สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อ กานต์ เป็นคุณแม่ ลูก 2 แล้ว ลูกอยู่ในวัยมัธยม 2 คนเลยค่ะ แน่นอนว่า โรงเรียนกวดวิชาในยุคนี้ เป็นของคู่กับเด็กวัยมัธยมค่ะ กานต์เลยมาแนะนำวิธีเลือกโรงเรียนวิชาให้ลูก ตามประสบการณ์และตรรกะของกานต์นิดหน่อยค่ะ ^^
เริ่มเลยดีกว่าเนอะ..................
โรงเรียนกวดวิชาสมัยนี้ ผุดเป็นดอกเห็ดเลยค่ะ แต่ละโรงเรียนก็จะหาคนเก่งๆเข้ามาเป็นติวเตอร์เพื่อเรียกเด็กเข้ามาเรียนกันเยอะ ดังนั้น การเลือกที่เรียนจาก"ความเก่งของติวเตอร์”อย่างเดียวไม่น่าจะได้ผลค่ะ และมันต้องเลือกตามปัจจัยอะไรบ้างล่ะ
“อ้างติวเตอร์เก่งอย่างเดียวไม่พอค่ะ” ต้องดูที่ว่า เก่งแล้วสอนเนื้อหาแน่นมั้ยเรียนแล้วเข้าใจจริงรึป่าว มีคอร์สสอนเนื้อหาแล้วต่อตะลุยโจทย์มั้ยยังไง อันนั้นต้องศึกษาข้อมูลดูวิธีการสอน ดูบุคคลิกท่าทางในการสอน สังเกตหน้าตาและอารมณ์นักเรียน เวลาเรียน (ดูจากรูปภาพและวิดีโอในเน็ตค่ะ) ว่าดูแล้วน่าเชื่อถือมั้ย แล้วก็มีคอร์สอะไรที่มันตรงจุด โดยเฉพาะคนสอนใครเก่งจริงไม่จริง ดูจากประวัติ profile ได้รับรางวัลต่างๆ อดีตสอบได้ที่1 เป็นตัวแทนไปแข่งที่ต่างๆ ดูแค่นี้อาจจะสรุปไม่ได้ว่าคนสอนเรียนเก่งแล้วสอนเก่งจริงมั้ย อันนี้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจอีกนิดหน่อย อาจจะดูจากการที่มีโรงเรียนต่างๆเชิญไปสอนอยู่เป็นประจำตรงนี้น่าจะพอตัดสินใจได้ เพราะส่วนตัวการต์คิดว่าโรงเรียนเค้าเชิญไปเค้าคงมีเหตุผล ไม่ได้เชิญมั่วๆ เพื่อตอบโจทย์ของผู้ปกครองและนักเรียน ตรงสีเขียวนี้ตัดออก ผลผลิตที่ได้แต่ละปี มีนักเรียนประสบความสำเร็จกี่เปอร์เซนต์ เป็นต้น (อันนี้กานต์แนะนำให้เลือกที่กวดวิชาที่เปิดสอนวชาเฉพาะเลยนะคะ )
“ดูแค่ราคา อย่าเพิ่งตัดสินใจ” บางที่ค่าเรียนถูกค่ะ แต่จะรู้ได้ไงว่า ถูกและดี (ให้ย้อนกลับไปดูข้อ 1) ในกรณีลูกของกานต์ กานต์จะหารค่าเรียนออกมาเป็นชั่วโมงเลยค่ะ ว่าชั่วโมงนึงเสียเท่าไร แล้วคุ้มกับที่เราเสียไปไหม ถ้าคำนวณแล้วคุ้ม ถึงแม้ว่าต้องจ่ายเป็นก้อนเยอะ กานต์ก็จ่ายค่ะ
"ตำราเรียน เทคนิคยากง่าย ใครเป็นคนเขียน” อันนี้แสดงถึงความใส่ใจของแต่ละโรงเรียนค่ะ กานต์จะดูว่า คนสอนเป็นคนเดียวกับที่เขียนตำราหรือเปล่า ถ้าคนสอนเอง เขียนเอง เค้าย่อมเข้าใจในสิ่งที่เค้าเขียน ทำให้สามารถถ่ายทอดให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น และรู้ลึกรู้จริงด้วย ยิ่งถ้าตำรามีเทคนิคการจำ หรือเทคนิคอื่นๆ ทำให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น ยิ่งดีมากๆๆเลยค่ะ
“เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ปกครองหรือนักเรียน” เราจะรู้ได้ไงว่า โรงเรียนอะไร ที่ไหน เป็นที่รู้จักมากน้อยไปกว่ากัน กานต์วัดจาก เสียงจริงของผู้บริโภคเลยค่ะ
“เสิช Google” แล้วแต่ตามกระทู้เลยค่ะ ว่ามีคนมาพูดถึงโรงเรียนนั้นๆมากน้อยแค่ไหน แง่ดีหรือแง่ร้าย แล้วเราจะเห็นอะไรมากขึ้นค่ะ
“ทำเลที่ตั้ง และสถานที่” ใช่ค่ะ อันนี้ก็สำคัญมากเช่นกัน เดินทางต้องสะดวกทั้งกับเราและกับลูกๆของเราค่ะ และสถานที่เรียนกต้องส่งเสริมการเรียนด้วย คือห้องเรียนต้องไม่แออัดยัดเยียด สะอาด และเดี๋ยวนี้ พ่อแม่ไปส่งลูกเรียน รอรับกลับไม่รู้ระหว่างนั้นจะไปรอที่ไหน เพราะฉะนั้นโรงเรียนกวดวิชาที่มีมุมนั่งรอสำหรับผู้ปกครองด้วย มันสื่อให้เห็นเลยว่า ผู้บริหารที่นั่นใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ไม่ใช่แค่ใส่ใจเด็ก แต่ใส่ใจผู้ปกครองที่เป็นคนจ่ายเงินด้วย
เนี่ยค่ะ กานต์ก็จะมีเกณฑ์เลือกที่เรียนให้ลูกประมาณนี้ค่ะ ตอนนี้กานต์ก็ให้ลูกเรียนโรงเรียนที่กานต์ตัดสินใจเลือกจากด้านบนนี้เลยค่ะ
หวังว่าคุณพ่อคุณแม่ คงได้ข้อคิดอะไรไง้ตัดสินใจเลือกที่เรียนกวดวิชาให้ลูกนะคะ
5 เคล็ดลับเลือกที่กวดวิชา เดี๋ยวนี้ติวเตอร์ที่ไหนก็เก่งทั้งนั้น ต้องดูปัจจัยอื่นด้วย!!!
เริ่มเลยดีกว่าเนอะ..................
โรงเรียนกวดวิชาสมัยนี้ ผุดเป็นดอกเห็ดเลยค่ะ แต่ละโรงเรียนก็จะหาคนเก่งๆเข้ามาเป็นติวเตอร์เพื่อเรียกเด็กเข้ามาเรียนกันเยอะ ดังนั้น การเลือกที่เรียนจาก"ความเก่งของติวเตอร์”อย่างเดียวไม่น่าจะได้ผลค่ะ และมันต้องเลือกตามปัจจัยอะไรบ้างล่ะ
“อ้างติวเตอร์เก่งอย่างเดียวไม่พอค่ะ” ต้องดูที่ว่า เก่งแล้วสอนเนื้อหาแน่นมั้ยเรียนแล้วเข้าใจจริงรึป่าว มีคอร์สสอนเนื้อหาแล้วต่อตะลุยโจทย์มั้ยยังไง อันนั้นต้องศึกษาข้อมูลดูวิธีการสอน ดูบุคคลิกท่าทางในการสอน สังเกตหน้าตาและอารมณ์นักเรียน เวลาเรียน (ดูจากรูปภาพและวิดีโอในเน็ตค่ะ) ว่าดูแล้วน่าเชื่อถือมั้ย แล้วก็มีคอร์สอะไรที่มันตรงจุด โดยเฉพาะคนสอนใครเก่งจริงไม่จริง ดูจากประวัติ profile ได้รับรางวัลต่างๆ อดีตสอบได้ที่1 เป็นตัวแทนไปแข่งที่ต่างๆ ดูแค่นี้อาจจะสรุปไม่ได้ว่าคนสอนเรียนเก่งแล้วสอนเก่งจริงมั้ย อันนี้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจอีกนิดหน่อย อาจจะดูจากการที่มีโรงเรียนต่างๆเชิญไปสอนอยู่เป็นประจำตรงนี้น่าจะพอตัดสินใจได้ เพราะส่วนตัวการต์คิดว่าโรงเรียนเค้าเชิญไปเค้าคงมีเหตุผล ไม่ได้เชิญมั่วๆ เพื่อตอบโจทย์ของผู้ปกครองและนักเรียน ตรงสีเขียวนี้ตัดออก ผลผลิตที่ได้แต่ละปี มีนักเรียนประสบความสำเร็จกี่เปอร์เซนต์ เป็นต้น (อันนี้กานต์แนะนำให้เลือกที่กวดวิชาที่เปิดสอนวชาเฉพาะเลยนะคะ )
“ดูแค่ราคา อย่าเพิ่งตัดสินใจ” บางที่ค่าเรียนถูกค่ะ แต่จะรู้ได้ไงว่า ถูกและดี (ให้ย้อนกลับไปดูข้อ 1) ในกรณีลูกของกานต์ กานต์จะหารค่าเรียนออกมาเป็นชั่วโมงเลยค่ะ ว่าชั่วโมงนึงเสียเท่าไร แล้วคุ้มกับที่เราเสียไปไหม ถ้าคำนวณแล้วคุ้ม ถึงแม้ว่าต้องจ่ายเป็นก้อนเยอะ กานต์ก็จ่ายค่ะ
"ตำราเรียน เทคนิคยากง่าย ใครเป็นคนเขียน” อันนี้แสดงถึงความใส่ใจของแต่ละโรงเรียนค่ะ กานต์จะดูว่า คนสอนเป็นคนเดียวกับที่เขียนตำราหรือเปล่า ถ้าคนสอนเอง เขียนเอง เค้าย่อมเข้าใจในสิ่งที่เค้าเขียน ทำให้สามารถถ่ายทอดให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น และรู้ลึกรู้จริงด้วย ยิ่งถ้าตำรามีเทคนิคการจำ หรือเทคนิคอื่นๆ ทำให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น ยิ่งดีมากๆๆเลยค่ะ
“เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ปกครองหรือนักเรียน” เราจะรู้ได้ไงว่า โรงเรียนอะไร ที่ไหน เป็นที่รู้จักมากน้อยไปกว่ากัน กานต์วัดจาก เสียงจริงของผู้บริโภคเลยค่ะ
“เสิช Google” แล้วแต่ตามกระทู้เลยค่ะ ว่ามีคนมาพูดถึงโรงเรียนนั้นๆมากน้อยแค่ไหน แง่ดีหรือแง่ร้าย แล้วเราจะเห็นอะไรมากขึ้นค่ะ
“ทำเลที่ตั้ง และสถานที่” ใช่ค่ะ อันนี้ก็สำคัญมากเช่นกัน เดินทางต้องสะดวกทั้งกับเราและกับลูกๆของเราค่ะ และสถานที่เรียนกต้องส่งเสริมการเรียนด้วย คือห้องเรียนต้องไม่แออัดยัดเยียด สะอาด และเดี๋ยวนี้ พ่อแม่ไปส่งลูกเรียน รอรับกลับไม่รู้ระหว่างนั้นจะไปรอที่ไหน เพราะฉะนั้นโรงเรียนกวดวิชาที่มีมุมนั่งรอสำหรับผู้ปกครองด้วย มันสื่อให้เห็นเลยว่า ผู้บริหารที่นั่นใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ไม่ใช่แค่ใส่ใจเด็ก แต่ใส่ใจผู้ปกครองที่เป็นคนจ่ายเงินด้วย
เนี่ยค่ะ กานต์ก็จะมีเกณฑ์เลือกที่เรียนให้ลูกประมาณนี้ค่ะ ตอนนี้กานต์ก็ให้ลูกเรียนโรงเรียนที่กานต์ตัดสินใจเลือกจากด้านบนนี้เลยค่ะ
หวังว่าคุณพ่อคุณแม่ คงได้ข้อคิดอะไรไง้ตัดสินใจเลือกที่เรียนกวดวิชาให้ลูกนะคะ