สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 23
ตอบในฐานะอดีตทหารเมกันครับ
ขอแจกแจงเป็นข้อๆแล้วกันเกี่ยวกับที่ จขกท สงสัยใน คห ย่อยๆ ที่บอกว่าเด็กเมกันถูกฝึกอย่างไรถึงมีระเบียบวินัยในสังคม
ผมไม่เห็นเด็กเมกันจะมีวินัยด้วยตัวเองซักเท่าไรเลย เด็กมัธยมบางคนก็เกรียน เกเร โหวกเหวกโวยวายทั้ง ช ญ ตบตีชกต่อยถ่ายคลิปคล้ายเด็กไทยหรือเด็กทุกประเทศนั่นแหละครับ ครูก็ตีไม่ได้ ด่าแรงเด็กมันก็จะสวนกลับ พ่อแม่ก็เลี้ยงไม่ต่างจากคนไทยนะผมว่าเพียงแต่ไม่กล้าตีเท่านั้นเพราะกฏหมายคุมไว้ แต่นั่นที่กล่าวมาคือส่วนน้อยนะครับ ไม่เหมารวม เช่นเดียวกับเด็กประเทศอื่นๆเหมือนกัน ส่วนเด็กที่รักดี คิดเองเป็น ขยันตั้งใจเรียนก็ดีได้โดยไม่จำเป็นต้องเกิดการบังคับ อาจจะได้รับอิทธิพลจากครอบครัวหรือความยากลำบากหรือความอยากประสบความสำเร็จของเด็กเอง
แต่มีสิ่งนึงที่เด็กเมกันส่วนใหญ่และเด็กไทยส่วนน้อยทำคือ การทำงานพาร์ทไทม์ตั้งแต่เด็ก ผมกล้าบอกเลยว่าเด็กไฮสกูลประมาณ 80% ทำงานตอนปิดเทอมหรือหลังเลิกเรียนบ้างและ 95% ของเด็กมหาลัยทำงานไปเรียนไปจ่ายค่าเทอม และพวกที่ทำก็ไม่จำเป็นต้องเป็นขัดสนยากจนด้วย แต่มันเป็นวัฒนธรรมของเค้าที่ไม่ชอบอยู่กันว่างๆและพ่อแม่ก็ไม่ได้ให้ตังค์เป็นรายสัปดาห์รายเดือนเหมือนพ่อแม่ไทย ดังนั้นไม่ว่าเด็กรวยเด็กจนเลยทำงานกันหมด ต่างจากเด็กไทยที่ต้องฐานะลำบากจริงๆถึงทำเซ่เว่น ร้านพิซซ่า ไรประมาณนี้ แต่การทำงานพาร์ทไทม์ก็ไม่ได้มีผลกับนิสัยดีหรือไม่ดีด้านอื่นของเด็กนะครับ นอกจากการได้เงินใช้จ่ายส่วนตัวเท่านั้น
ส่วนเรื่องการยกเลิกระบบการเกณฑ์ทหารเมกัน คห 6 ก็ว่าไว้ละเอียดดีแล้วครับ แต่กฏหมายเมกาก็ยังบังคับให้ชายสัญชาติเมกันทุกคนรวมทั้งผู้อพยพถาวรที่มีอายุตั้งแต่ 18-25 ลงทะเบียนคัดเลือกทหาร ซึ่งเรียกว่า Selective Service System (SSS) ซึ่งตัวผมตอนที่สมัครทหารชื่อก็ถูกส่งเข้าระบบโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกัน ระบบนี้จะไม่บังคับให้มีการเกณฑ์ก็จริงแต่ระบุไว้ว่าเมื่อถึงคราววิกฤติต่อประเทศหรือศึกสงคราม ผู้ที่ลงทะเบียนจะถูกสุ่มรายชื่อเพื่อให้เข้าเป็นทหารแบบล๊อตเตอรี่ แต่ตั้งแต่มีระบบนี้มาตั้งแต่สมัยจิมมี คาร์เตอร์ รู้สึกยังไม่ถูกใช้นะครับ
ทหารเมกันเป็นระบบสมัครใจก็จริง เมื่อเซ็นต์สัญญาเข้าไปไม่สามารถต่อรองได้ จำนวนปีที่ต้องประจำขึ้นอยู่กับสายงานและระยะเวลาฝึกงานด้วย เมื่อครบกำหนดปลดเป็นพลเรือนแล้ว ชื่อคุณจะยังอยู่ในสาระบบของทหารกองหนุนไม่ประจำ (Inactive Ready Reserve) เป็นเวลาอีกจนกระทั่งสัญญาครบ 8 ปี เช่นถ้าคุณเป็นทหารประจำการ 4 ปีคุณก็เหลือ 4 ปีในกองหนุนหรือถ้าเป็นมาแล้ว 6 ปีก็เหลือ 2 ปีในกองหนุน ในเวลาที่เหลือดังกล่าวกองทัพมีสิทธิ์เรียกคุณกลับไปรับใช้ชาติได้ทุกเมื่อถ้าจำเป็น และเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วย ตอนสมัยสงครามอ่าวเปอร์เซียมีคนที่ปลดแล้วถูกเรียกกลับไปรบประมาณสองหมื่น ตอนหลัง 11 กันยาถูกเรียกกลับไปสองพันห้า คนที่ถูกเรียกมีเวลาเตรียมตัวแค่สามสิบวันและต้องกลับไปประจำปีครึ่งจนถึงสองปีก็มี ใครโดนเรียกถือว่าซวยครับ แต่บังเอิญช่วงนั้นตอนไปอิรักคนสมัครใจก็เยอะพอสมควรเพราะเป็นช่วงที่คนเมกันโดนล้างสมองอยู่และเห็นด้วยกับการบุกอิรัก
สาเหตุที่คนเมกันบางคนเป็นทหารเพราะข้อแรกเลยได้ทุนเรียนฟรี จุดนี้คุ้มมากๆ เพราะปลดออกมาเรียนหนังสือเบิกทุนฟรีพร้อมรับเงินเดือนจนจบปริญญาได้เลย จะเรียนป ตรี ปโท หรือฝึกหัดช่างไรได้ตามใจชอบ พวกทหารจึงมักสมัครกันตั้งแต่จบ ม ปลายพอปลดอายุยี่สิบกว่าๆถึงค่อยเรียนมหาลัย ส่วนเงินเดือนทหารไม่เท่าไรหรอกครับแต่บวกเบี้ยอื่นๆเช่นค่าครองชีพต่างแดน ค่าครองชีพคู่สมรส ค่าอาหารรวมกันก็พอใช้ ไม่ได้ขี้เหร่ รักษาพยาบาลฟรีหมดสำหรับทหารและจ่ายส่วนต่างนิดหน่อยสำหรับลูกและคู่สมรส มีลูกคลอดก็ฟรี ข้อสองคือก่อนหน้านั้นเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ตกงานเยอะ บางคนอายุ 30-40 เพิ่งมาสมัครก็มีหรือเคยเป็นมาก่อนแล้วกลับมาสมัครใหม่ก็มีเพราะต้องเลี้ยงดูลูกเมีย และพวกที่สามคืออยากท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตาหาประสบการณ์
ขอแจกแจงเป็นข้อๆแล้วกันเกี่ยวกับที่ จขกท สงสัยใน คห ย่อยๆ ที่บอกว่าเด็กเมกันถูกฝึกอย่างไรถึงมีระเบียบวินัยในสังคม
ผมไม่เห็นเด็กเมกันจะมีวินัยด้วยตัวเองซักเท่าไรเลย เด็กมัธยมบางคนก็เกรียน เกเร โหวกเหวกโวยวายทั้ง ช ญ ตบตีชกต่อยถ่ายคลิปคล้ายเด็กไทยหรือเด็กทุกประเทศนั่นแหละครับ ครูก็ตีไม่ได้ ด่าแรงเด็กมันก็จะสวนกลับ พ่อแม่ก็เลี้ยงไม่ต่างจากคนไทยนะผมว่าเพียงแต่ไม่กล้าตีเท่านั้นเพราะกฏหมายคุมไว้ แต่นั่นที่กล่าวมาคือส่วนน้อยนะครับ ไม่เหมารวม เช่นเดียวกับเด็กประเทศอื่นๆเหมือนกัน ส่วนเด็กที่รักดี คิดเองเป็น ขยันตั้งใจเรียนก็ดีได้โดยไม่จำเป็นต้องเกิดการบังคับ อาจจะได้รับอิทธิพลจากครอบครัวหรือความยากลำบากหรือความอยากประสบความสำเร็จของเด็กเอง
แต่มีสิ่งนึงที่เด็กเมกันส่วนใหญ่และเด็กไทยส่วนน้อยทำคือ การทำงานพาร์ทไทม์ตั้งแต่เด็ก ผมกล้าบอกเลยว่าเด็กไฮสกูลประมาณ 80% ทำงานตอนปิดเทอมหรือหลังเลิกเรียนบ้างและ 95% ของเด็กมหาลัยทำงานไปเรียนไปจ่ายค่าเทอม และพวกที่ทำก็ไม่จำเป็นต้องเป็นขัดสนยากจนด้วย แต่มันเป็นวัฒนธรรมของเค้าที่ไม่ชอบอยู่กันว่างๆและพ่อแม่ก็ไม่ได้ให้ตังค์เป็นรายสัปดาห์รายเดือนเหมือนพ่อแม่ไทย ดังนั้นไม่ว่าเด็กรวยเด็กจนเลยทำงานกันหมด ต่างจากเด็กไทยที่ต้องฐานะลำบากจริงๆถึงทำเซ่เว่น ร้านพิซซ่า ไรประมาณนี้ แต่การทำงานพาร์ทไทม์ก็ไม่ได้มีผลกับนิสัยดีหรือไม่ดีด้านอื่นของเด็กนะครับ นอกจากการได้เงินใช้จ่ายส่วนตัวเท่านั้น
ส่วนเรื่องการยกเลิกระบบการเกณฑ์ทหารเมกัน คห 6 ก็ว่าไว้ละเอียดดีแล้วครับ แต่กฏหมายเมกาก็ยังบังคับให้ชายสัญชาติเมกันทุกคนรวมทั้งผู้อพยพถาวรที่มีอายุตั้งแต่ 18-25 ลงทะเบียนคัดเลือกทหาร ซึ่งเรียกว่า Selective Service System (SSS) ซึ่งตัวผมตอนที่สมัครทหารชื่อก็ถูกส่งเข้าระบบโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกัน ระบบนี้จะไม่บังคับให้มีการเกณฑ์ก็จริงแต่ระบุไว้ว่าเมื่อถึงคราววิกฤติต่อประเทศหรือศึกสงคราม ผู้ที่ลงทะเบียนจะถูกสุ่มรายชื่อเพื่อให้เข้าเป็นทหารแบบล๊อตเตอรี่ แต่ตั้งแต่มีระบบนี้มาตั้งแต่สมัยจิมมี คาร์เตอร์ รู้สึกยังไม่ถูกใช้นะครับ
ทหารเมกันเป็นระบบสมัครใจก็จริง เมื่อเซ็นต์สัญญาเข้าไปไม่สามารถต่อรองได้ จำนวนปีที่ต้องประจำขึ้นอยู่กับสายงานและระยะเวลาฝึกงานด้วย เมื่อครบกำหนดปลดเป็นพลเรือนแล้ว ชื่อคุณจะยังอยู่ในสาระบบของทหารกองหนุนไม่ประจำ (Inactive Ready Reserve) เป็นเวลาอีกจนกระทั่งสัญญาครบ 8 ปี เช่นถ้าคุณเป็นทหารประจำการ 4 ปีคุณก็เหลือ 4 ปีในกองหนุนหรือถ้าเป็นมาแล้ว 6 ปีก็เหลือ 2 ปีในกองหนุน ในเวลาที่เหลือดังกล่าวกองทัพมีสิทธิ์เรียกคุณกลับไปรับใช้ชาติได้ทุกเมื่อถ้าจำเป็น และเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วย ตอนสมัยสงครามอ่าวเปอร์เซียมีคนที่ปลดแล้วถูกเรียกกลับไปรบประมาณสองหมื่น ตอนหลัง 11 กันยาถูกเรียกกลับไปสองพันห้า คนที่ถูกเรียกมีเวลาเตรียมตัวแค่สามสิบวันและต้องกลับไปประจำปีครึ่งจนถึงสองปีก็มี ใครโดนเรียกถือว่าซวยครับ แต่บังเอิญช่วงนั้นตอนไปอิรักคนสมัครใจก็เยอะพอสมควรเพราะเป็นช่วงที่คนเมกันโดนล้างสมองอยู่และเห็นด้วยกับการบุกอิรัก
สาเหตุที่คนเมกันบางคนเป็นทหารเพราะข้อแรกเลยได้ทุนเรียนฟรี จุดนี้คุ้มมากๆ เพราะปลดออกมาเรียนหนังสือเบิกทุนฟรีพร้อมรับเงินเดือนจนจบปริญญาได้เลย จะเรียนป ตรี ปโท หรือฝึกหัดช่างไรได้ตามใจชอบ พวกทหารจึงมักสมัครกันตั้งแต่จบ ม ปลายพอปลดอายุยี่สิบกว่าๆถึงค่อยเรียนมหาลัย ส่วนเงินเดือนทหารไม่เท่าไรหรอกครับแต่บวกเบี้ยอื่นๆเช่นค่าครองชีพต่างแดน ค่าครองชีพคู่สมรส ค่าอาหารรวมกันก็พอใช้ ไม่ได้ขี้เหร่ รักษาพยาบาลฟรีหมดสำหรับทหารและจ่ายส่วนต่างนิดหน่อยสำหรับลูกและคู่สมรส มีลูกคลอดก็ฟรี ข้อสองคือก่อนหน้านั้นเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ตกงานเยอะ บางคนอายุ 30-40 เพิ่งมาสมัครก็มีหรือเคยเป็นมาก่อนแล้วกลับมาสมัครใหม่ก็มีเพราะต้องเลี้ยงดูลูกเมีย และพวกที่สามคืออยากท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตาหาประสบการณ์
ความคิดเห็นที่ 6
US เลิกเกณฑ์ทหารด้วยเหตุผลทางการเมือง และเหตุผลเรื่องระบบการเกณฑ์เดิมที่ลำเอียงน่ะครับ
ในช่วงสงครามเวียดนามมีการเกณฑ์ทหารไปรบจำนวนมาก ซึ่งระยะแรกคนอเมริกันก็ยังเฉยๆอยู่
แต่พอรบยืดเยื้อนานๆเข้ายิ่งต้องการทหารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็เริ่มมีกระแสต่อต้านสงคราม และการหนีทหารมากขึ้น
ระบบการเกณฑ์ทหารของอเมริกาในตอนนั้นก็แย่มากด้วยครับ เดิมทีในอเมริกา แต่ละท้องที่จะมีคณะกรรมการเกณฑ์ทหาร(Draft Board)
ทำหน้าที่เป็นคนเลือกว่าใครจะโดนเกณฑ์ไปรบ คนในคณะกรรมการก็มาจากในท้องที่นั้นๆเอง
ซึ่งระบบนี้ทำให้เกิดความลำเอียงมาก คนที่มีการศึกษาน้อย ชนชั้นแรงงาน คนผิวดำ มักจะโดนเกณฑ์เป็นอันดับแรกๆ
ส่วนญาติโกโหติกาหรือคนรู้จักของคณะกรรมการ ก็มักจะรอดด้วยเส้นสาย ชนชั้นกลางถึงสูงก็มีวิธีหลบเลี่ยงหลายทาง
ทั้งยัดเงิน ใบรับรองแพทย์ปลอม หรือไม่ก็ลงเรียนต่อในมหาลัยไปเรื่อยๆจะได้ไม่โดนเกณฑ์
ระบบการเกณฑ์ทหารที่เอื้อต่อการเลือกปฏิบัติแบบนี้ถูกวิจารย์อย่างรุนแรงในช่วงสงครามเวียตนามครับ
ทำให้ช่วงท้ายของสงครามเวียตนาม มีการเปลี่ยนไปใช้การเกณฑ์ทหารด้วยการจับฉลากวันเกิด (Draft Lottery)
เพื่อลดความไม่พอใจของสังคมลง
และหลังจากการรุกในวันตรุษญวน กระแสสังคมอเมริกันก็เปลี่ยนไป กลายเป็นต่อต้านการทำสงครามในเวียดนามเต็มที่
ประจวบเหมาะกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีใกล้เข้ามา ริชาร์ด นิกสัน ผู้สมัครลงเลือกตั้งปธน.เลยชูแคมเปญยกเลิกเกณฑ์ทหาร
จนได้รับเลือกตั้งเข้ามา แล้วค่อยเปลี่ยนถ่ายระบบให้กลายเป็นการรับสมัครทหารแทน
ในช่วงสงครามเวียดนามมีการเกณฑ์ทหารไปรบจำนวนมาก ซึ่งระยะแรกคนอเมริกันก็ยังเฉยๆอยู่
แต่พอรบยืดเยื้อนานๆเข้ายิ่งต้องการทหารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็เริ่มมีกระแสต่อต้านสงคราม และการหนีทหารมากขึ้น
ระบบการเกณฑ์ทหารของอเมริกาในตอนนั้นก็แย่มากด้วยครับ เดิมทีในอเมริกา แต่ละท้องที่จะมีคณะกรรมการเกณฑ์ทหาร(Draft Board)
ทำหน้าที่เป็นคนเลือกว่าใครจะโดนเกณฑ์ไปรบ คนในคณะกรรมการก็มาจากในท้องที่นั้นๆเอง
ซึ่งระบบนี้ทำให้เกิดความลำเอียงมาก คนที่มีการศึกษาน้อย ชนชั้นแรงงาน คนผิวดำ มักจะโดนเกณฑ์เป็นอันดับแรกๆ
ส่วนญาติโกโหติกาหรือคนรู้จักของคณะกรรมการ ก็มักจะรอดด้วยเส้นสาย ชนชั้นกลางถึงสูงก็มีวิธีหลบเลี่ยงหลายทาง
ทั้งยัดเงิน ใบรับรองแพทย์ปลอม หรือไม่ก็ลงเรียนต่อในมหาลัยไปเรื่อยๆจะได้ไม่โดนเกณฑ์
ระบบการเกณฑ์ทหารที่เอื้อต่อการเลือกปฏิบัติแบบนี้ถูกวิจารย์อย่างรุนแรงในช่วงสงครามเวียตนามครับ
ทำให้ช่วงท้ายของสงครามเวียตนาม มีการเปลี่ยนไปใช้การเกณฑ์ทหารด้วยการจับฉลากวันเกิด (Draft Lottery)
เพื่อลดความไม่พอใจของสังคมลง
และหลังจากการรุกในวันตรุษญวน กระแสสังคมอเมริกันก็เปลี่ยนไป กลายเป็นต่อต้านการทำสงครามในเวียดนามเต็มที่
ประจวบเหมาะกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีใกล้เข้ามา ริชาร์ด นิกสัน ผู้สมัครลงเลือกตั้งปธน.เลยชูแคมเปญยกเลิกเกณฑ์ทหาร
จนได้รับเลือกตั้งเข้ามา แล้วค่อยเปลี่ยนถ่ายระบบให้กลายเป็นการรับสมัครทหารแทน
ความคิดเห็นที่ 12
เมืองไทยน่ะ ไม่ต้องอะไรเลย
แค่ลดจำนวน ทหารเกณฑ์ลง ครึ่งนึง
จากเบี้ยเลี้ยงเดือนละ 9000บาท ทหารรั้วของชาติมีเกียรติมีศักดิ์ศรีนู่นนี่นั่น แต่เงินเดือนเท่ากรรมกรแบกหาม
จะกลายเป็น 18000 บาท และจะมีแต่คนแย่งกันเป็น
งบเบี้ยเลี้ยงเท่าเดิม แต่รายจ่ายจิปาถะกองทัพด้านอื่นที่ลงไปกับพลทหาร จะลดลงมหาศาล ยุทธโธปกร
ณ์ต่างๆ จะสามารถซื้อแบบเกรดดีขึ้น 2 เท่าได้
แต่ก็นั่นแหละครับ
แค่ลดจำนวน ทหารเกณฑ์ลง ครึ่งนึง
จากเบี้ยเลี้ยงเดือนละ 9000บาท ทหารรั้วของชาติมีเกียรติมีศักดิ์ศรีนู่นนี่นั่น แต่เงินเดือนเท่ากรรมกรแบกหาม
จะกลายเป็น 18000 บาท และจะมีแต่คนแย่งกันเป็น
งบเบี้ยเลี้ยงเท่าเดิม แต่รายจ่ายจิปาถะกองทัพด้านอื่นที่ลงไปกับพลทหาร จะลดลงมหาศาล ยุทธโธปกร
ณ์ต่างๆ จะสามารถซื้อแบบเกรดดีขึ้น 2 เท่าได้
แต่ก็นั่นแหละครับ
ความคิดเห็นที่ 5
สาเหตุสำคัญที่อเมริกาต้องเลิกเกณฑ์ทหารก็เพราะเขายังต้องการให้อเมริกาเป็นมหาอำนาจของโลกต่อไปครับ
เพราะหากเป็นระบบทหารเกณฑ์อเมริกาจะส่งกองทัพไปรบที่ไหนไม่ได้ง่ายๆหากไม่มีเสียงสนับสนุนพอ เพราะมันเกี่ยวพันถึงชีวิตลูกหลานของคนอเมริกันโดยตรง ถ้าเกิดทหารตายมากๆรึคนอเมริกาไม่พอใจเขาก็ออกมาประท้วงรัฐบาลให้ถอนทหารออกมา หากมีการประท้วงแบบนี้ตลอดทุกครั้งที่อเมริกาส่งกองทัพไป ไม่ว่าเรื่องอะไรอเมริกาก็เข้าไปยุ่งไม่ได้ แล้วอเมริกาจะคงสถานะตำรวจโลกได้อย่างไร
ดังนั้นอเมริกาจึงต้องเปลี่ยนระบบมาเป็นทหารสมัครแทน เพราะไม่ใช่การบังคับเกณฑ์คนอเมริกาไปเข้าสู่สงคราม แต่ใช้ความสมัครใจแทน ทำให้ถึงแม้ประชาชนจะไม่พอใจที่รัฐบาลส่งกองทัพไปทำสงครามในที่ต่างๆ แต่ก็ออกมาประท้วงได้ไม่เต็มที่ เพราะมันไม่ใช่การบังคับ คนที่สมัครทหารทุกคนสมัครใจและยอมรับความเสี่ยงในการทำอาชีพนี้แล้ว
เพราะหากเป็นระบบทหารเกณฑ์อเมริกาจะส่งกองทัพไปรบที่ไหนไม่ได้ง่ายๆหากไม่มีเสียงสนับสนุนพอ เพราะมันเกี่ยวพันถึงชีวิตลูกหลานของคนอเมริกันโดยตรง ถ้าเกิดทหารตายมากๆรึคนอเมริกาไม่พอใจเขาก็ออกมาประท้วงรัฐบาลให้ถอนทหารออกมา หากมีการประท้วงแบบนี้ตลอดทุกครั้งที่อเมริกาส่งกองทัพไป ไม่ว่าเรื่องอะไรอเมริกาก็เข้าไปยุ่งไม่ได้ แล้วอเมริกาจะคงสถานะตำรวจโลกได้อย่างไร
ดังนั้นอเมริกาจึงต้องเปลี่ยนระบบมาเป็นทหารสมัครแทน เพราะไม่ใช่การบังคับเกณฑ์คนอเมริกาไปเข้าสู่สงคราม แต่ใช้ความสมัครใจแทน ทำให้ถึงแม้ประชาชนจะไม่พอใจที่รัฐบาลส่งกองทัพไปทำสงครามในที่ต่างๆ แต่ก็ออกมาประท้วงได้ไม่เต็มที่ เพราะมันไม่ใช่การบังคับ คนที่สมัครทหารทุกคนสมัครใจและยอมรับความเสี่ยงในการทำอาชีพนี้แล้ว
แสดงความคิดเห็น
ตอนUS เลิกเกณฑ์ทหารเขาใช้เหตุผลอะไรที่ทำให้พวกยังอยากให้มียอมจำนนด้วยเหตุผล
อเมริกันเขามีวิธีให้เหตุผลกับคนที่คิดแบบนี้ยังไง วิธีไหนที่ทำให้คนพวกนี้ยอมจำนนด้วยเหตุผลว่าไม่ต้องเกณฑ์อีกแล้ว