คำถามน่ารู้และพบบ่อยๆ เกี่ยวกับ HIV

1.    PrEP คืออะไร
การกินยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อ "ช่วย" ป้องกันหลังการสัมผัสเชื้อ โดยกินเฉพาะในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น โดนเข็มเจาะเลือดตำ  หรือถุงยางแตก เป็นต้น ซึ่งต้องกินภายใน 72 ช.ม. สูตรยาต้านฯจะประกอบไปด้วยยา 2-3 ตัว โดยยาต้านฯ จะเข้าไปช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของสารพันธุกรรมของเชื้อ หรือไปยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ดังนั้นถ้าสามารถกินให้"เร็วที่สุด" หลังการสัมผัสเชื้อ ก็จะมีโอกาสมากที่สุด(ประมาณ 80%) ที่จะป้องกันไม่ให้มีเชื้อเพิ่มจำนวนใหม่ แต่อย่างไรก็ตามการกินยาต้านฯ ก็มีผลข้างเคียงมาก แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาประเมินความเสี่ยงว่าควรกินหรือไม่
2.    ออรัลอย่างไรให้ปลอดภัย
การออรัลให้ปลอดภัยทั้งคู่ หญิงชาย หรือชายกับชาย ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง ส่วนบริเวณอื่นๆ เช่น ทวารหนัก และอวัยวะเพศหญิง ก็ป้องกันโดยนำถุงยางมาตัดหัวตัดท้ายและตัดตรงกลางคลี่ออกให้เป็นสีเหลี่ยม นำมาวางบริเวณทวารหนัก หรืออวัยวะเพศหญิงก่อนที่จะออรัลก็จะปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เอดส์ เช่น ซิฟิลิส  หนองใน  เป็นต้น
3.    การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันของชายรักชาย กับ ชายรักหญิง แบบไหนเสี่ยงติดเชื้อ HIV มากกว่ากัน
ชาย รักชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากทวารหนักไม่ใช่ช่องทางธรรมชาติเหมือนกับช่องคลอดที่มีความยืดหยุ่น กว่า เมื่อมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงอาจทำให้ทวารหนักฉีกขาดหรือมีบาดแผล จึงเป็นช่องทางให้เชื้อเข้าได้
4.    เมื่อเชื้อ HIV อยู่นอกร่างกายจะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร
ขึ้น อยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณของสารคัดหลั่งที่ออกมามีมากน้อยเพียงใด หรือเลือดหนึ่งหยดมีปริมาณของเชื้อและคุณภาพที่ด้อยกว่า เลือดที่ออกมาจำนวนมากๆ  รวมทั้งสารคัดหลังที่ออกมาอยู่ในสภาพภายนอกแบบไหนมีส่วนผสมของสิ่งอื่นๆด้วย หรือไม่ อยู่ในสภาพร้อนแห้งหรือเย็น หรือเปื้อนผ้าที่แห้งแล้วเชื้อก็จะด้อยคุณภาพ
5.    ใส่ถุงยางอนามัย 2 ชั้น ปลอดภัยกว่าใส่ชั้นเดียวจริงหรือ
ไม่ จริง  เนื่องจากถุงยางทำมาจากยางเมื่อยางกับยางเสียดสีกันนานจะทำให้แตกได้ ง่ายกว่า ดังนั้นการใส่เพียงชั้นเดียวอย่างถูกวิธีทุกครั้งก็เพียงพอแล้วที่จะป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รวมทั้งเอดส์ด้วย
6.    ถ้าติดเชื้อจะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร
ปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อสามารถมีชีวิตที่ยืนยาว ถ้าเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาที่ถูกต้อง จะได้ไม่ป่วยหรือเสียชีวิตจากเอดส์ การดูแลรักษาสุขภาพกายสุขภาพใจ ไม่เครียด ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน รับประทานอาหารให้ครบหมู่ถูกหลักอนามัย ไม่ดื่มแอลกอฮอร์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อไม่สบายใจให้พบแพทย์รักษาตามอาการ และที่สำคัญอีกอย่างคือไม่รับเชื้อเพิ่ม ถ้ามีเพศสัมพันธ์จะต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งและรับประทานยาต้านให้ตรง เวลาตามแพทย์สั่ง ซึ่งการได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องแต่เนิ่นๆ ผู้ติดเชื้อจะสามารถมีอายุยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าๆกับคนที่ไม่ติดเชื้อทั่วไป
7.    ใส่ถุงยางอนามัยอย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
1.    ดูวันเดือนปีหมดอายุหรือยัง ถ้าหมดอายุแล้วไม่ควรนำมาใช้
2.    เลือกไซร์ตามขนาดของแต่ละบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่คนไทยจะใส่ไซร์ 49 หรือ 52
3.    เวลาฉีกซองถุงยางควรดันถุงยางลงมาอยู่ด้านใดด้านหนึ่งแล้วจึงฉีกไม่งั้นอาจฉีกโดนถุงยางขาดได้
4.    ใส่ขณะอวัยวะเพศแข็งตัว โดยบีบปลายถุงเพื่อไล่ลมออกก่อนซึ่งการไล่ลมจะช่วยไม่ให้ถุงยางแตกและเป็น ที่ที่เก็บน้ำอสุจิ จากนั้นรูดให้สุดโคนอวัยวะเพศเพื่อจะได้ไม่หลุดขณะทำภารกิจ
5.    ถ้าจะใช้สารหล่อลื่น ควรใช้สารหล่อลื่นที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน และห้ามใช้วาสลีนเด็ดขาด เพราะจะทำให้ถุงยางแตกได้ง่ายขึ้น
6.    เมื่อเสร็จภารกิจแล้วควรใช้กระดาษทิชชูพันรอบโคนอวัยวะเพศแล้วรูดถุงยาง จากส่วนโคนลงมา จากนั้นทิ้งลงถังขยะให้เรียบร้อย และทำความสะอาดอวัยวะเพศ
7.    ไม่ควรเก็บถุงยางในที่อากาศร้อนเป็นเวลานาน หรือเก็บใส่กระเป๋าด้านหลังกางเกงเวลานั่งจะทับถุงยางอาจทำให้เกิดการฉีดขาดได้
8.    ANTI-HIV กับ NAT อย่างไหนแม่นยำกว่ากัน
ความ แม่นยำไม่แตกต่างกัน แต่มีความต่างกันตรงที่ NAT สามารถตรวจได้หลังเสี่ยง 5 วันขึ้นไป ส่วน Anti-HIV สามารถตรวจได้หลังเสี่ยง 14 วันขึ้นไป
9.    WINDOW PERIOD คืออะไร
เป็นช่วงเวลาที่ผู้ได้รับเชื้อเอชไอวีมาแต่ยังตรวจไม่พบเพราะว่าอาจจะยังรับเชื้อมาไม่นาน โดยจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 1 เดือน
ที่มา : คลีนิคนิรนาม

Report : LIV APCO
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่