บทความนี้ผมเคยเขียนส่งเสนอไปให้นิตยสารฉบับหนึ่งได้พิจารณาตีพิมพ์ แต่สุดท้ายไม่ผ่านการตีพิมพ์ ก็เลยเอามาลงให้เพื่อนในพันทิพได้อ่านครับ เผื่อบางท่านจะใช้ประโยชน์จากบทความนี้ได้ ไม่มากก็น้อยครับ
หอพักเป็นแหล่งพำนักสำรองรองจากบ้าน ผู้ที่หาหอพักส่วนใหญ่ต้องการเช่าเพื่ออยู่อาศัยตั้งแต่หนึ่งเดือนเป็นต้นไป
เหตุผลความจำเป็นการเช่าห้องพัก
- เหตุจำเป็นที่ต้องไปประกอบกิจกรรมประจำวันไกลจากบ้านเป็นระยะเวลานาน เช่น ศึกษาหรือทำงานต่างถิ่น เป็นต้น
- เหตุผลความสะดวกต่อการเดินทาง ช่วยร่นระยะทางและระยะเวลาการไปสถานที่ประกอบกิจกรรมประจำวัน เช่น หอพักอยู่ใกล้สถานที่เรียนหรือทำงาน หอพักอยู่บริเวณแนวรถไฟฟ้าที่สะดวกต่อการเดินทาง เป็นต้น
- เหตุผลเรื่องความปลอดภัย เช่น เลิกงานหรือเลิกเรียนดึกเกินกว่าที่จะเดินทางกลับบ้าน หรือรถรับจ้างที่จะกลับบ้านหมด เป็นต้น
- ต้องการพื้นที่ส่วนตัวเพื่อประกอบกิจธุระด้วยเหตุผลส่วนตัว ซึ่งที่บ้านไม่สามารถทำได้ในช่วงเวลาขณะนั้น
วิธีการค้นหาหอพัก
- ควรเตรียมตัวหาหอพักอย่างน้อย 1 เดือนก่อนที่จะเข้าพัก
- ค้นหาหอพักโดยการสืบค้นจากทางอินเตอร์เน็ทและโทรศัพท์สอบถามหอพักเบื้องต้น
- ค้นหาหอพักจากสอบถามจากผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น เช่น ร้านค้าขายสินค้า ขายอาหารและวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นต้น
- สอบถามหอพักกับคนที่ตนเองสนิทหรือรู้จักที่พำนักอาศัยอยู่รอบบริเวณนั้นหรือเคยพำนักอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
อุปกรณ์ที่ควรนำติดตัวไปตอนไปหาหอพัก
1. ปากกาและสมุดจด ใช้สำหรับจดบันทึก
2. ตลับเมตรหรือสายวัด ใช้สำหรับวัดขนาดสิ่งของต่างๆ เช่น ความยาวของราวแขวนผ้าม่าน และความยาวของเตียง เป็นต้น
3. โทรศัพท์มือถือและตัวชาร์จแบตเตอรี่ ใช้สำหรับเสียบตรวจสอบตัวเสียบปลั๊กไฟ
4. กล้องถ่ายรูป ใช้สำหรับถ่ายสภาพตัวตึกและสภาพห้องโดยรวม
หัวข้อหลักเกณฑ์การพิจารณาในการเลือกหอพัก มีดังต่อไปนี้
1. ตำแหน่งที่ตั้งของหอพัก
- ระยะทางระหว่างถนนหน้าหอพักไปยังสถานที่ที่ตนเองต้องไปประกอบกิจกรรมประจำวันใกล้/ไกลเพียงใด? สามารถใช้วิธีการเดินเท้าได้หรือไม่?
- ระยะทางระหว่างหอพักไปยังปากซอยหรือถนนใหญ่ใกล้/ไกลเพียงใด? สามารถใช้วิธีการเดินเท้าได้หรือไม่?
- มีรถรับจ้างที่ใช้สำหรับการเดินทางจากหอพักไปยังปากซอยหรือถนนใหญ่หรือไม่? มีรถรับจ้างที่ใช้สำหรับการเดินทางจากปากซอยหรือถนนใหญ่ไปยังสถานที่ประกอบกิจกรรมประจำวันหรือไม่? มีรถรับจ้างให้เลือกกี่ประเภท? ต้องต่อรถเดินทางกี่ต่อ? รถรับจ้างวิ่งรับจ้างตลอดทั้งวันทั้งคืนหรือไม่? รถรับจ้างหมดเวลากี่โมง? และถ้ารถรับจ้างหมดจะกลับหรือออกจากหอพักด้วยวิธีการใด? ในช่วงเวลาเร่งด่วนใช้เวลาการรอรถรับจ้างนานหรือไม่?
- ระยะเวลาเดินทางไป/กลับ ใช้เวลาเท่าใด?
- ค่าเดินทางไป/กลับทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายรวมต่อวันกี่บาท? และต่อเดือนกี่บาท?
2. สภาพบริเวณโดยรอบหอพัก
- มีร้านค้าอำนวยความสะดวกหรือไม่? เช่น ร้านซักอบรีด เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ เครื่องกรองน้ำดื่ม ร้านขายอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตู้กดเงินเอทีเอ็ม ตู้โทรศัพท์สาธารณะ เป็นต้น
- มีไฟส่องสว่างทางตอนกลางคืนหรือไม่? มีรถและคนเดินเข้าออกตลอดวันหรือไม่? คนเดินเริ่มน้อยตั้งแต่ช่วงเวลาใด?
- ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมรอบบริเวณ ได้แก่ จี้ ปล้น วิ่งราว ข่มขืน ยาเสพย์ติด สถานที่มั่วสุมและแหล่งซ่องสุม ช่วงเวลาที่เสี่ยงต่ออันตราย โดยใช้วิธีการสังเกต การสอบถามผู้ที่พักอาศัยอยู่บริเวณนั้น การสืบค้นทางอินเตอร์เน็ท
- ตรวจสอบทำเลพื้นที่การระบายน้ำในเวลาฝนตกว่าเกิดน้ำท่วมง่ายหรือไม่? ท่วมสูงเพียงใด? และระยะเวลาการระบายน้ำนานเพียงใด?
3. อาคารหอพัก
- สภาพตัวตึก ความใหม่เก่าของตัวตึก และความสะอาดโดยรวมภายในตัวตึก
- ระบบดูแลรักษาความปลอดภัย ได้แก่ กล้องวงจรปิด เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ระบบประตูคีย์การ์ด ระบบการป้องกันบุคคลภายนอกลอบเข้ามา ความปลอดภัยของรถในสถานที่จอดรถ
- ระบบป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ ป้ายบอกทางหนีไฟ ตำแหน่งถังดับเพลิง สายยางหัวฉีดน้ำดับเพลิง ปุ่มกดสัญญาณเตือนภัย ระบบไฟสำรองส่องทางฉุกเฉิน ระบบตัดไฟเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจร
- สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้แก่ เคเบิ้ลทีวี โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ท WIFI เครื่องกรองน้ำดื่ม เครื่องซักผ้า สถานที่ตากผ้า ลิฟท์ขนส่ง สถานที่จอดรถและมีที่จอดรถเพียงพอหรือไม่? สถานที่ทิ้งขยะ ฯลฯ
- น้ำและไฟในหอพัก ตัดบ่อยครั้งหรือไม่? ในอาคารหอพักมีถังเก็บน้ำสำรองใช้เมื่อน้ำถูกตัดหรือไม่?
- มีผู้เช่าที่เป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่ในหอพักหรือไม่? มีกลุ่มแก๊งค์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมั่วสุมอยู่ที่ทางเข้า/ออกของหอพักหรือไม่?
- สิ่งที่ควรศึกษาและพิจารณาในเรื่องสัญญาก่อนการเช่าห้องมีดังต่อไปนี้
- ค่าเช่าห้องเดือนละกี่บาท?
- ต้องวางเงินค่าจองห้องเป็นเงินกี่บาท? ต้องจองล่วงหน้าภายในวันที่เท่าใด? และย้ายเข้ามาอยู่ได้ในวันที่เท่าใด? ต้องย้ายเข้าภายในเวลาเท่าใด?
- ต้องวางเงินล่วงหน้าในวันที่ทำสัญญาเช่าห้องกี่เดือน? คิดเป็นเงินกี่บาท? ประกอบด้วยค่าอะไรบ้าง?
- ต้องเช่าห้องอย่างน้อยกี่เดือน? ถึงจะได้เงินประกันที่จ่ายล่วงหน้าคืน
- ถ้าอยู่ไม่ครบกำหนดสัญญาจะถูกหักค่าอะไรบ้าง? รวมเป็นเงินรายการหักกี่บาท? และจะได้เงินคืนกี่บาท?
- ถ้าจะย้ายออกต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน? หรือต้องแจ้งย้ายล่วงหน้าภายในวันที่เท่าใดของเดือน?
- เมื่ออยู่ครบหรือเกินสัญญาระยะเวลา ถ้าจะย้ายออกจะถูกหักรายการใดบ้าง? หักเป็นเงินกี่บาท? และจะเหลือเงินที่ได้รับคืนกี่บาท?
- ต้องชำระค่าเช่าห้องวันที่เท่าใดของเดือน? และต้องชำระไม่เกินวันที่เท่าใด? หอพักบางแห่งมีวิธีการให้ผู้เช่าจ่ายสองครั้ง คือ กลางเดือนจ่ายเฉพาะค่าน้ำค่าไฟและค่าสาธารณูปโภคต่างๆ และสิ้นเดือนเป็นการจ่ายเฉพาะค่าเช่า
- ถ้าชำระค่าเช่าเกินวันที่กำหนดจะคิดค่าปรับอย่างไร?
- ถ้ายังไม่จ่ายค่าเช่าห้อง เกินกี่วันถึงจะถูกยึดห้องคืน?
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าน้ำหน่วยละกี่บาท? ค่าไฟหน่วยละกี่บาท? ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ท WIFI ค่าที่จอดรถ ค่าเคเบิ้ลทีวี ค่าทำคีย์การ์ดเปิดประตูหรือลูกกุญแจเปิดประตูใหม่ เป็นต้น
- กฎระเบียบและข้อห้ามต่างๆ เช่น ห้ามใช้เตาแก๊ส ห้ามประกอบอาหารที่มีกลิ่นรบกวน ห้ามตำครก ห้ามเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่ส่งเสียงรบกวนหรือความรำคาญให้ห้องรอบข้าง ห้ามเจาะหรือตอกกำแพง ห้ามติดเทปกาวบนกำแพง เป็นต้น
- สืบค้นประวัติหอพักเบื้องต้น เช่น สืบค้นประวัติในอินเตอร์เน็ท หรือสอบถามร้านค้าหรือวินมอเตอร์ไซค์ที่ตั้งอยู่บริเวณรอบหอพัก เป็นต้น
4. ข้อแนะนำการคัดเลือกห้องพัก
- พื้นห้อง ถ้าเป็นพื้นหินขัดหรือพื้นปูกระเบื้องจะเย็นสบายกว่าและดูแลความสะอาดง่ายกว่าพื้นไม้ปาร์เก้
- ไม่ควรเลือกห้องทีอยู่ชั้นบนสุดเพราะตอนกลางวันห้องจะร้อนมาก
- ไม่ควรเลือกห้องที่ระเบียงห้องส่องไปที่ทิศใต้ตรงๆ เพราะห้องจะได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ในช่วงบ่ายเต็มๆ
- ห้องที่อยู่ชั้น 1 - 3 มักจะมียุงมากกว่าห้องที่อยู่ชั้นบนขึ้นไป ในขณะห้องที่อยู่บนขึ้นไปสามารถเปิดประตูและหน้าต่างโดยไม่ต้องกลัวยุง
- ห้องชั้นบนอากาศจะถ่ายเทดีกว่าชั้นล่าง
- ห้องที่อยู่บริเวณทางเดินขึ้นลงบันไดหรือลิฟท์จะมีเสียงเดินเท้ารบกวนมากกว่าห้องที่อยู่เลยออกไป
- ไม่ควรเลือกห้องที่อยู่ใกล้จุดทิ้งขยะเพราะจะมีกลิ่นขยะและแมลงวันรบกวน
- ไม่ควรเลือกห้องที่ห้องบริเวณรอบข้างเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่ส่งเสียงดัง มีเด็กเล็ก มีกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบตั้งวงดื่มสุรา และห้องที่ชอบส่งเสียงดังบ่อยครั้ง
- เหตุผลความเชื่อส่วนตัว เช่น ไม่เลือกห้องที่มีประวัติเคยมีคนตายอยู่ภายในห้องหรือใกล้ๆห้องที่เคยมีคนตาย ความเชื่อเรื่องผีวิญญาณ ความเชื่อฮวงจุ้ย ความเชื่อห้องทางสามแพร่ง ความเชื่อเรื่องตัวเลข เลขที่ห้องและเลขชั้นที่อยู่ เป็นต้น
5. หลักการพิจารณาดูภายในห้องพัก
5.1 พิจารณาจากสภาพห้อง
- ความใหม่เก่าภายในห้อง และความสะอาดโดยรวมภายห้อง
- บานประตูหน้าห้องต้องแข็งแรง เปิด/ปิดได้ดี ต้องมีกลอนล็อคประตูจากในห้อง บานประตูต้องไม่มีรอยเจาะรูทะลุจนสามารถมองลอดเข้ามาภายในห้อง ช่องว่างใต้ระหว่างใต้ประตูและพื้นไม่กว้างจนทำให้คนภายนอกจะแอบมองลอดเข้ามาได้หรือสัตว์และแมลงต่างๆสามารถลอดเข้ามาในห้องได้ มีกลอนคล้องโซ่ติดอยู่ที่บานประตูด้านในหรือไม่? มีตาแมวหรือไม่? ตัวคล้องกุญแจสายยูด้านนอกห้องต้องไม่สามารถดันมาปิดล๊อคขณะที่มีคนอยู่ในห้องได้
- กำแพงห้องเป็นผนังปูนหรือผนังวัสดุมวลเบา
- เพดานห้องเป็นเพดานปูนปิดมิดชิดหรือเป็นฝ้าปูเพดาน
- สภาพสายไฟไม่เก่าจนเกินไป การเดินสายไฟอยู่ในสภาพเรียบร้อย
- ราวแขวนผ้าม่านสภาพใช้งานได้ดี มีผ้าม่านติดอยู่ที่ราวหรือไม่? มีความยาวกี่เมตร?
- หน้าต่างหรือบานเกร็ดด้านฝั่งด้านเดียวกับประตูห้องและระเบียงกระจำต้องไม่แตกไม่ร้าว ต้องสามารถเปิดและปิดได้ และถ้าปิดหน้าต่างแล้วหน้าต่างต้องสามารถล็อคได้อย่างแน่นหนา มีลูกกรงติดหรือไม่? และถ้าถอดหน้าต่างบานเกร็ดออกสามารถใช้มือมุดล้วงเข้ามาเปิดประตูได้หรือไม่? หน้าต่างด้านระเบียงในวันที่ฝนตกมีน้ำฝนไหลรั่วซึมเข้ามาหรือไม่? ให้สังเกตจากกำแพงขอบหน้าต่างด้านล่างว่ามีร่องรอยคราบน้ำติดอยู่ที่กำแพงหรือไม่?
- สภาพมุ้งลวด มีรอยขาดของมุ้งลวดหรือไม่?
- มีช่องระบายอากาศเหนือประตูห้องและกำแพงหรือไม่? คนภายนอกสามารถปีนแอบดูเข้ามาภายในห้องง่ายหรือไม่?
- มีเสียงภายนอกห้องลอดเข้ามารบกวนหรือไม่? และเสียงภายในห้องลอดออกไปนอกห้องหรือไม่? ลอดออกไปดังเพียงใด?
- อุณหภูมิภายในห้อง สภาพอากาศการถ่ายเทอากาศภายในห้อง กลิ่นภายในห้องเป็นเช่นใด? มีกลิ่นภายนอกห้องเข้ามารบกวนหรือไม่?
- ภายในห้องมีสัญญาณโทรศัพท์มือถือชัดเจนหรือไม่? มีสัญญาณ WIFI หรือไม่? ระดับความแรงของสัญญาณ WIFI
- มีเครื่องรางของขลังติดอยู่บริเวณหน้าประตูห้องและภายในห้องหรือไม่?
5.2 อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้อง
- สวิสตัดไฟหลักอยู่ในตำแหน่งใด? สามารถใช้งานได้ดีหรือไม่?
- หลอดไฟเป็นหลอดชนิดอะไร? อยู่ในตำแหน่งใดบ้าง? แสงสว่างเพียงพอหรือไม่? ให้แสงสว่างสีอะไร?
- สภาพเครื่องปรับอากาศ กี่บีทียู? กินไฟหรือไม่? เปิดแล้วมีเสียงดังและมีกลิ่นหรือไม่?
- สภาพพัดลม สวิสเปิดปิดพัดลมใช้งานได้ดีหรือไม่? เปิดแล้วมีเสียงดังเกินไปหรือไม่?
- สภาพกล่องเสียบปลั๊กไฟ รูเสียบปลั๊กไฟมีแบบใด? จุดเสียบปลั๊กมีกี่จุด? อยู่ในตำแหน่งใด? เพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่?
- สภาพรูเสียบรับสัญญาณทีวีมี มีสายทีวีให้หรือไม่? ยาวกี่เมตร? อยู่ในตำแหน่งใดของห้อง?
5.3 เฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง
- สภาพเตียงโดยรวม เตียงยาวกี่ฟุต? เบาะปูเตียงทำด้วยวัสดุอะไร? สภาพและความสะอาดของเบาะปูเตียงเป็นอย่างไร? ความแข็งแรงของเตียงเป็นอย่างไร? เตียงโยกหรือไม่?
- สภาพตู้เสื้อผ้า โต๊ะกระจกเครื่องแป้ง เก้าอี้
5.4 ห้องน้ำ
- ความสะอาดโดยรวมภายในห้องน้ำ
- บานประตูเปิดปิดและมีกลอนล็อคประตูได้ดี ไม่มีรอยเจาะรูที่บานประตูที่สามารถมองลอดเข้าไปภายในห้องน้ำ ช่องว่างใต้ระหว่างประตูและพื้นไม่กว้างจนทำให้มองลอดเข้าไปภายในห้องน้ำได้
- ความกว้างของห้องน้ำเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่? สามารถซักผ้าหรือชำระล้างภายในห้องน้ำได้หรือไม่?
- เพดานห้องน้ำเป็นเพดานปูนปิดมิดชิดหรือเป็นฝ้าปูเพดาน
- สภาพส้วมโดยรวม เป็นส้วมซึมหรือชักโครก? ไหลซึมได้ดีหรือไม่? ควรลองกดน้ำหรือราดน้ำแล้วลองสังเกตดู มีสายฉีดชำระล้างหรือไม่? สภาพสายชำระล้างเป็นอย่างไร?
- ท่อน้ำไม่มีเศษขยะอุดตัน สามารถไหลซึมได้ดีและรวดเร็ว
- น้ำประปา ให้สังเกตสีและกลิ่นของน้ำ และความแรงของน้ำที่ออกจากหัวก๊อกและหัวฝักบัว
- หัวก๊อกน้ำทุกหัวต้องเปิดใช้งานได้ดี และถ้าปิดก๊อกน้ำแล้วต้องไม่มีน้ำไหลรั่วซึมออกจากหัวก๊อก
- บุคคลนอกห้องต้องไม่สามารถปีนแอบดูมองลอดเข้ามาภายในห้องน้ำได้
(มีต่อ)
วิธีการดูหอพัก/ห้องเช่า
หอพักเป็นแหล่งพำนักสำรองรองจากบ้าน ผู้ที่หาหอพักส่วนใหญ่ต้องการเช่าเพื่ออยู่อาศัยตั้งแต่หนึ่งเดือนเป็นต้นไป
เหตุผลความจำเป็นการเช่าห้องพัก
- เหตุจำเป็นที่ต้องไปประกอบกิจกรรมประจำวันไกลจากบ้านเป็นระยะเวลานาน เช่น ศึกษาหรือทำงานต่างถิ่น เป็นต้น
- เหตุผลความสะดวกต่อการเดินทาง ช่วยร่นระยะทางและระยะเวลาการไปสถานที่ประกอบกิจกรรมประจำวัน เช่น หอพักอยู่ใกล้สถานที่เรียนหรือทำงาน หอพักอยู่บริเวณแนวรถไฟฟ้าที่สะดวกต่อการเดินทาง เป็นต้น
- เหตุผลเรื่องความปลอดภัย เช่น เลิกงานหรือเลิกเรียนดึกเกินกว่าที่จะเดินทางกลับบ้าน หรือรถรับจ้างที่จะกลับบ้านหมด เป็นต้น
- ต้องการพื้นที่ส่วนตัวเพื่อประกอบกิจธุระด้วยเหตุผลส่วนตัว ซึ่งที่บ้านไม่สามารถทำได้ในช่วงเวลาขณะนั้น
วิธีการค้นหาหอพัก
- ควรเตรียมตัวหาหอพักอย่างน้อย 1 เดือนก่อนที่จะเข้าพัก
- ค้นหาหอพักโดยการสืบค้นจากทางอินเตอร์เน็ทและโทรศัพท์สอบถามหอพักเบื้องต้น
- ค้นหาหอพักจากสอบถามจากผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น เช่น ร้านค้าขายสินค้า ขายอาหารและวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นต้น
- สอบถามหอพักกับคนที่ตนเองสนิทหรือรู้จักที่พำนักอาศัยอยู่รอบบริเวณนั้นหรือเคยพำนักอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
อุปกรณ์ที่ควรนำติดตัวไปตอนไปหาหอพัก
1. ปากกาและสมุดจด ใช้สำหรับจดบันทึก
2. ตลับเมตรหรือสายวัด ใช้สำหรับวัดขนาดสิ่งของต่างๆ เช่น ความยาวของราวแขวนผ้าม่าน และความยาวของเตียง เป็นต้น
3. โทรศัพท์มือถือและตัวชาร์จแบตเตอรี่ ใช้สำหรับเสียบตรวจสอบตัวเสียบปลั๊กไฟ
4. กล้องถ่ายรูป ใช้สำหรับถ่ายสภาพตัวตึกและสภาพห้องโดยรวม
หัวข้อหลักเกณฑ์การพิจารณาในการเลือกหอพัก มีดังต่อไปนี้
1. ตำแหน่งที่ตั้งของหอพัก
- ระยะทางระหว่างถนนหน้าหอพักไปยังสถานที่ที่ตนเองต้องไปประกอบกิจกรรมประจำวันใกล้/ไกลเพียงใด? สามารถใช้วิธีการเดินเท้าได้หรือไม่?
- ระยะทางระหว่างหอพักไปยังปากซอยหรือถนนใหญ่ใกล้/ไกลเพียงใด? สามารถใช้วิธีการเดินเท้าได้หรือไม่?
- มีรถรับจ้างที่ใช้สำหรับการเดินทางจากหอพักไปยังปากซอยหรือถนนใหญ่หรือไม่? มีรถรับจ้างที่ใช้สำหรับการเดินทางจากปากซอยหรือถนนใหญ่ไปยังสถานที่ประกอบกิจกรรมประจำวันหรือไม่? มีรถรับจ้างให้เลือกกี่ประเภท? ต้องต่อรถเดินทางกี่ต่อ? รถรับจ้างวิ่งรับจ้างตลอดทั้งวันทั้งคืนหรือไม่? รถรับจ้างหมดเวลากี่โมง? และถ้ารถรับจ้างหมดจะกลับหรือออกจากหอพักด้วยวิธีการใด? ในช่วงเวลาเร่งด่วนใช้เวลาการรอรถรับจ้างนานหรือไม่?
- ระยะเวลาเดินทางไป/กลับ ใช้เวลาเท่าใด?
- ค่าเดินทางไป/กลับทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายรวมต่อวันกี่บาท? และต่อเดือนกี่บาท?
2. สภาพบริเวณโดยรอบหอพัก
- มีร้านค้าอำนวยความสะดวกหรือไม่? เช่น ร้านซักอบรีด เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ เครื่องกรองน้ำดื่ม ร้านขายอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตู้กดเงินเอทีเอ็ม ตู้โทรศัพท์สาธารณะ เป็นต้น
- มีไฟส่องสว่างทางตอนกลางคืนหรือไม่? มีรถและคนเดินเข้าออกตลอดวันหรือไม่? คนเดินเริ่มน้อยตั้งแต่ช่วงเวลาใด?
- ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมรอบบริเวณ ได้แก่ จี้ ปล้น วิ่งราว ข่มขืน ยาเสพย์ติด สถานที่มั่วสุมและแหล่งซ่องสุม ช่วงเวลาที่เสี่ยงต่ออันตราย โดยใช้วิธีการสังเกต การสอบถามผู้ที่พักอาศัยอยู่บริเวณนั้น การสืบค้นทางอินเตอร์เน็ท
- ตรวจสอบทำเลพื้นที่การระบายน้ำในเวลาฝนตกว่าเกิดน้ำท่วมง่ายหรือไม่? ท่วมสูงเพียงใด? และระยะเวลาการระบายน้ำนานเพียงใด?
3. อาคารหอพัก
- สภาพตัวตึก ความใหม่เก่าของตัวตึก และความสะอาดโดยรวมภายในตัวตึก
- ระบบดูแลรักษาความปลอดภัย ได้แก่ กล้องวงจรปิด เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ระบบประตูคีย์การ์ด ระบบการป้องกันบุคคลภายนอกลอบเข้ามา ความปลอดภัยของรถในสถานที่จอดรถ
- ระบบป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ ป้ายบอกทางหนีไฟ ตำแหน่งถังดับเพลิง สายยางหัวฉีดน้ำดับเพลิง ปุ่มกดสัญญาณเตือนภัย ระบบไฟสำรองส่องทางฉุกเฉิน ระบบตัดไฟเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจร
- สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้แก่ เคเบิ้ลทีวี โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ท WIFI เครื่องกรองน้ำดื่ม เครื่องซักผ้า สถานที่ตากผ้า ลิฟท์ขนส่ง สถานที่จอดรถและมีที่จอดรถเพียงพอหรือไม่? สถานที่ทิ้งขยะ ฯลฯ
- น้ำและไฟในหอพัก ตัดบ่อยครั้งหรือไม่? ในอาคารหอพักมีถังเก็บน้ำสำรองใช้เมื่อน้ำถูกตัดหรือไม่?
- มีผู้เช่าที่เป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่ในหอพักหรือไม่? มีกลุ่มแก๊งค์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมั่วสุมอยู่ที่ทางเข้า/ออกของหอพักหรือไม่?
- สิ่งที่ควรศึกษาและพิจารณาในเรื่องสัญญาก่อนการเช่าห้องมีดังต่อไปนี้
- ค่าเช่าห้องเดือนละกี่บาท?
- ต้องวางเงินค่าจองห้องเป็นเงินกี่บาท? ต้องจองล่วงหน้าภายในวันที่เท่าใด? และย้ายเข้ามาอยู่ได้ในวันที่เท่าใด? ต้องย้ายเข้าภายในเวลาเท่าใด?
- ต้องวางเงินล่วงหน้าในวันที่ทำสัญญาเช่าห้องกี่เดือน? คิดเป็นเงินกี่บาท? ประกอบด้วยค่าอะไรบ้าง?
- ต้องเช่าห้องอย่างน้อยกี่เดือน? ถึงจะได้เงินประกันที่จ่ายล่วงหน้าคืน
- ถ้าอยู่ไม่ครบกำหนดสัญญาจะถูกหักค่าอะไรบ้าง? รวมเป็นเงินรายการหักกี่บาท? และจะได้เงินคืนกี่บาท?
- ถ้าจะย้ายออกต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน? หรือต้องแจ้งย้ายล่วงหน้าภายในวันที่เท่าใดของเดือน?
- เมื่ออยู่ครบหรือเกินสัญญาระยะเวลา ถ้าจะย้ายออกจะถูกหักรายการใดบ้าง? หักเป็นเงินกี่บาท? และจะเหลือเงินที่ได้รับคืนกี่บาท?
- ต้องชำระค่าเช่าห้องวันที่เท่าใดของเดือน? และต้องชำระไม่เกินวันที่เท่าใด? หอพักบางแห่งมีวิธีการให้ผู้เช่าจ่ายสองครั้ง คือ กลางเดือนจ่ายเฉพาะค่าน้ำค่าไฟและค่าสาธารณูปโภคต่างๆ และสิ้นเดือนเป็นการจ่ายเฉพาะค่าเช่า
- ถ้าชำระค่าเช่าเกินวันที่กำหนดจะคิดค่าปรับอย่างไร?
- ถ้ายังไม่จ่ายค่าเช่าห้อง เกินกี่วันถึงจะถูกยึดห้องคืน?
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าน้ำหน่วยละกี่บาท? ค่าไฟหน่วยละกี่บาท? ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ท WIFI ค่าที่จอดรถ ค่าเคเบิ้ลทีวี ค่าทำคีย์การ์ดเปิดประตูหรือลูกกุญแจเปิดประตูใหม่ เป็นต้น
- กฎระเบียบและข้อห้ามต่างๆ เช่น ห้ามใช้เตาแก๊ส ห้ามประกอบอาหารที่มีกลิ่นรบกวน ห้ามตำครก ห้ามเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่ส่งเสียงรบกวนหรือความรำคาญให้ห้องรอบข้าง ห้ามเจาะหรือตอกกำแพง ห้ามติดเทปกาวบนกำแพง เป็นต้น
- สืบค้นประวัติหอพักเบื้องต้น เช่น สืบค้นประวัติในอินเตอร์เน็ท หรือสอบถามร้านค้าหรือวินมอเตอร์ไซค์ที่ตั้งอยู่บริเวณรอบหอพัก เป็นต้น
4. ข้อแนะนำการคัดเลือกห้องพัก
- พื้นห้อง ถ้าเป็นพื้นหินขัดหรือพื้นปูกระเบื้องจะเย็นสบายกว่าและดูแลความสะอาดง่ายกว่าพื้นไม้ปาร์เก้
- ไม่ควรเลือกห้องทีอยู่ชั้นบนสุดเพราะตอนกลางวันห้องจะร้อนมาก
- ไม่ควรเลือกห้องที่ระเบียงห้องส่องไปที่ทิศใต้ตรงๆ เพราะห้องจะได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ในช่วงบ่ายเต็มๆ
- ห้องที่อยู่ชั้น 1 - 3 มักจะมียุงมากกว่าห้องที่อยู่ชั้นบนขึ้นไป ในขณะห้องที่อยู่บนขึ้นไปสามารถเปิดประตูและหน้าต่างโดยไม่ต้องกลัวยุง
- ห้องชั้นบนอากาศจะถ่ายเทดีกว่าชั้นล่าง
- ห้องที่อยู่บริเวณทางเดินขึ้นลงบันไดหรือลิฟท์จะมีเสียงเดินเท้ารบกวนมากกว่าห้องที่อยู่เลยออกไป
- ไม่ควรเลือกห้องที่อยู่ใกล้จุดทิ้งขยะเพราะจะมีกลิ่นขยะและแมลงวันรบกวน
- ไม่ควรเลือกห้องที่ห้องบริเวณรอบข้างเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่ส่งเสียงดัง มีเด็กเล็ก มีกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบตั้งวงดื่มสุรา และห้องที่ชอบส่งเสียงดังบ่อยครั้ง
- เหตุผลความเชื่อส่วนตัว เช่น ไม่เลือกห้องที่มีประวัติเคยมีคนตายอยู่ภายในห้องหรือใกล้ๆห้องที่เคยมีคนตาย ความเชื่อเรื่องผีวิญญาณ ความเชื่อฮวงจุ้ย ความเชื่อห้องทางสามแพร่ง ความเชื่อเรื่องตัวเลข เลขที่ห้องและเลขชั้นที่อยู่ เป็นต้น
5. หลักการพิจารณาดูภายในห้องพัก
5.1 พิจารณาจากสภาพห้อง
- ความใหม่เก่าภายในห้อง และความสะอาดโดยรวมภายห้อง
- บานประตูหน้าห้องต้องแข็งแรง เปิด/ปิดได้ดี ต้องมีกลอนล็อคประตูจากในห้อง บานประตูต้องไม่มีรอยเจาะรูทะลุจนสามารถมองลอดเข้ามาภายในห้อง ช่องว่างใต้ระหว่างใต้ประตูและพื้นไม่กว้างจนทำให้คนภายนอกจะแอบมองลอดเข้ามาได้หรือสัตว์และแมลงต่างๆสามารถลอดเข้ามาในห้องได้ มีกลอนคล้องโซ่ติดอยู่ที่บานประตูด้านในหรือไม่? มีตาแมวหรือไม่? ตัวคล้องกุญแจสายยูด้านนอกห้องต้องไม่สามารถดันมาปิดล๊อคขณะที่มีคนอยู่ในห้องได้
- กำแพงห้องเป็นผนังปูนหรือผนังวัสดุมวลเบา
- เพดานห้องเป็นเพดานปูนปิดมิดชิดหรือเป็นฝ้าปูเพดาน
- สภาพสายไฟไม่เก่าจนเกินไป การเดินสายไฟอยู่ในสภาพเรียบร้อย
- ราวแขวนผ้าม่านสภาพใช้งานได้ดี มีผ้าม่านติดอยู่ที่ราวหรือไม่? มีความยาวกี่เมตร?
- หน้าต่างหรือบานเกร็ดด้านฝั่งด้านเดียวกับประตูห้องและระเบียงกระจำต้องไม่แตกไม่ร้าว ต้องสามารถเปิดและปิดได้ และถ้าปิดหน้าต่างแล้วหน้าต่างต้องสามารถล็อคได้อย่างแน่นหนา มีลูกกรงติดหรือไม่? และถ้าถอดหน้าต่างบานเกร็ดออกสามารถใช้มือมุดล้วงเข้ามาเปิดประตูได้หรือไม่? หน้าต่างด้านระเบียงในวันที่ฝนตกมีน้ำฝนไหลรั่วซึมเข้ามาหรือไม่? ให้สังเกตจากกำแพงขอบหน้าต่างด้านล่างว่ามีร่องรอยคราบน้ำติดอยู่ที่กำแพงหรือไม่?
- สภาพมุ้งลวด มีรอยขาดของมุ้งลวดหรือไม่?
- มีช่องระบายอากาศเหนือประตูห้องและกำแพงหรือไม่? คนภายนอกสามารถปีนแอบดูเข้ามาภายในห้องง่ายหรือไม่?
- มีเสียงภายนอกห้องลอดเข้ามารบกวนหรือไม่? และเสียงภายในห้องลอดออกไปนอกห้องหรือไม่? ลอดออกไปดังเพียงใด?
- อุณหภูมิภายในห้อง สภาพอากาศการถ่ายเทอากาศภายในห้อง กลิ่นภายในห้องเป็นเช่นใด? มีกลิ่นภายนอกห้องเข้ามารบกวนหรือไม่?
- ภายในห้องมีสัญญาณโทรศัพท์มือถือชัดเจนหรือไม่? มีสัญญาณ WIFI หรือไม่? ระดับความแรงของสัญญาณ WIFI
- มีเครื่องรางของขลังติดอยู่บริเวณหน้าประตูห้องและภายในห้องหรือไม่?
5.2 อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้อง
- สวิสตัดไฟหลักอยู่ในตำแหน่งใด? สามารถใช้งานได้ดีหรือไม่?
- หลอดไฟเป็นหลอดชนิดอะไร? อยู่ในตำแหน่งใดบ้าง? แสงสว่างเพียงพอหรือไม่? ให้แสงสว่างสีอะไร?
- สภาพเครื่องปรับอากาศ กี่บีทียู? กินไฟหรือไม่? เปิดแล้วมีเสียงดังและมีกลิ่นหรือไม่?
- สภาพพัดลม สวิสเปิดปิดพัดลมใช้งานได้ดีหรือไม่? เปิดแล้วมีเสียงดังเกินไปหรือไม่?
- สภาพกล่องเสียบปลั๊กไฟ รูเสียบปลั๊กไฟมีแบบใด? จุดเสียบปลั๊กมีกี่จุด? อยู่ในตำแหน่งใด? เพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่?
- สภาพรูเสียบรับสัญญาณทีวีมี มีสายทีวีให้หรือไม่? ยาวกี่เมตร? อยู่ในตำแหน่งใดของห้อง?
5.3 เฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง
- สภาพเตียงโดยรวม เตียงยาวกี่ฟุต? เบาะปูเตียงทำด้วยวัสดุอะไร? สภาพและความสะอาดของเบาะปูเตียงเป็นอย่างไร? ความแข็งแรงของเตียงเป็นอย่างไร? เตียงโยกหรือไม่?
- สภาพตู้เสื้อผ้า โต๊ะกระจกเครื่องแป้ง เก้าอี้
5.4 ห้องน้ำ
- ความสะอาดโดยรวมภายในห้องน้ำ
- บานประตูเปิดปิดและมีกลอนล็อคประตูได้ดี ไม่มีรอยเจาะรูที่บานประตูที่สามารถมองลอดเข้าไปภายในห้องน้ำ ช่องว่างใต้ระหว่างประตูและพื้นไม่กว้างจนทำให้มองลอดเข้าไปภายในห้องน้ำได้
- ความกว้างของห้องน้ำเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่? สามารถซักผ้าหรือชำระล้างภายในห้องน้ำได้หรือไม่?
- เพดานห้องน้ำเป็นเพดานปูนปิดมิดชิดหรือเป็นฝ้าปูเพดาน
- สภาพส้วมโดยรวม เป็นส้วมซึมหรือชักโครก? ไหลซึมได้ดีหรือไม่? ควรลองกดน้ำหรือราดน้ำแล้วลองสังเกตดู มีสายฉีดชำระล้างหรือไม่? สภาพสายชำระล้างเป็นอย่างไร?
- ท่อน้ำไม่มีเศษขยะอุดตัน สามารถไหลซึมได้ดีและรวดเร็ว
- น้ำประปา ให้สังเกตสีและกลิ่นของน้ำ และความแรงของน้ำที่ออกจากหัวก๊อกและหัวฝักบัว
- หัวก๊อกน้ำทุกหัวต้องเปิดใช้งานได้ดี และถ้าปิดก๊อกน้ำแล้วต้องไม่มีน้ำไหลรั่วซึมออกจากหัวก๊อก
- บุคคลนอกห้องต้องไม่สามารถปีนแอบดูมองลอดเข้ามาภายในห้องน้ำได้
(มีต่อ)