้าแพทย์ ทันตแพทย์ อยากได้เงินเดือนเยอะก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง อีกอย่างน้อย 2-3ปี เป็น specialist ถึงจะมีโอกาสได้ถึง 100k
แต่วิศวกร กลับใช้เวลาเรียนเพียง แค่4ปี ก็สามารถหาเงินได้เท่าหมอที่เรียนเกือบ 10ปีแล้ว

จึงเป็นที่มาของคำถามว่า ทำไมระบบบ้านเราถึงให้เงินเดือนหมอ หมอฟันน้อยกว่า วิศวกร ทั้งที่ใช้เวลาเรียนมากกว่า เป็นการเรียนที่หนักและกดดัน
ซึ่งคนที่สามารถจะเข้ามาในคณะพวกนี้ได้ ก็ถือว่า หัวกะทิของประเทศ
ถ้าเทียบคะแนนสอบเข้ากันแล้ว หมอส่วนใหญ่ก็เข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้แทบทั้งนั้น แต่ผลตอบแทนระยะยาวกลับน้อยกว่า

แต่ในขณะที่วิศวกร ใช้เวลาเรียนน้อยกว่า ชีวิตตอนเรียนก็สบายมีคาบว่างเยอะ (ไม่ได้เรียนตั้งแต่8โมงเช้า-4โมงเย็น) มีเวลาสังสรรค์ เฮฮาเที่ยวผับ ใช้ชีวิตวัยรุ่นได้เต็มที่
ใครๆก็เข้าเรียนได้ (มหาวิทยาลัยเกือบทุกที่มีคณะนี้) ไม่ต้องใช้ความพยายามมาก ไม่ต้องเรียนต่อให้ปวดหัว แต่เมื่อเทียบอัตราฐานเงินเดือนระยะยาวแล้วกลับสูงกว่าสายแพทย์

ควรไหมที่บ้านเราควรจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างฐานเงินเดือนพวกนี้ให้มีความเป็นธรรมมากขึ้นครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
แพทย์จบใหม่ได้เงินเดือน 30k+ คืออยู่รัฐบาล (แพทย์จบใหม่อยู่เอกชนได้เยอะกว่านี้แน่นอน)
ส่วนวิศวกรจบใหม่เงินเดือน 20k+ คืออยู่เอกชน
วิศวกรกว่าจะได้เงินเฉียดแสนน่าจะต้องใช้เวลามากกว่าแพทย์ ยกเว้นพวกเก่งหัวกะทิจริงๆ
สุดท้ายแล้วอยู่ที่แต่ละคนว่าจะเก่งในทางของตัวเองมากแค่ไหน เก่งมากเค้าก็จ่ายให้สมน้ำสมเนื้อเอง
ความคิดเห็นที่ 8
"วิศวะเรียนก็สบาย" ผมเถียงหัวชนฝาจริงเอ้า

ความคิดเห็นที่ 18
ผมงงว่าคุณต้องการอะไรจากสังคม
หลายท่านก็แจงไปแล้วว่ามันไม่ใช่ วิศวกรได้เงินเดือนน้อยกว่าหมอจริงๆ
ก็ดูเหมือนคุณจะเถียงหัวชนฝาให้ได้ว่ายังไงวิศวกรก็มากกว่า เอ้า ฮ่าๆ
ความจริงคำถามนี้วิศวกรต้องถามกลับด้วยซ้ำ ทำไมเงินเดือนหมอมากกว่า
แปลกแต่จริง ฮ่าๆ
ความคิดเห็นที่ 119
คุณจขกท. เรียนหรือจบสาขาอาชีพไหนมาครับ? แต่เชื่อว่าคงไม่ได้จบ วศ.บ. เดี๋ยวผมจะอธิบายจากมุมของ วศ.บ.  ให้ครับ

ผมจบมาเกือบสี่ปีแล้วครับ (ผมรหัส 50) ขออนุญาติชี้แจงแยกประเด็นแต่ลำดับอาจจะไม่เหมือนจขกท.ดังนี้ครับ

1. หมอเรียนหนักกว่าวิศวะ จากความเห็นส่วนตัวผมค่อนข้างเห็นด้วยครับ แต่อย่างไรก็ตามมันก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียดอยู่อีกเยอะ และขึ้นอยู่กับคหสต.ของแต่ละคน แต่การที่คุณสรุปออกมาแบบนี้ผมกลับรู้สึกว่า เหมือนกำลังโดนคุณ "ดูถูก" วิชาชีพของผมอยู่ เพราะการเป็นวิศวกรก็มีความลำบากในแบบของวิศกรครับ

1.1 วิศวกรเรียนจบแค่ 4 ปี >> ถูกต้องครับตามหลักสูตรแค่ 4 ปี ก็จบได้ แต่ในความเป็นจริง คนที่จบ 5 กับ 6 ปี ในแต่ละรุ่นมีสูงมากครับ ผมกะเป็นตัวเลขแบบเดาเอาเอง ผมว่า คนที่ซิ่ว คนที่จบช้า คนที่รีไทร์ รวมกันแล้วคงมีเกือบครึ่ง ตรงส่วนนี้ไม่เหมือนหมอครับ ต้องยอมรับคนว่าที่เรียนหมอถูกกรองมาแล้วตั้งแต่สอบเข้าและส่วนใหญ่จบ 6 ปี ตามหลักสูตร ซึ่งเอามาเทียบกับวิศวะไม่ได้ เพราะวิศวะไม่ได้จบ 4 ปี กันทั้งรุ่น

กรณีนี้ผมอยากให้คุณมองว่าคนเป็นหมอใช้เวลา 6 ปีจบ ส่วนวิศวะโดย"เฉลี่ย"ใช้เวลา 5 ปีจบ จะดูเข้าใกล้ความเป็นจริงมากกว่าครับ

1.2 จากคำพูดจขกท. "ใครๆก็เข้าเรียนได้ (มหาวิทยาลัยเกือบทุกที่มีคณะนี้) ไม่ต้องใช้ความพยายามมาก"

     อย่างที่เรียนไปแล้วใน 1.1 ว่าคนที่เรียนวิศวะสะดุดระหว่างเรียนกันเยอะมาก เทียบกับคนที่เรียนหมอคงไม่ค่อยมีสะดุดเท่าไหร่ ส่วนนึงเป็นเพราะคณะแพทย์เค้ากรองคนของเค้าเข้ามาดีครับ  แต่คณะวิศวะของผมเค้ากรองกันตอนที่จบครับ
     ดังนั้นถ้าคุณบอกว่าใครๆก็เข้าเรียนวิศวะได้ ผมก็เห็นด้วยว่ามีส่วนจริงค่อนข้างสูง แต่รับรู้ไว้เลยครับ คณะวิศวะของผมใครๆก็เรียนได้ "แต่ไม่ใช่ใครๆก็จบได้" ถ้าจะวัดผลก็อย่าดู input อย่างเดียว กรุณาไปใส่ใจกับ output ด้วย บางคณะกรองตั้งแต่ input บางคณะมากรองทีเดียวที่ output อย่ามองโลกให้มันแคบ และอย่าดูถูกคณะอื่นๆให้มันมากนัก

2. ทีนี้มาพูดเรื่องรายได้

2.1 วิศวะเรียน 4 ปีก็จบมาทำงานได้ อันนี้อ้างจากหัวข้อ 1 เลยครับ วิศวะอย่างเราๆ ถ้าจบสี่ปีก็ดีครับ เหมือนว่าจะได้เริ่มทำงานก่อนบรรดาคุณหมอ 2 ปี แต่คนที่จบ 6 ปี เค้าก็ต้องไปเริ่มต้นพร้อมๆ กับคุณนั่นแหละ

2.2 ตอนที่คุณหมอต่อเฉพาะทาง ถ้าเข้าใจไม่ผิด ก็เป็นการเรียนไปทำงานไปได้ไม่ใช่เหรอครับ แสดงว่า 3 ปี ที่ต่อเฉพาะทางก็ยังสามารถสร้างรายได้ได้อยู่ (หัวข้อนี้หากเข้าใจผิด ขออภัย)

2.3 เรื่องเงินเดือน 100K คุณพูดเหมือนมันเป็นเงินเดือนทั่วไปที่วิศวกรทุกคนจะต้องทำได้แน่ๆ ทั้งที่ความเป็นจริงมันก็มีแต่เฉพาะวิศวกรที่เป็น high profile เท่านั้นที่จะทำได้ในเวลาสี่ห้าปี อย่างผมกับเพื่อนๆในรุ่นที่จบมาแล้วสี่ปี ก็ยังไม่มีใครทำได้แบบนั้นเลยครับ แบบเฉียดๆ แสนน่ะมีแต่ก็แค่ไม่กี่คน (รวมรายได้ทุกทาง นับแค่เงินเดือนไม่มีใครถึงครับ)
     อย่างตัวผมเองยังมาได้แค่ครึ่งแสนซึ่งเทียบกับที่คุณบอกว่าจบมา 20k สี่ห้าปีก็เลื่อนขั้นไปถึง 100k ผมก็ยังห่างจากความจริงของจขกท. อยู่มาก แล้วครึ่งแสนของผม ผมรวมรายได้ทุกทางแล้วนะ
     ดังนั้นประเด็นคือคุณเอา typical profile ของพวกหมอ มาเทียบกับ high profile ของพวกวิศวะ คุณต้องเอา typical มาเทียบกับ typical สิคุณถึงจะเห็นภาพตามความจริง

3. คุณลองบวกค่าความเสี่ยงเข้าไปด้วยสิ คนที่จบหมอมีโอกาสได้งานทำสูงกว่าวิศวะ (ผมไม่มีข้อมูลอ้างอิงนะ มาจากความรู้สึก) ในขณะที่ผมกับเพื่อนๆ จบมาก็ตะลอนๆ สมัครงานไปทั่ว ได้งานดีก็ทำไป ได้งานไม่ดีก็ทนๆ ทำแล้วค่อยหาลู่ทางใหม่ ทำไปสักพักเศรษฐกิจไม่ดี ก็มี lay off อีกช่วง lay off นี่ วท.บ. วศ.บ. ปวช. ปวส. พวกที่รับใช้บริษัททั้งหลายนี่ร้อนๆ หนาวๆ ตามกันเลยนะครับ เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องที่เกิดกับแพทย์ได้ง่ายๆ คุณก็อาจจะนึกไม่ถึง ว่าวุติประเภทเรามันต้องแบกรับความเสี่ยงจากการโดนไล่ออกอยู่
    จำช่วงที่มีข่าวน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่กทม.เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ได้มั้ย ช่วงน้นวิศวะตกงานมีจำนวนไม่น้อยครับ ในขณะที่คนจบหมอคงแบกรับความเสี่ยงเรื่องแบบนี้ไม่มาก

ตรรกะการเปรียบเทียบที่ตลกของคุณคือมีส่วนนึงที่คุณเอาชีวิตการเรียนการศึกษาเพียงสี่ปีของวิศวะมาเทียบกับการเรียน 6 ปีของแพทย์ แต่คุณลืมเปรียบเทียบการทำงานอีก 30 ปีข้างหน้าจนถึงวันเกษียณ ทั้งที่พอทำงานจริงมันมีรายละเอียดอีกเยอะที่ต้องนำมาพิจารณา ผมคงยกตัวอย่างในงานของแพทย์ได้ไม่มาก แต่ผมมีตัวอย่างในงานของฟิลด์วิศวะอยู่บ้างลองพิจารณาดูครับ

- พวกทำงานกับเครื่องจักร พวกนี้มีความเสี่ยงสูงมาก การที่ทุกโรงงานยกให้เรื่อง safety มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ก็เป็นหลักฐานที่พิสูจน์ว่าการทำงานในโรงงานมีความเสี่ยงแค่ไหน ยิ่งทำงานในโรงงานเล็กๆ พวกเขายิ่งต้องเสี่ยงมากกับการจัดการความปลอดภัย ใช่ว่าทุกโรงงานทำได้ตามมาตรฐานนะครับ บอกเลย
- พวกทำงานไซต์ก่อสร้าง อันนี้ก็เหมือนพวกทำงานกับเครื่องจักรครับ ตอนที่คุณหมอเข้ารพ. ต้องใส่ร้องเท้าหัวเหล็ก กับหมวกไหมครับ ถ้าไม่ต้องใส่แสดงว่ามีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุมากกว่า เพราะพวกที่ทำงานก่อสร้างต้องใส่ตลอดครับ ใครไม่ใส่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นบริษัทจะไม่รับผิดชอบให้นะครับ
- พวกทำงานไซต์ ต้องย้ายที่ไปเรื่อยเลยครับ ถ้าเขาทำงานฟิลด์นี้ตลอดชีวิต เขาก็จะได้อยู่กับครอบครัวแบบเป็นครั้งเป็นคราวตลอดชีวิตเหมือนกัน
ตะกี้คุณว่าหมอชนบทเขาต้องเป็นกันกี่ปีนะครับ ตลอดชีวิตเหมือนคนกลุ่มนี้รึเปล่า

เห็นมั้ยครับว่าพอทำงานมันมีรายละเอียดอีกเยอะให้พิจารณา ทำไมคุณเอาเวลาเรียนแค่ไม่กี่ปีมาตัดสินความแตกต่างระหว่าง 2 วิชาชีพล่ะ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วการเปรียบเทียบระหว่าง 2 วิชาชีพ "มันเป็นไปไม่ได้" แต่แรกอยู่แล้ว

4. ลืมๆ เรื่องเงินแล้วตั้งหน้าตั้งทำงานไปเถอะ จากประสบการณ์ของผม ผมเห็นว่าแล้วว่าหาเงินได้เท่าไหร่ไม่สำคัญ เก็บเงินได้เท่าไหร่สำคัญกว่า ซึ่งการเก็บเงินเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวกับวิชาชีพแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่