(กึ่งวิเคราะห์) นิทานในการ์ตูนเรื่อง Monster ของ Urasawa Naoki

กระทู้สนทนา
เกริ่นก่อนละกัน (จะข้ามก็ได้นะ ไม่ว่ากัน)

เมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมา เพราะไม่อยากเปียกน้ำเลยไม่ได้ไปไหน ก็เลยหยิบหนังสือบนชั้นวางหนังสือมาอ่าน
เป็นการ์ตูนเล่มหนานามว่า Monster ของ Urasawa Naoki ที่พิมพ์ในรูปแบบบิ๊กบุ๊ก
เอาล่ะ...ไหนๆก็ซื้อมาแล้วอ่านซะเลยดีกว่า



จริงๆแล้วเรื่องนี้เคยอ่านเมื่อนานมาแล้ว พอลองอ่านอีกครั้งถึงได้รู้ว่าครั้งแรกและครั้งนี้ให้ความรู้สึกที่ต่างกัน
ตอนแรกเข้าในว่าการ์ตูนเรื่องนี้เกี่ยวกับจิตใจของฆาตกรต่อเนื่องซะอีก
แต่พออ่านอีกรอบแบบปะติดปะต่อถึงได้รู้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้เป็นการ์ตูนสังคม การเมือง มนุษย์ และจิตวิทยา
ที่เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อของปลายสุดสงครามเย็น มีการแบ่งแยก ขัดแย้ง
และผู้มีอำนาจจะทำทุกอย่างเพื่อให้อีกฝ่ายย่อยยับโดยไม่สนว่าจะมีผลกระทบกับอะไรบ้าง
นับว่าเป็นการ์ตูนที่โหดร้าย หดหู่และโดดเดี่ยว
โดยเฉพาะการกระทำที่เอาเด็กๆมาเกี่ยวด้วยเพื่อให้แผนการที่ชั่วร้ายสำเร็จ
ผลิตเด็กๆเพื่อเป็นอาวุธสงคราม
รวมถึงการเหลื่อมล้ำของสังคมเยอรมันสมัยนั้น
แม้ในเรื่องนี้จะอยู่ในสมัยยุคกำลังพัฒนาก็ตาม
ก็ยังมีตัวละครที่คอยสาดใส่ความสิ้นหวังให้อยู่  อะไรทำนองนี้

เอาล่ะเข้าประเด็นเลยละกัน

ในนิทานทั้ง 3 เรื่องที่ของการ์ตูนเรื่องนี้ก็แฝงประเด็นการเมืองในยุคปลายสุดของสงครามเย็นเช่นกัน
(ตัวละครผู้เขียนนิทาน เขียนขึ้นระหว่างอยู่ในสงครามเย็น)
ดังนั้นบางทีอาจจะมีประเด็นที่ค่อนข้างละเอียดอยู่บ้าง
(ตามความเข้าในส่วนตัวของ จขกท. เอง)
ถ้าผิดพลาดหรือไปกระทบต่อสิ่งใดก็ขออภัยด้วยนะคะ

เริ่มเลยละกัน

(1)
-ปีศาจไร้ชื่อ-


ตามความเข้าใจ ปีศาจไร้ชื่อ อาจหมายถึง สายลับ ก็เป็นได้
สายลับที่ไม่จำเป็นต้องมีชื่อหรือมีตัวตนที่แท้จริง
เพราะเขาต้องเป็นใครก็ได้เพื่อให้ได้ข้อมูลของอีกฝ่ายมา
จะเป็นออสโต้ หรือฮาน กระทั่งคนอื่นเรื่อยไปอย่างไม่สิ้นสุด จนกว่าฝ่ายตนจะชนะ
แต่ในวันนึงสายลับกลับชอบตัวตนที่ตัวเองสร้างขึ้นหนึ่งตัวตน
เป็นตัวตนที่ตัวเองพอใจเป็นตัวตนที่ถ้าทำลายด้วยมือตัวเองจะเสียดายมาก
และเพื่อไม่ให้ปีศาจออกมาก็จำเป็นต้องอดทน อดกลั้น เพื่อคนอยู่ต่อตัวตนขณะนั้น
แต่มันกลับต้องทำลายสิ่งรอบข้าง คนรอบตัวด้วยโดยไม่ตั้งใจ
ในนิทานบอกว่า ปีศาจในร่างเด็กชายไปหาปีศาจอีกตัวเพื่อบอกว่าตัวเองมีชื่อแล้ว
แต่ปีศาจอีกตัวกลับบอกมันไม่จำเป็นเพราะเราคือปีศาจไร้ชื่อจนต้องกินปีศาจที่พูดแบบนั้ไปซะ
อาจหมายถึงเพราะเป็นสายลับ ชื่ออะไรนั่นมันไม่มีประโยชน์ ถึงจะเป็นชื่อที่เพราะหรือชีวิตที่ดีแค่ไหนก็ตาม
ถ้าอิงในเรื่องล่ะก็ สายลับคนที่กระเหียนกระหือรือเพื่อรักษาชื่อคนนั้นอาจกำจัดพวกเดียวกันก็เป็นได้
จนสุดท้ายเขาก็ต้องหลบหนีแล้วเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนตัวตนไปอีกครั้ง....ก็เป็นได้

(2)
-คนตาโตกับคนปากกว้าง-


เข้าใจว่าเรื่องนี้จะสื่อถึงระบบที่ประชาชนต้องเลือกเมื่อเกิดการแบ่งแย่งระหว่างเยอรมันตะวันออก(สังคมนิยม) กับฝั่งเยอรมันตะวันตก (เสรีนิยม)
ซึ่งไม่ว่าประชาชนจะเลือกฝ่ายไหนสุดท้ายมันก็ไม่ใช่คำตอบที่ดีทั้งนั้น
ฝ่ายหนึ่งก็โซเวียตนำอีกฝ่ายก็อเมริกาหนุน และยิ่งจะขัดแย้งกันมากขึ้น ยิ่งขัดแย้งประชาชนก็ยิ่งยากจนขึ้น
เพราะสงคราม(เย็น) แม้จะเลือกหนุนฝ่ายไหนก็ตาม
สรุปแล้วประชาชนก็คือเหยื่อและเครื่องมือต่อระบบการปกครองในสมัยนั้นนั่นเอง
ก็คงเปรียกกับคนตาโตที่ไม่เลือกแลกเปลี่ยนกับปีศาจตัวเองก็ยากจนเรื่อยๆ
หรือคนปากกว้างที่เลือกแลกเปลี่ยนกับปีศาจ เพราะมีกินจนไม่ยอมมองสวนไร่ของตัวเอง สุดท้ายตัวเองก็ยากจน
แต่ทั้งคนตาโตและคนปากกว้างพูดในเสียงเดียวกันในเชิงเสียดายต่อทางเลือกที่ตัวเองไม่ได้เลือกทั้งนั้น

(3)
-เทพเจ้าแห่งความสุข-


เรื่องนี้ค่อนข้างเดายากมาก ไม่แน่ใจว่าเทพเจ้าแห่งความสุขจะหมายถึง นักปฏิวัติ แกนนำ หรือทหารกันแน่
แต่สิ่งที่สื่ออกไปคือ เทพเจ้าแห่งความสุขคอยทำทุกอย่างเพื่อให้คนอื่นๆมีความสุขจนลืมดูแลตัวเอง
ด้วยประมวลหายอย่างจึงเข้าใจว่าน่าจะหมายถึงทหาร ทหารที่คอยดูแลประชาชนให้ปลอยภัยจากภัยสงครามในช่วงสงครามเย็นนั่นก็ได้
ในนิทานได้บอกว่าโยฮันไปให้หมวกแก่เทพเจ้าแห่งความสุข เทพเจ้าจึงได้มีเวลาดูตัวเองในกระจก
ซึ่งอาจหมายถึงรางวัลแห่งชัยชนะ แล้วพอมองย้อนกลับไปถึงชัยชะว่าได้เกิดการนองเลือดไปเท่าไหร่...เข้าใจประมาณนั้น
(ไม่แน่ใจว่าระหว่างสงครามเย็นนั่นเกิดอะไรขึ้น เลยไม่สามารถวิเคราะห์สิ่งที่นิทานเรื่องนี้จะสื่อเท่าไหร่)

..............

สุดท้ายในตอนจบของเรื่อง monster ที่ทิ้งท้ายอย่างปริศนา
ถ้าให้วิเคราะห์เอา(เอง)ล่ะก็
น่าจะ...


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ทั้งหมดทั้งมวลถ้าผิดพลาดหรือล่วงเกินประการใดก็ขออภัยด้วยนะคะ
ถ้ามีอะไรชี้แจงเพิ่มเติมก็บอกได้นะ


...เพิ่มเติม...
เพิ่งนึกได้ว่าจริงๆแล้ว 'ปีศาจ' ในเรื่องนี้อาจหมายถึง 'สงคราม' ก็ได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่