ทำไมรถติดแก๊ส! ไฟไหม้ประกันไม่จ่าย

ไปอ่านเจอบทความนี้มา น่าจะมีประโยชน์นะค่ะ

เรื่องน่ารู้... สำหรับเพื่อนๆ ที่มีติดรถแก๊ส จะได้ไม่โดนการตุกติก จากบริษัทประกันค่ะ

ใครเคยโดนบ่ายเบี่ยงความรับผิดชอบบ้างค่ะ

มีความคิดเห็นยังไงกันบ้างช่วยแชร์ความคิดเห็นด้วยนะค่ะ.....

----------------------------
บทความ



รถติดแก๊ส! ไฟไหม้ทั้งคัน ประกันไม่จ่าย

     อ่าว...! ทำไมไม่จ่าย...? ต้องเจอฟ้องศาล... บริษัทประกันต้องเจ๊งแน่ๆ…!
     ช้าก่อนครับคุณผู้อ่าน! ถ้าไม่อยากหน้าแตกจนหมอไม่รับเย็บกลับบ้าน เรามีสาเหตุว่าทำไมบริษัทประกันถึงไม่ยอมคุ้มครองรถยนต์ที่เสียหายจากการติดตั้งแก๊สโดยผู้ทำประกันได้มองข้ามหรือรู้เท่าไม่ถึงการ


สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ย้อนกลับมาดูกรมธรรม์

คุณทำประกันชั้น 1, 2, 2+,หรือไม่?

     ถ้าใช่...คุณสบายใจได้เลย บริษัทประกันจะชดใช้ให้คุณทุกกรณี ถึงแม้ว่าคุณติดตั้งแก๊สไปแล้วแต่ยังไม่ได้แจ้งบริษัทประกัน หรือยังไม่ได้แจ้งขนส่งทางบก ทางบริษัทประกันจะรับผิดชอบความเสียหายตามวงเงินคุ้มครองที่ได้ทำกับบริษัทประกันไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก ข้อนี้ขอให้ระวังเล่ห์เหลี่ยมบริษัทประกันหากคุณติดตั้งแก๊สแล้วไม่ยอมแจ้งบริษัทประกัน อาจเกิดข้อบ่ายเบี่ยงความรับผิดชอบได้ ฉะนั้นเมื่อคุณติดตั้งแก๊สแล้วควรแจ้งบริษัทประกันทันทีเพื่อปิดช่องโหว่ทางกฎหมายที่บริษัทประกันอาจไม่รับผิดชอบ

แต่...ถ้าคุณทำประกันชั้น 3,3+

     ตามกรมธรรม์แล้วประกันรถ ชั้น 3 และ ชั้น 3+ “ไม่คุ้มครองรถไฟไหม้” ไม่ว่ารถคุณจะติดแก๊สหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้ทำประกันจะได้รับความคุ้มครองตัวถังแก๊สและอุปกรณ์หากเป็นฝ่ายถูก เช่น หากคุณขับรถไปห้างสรรพสินค้า แล้วเกิดมีคู่กรณีขับรถมาชนท้ายจนได้รับความเสียหายต่ออุปกรณ์และตัวถังแก๊ส บริษัทประกันจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เว้นแต่! คุณไม่ได้ทำตามระเบียบเบื้องต้นนี้

สาเหตุประกันไม่รับผิดชอบ

1.    ไม่ส่งเอกสารให้บริษัทประกันหลังติดตั้งแก๊ส
2.    ไม่แจ้งขนส่งทางบก หลังจากได้ติดตั้งแก๊ส ถึงแม้ว่าคุณจะติดตั้งได้มาตรฐาน
3.    ติดตั้งถังแก๊สไม่ได้รับมาตรฐานคุณภาพ มอก.

ขั้นตอนการแจ้งประกันเมื่อติดตั้งแก๊สรถยนต์ LPG หรือ NGV

1.    แจ้งผ่านตัวแทน นายหน้า หรือ แจ้งโดยตรงไปที่บริษัทประกัน
2.    ส่งเอกสารรายการจดทะเบียน ที่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงประเภทเชื้อเพลิงแล้วไปยังบริษัทประกัน
3.    ใบเสร็จค่าติดตั้งชุดอุปกรณ์แก๊ส (ห้ามทิ้งเด็ดขาด)

     สำหรับผู้ที่ได้ติดตั้งแก๊สรถยนต์ จำเป็นต้องบำรุงรักษาประหนึ่งเหมือนชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ทั่วไป หากไม่ดูแลรักษาก็ย่อมเกิดปัญหาขึ้นตามมาได้ เช่น อุบัติเหตุรถไฟไหม้ เรามีวิธีการตรวจเช็กตามอายุการใช้งานที่ช่วยให้คุณเกิดความปลอดภัยไร้กังวลดังนี้

วิธีดูแลรักษาระบบรถติดแก๊สไม่ให้เกิดไฟไหม้

-    ตรวจเช็ก กล่อง ECU เปรียบได้ดั่งสมองที่สั่งการไปยังส่วนต่างๆ เพื่อควบคุมระบบการจ่ายเชื้อเพลิง ควรตรวจเช็กระยะหลังจากติดตั้งแก๊สแล้วทุก 5,000 – 10,000 กิโลเมตร
-    ตรวจเช็ก หม้อต้มแก๊ส นับเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการสูบฉีดเชื้อเพลิงเข้าไปยังระบบหัวฉีดรถยนต์
-    ตรวจเช็ก หัวฉีดแก๊ส ทุก 3 ปี จากช่างผู้เชี่ยวชาญ
-    ตรวจเช็ก กรองแก๊ส ป้องกันฝุ่น ป้องกันสนิม ควรเปลี่ยนทุก 100,000 กิโลเมตร
-    ตรวจเช็ก ถังแก๊ส เมื่อครบ 10 ปี ควรเปลี่ยนถังแก๊สใหม่ หรือเมื่อเห็นถังเก่าชำรุด
-    ตรวจเช็ก วาล์ว เมื่อใช้รถไปได้ 40,000 กิโลเมตร ให้ช่างตั้งระยะวาล์วใหม่อีกครั้ง
-   ตรวจเช็ก สายยาง ที่เชื่อมต่อระบบถังแก๊ส สามารถตรวจเช็กง่ายๆเบื้องต้นด้วยการใช้ฟองสบู่หารอยรั่ว

ขอบคุณข้อมูล: เว็บไซต์ SILKSPAN
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่