จากมติชนออนไลน์ โดย สุรีย์ประภา
ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่พยายามพัฒนาและสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ให้กับวงการภาพยนตร์ไทยเสมอมา ในยุคที่สังคมกำลังสนุกสนานกับภาพยนตร์เพลงเบาๆ ท่านมุ้ยเข็นหนังเรื่องแรกของท่าน "มันมากลับความมืด" (พ.ศ.2514) เป็นหนังวิทยาศาสตร์ไซไฟเรื่องแรกๆ ของไทยที่ไม่ประสบความสำเร็จมากนักในด้านการตลาด ภาพยนตร์เรื่องต่อๆ มาพยายามสะท้อนปัญหาสังคมในมุมมองต่างๆ เช่น "เขาชื่อกานต์" พูดถึงความยากจนของคนชนบท "ทองพูน โคกโพ" พูดถึงคนจนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ "เทพธิดาโรงแรม" พูดถึงชีวิตโสเภณีที่ตกอยู่ใต้เงื้อมมือแมงดา
พ.ศ. 2544 ท่านมุ้ยได้เปิดตำนานภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ยิ่งใหญ่อลังการ "สุริโยไท" หนังฟอร์มใหญ่ที่ทุ่มทุนสร้างและมีผู้แสดงมากที่สุดสำหรับภาพยนตร์ในยุคนั้น "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" เป็นภาพยนตร์สานต่อความสำเร็จจากสุริโยไทที่ท่านมุ้ยตั้งใจจะทำให้ยิ่งใหญ่กว่าสุริโยไทในทุกๆ ด้าน ทั้งฉาก การแต่งกาย นักแสดง และเทคนิคต่างๆ นี่เป็นภาพยนตร์ทุ่มทุนมหาศาล แม้รายได้ทั้งห้าภาคที่ผ่านมาจะประมาณเกือบ 800 ล้านบาท แต่ก็ไม่แน่ว่าจะคุ้มกับทุนที่ลงทุนไป ระยะเวลาการสร้างที่ยาวนานถึงสิบสี่ปี ประกอบกับที่มีถึงหกภาคส่งผลให้ความตื่นตาตื่นใจของผู้ชมลดลง และเริ่มมีเสียงว่าภาคหลังๆ ดีสู้ภาคแรกๆ ไม่ได้ ความจริงท่านมุ้ยจะจบที่ภาคห้า "ยุทธหัตถี" ก็ได้ แต่ท่านคงอยากสื่อให้ผู้ชมเห็นว่า แม้ยุทธหัตถีจะประกาศถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ที่เก่งกล้าและยิ่งใหญ่ของพระนเรศวรฯ แต่หาใช่ศึกสุดท้ายของกรุงอโยธยาไม่
ภาพยนตร์ เรื่องนี้ใช้คำว่า ตำนานสมเด็จพระนเรศวร จึงไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการตีความในมุมมองของผู้กำกับ ที่ต้องการเสนอประวัติศาสตร์ผ่านสื่อบันเทิง ให้คนรุ่นใหม่ได้กลับมาศึกษา สมัยยังเด็กถูกสอนให้ท่องจำว่า สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง พ.ศ. 2127 ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯ ทำให้เกิดการถกเถียงว่า เหตุการณ์ที่เมืองแครงปีพ.ศ. 2127 น่าจะไม่ใช่การประกาศอิสรภาพ เพราะคำว่า "อิสรภาพ" ในพงศาวดารสมัยนั้น มีความหมายไม่เหมือน "อิสรภาพ" ในปัจจุบัน การหลั่งอุทกธาราของสมเด็จพระนเรศวรฯ ที่เมืองแครงเป็นการประกาศตัดไมตรีแยกแผ่นดิน ไม่ยอมรับอำนาจของหงสาวดี แต่ไม่ใช่การประกาศอิสรภาพ
นี่อาจจะถือได้ว่าเป็นความสำเร็จส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ชุดสมเด็จพระนเรศวร ฯ แต่การถ่ายทำ การแต่งภาพด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิคยังมีส่วนบกพร่องมากมาย แม้จะมีข่าวว่า ได้ที่ปรึกษาระดับฮอลลีวูดมาร่วมงาน มีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือ และเทคโนโลยีแบบภาพยนตร์เรื่อง Lord of the Ring แต่ฉากหลายฉากขาดความสมจริง เช่นฉากกองทัพสมเด็จพระนเรศวรฯ ที่ยกไปตีหงสาวดี ดูเป็นฉากแข็งๆ แบบลิเก ไม่ชวนให้ครั่นคร้ามจนนันทบุเรงต้องถึงกับทิ้งเมือง ไม่ต้องเทียบกับฉากของกองทัพใน Lord of the Ring หรอก แค่เทียบกับ 300 หรือ Game of Thrones ก็ยังสู้ไมได้ งานเทคนิคที่ดูแข็งๆ ไม่กลมกลืนนี้ ทำให้ความน่าสนใจของหนังเรื่องนี้ลดลงอย่างน่าเสียดาย
ตัวละครยังคงเยอะแยะมากมาย มีการเพิ่มตัวละครใหม่ที่ไม่จำเป็นขึ้นมา จนน่าเหนื่อยต่อการแจกบท ตัวละครที่พยายามจะชูขึ้นมานอกจากสมเด็จพระนเรศวรฯ แล้ว ก็เหมือนจะพยายามให้ความสำคัญไปที่พระสุพรรณกัลยา พระเอกาทศรถ มณีจันทร์ เม้ยมะนิก (ตัวนี้มีทำไมไม่รู้) พระมหาเถรคันฉ่อง แต่จริงๆ แล้วตัวละครฝ่ายพม่าน่าสนใจกว่า เริ่มจากพระเจ้านันทบุเรง เพราะเสียโฉมเลยต้องใส่หน้ากากปิดปังใบหน้าตลอดเวลา หน้ากากไม่น่ากลัวแต่เป็นสัญลักษณ์ของความโหดเหี้ยม อำมหิต และอารมณ์คลุ้มคลั่ง แต่น่าเสียดาย ทันที่ที่เปิดหน้ากาก อารมณ์เหล่านี้หายไปหมด หน้านันทบุเรงที่เสียโฉมเพราะไฟไหม้ กลับเหมือนไปตกบ่อโคลน มีโคลนปุปะแปะติดหน้า เมงเยสีหตู พระอนุชาร่วมบิดาของนันทบุเรง บทไม่มาก แต่สีหน้าเครียดเพราะภาวะศึกที่ประชิดเมือง กินขาดนักแสดงทุกคนในเรื่อง พระนางเมงเกงสอ มเหสีเมงเยสีหตู ผู้เจ้าเล่ห์และใฝ่สูง บทมีมากกว่ามณีจันทร์ที่โผล่มายิ้มหวานแค่ไม่กี่ฉาก ทรงผมและเครื่องแต่งกายของเมงเกงสอเลิศน่าดูมาก สื่อถึงความมุ่งมั่นทะเยอทะยานอันน่ากลัว
ท่านมุ้ยปิดฉากตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยภาคที่หก "อวสานหงสา" ภาคนี้เป็นบทสรุปวีรกรรมของพระมหากษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่ การมีสายพระเนตรที่ยาวไกล รู้จักให้อภัย และยอมรับชะตากรรม ในขณะเดียวกันชี้ให้เห็นการล่มสลายของอาณาจักรพุกามที่ยิ่งใหญ่ หงสาวดีถึงกาลอวสานเพราะโมหะจริต ความคลุ้มคลั่งบ้าอำนาจและการไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจของผู้นำ ซึ่งทำให้ไม่สามารถจะผูกใจใครไว้ได้
อ่านบทวิจารณ์ข้อดี-ข้อเสีย "อวสานหงสา" ปิดท้ายหนังชุด "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯ"
ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่พยายามพัฒนาและสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ให้กับวงการภาพยนตร์ไทยเสมอมา ในยุคที่สังคมกำลังสนุกสนานกับภาพยนตร์เพลงเบาๆ ท่านมุ้ยเข็นหนังเรื่องแรกของท่าน "มันมากลับความมืด" (พ.ศ.2514) เป็นหนังวิทยาศาสตร์ไซไฟเรื่องแรกๆ ของไทยที่ไม่ประสบความสำเร็จมากนักในด้านการตลาด ภาพยนตร์เรื่องต่อๆ มาพยายามสะท้อนปัญหาสังคมในมุมมองต่างๆ เช่น "เขาชื่อกานต์" พูดถึงความยากจนของคนชนบท "ทองพูน โคกโพ" พูดถึงคนจนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ "เทพธิดาโรงแรม" พูดถึงชีวิตโสเภณีที่ตกอยู่ใต้เงื้อมมือแมงดา
พ.ศ. 2544 ท่านมุ้ยได้เปิดตำนานภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ยิ่งใหญ่อลังการ "สุริโยไท" หนังฟอร์มใหญ่ที่ทุ่มทุนสร้างและมีผู้แสดงมากที่สุดสำหรับภาพยนตร์ในยุคนั้น "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" เป็นภาพยนตร์สานต่อความสำเร็จจากสุริโยไทที่ท่านมุ้ยตั้งใจจะทำให้ยิ่งใหญ่กว่าสุริโยไทในทุกๆ ด้าน ทั้งฉาก การแต่งกาย นักแสดง และเทคนิคต่างๆ นี่เป็นภาพยนตร์ทุ่มทุนมหาศาล แม้รายได้ทั้งห้าภาคที่ผ่านมาจะประมาณเกือบ 800 ล้านบาท แต่ก็ไม่แน่ว่าจะคุ้มกับทุนที่ลงทุนไป ระยะเวลาการสร้างที่ยาวนานถึงสิบสี่ปี ประกอบกับที่มีถึงหกภาคส่งผลให้ความตื่นตาตื่นใจของผู้ชมลดลง และเริ่มมีเสียงว่าภาคหลังๆ ดีสู้ภาคแรกๆ ไม่ได้ ความจริงท่านมุ้ยจะจบที่ภาคห้า "ยุทธหัตถี" ก็ได้ แต่ท่านคงอยากสื่อให้ผู้ชมเห็นว่า แม้ยุทธหัตถีจะประกาศถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ที่เก่งกล้าและยิ่งใหญ่ของพระนเรศวรฯ แต่หาใช่ศึกสุดท้ายของกรุงอโยธยาไม่
ภาพยนตร์ เรื่องนี้ใช้คำว่า ตำนานสมเด็จพระนเรศวร จึงไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการตีความในมุมมองของผู้กำกับ ที่ต้องการเสนอประวัติศาสตร์ผ่านสื่อบันเทิง ให้คนรุ่นใหม่ได้กลับมาศึกษา สมัยยังเด็กถูกสอนให้ท่องจำว่า สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง พ.ศ. 2127 ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯ ทำให้เกิดการถกเถียงว่า เหตุการณ์ที่เมืองแครงปีพ.ศ. 2127 น่าจะไม่ใช่การประกาศอิสรภาพ เพราะคำว่า "อิสรภาพ" ในพงศาวดารสมัยนั้น มีความหมายไม่เหมือน "อิสรภาพ" ในปัจจุบัน การหลั่งอุทกธาราของสมเด็จพระนเรศวรฯ ที่เมืองแครงเป็นการประกาศตัดไมตรีแยกแผ่นดิน ไม่ยอมรับอำนาจของหงสาวดี แต่ไม่ใช่การประกาศอิสรภาพ
นี่อาจจะถือได้ว่าเป็นความสำเร็จส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ชุดสมเด็จพระนเรศวร ฯ แต่การถ่ายทำ การแต่งภาพด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิคยังมีส่วนบกพร่องมากมาย แม้จะมีข่าวว่า ได้ที่ปรึกษาระดับฮอลลีวูดมาร่วมงาน มีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือ และเทคโนโลยีแบบภาพยนตร์เรื่อง Lord of the Ring แต่ฉากหลายฉากขาดความสมจริง เช่นฉากกองทัพสมเด็จพระนเรศวรฯ ที่ยกไปตีหงสาวดี ดูเป็นฉากแข็งๆ แบบลิเก ไม่ชวนให้ครั่นคร้ามจนนันทบุเรงต้องถึงกับทิ้งเมือง ไม่ต้องเทียบกับฉากของกองทัพใน Lord of the Ring หรอก แค่เทียบกับ 300 หรือ Game of Thrones ก็ยังสู้ไมได้ งานเทคนิคที่ดูแข็งๆ ไม่กลมกลืนนี้ ทำให้ความน่าสนใจของหนังเรื่องนี้ลดลงอย่างน่าเสียดาย
ตัวละครยังคงเยอะแยะมากมาย มีการเพิ่มตัวละครใหม่ที่ไม่จำเป็นขึ้นมา จนน่าเหนื่อยต่อการแจกบท ตัวละครที่พยายามจะชูขึ้นมานอกจากสมเด็จพระนเรศวรฯ แล้ว ก็เหมือนจะพยายามให้ความสำคัญไปที่พระสุพรรณกัลยา พระเอกาทศรถ มณีจันทร์ เม้ยมะนิก (ตัวนี้มีทำไมไม่รู้) พระมหาเถรคันฉ่อง แต่จริงๆ แล้วตัวละครฝ่ายพม่าน่าสนใจกว่า เริ่มจากพระเจ้านันทบุเรง เพราะเสียโฉมเลยต้องใส่หน้ากากปิดปังใบหน้าตลอดเวลา หน้ากากไม่น่ากลัวแต่เป็นสัญลักษณ์ของความโหดเหี้ยม อำมหิต และอารมณ์คลุ้มคลั่ง แต่น่าเสียดาย ทันที่ที่เปิดหน้ากาก อารมณ์เหล่านี้หายไปหมด หน้านันทบุเรงที่เสียโฉมเพราะไฟไหม้ กลับเหมือนไปตกบ่อโคลน มีโคลนปุปะแปะติดหน้า เมงเยสีหตู พระอนุชาร่วมบิดาของนันทบุเรง บทไม่มาก แต่สีหน้าเครียดเพราะภาวะศึกที่ประชิดเมือง กินขาดนักแสดงทุกคนในเรื่อง พระนางเมงเกงสอ มเหสีเมงเยสีหตู ผู้เจ้าเล่ห์และใฝ่สูง บทมีมากกว่ามณีจันทร์ที่โผล่มายิ้มหวานแค่ไม่กี่ฉาก ทรงผมและเครื่องแต่งกายของเมงเกงสอเลิศน่าดูมาก สื่อถึงความมุ่งมั่นทะเยอทะยานอันน่ากลัว
ท่านมุ้ยปิดฉากตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยภาคที่หก "อวสานหงสา" ภาคนี้เป็นบทสรุปวีรกรรมของพระมหากษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่ การมีสายพระเนตรที่ยาวไกล รู้จักให้อภัย และยอมรับชะตากรรม ในขณะเดียวกันชี้ให้เห็นการล่มสลายของอาณาจักรพุกามที่ยิ่งใหญ่ หงสาวดีถึงกาลอวสานเพราะโมหะจริต ความคลุ้มคลั่งบ้าอำนาจและการไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจของผู้นำ ซึ่งทำให้ไม่สามารถจะผูกใจใครไว้ได้