คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
งาน Off shore ขับเคลื่อนไปได้ด้วย คนหลายๆหน้าที่ ทำงานร่วมกัน ตั้งแต่วิศวะกรไปยันคนทำความสะอาด ตำแหน่งมีหลากหลาย แล้วแต่ว่าอยากจะไปอยู่ตรงไหน ลำพังคุณเองยังอยู่แค่ ปวช.ปี ยังเลือกเส้นทางเดินได้หลายทาง
งานเกี่ยวกับ off shore มีส่วนเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร ไฟฟ้า มากมาย การทำงานก็อาศัยทักษะทางช่างเป็นพื้นฐาน(ไม่รวมงานด้านธรณีวิทยา) เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวเลยว่าจบไฟฟ้าจะไม่มีงานให้ทำ
ถ้าเลือกต่อทางไฟฟ้า ไปยันจบ ป.ตรี และเลือกจะเป็นวิศวะกร คุณได้ร่วมงานกับบริษัทพลังงาน หรือวิศวะกรของบริษัทสร้างแท่นผลิต บริษัท service ทั้งหลาย ทั้งที่เกี่ยวตรงๆด้านไฟฟ้า หรืองานเกี่ยวกับการผลิต ซึ่งสมัยนี้ส่วนใหญ่รับ ป.ตรี ทั้งนั้นแล้ว
หรือจะเลือกระดับช่างเทคนิค ที่ทำงานบนแท่นผลิต วุฒิขั้นต่ำที่รับคือ ปวส. ช่างทั้งหลาย ยกเว้น ก่อสร้าง สถาปัตย์ จะผ่านทางการเปิดอบรมอย่างที่มีคนแนะนำ หรือ หาประสบหารณ์ผ่านงานที่เกี่ยวข้อง เช่นผ่านงานด้านปิโตรเคมี โรงกลั่น หรือเป็นช่างเทคนิคของบริษัทผลิตแท่น ที่ดูแลด้านไฟฟ้า หรือโรงงานใหญ่ๆที่มีอุปกรณ์ เครื่องจักรขนาดใหญ่ๆ แล้วค่อยไปสมัคร งานในทะเลเพราะก็มีบ่อยครั้งที่เขาเปิดรับตรงก็มี
ตอนนี้เท่าที่ทำได้คือ ตั้งใจเรียนให้จบ เลือกต่อ ปวส. หรือ ป.ตรี (ตำแหน่งที่เคยรับ ปวส.สมัยนี้แนวโน้มรับ ระดับ ป.ตรีมากขึ้น แต่ ปวส.ก็ยังรับอยู่)จากสถาบันที่มีมาตรฐาน ตั้งใจเรียนให้เกรดดีๆ (คนสมัครเยอะแยะ เวลาเรียกสัมภาษณ์ เขาก็ต้องเลือกจากเกรดสูงๆมาก่อน) เรียนถาษาให้ได้ระดับใช้งานได้ ไปสอบ TOEIC ให้ได้คะแนนสูงๆ ถ้าเลือกต่อ ปวส.ก่อนแล้วเลือกทำงานเลย พอจบก็เริ่มส่งใบสมัคร หรือไปสอบเวลาเขาเปิดสอบ หรือหาประสบการณ์จากบนฝั่งไปพลางๆ เช่น งานโรงกลั่น โรงแยก ปตท.และในเครือก็ยังพอมีรับ แต่ถ้าเลือเรียนต่อ ป.ตรี ก็อาศัยเวลาระหว่างนั้นสมัครโครงการพวกนี้ไปถ้าได้ค่อยดร็อปมาทำงาน ไม่ได้ก็เรียนจนจบแล้วค่อยมาหาอีกที
สมัยนี้คู่แข่งเยอะเพราะการเข้าถึงข้อมูลง่ายกว่าแต่ก่อน มีแต่คนอยากเข้ามาทำ ถ้าอยากทำจริงๆก็ต้องเตรียมตัวดีๆ งานในทะเลมีหลานหน้าที่หลายบริษัทอธิบายคงไม่หมด ลองใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ เปิดหางาน oil and gas สารพัดบริษัทในไทยแล้วลองดูที่เขาเปิดๆรับกัน เขากำหนดคุณสมบัติอะไรบ้าง แล้วพยายามทำตัวเราให้เข้าเกณฑ์นั้นแล้วกัน ที่ทำได้ตอนนี้คือตั้งใจเรียนก่อนแล้วกัน เวลาผ่านไป อีกหน่อยอาจจะไม่อยากลงทะเลแล้วก็ได้
งานเกี่ยวกับ off shore มีส่วนเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร ไฟฟ้า มากมาย การทำงานก็อาศัยทักษะทางช่างเป็นพื้นฐาน(ไม่รวมงานด้านธรณีวิทยา) เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวเลยว่าจบไฟฟ้าจะไม่มีงานให้ทำ
ถ้าเลือกต่อทางไฟฟ้า ไปยันจบ ป.ตรี และเลือกจะเป็นวิศวะกร คุณได้ร่วมงานกับบริษัทพลังงาน หรือวิศวะกรของบริษัทสร้างแท่นผลิต บริษัท service ทั้งหลาย ทั้งที่เกี่ยวตรงๆด้านไฟฟ้า หรืองานเกี่ยวกับการผลิต ซึ่งสมัยนี้ส่วนใหญ่รับ ป.ตรี ทั้งนั้นแล้ว
หรือจะเลือกระดับช่างเทคนิค ที่ทำงานบนแท่นผลิต วุฒิขั้นต่ำที่รับคือ ปวส. ช่างทั้งหลาย ยกเว้น ก่อสร้าง สถาปัตย์ จะผ่านทางการเปิดอบรมอย่างที่มีคนแนะนำ หรือ หาประสบหารณ์ผ่านงานที่เกี่ยวข้อง เช่นผ่านงานด้านปิโตรเคมี โรงกลั่น หรือเป็นช่างเทคนิคของบริษัทผลิตแท่น ที่ดูแลด้านไฟฟ้า หรือโรงงานใหญ่ๆที่มีอุปกรณ์ เครื่องจักรขนาดใหญ่ๆ แล้วค่อยไปสมัคร งานในทะเลเพราะก็มีบ่อยครั้งที่เขาเปิดรับตรงก็มี
ตอนนี้เท่าที่ทำได้คือ ตั้งใจเรียนให้จบ เลือกต่อ ปวส. หรือ ป.ตรี (ตำแหน่งที่เคยรับ ปวส.สมัยนี้แนวโน้มรับ ระดับ ป.ตรีมากขึ้น แต่ ปวส.ก็ยังรับอยู่)จากสถาบันที่มีมาตรฐาน ตั้งใจเรียนให้เกรดดีๆ (คนสมัครเยอะแยะ เวลาเรียกสัมภาษณ์ เขาก็ต้องเลือกจากเกรดสูงๆมาก่อน) เรียนถาษาให้ได้ระดับใช้งานได้ ไปสอบ TOEIC ให้ได้คะแนนสูงๆ ถ้าเลือกต่อ ปวส.ก่อนแล้วเลือกทำงานเลย พอจบก็เริ่มส่งใบสมัคร หรือไปสอบเวลาเขาเปิดสอบ หรือหาประสบการณ์จากบนฝั่งไปพลางๆ เช่น งานโรงกลั่น โรงแยก ปตท.และในเครือก็ยังพอมีรับ แต่ถ้าเลือเรียนต่อ ป.ตรี ก็อาศัยเวลาระหว่างนั้นสมัครโครงการพวกนี้ไปถ้าได้ค่อยดร็อปมาทำงาน ไม่ได้ก็เรียนจนจบแล้วค่อยมาหาอีกที
สมัยนี้คู่แข่งเยอะเพราะการเข้าถึงข้อมูลง่ายกว่าแต่ก่อน มีแต่คนอยากเข้ามาทำ ถ้าอยากทำจริงๆก็ต้องเตรียมตัวดีๆ งานในทะเลมีหลานหน้าที่หลายบริษัทอธิบายคงไม่หมด ลองใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ เปิดหางาน oil and gas สารพัดบริษัทในไทยแล้วลองดูที่เขาเปิดๆรับกัน เขากำหนดคุณสมบัติอะไรบ้าง แล้วพยายามทำตัวเราให้เข้าเกณฑ์นั้นแล้วกัน ที่ทำได้ตอนนี้คือตั้งใจเรียนก่อนแล้วกัน เวลาผ่านไป อีกหน่อยอาจจะไม่อยากลงทะเลแล้วก็ได้
แสดงความคิดเห็น
"แท่นขุดเจาะน้ำมัน" มีตำแหน่งไหนที่เกี่ยวกับไฟฟ้ามั้งครับ :)
#พี่น้องๆคนไหนรู้ก็เข้ามาช่วยกันแชร์ความรู้กันน้ะครับ ชอบคุณล้วงหน้ากันน้ะครับ ^^'