ย้อนหาที่มาชุดไทย "เสี้อราชปะแตน" มาจากไหน ของไทยจริงหรือ?

จากมติชนออนไลน์

(11 เม.ย. 58) สัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสกราม่าในโลกออนไลน์เกี่ยวกับการแต่งชุดไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องฮอตฮิตกับกระแสการสวมชุดไทยในที่สาธารณะและมารยาทของคนไทยในการไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา ในโลกออนไลน์ก็ได้มีการแชร์ภาพหนุ่มไทยที่ใส่ชุดไทย โดยนุ่งโจงกระเบน และสวมเสื้อราชปะแตน ขึ้นรถไฟที่ประเทศญี่ปุ่น จากประเด็นดังกล่าว มติชนออนไลน์ ได้เรียบเรียงข้อมูลจากเฟสบุ๊กของ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ และอดีตอธิการบดีม.ธรรมศาสตร์ (Charnvit Ks Kasetsiri) ซึ่งท่านได้กรุณาให้ความรู้ถึงประวัติความเป็นมาของชุดราชปะแตน และ โจงกระเบน ไว้อย่างน่าสนใจ

"Raja pattern and Chong kaben" เสี้อราชปะแตนแบบนี้ รัชกาลที่ ๕ ทรงลอกแบบมาจากเจ้าอาณานิคม อังกฤษ ระบบ Raj ที่ปกครองอินเดีย และพม่า อยู่ เป็นเครื่องแบบของอมาตย์แล้วทับศัพท์เป็นไทยๆว่า "ราชปะแตน" ครับ

สรุป แล้ว ลอกชุดดังกล่าวมาในช่วง รัตนโกสินทร์ตอนกลาง แน่นอนว่า ในสมัย สุโขทัย/อยุธยา/ธนบุรี ไม่มีชุดดังกล่าว

ส่วน "โจงกระเบน" เป็นการนุ่งผ้าแบบแขก ที่ขอมเขมรนำมาใช้ คำว่า โจง/chong เป็นคำเขมร แปลว่า ผูก คำว่า กะเบน/kaben เป็นคำเขมร แปลว่า หาง
สรุป ไทย ยืมมาทั้งคำศัพท์ และรูปแบบการนุ่ง และน่าจะยืม ลอกเลียนมาใช้ แต่สมัยสุโขทัย และ อยุธยา แล้ว (ลาวชั้นสูง ก็ยืมไปใช้ด้วยเช่นกัน รวมทั้งเสื้อราชปะแตน)
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  Men's Fashion ประวัติศาสตร์ไทย ข่าวออนไลน์
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่