คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ปฏิจจสมุปบาทธรรมจากพระสูตร พระไตรปิฏก อรรถกถา และท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก ดังนี้ (สุตตันตภาชนีย์)
http://ppantip.com/topic/13095423/comment16
+++++++++++++++++++++++++++++
ปฏิจจสมุปบาทธรรมจากพระอภิธัมมัตถสังคหะ
ตัณหา
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/026.htm
๒. กล่าวโดยอาการที่เป็นไป คือเมื่อมีความยินดีติดใจอยากได้ในอารมณ์ ๖ นั้นแล้วก็มีอาการที่เป็นไป ๓ อย่างที่เรียกว่า กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา มีอาการเป็นไปดังนี้
ก. กามตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่เกี่ยวกับกามคุณอารมณ์ ทั้ง ๕ แต่ไม่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ
ข. ภวตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วยความเห็น ดังต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วย คือ
(๑) ติดใจในกามภพ การได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา
(๒) ติดใจในรูปภพ การได้เกิดเป็นรูปพรหม
(๓) ติดใจในอรูปภพ การได้เกิดเป็นอรูปพรหม
(๔) ติดใจในฌานสมาบัติ การได้รูปฌาน อรูปฌาน
(๕) ติดใจในตัวตน คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีตัวตน และตัวตนนี้ไม่สูญหายไป ไหน ถึงจะตายก็ตายแต่ร่างกาย ตัวตนที่เป็นมนุษย์ก็จะไปเกิดเป็นมนุษย์อีก ตัวตนที่ เป็นสัตว์อย่างใด ก็จะไปเกิดเป็นสัตว์อย่างนั้นอีก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเห็นว่า เที่ยงอันเป็นความเห็นผิดที่เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ (ข้อ ข. นี้มีมาใน สุตตันตมหาวัคค อรรถกถา)
ค. วิภวตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ คือ ติดใจในความเห็นที่ว่า สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มีตัวมีตนอยู่ แต่ว่าตัวตนนั้นไม่ สามารถที่จะตั้งอยู่ได้ตลอดไป ย่อมต้องสูญต้องสิ้นไปทั้งหมด ตลอดจนการกระทำ ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ก็สูญหายไปสิ้นเช่นเดียวกัน แม้ผู้ ที่มีความเห็นว่า พระนิพพานมีตัวมีตน แล้วปรารถนาพระนิพพานเช่นนั้น ความ ปรารถนาเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่า วิภวตัณหา
รวมความในข้อ ๒ นี้ได้ว่า อาการที่เป็นไปในตัณหา ๓ ก็ได้แก่ พวกหนึ่ง มีอุจเฉททิฏฐิเห็นว่าสูญ พวกหนึ่งมีสัสสตทิฏฐิเห็นว่าเที่ยง ส่วนอีกพวกหนึ่งติดใจ อยากได้โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นสิ่งที่สูญหรือเที่ยงแต่อย่างใด ๆ เลย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คือ เรามองไป ทุกลัทธิต่างก็มีคำสั่งสอนของตัวเอง
แล้วก็สอนดีทั้งนั้น ไม่มีลัทธิไหนเอาคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา
ไปสอนแล้วแปะเปื้อนด้วยกิเลสตัณหา
จขกท ครับ กรณีธรรมกลาย ที่สอนเรื่อง นิพพานเป็นดินแดน เป็น อัตตา อมตะ นั้น ก็เป็นตัณหาอย่างหนึ่ง
ส่วนกรณีเดียรถีย์เงื่อม ที่ไม่เชื่อเรื่อง ภพ ชาติ เชื่อว่าตายแล้วสูญ ก็เป็น ตัณหา
ตัณหา ทิฏฐิเหล่านี้ ทำให้ไม่เชื่อใน พระไตรปิฏก อรรถกถานิกายเถรวาท แต่ยึดคำสอนของเจ้าสำนักเป็นใหญ่ เช่น เดียรถีย์เงื่อม สำนักวัดนาป่าพง ธรรมกลาย เป็นต้น
และ กรณีธรรมกลาย
http://b2b2.tripod.com/tmk/
ความเห็นผิดสุดโต่ง ๒ สาย
http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/Y2639614/Y2639614.html
http://ppantip.com/topic/13095423/comment16
+++++++++++++++++++++++++++++
ปฏิจจสมุปบาทธรรมจากพระอภิธัมมัตถสังคหะ
ตัณหา
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/026.htm
๒. กล่าวโดยอาการที่เป็นไป คือเมื่อมีความยินดีติดใจอยากได้ในอารมณ์ ๖ นั้นแล้วก็มีอาการที่เป็นไป ๓ อย่างที่เรียกว่า กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา มีอาการเป็นไปดังนี้
ก. กามตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่เกี่ยวกับกามคุณอารมณ์ ทั้ง ๕ แต่ไม่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ
ข. ภวตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วยความเห็น ดังต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วย คือ
(๑) ติดใจในกามภพ การได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา
(๒) ติดใจในรูปภพ การได้เกิดเป็นรูปพรหม
(๓) ติดใจในอรูปภพ การได้เกิดเป็นอรูปพรหม
(๔) ติดใจในฌานสมาบัติ การได้รูปฌาน อรูปฌาน
(๕) ติดใจในตัวตน คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีตัวตน และตัวตนนี้ไม่สูญหายไป ไหน ถึงจะตายก็ตายแต่ร่างกาย ตัวตนที่เป็นมนุษย์ก็จะไปเกิดเป็นมนุษย์อีก ตัวตนที่ เป็นสัตว์อย่างใด ก็จะไปเกิดเป็นสัตว์อย่างนั้นอีก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเห็นว่า เที่ยงอันเป็นความเห็นผิดที่เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ (ข้อ ข. นี้มีมาใน สุตตันตมหาวัคค อรรถกถา)
ค. วิภวตัณหา เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์ ๖ ที่ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ คือ ติดใจในความเห็นที่ว่า สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มีตัวมีตนอยู่ แต่ว่าตัวตนนั้นไม่ สามารถที่จะตั้งอยู่ได้ตลอดไป ย่อมต้องสูญต้องสิ้นไปทั้งหมด ตลอดจนการกระทำ ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ก็สูญหายไปสิ้นเช่นเดียวกัน แม้ผู้ ที่มีความเห็นว่า พระนิพพานมีตัวมีตน แล้วปรารถนาพระนิพพานเช่นนั้น ความ ปรารถนาเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่า วิภวตัณหา
รวมความในข้อ ๒ นี้ได้ว่า อาการที่เป็นไปในตัณหา ๓ ก็ได้แก่ พวกหนึ่ง มีอุจเฉททิฏฐิเห็นว่าสูญ พวกหนึ่งมีสัสสตทิฏฐิเห็นว่าเที่ยง ส่วนอีกพวกหนึ่งติดใจ อยากได้โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นสิ่งที่สูญหรือเที่ยงแต่อย่างใด ๆ เลย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คือ เรามองไป ทุกลัทธิต่างก็มีคำสั่งสอนของตัวเอง
แล้วก็สอนดีทั้งนั้น ไม่มีลัทธิไหนเอาคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา
ไปสอนแล้วแปะเปื้อนด้วยกิเลสตัณหา
จขกท ครับ กรณีธรรมกลาย ที่สอนเรื่อง นิพพานเป็นดินแดน เป็น อัตตา อมตะ นั้น ก็เป็นตัณหาอย่างหนึ่ง
ส่วนกรณีเดียรถีย์เงื่อม ที่ไม่เชื่อเรื่อง ภพ ชาติ เชื่อว่าตายแล้วสูญ ก็เป็น ตัณหา
ตัณหา ทิฏฐิเหล่านี้ ทำให้ไม่เชื่อใน พระไตรปิฏก อรรถกถานิกายเถรวาท แต่ยึดคำสอนของเจ้าสำนักเป็นใหญ่ เช่น เดียรถีย์เงื่อม สำนักวัดนาป่าพง ธรรมกลาย เป็นต้น
และ กรณีธรรมกลาย
http://b2b2.tripod.com/tmk/
ความเห็นผิดสุดโต่ง ๒ สาย
http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/Y2639614/Y2639614.html
แสดงความคิดเห็น
ขอถามเกี่ยวกับพุทธทำนายข้อที่ 6 หน่อยค่ะ
เราเลยไปค้นหา เจอพุทธทำนาย
http://www.mongkoltemple.com/page02/articles016.html << ในเว็บนี้
เราก็อ่าน ก็พบว่าเป็นจริงทุกข้อ
แต่ข้อที่ 6 เราสงสัยว่า ลัทธิไหนหรอคะที่ทำแบบนั้น
คือ เรามองไป ทุกลัทธิต่างก็มีคำสั่งสอนของตัวเอง
แล้วก็สอนดีทั้งนั้น ไม่มีลัทธิไหนเอาคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา
ไปสอนแล้วแปะเปื้อนด้วยกิเลสตัณหา
สุบินนิมิตข้อที่ 6 : พระธรรมคำสอนถูกเหยียบย่ำ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็น
หมู่มนุษย์ ถือถาดทองคำอันมีค่ามหาศาล ไปวางไว้สุนัขจิ้งจอกถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะใส่
พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น กลุ่มคนที่โง่เขลาปัญญาทราม จะเอาพระธรรมคำสอนของเราตถาคต ไปให้ลัทธิต่างๆ เหยียบย่ำทำลาย แล้วถ่ายทอดลัทธิของเขา เอาคำสอนของเขาที่สกปรกโสโครกด้วยกิเลสตัณหา มากลบเกลื่อนในคำสอนของเรา แล้วดัดแปลงแก้ไขคำสอนของเรา ให้เข้ากันกับลัทธิของเขา แล้วประกาศว่า
คำสอนของเราตถาคต เป็นส่วนหนึ่งในลัทธิของเขา ให้คนทั้งหลายมีความเข้าใจผิดว่า คำสอนของเราเข้ากันได้กับของเขา ถือว่าเป็นอันเดียวกัน ลัทธิเหล่านั้นก็จะไม่รู้คุณค่าของคำสอนของเราตถาคตแต่อย่างใด มนุษย์อย่างนี้ก็จะมีในเมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้ว และจะมีลัทธิต่าง ๆ มาอวดอ้างว่าเป็นศาสนาเป็นจำนวนมาก
ปล. คืออันนี้อยากรู้จริงๆ ไม่ได้ต้องการพาดพิงถึงอะไร
เราไม่เคยตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยไม่รู้ว่า
ควรจะถามออกมาแบบไหนให้ได้คำตอบที่อยากรู้
ถ้ากระทู้นี้ถามรุนแรงเกินไปหรือยังไง ถ้าเป็นผลเสียต่ออะไรก็สามารถแจ้งลบได้ทันทีค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบนะคะ ^^