เรียน นายจ้างห้างร้าน บริษัท เเละทุกท่านที่มีแรงงานต่างด้าว ๓ สัญญชาติในความดูแล
เรื่อง คำเเนะนำเพื่อให้ท่านพาลูกจ้างในความดูแลไปรายงานตัวเพื่อขอรับบัตรใหม่ ภายใน วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘
และขอรับใบอนุญาต ทำงาน ตามแนวทางการจัดระบบแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ในประกาศมติคณะรัฐมนตรี
สิ่งที่แนบกระทู้มาด้วย ภาพถ่ายพร้อมรายละเอียดบานตะไท
ด้วยที่ผ่านมามีมติ ครม.ประกาศให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา) ที่ถือใบอนุญาตทำงานซึ่งออกให้ ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และยังไม่ได้เข้ารับการตรวจสัญชาติภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ให้มารายงานตัวเพื่อขอรับบัตรใหม่ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ และขอรับใบอนุญาตทำงาน ซึ่งแรงงานต่างด้าวดังกล่าวจะได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เป็นเวลา ๑ ปี และได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ตั้งแต่วันที่ ๑เมษายน ๒๕๕๘ จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ เพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสัญชาติให้แล้วเสร็จ นั้น
วันนี้ ไอ้กระผมจึงขอทำตามประกาศของทางการ ด้วยการนำแรงงานชาวกัมพูชาที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจครอบครัวไปรายงานตัวด้วยกันรวม ๓ ราย จากการศึกษาโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้วจึงทราบว่าสำหรับรอบนี้ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จของ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ อาคารศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหนองบอน !!
เดชะบุญ มันตกอกตกใจเหมือนไฟจี้ก้น ตั้งแต่กลายเป็นคนกรุงเทพมาไม่เคยได้ยินชื่อสถานที่แบบนี้มาก่อนในชีวิต แต่โชคดีที่ตอนเรียนประถมมาคุณครูสอนให้ดูแผนที่จึงรู้เหนือรู้ใต้อยู่บ้าง และเชื่อได้ว่าการเดินทางไปโดยรถส่วนตัวนั้นจะไม่ทำให้ทุกท่านลำบาก เพราะสถานที่นี้อยู่แสนไกล ในหลืบ และถนนสุดแคบ ที่สำคัญ วันทำการตั้งแต่ ๑ เมษายนเป็นต้นมา มีผู้คนเดินเข้าออกกันอึกทึกน่ามากกว่าตอนน้ำท่วมอีกด้วยซ้ำ
ทีนี้ ก่อนจะออกเดินทางมาเตรียมความพร้อมด้านเอกสารกันซักนิด (แนะนำให้เตรียมพร้อมก่อนไป เพราะที่ศูนย์บริการฯไมมีให้บริการ ^^) ซึ่งทั้งหมดมี ดังนี้
• แบบคำขออนุญาตทำงาน (ต.ท.๘)
• แบบบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าวเพื่อเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ (กรณียื่นไว้แล้วให้ใช้สำเนา)
• บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) พร้อมสำเนา
• หนังสือรับรองการจ้างงาน โดยระบุท้ายหนังสือว่า “รับรองการจ้างตามรายชื่อที่ปรากฏในแบบบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว
เพื่อเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ
• เอกสารนายจ้าง เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน
• แผนที่ตั้งสถานที่ทำงาน
• รูปถ่ายขนาด ๓x๔ นิ้วจำนวน ๓ รูป
• สำคัญสุดคือ ...เงิน ๒,๖๖๐ บาท / ต่อ ๑ ราย
ถ้ามั่นใจว่าพร้อมแล้ว.........ขอให้ลองตรวจสอบดูอย่างรอบคอบอีกครั้งก่อนออกเดินทาง เพราะจากการสำรวจ พบว่าส่วนใหญ่คนที่เอกสารผิดบ่อยที่สุดคือพวกมารอตั้งแต่ไก่โห่ !! (สงสัยจะงัวเงีย) ถ้าท่านใดมาไม่ถูกก็...เอ้า ไอ้กระผมมีแผนที่มาให้ครับ
อีกคำแนะนำสำหรับผู้ที่นำรถส่วนตัวมา ขอให้นำที่จอดรถติดตัวมาด้วย -_-# เพราะเนื้อที่ที่นี่ไม่กว้างขวางมากนัก เมื่อเจอปริมาณรถยนต์ รถเครื่อง รถเหมายัดกันเข้าไปก็ล้นจนหาที่จอดแทบไม่ได้ แต่ไม่ต้องกังวลไป ไม่มีที่ไหนหรอกครับที่คนไทยจอดรถไม่ได้
แล้วทันทีที่ลงจากรถ ท่านจะรู้ว่าการวนหาที่จอดอยู่บนรถนั่นมันคือสวรรค์!!! วันที่ไอ้กระผมไปนั้น อุณหภูมิคะเนได้ราวเท่ากับเปิดไฟอ่อนแล้วลงไปนอนแช่น้ำมันหมูเล่นในกะทะ มันทำให้ไอ้กระผมภูมิใจจะบอกกับใครต่อใครเหลือเกิน ว่าเมืองไทยมี ๒ ฤดู คือ ร้อน กับร้อน Shift อ๋าย!!
หากหนังยังไม่กรอบจนถอดใจไปเสียก่อน ให้ทุกท่านพาลูกจ้างเดินพ้นรั้วสีเขียวเข้าไปเลยครับ เดินผ่านรถสุขาคลื่อนที่ไปสักสามช่วงคัน ท่านจะพบกับด่านที่ ๑
ด่านที่ ๑ : จุดประชาสัมพันธ์ / กรอกข้อมูลเบื้องต้น และ รับบัตรคิว
เพียงด่านแรกนี้ ที่ท่านเห็นอาจทำให้ท่านนึกกันว่าได้ข้ามดินแดนมายังประเทศเพื่อนบ้าน เปิดโลกการเรียนรู้ไปกับวัฒนธรรมอาเซียนสามภาษา ไม่ว่าจะมองไปทางไหนท่านก็จะเจอแต่ คน คน คน แล้วก็คนที่มาออกันด้วยจำนวนมโหฬารประมาณนี้ ...
ด่านที่ ๑ นี้ถือเป็นด่านสำคัญ เพราะทุกท่านจะต้องพาลูกจ้างในความดูแลของท่านกรอกเอกสารให้ครบ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งเสียมิได้เลยเชียว และไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการเขียน ท่านหรือใครก็ตามที่ท่านมอบอำนาจให้มาดำเนินการ สามารถเขียนข้อมูลแทนได้ แต่สุดท้ายในช่องลงลายมือชื่อ ต้องมีลายนิ้วมือของลูกจ้างที่ปั๊มลงไป คล้ายตอนเอาของไปจำนำยังไงยังงั้นแหละ
ในด่านนี้ท่านจะต้องต่อแถวยาว ถึงยาวมาก ยาวฝั่ดรัสเซีย อิตาลี ฝรั่งเศส อเมริกาไปยันปานามาเลยทีเดียว และที่สำคัญท่านต้องเดินไปอ่านป้ายอันกระจ้อยให้ดี ๆ ว่าแถวที่ต่ออยู่นั้น สำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้างกี่คน ? เพราะในการต่อแถวทางศูนย์ ฯ จะแบ่งเป็น ๕ แถว สำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้าง ๑ – ๕ คน และอีก ๔ แถว สำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้าง ๖ คน ขึ้นไป ในด่านนี้ต้องย้ำว่า สำหรับนายจ้างเท่านั้นที่ต้องจัดเตรียมเอกสารมาต่อแถวเพื่อรับบัตรคิว ท่านสามรถเสนอให้ลูกจ้างที่ท่านพาไปบีบนวด หรือหาซื้อข้าวซื้อน้ำมารอท่านได้เลย เพราะกระบวนการนี้จะใช้เวลามากกว่า ๒ ชั่วโมง
โดยในด่านนี้ จะมี คุณ สุรัตน์ เกษเดช ผู้อำนวยการสำนักจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ ๑๐ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ และควบคุมกำกับดูแลด้วยตัวเอง พอท่านจับไมค์พูดที ก็ดูจะมีคนให้ความสนใจมากมายไม่ต่างอะไรจากนักร้องเกาหลีที่มาเปิดคอนเสิร์ตบ้านเรา “ตาม พรบ.ทะเบียนราษฎร์ บัตรสีชมพูที่เรามาดำเนินการต่ออายุกันครั้งนี้ เป็นบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งกระบวนการหลังจากเสร็จวันนี้ไป ผู้ถือบัตรสีชมพู คือผู้กล่าวอ้างว่าเป็นพลเมืองของประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า จะต้องไปขอคิวเพื่อเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติกับเจ้าหน้าที่สถานฑูตนั้น ๆ ...ต้องย้ำว่าบัตรที่ได้จะเป็นบัตรที่ใช้แสดงตัวยืนยันสถานะบุคคลต่อเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถรับรองการใช้ผ่านแดนได้”
พอสิ้นประโยคของท่าน ผอ. ไอ้กระผมก็แอบเห็น ว่ามีแรงงานบางคนที่ฟังภาษาไทยรู้เรื่อง ออกอาการวิตกอยู่ไม่น้อย ด้วยว่าในเดือนเมษายนนี้แรงงานชาวกัมพูชาในหลายพื้นที่จะมีการเดินทางกลับไปร่วมงานเชงเม้งกันตั้งแต่ต้นเดือน และจะกลับเข้ามาอีกทีก็ปลายเดือนโน่นเลย ถือเป็นเรื่องดีสำหรับศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จกรุงเพทมหานคร ที่มีคนระดับ ผอ.ลงมาเล่นบทต้อนรับ และประชาสัมพันธ์ด้วยตัวเอง และคอยบอกข้อมูลดี ๆ เช่นว่า ในกระบวนการต่ออายุบัตรครั้งนี้ไม่มีการออกคิวล่วงหน้า เพราะจะไปเอื้อต่อการเรียกรับผลประโยชน์ของบรรดานายหน้า แต่ว่าก็ไม่จำกัดสิทธิของนายจ้าง ที่จะมอบอำนาจให้ใครมาดำเนินการแทนได้โดยต้องมีเอกสารมอบอำนาจอย่างชัดเจน รวมทั้งกระบวนการนี้นั้น ลูกจ้างเองจะเดินท่อม ๆ มาแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้ต้องมีนายจ้าง หรือผู้ได้รับการมอบอำนาจมาด้วยเท่านั้น
สุดท้ายก่อนไอ้กระผมจะได้เห็นท่าน ผอ.ปาดเหงื่อตะแกย้ำให้ฟังเรื่องขั้นตอนการดำเนินการในวันนี้ ๖ ขั้นตอน คือ นายจ้างรับบัตรคิว – ตรวจเอกสารและรับบัตรคิวลูกจ้างตามจำนวน – ชำระเงินค่าต่ออายุบัตร – ชำระค่ายื่นคำขอใบอนุญาตทำงาน – ชำระและรับหมายนัดตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลที่เลือกสังกัด – รับบัตรใหม่
ส่วนนายจ้างท่านใด รับลูกจ้างมาใหม่(แต่ต้องเป็นลูกจ้างที่ผ่านการขึ้นทะเบียนมีบัตรสีชมพูแล้ว) และอยากดำเนินการเพื่อเปลี่ยนนายจ้าง ก็สามารถจะแจ้งเปลี่ยน และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้ในขั้นตอนนี้เลย แต่ต้องเพิ่มเอกสาร ‘แบบคำขออนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติ กรณีเปลี่ยนนายจ้าง’ แนบไปด้วย
เมื่อเสร็จจากด่าน ๑ ทุกท่านจะได้รับบัตรคิวสีเขียว ให้ไปรอตรวจเอกสาร โดยขั้นตอนนี้จะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาอำนวยความสะดวก และพูดซ้ำ ๆ ว่า “ตรงไปขวามือข้างบันได อย่าไปรวมกับแถวลูกจ้างนะครับ”
[CR] จดหมายเเนะนำสำหรับนายจ้าง ผู้จะพาลูกจากเเรงงานข้ามชาติสามสัญชาติไปรายงานตัวเพื่อขอรับบัตรใหม่
เรื่อง คำเเนะนำเพื่อให้ท่านพาลูกจ้างในความดูแลไปรายงานตัวเพื่อขอรับบัตรใหม่ ภายใน วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘
และขอรับใบอนุญาต ทำงาน ตามแนวทางการจัดระบบแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ในประกาศมติคณะรัฐมนตรี
สิ่งที่แนบกระทู้มาด้วย ภาพถ่ายพร้อมรายละเอียดบานตะไท
ด้วยที่ผ่านมามีมติ ครม.ประกาศให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา) ที่ถือใบอนุญาตทำงานซึ่งออกให้ ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และยังไม่ได้เข้ารับการตรวจสัญชาติภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ให้มารายงานตัวเพื่อขอรับบัตรใหม่ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ และขอรับใบอนุญาตทำงาน ซึ่งแรงงานต่างด้าวดังกล่าวจะได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เป็นเวลา ๑ ปี และได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ตั้งแต่วันที่ ๑เมษายน ๒๕๕๘ จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ เพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสัญชาติให้แล้วเสร็จ นั้น
วันนี้ ไอ้กระผมจึงขอทำตามประกาศของทางการ ด้วยการนำแรงงานชาวกัมพูชาที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจครอบครัวไปรายงานตัวด้วยกันรวม ๓ ราย จากการศึกษาโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้วจึงทราบว่าสำหรับรอบนี้ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จของ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ อาคารศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหนองบอน !!
เดชะบุญ มันตกอกตกใจเหมือนไฟจี้ก้น ตั้งแต่กลายเป็นคนกรุงเทพมาไม่เคยได้ยินชื่อสถานที่แบบนี้มาก่อนในชีวิต แต่โชคดีที่ตอนเรียนประถมมาคุณครูสอนให้ดูแผนที่จึงรู้เหนือรู้ใต้อยู่บ้าง และเชื่อได้ว่าการเดินทางไปโดยรถส่วนตัวนั้นจะไม่ทำให้ทุกท่านลำบาก เพราะสถานที่นี้อยู่แสนไกล ในหลืบ และถนนสุดแคบ ที่สำคัญ วันทำการตั้งแต่ ๑ เมษายนเป็นต้นมา มีผู้คนเดินเข้าออกกันอึกทึกน่ามากกว่าตอนน้ำท่วมอีกด้วยซ้ำ
ทีนี้ ก่อนจะออกเดินทางมาเตรียมความพร้อมด้านเอกสารกันซักนิด (แนะนำให้เตรียมพร้อมก่อนไป เพราะที่ศูนย์บริการฯไมมีให้บริการ ^^) ซึ่งทั้งหมดมี ดังนี้
• แบบคำขออนุญาตทำงาน (ต.ท.๘)
• แบบบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าวเพื่อเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ (กรณียื่นไว้แล้วให้ใช้สำเนา)
• บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) พร้อมสำเนา
• หนังสือรับรองการจ้างงาน โดยระบุท้ายหนังสือว่า “รับรองการจ้างตามรายชื่อที่ปรากฏในแบบบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว
เพื่อเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ
• เอกสารนายจ้าง เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน
• แผนที่ตั้งสถานที่ทำงาน
• รูปถ่ายขนาด ๓x๔ นิ้วจำนวน ๓ รูป
• สำคัญสุดคือ ...เงิน ๒,๖๖๐ บาท / ต่อ ๑ ราย
ถ้ามั่นใจว่าพร้อมแล้ว.........ขอให้ลองตรวจสอบดูอย่างรอบคอบอีกครั้งก่อนออกเดินทาง เพราะจากการสำรวจ พบว่าส่วนใหญ่คนที่เอกสารผิดบ่อยที่สุดคือพวกมารอตั้งแต่ไก่โห่ !! (สงสัยจะงัวเงีย) ถ้าท่านใดมาไม่ถูกก็...เอ้า ไอ้กระผมมีแผนที่มาให้ครับ
อีกคำแนะนำสำหรับผู้ที่นำรถส่วนตัวมา ขอให้นำที่จอดรถติดตัวมาด้วย -_-# เพราะเนื้อที่ที่นี่ไม่กว้างขวางมากนัก เมื่อเจอปริมาณรถยนต์ รถเครื่อง รถเหมายัดกันเข้าไปก็ล้นจนหาที่จอดแทบไม่ได้ แต่ไม่ต้องกังวลไป ไม่มีที่ไหนหรอกครับที่คนไทยจอดรถไม่ได้
แล้วทันทีที่ลงจากรถ ท่านจะรู้ว่าการวนหาที่จอดอยู่บนรถนั่นมันคือสวรรค์!!! วันที่ไอ้กระผมไปนั้น อุณหภูมิคะเนได้ราวเท่ากับเปิดไฟอ่อนแล้วลงไปนอนแช่น้ำมันหมูเล่นในกะทะ มันทำให้ไอ้กระผมภูมิใจจะบอกกับใครต่อใครเหลือเกิน ว่าเมืองไทยมี ๒ ฤดู คือ ร้อน กับร้อน Shift อ๋าย!!
หากหนังยังไม่กรอบจนถอดใจไปเสียก่อน ให้ทุกท่านพาลูกจ้างเดินพ้นรั้วสีเขียวเข้าไปเลยครับ เดินผ่านรถสุขาคลื่อนที่ไปสักสามช่วงคัน ท่านจะพบกับด่านที่ ๑
ด่านที่ ๑ : จุดประชาสัมพันธ์ / กรอกข้อมูลเบื้องต้น และ รับบัตรคิว
เพียงด่านแรกนี้ ที่ท่านเห็นอาจทำให้ท่านนึกกันว่าได้ข้ามดินแดนมายังประเทศเพื่อนบ้าน เปิดโลกการเรียนรู้ไปกับวัฒนธรรมอาเซียนสามภาษา ไม่ว่าจะมองไปทางไหนท่านก็จะเจอแต่ คน คน คน แล้วก็คนที่มาออกันด้วยจำนวนมโหฬารประมาณนี้ ...
ด่านที่ ๑ นี้ถือเป็นด่านสำคัญ เพราะทุกท่านจะต้องพาลูกจ้างในความดูแลของท่านกรอกเอกสารให้ครบ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งเสียมิได้เลยเชียว และไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการเขียน ท่านหรือใครก็ตามที่ท่านมอบอำนาจให้มาดำเนินการ สามารถเขียนข้อมูลแทนได้ แต่สุดท้ายในช่องลงลายมือชื่อ ต้องมีลายนิ้วมือของลูกจ้างที่ปั๊มลงไป คล้ายตอนเอาของไปจำนำยังไงยังงั้นแหละ
ในด่านนี้ท่านจะต้องต่อแถวยาว ถึงยาวมาก ยาวฝั่ดรัสเซีย อิตาลี ฝรั่งเศส อเมริกาไปยันปานามาเลยทีเดียว และที่สำคัญท่านต้องเดินไปอ่านป้ายอันกระจ้อยให้ดี ๆ ว่าแถวที่ต่ออยู่นั้น สำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้างกี่คน ? เพราะในการต่อแถวทางศูนย์ ฯ จะแบ่งเป็น ๕ แถว สำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้าง ๑ – ๕ คน และอีก ๔ แถว สำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้าง ๖ คน ขึ้นไป ในด่านนี้ต้องย้ำว่า สำหรับนายจ้างเท่านั้นที่ต้องจัดเตรียมเอกสารมาต่อแถวเพื่อรับบัตรคิว ท่านสามรถเสนอให้ลูกจ้างที่ท่านพาไปบีบนวด หรือหาซื้อข้าวซื้อน้ำมารอท่านได้เลย เพราะกระบวนการนี้จะใช้เวลามากกว่า ๒ ชั่วโมง
โดยในด่านนี้ จะมี คุณ สุรัตน์ เกษเดช ผู้อำนวยการสำนักจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ ๑๐ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ และควบคุมกำกับดูแลด้วยตัวเอง พอท่านจับไมค์พูดที ก็ดูจะมีคนให้ความสนใจมากมายไม่ต่างอะไรจากนักร้องเกาหลีที่มาเปิดคอนเสิร์ตบ้านเรา “ตาม พรบ.ทะเบียนราษฎร์ บัตรสีชมพูที่เรามาดำเนินการต่ออายุกันครั้งนี้ เป็นบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งกระบวนการหลังจากเสร็จวันนี้ไป ผู้ถือบัตรสีชมพู คือผู้กล่าวอ้างว่าเป็นพลเมืองของประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า จะต้องไปขอคิวเพื่อเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติกับเจ้าหน้าที่สถานฑูตนั้น ๆ ...ต้องย้ำว่าบัตรที่ได้จะเป็นบัตรที่ใช้แสดงตัวยืนยันสถานะบุคคลต่อเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถรับรองการใช้ผ่านแดนได้”
พอสิ้นประโยคของท่าน ผอ. ไอ้กระผมก็แอบเห็น ว่ามีแรงงานบางคนที่ฟังภาษาไทยรู้เรื่อง ออกอาการวิตกอยู่ไม่น้อย ด้วยว่าในเดือนเมษายนนี้แรงงานชาวกัมพูชาในหลายพื้นที่จะมีการเดินทางกลับไปร่วมงานเชงเม้งกันตั้งแต่ต้นเดือน และจะกลับเข้ามาอีกทีก็ปลายเดือนโน่นเลย ถือเป็นเรื่องดีสำหรับศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จกรุงเพทมหานคร ที่มีคนระดับ ผอ.ลงมาเล่นบทต้อนรับ และประชาสัมพันธ์ด้วยตัวเอง และคอยบอกข้อมูลดี ๆ เช่นว่า ในกระบวนการต่ออายุบัตรครั้งนี้ไม่มีการออกคิวล่วงหน้า เพราะจะไปเอื้อต่อการเรียกรับผลประโยชน์ของบรรดานายหน้า แต่ว่าก็ไม่จำกัดสิทธิของนายจ้าง ที่จะมอบอำนาจให้ใครมาดำเนินการแทนได้โดยต้องมีเอกสารมอบอำนาจอย่างชัดเจน รวมทั้งกระบวนการนี้นั้น ลูกจ้างเองจะเดินท่อม ๆ มาแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้ต้องมีนายจ้าง หรือผู้ได้รับการมอบอำนาจมาด้วยเท่านั้น
สุดท้ายก่อนไอ้กระผมจะได้เห็นท่าน ผอ.ปาดเหงื่อตะแกย้ำให้ฟังเรื่องขั้นตอนการดำเนินการในวันนี้ ๖ ขั้นตอน คือ นายจ้างรับบัตรคิว – ตรวจเอกสารและรับบัตรคิวลูกจ้างตามจำนวน – ชำระเงินค่าต่ออายุบัตร – ชำระค่ายื่นคำขอใบอนุญาตทำงาน – ชำระและรับหมายนัดตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลที่เลือกสังกัด – รับบัตรใหม่
ส่วนนายจ้างท่านใด รับลูกจ้างมาใหม่(แต่ต้องเป็นลูกจ้างที่ผ่านการขึ้นทะเบียนมีบัตรสีชมพูแล้ว) และอยากดำเนินการเพื่อเปลี่ยนนายจ้าง ก็สามารถจะแจ้งเปลี่ยน และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้ในขั้นตอนนี้เลย แต่ต้องเพิ่มเอกสาร ‘แบบคำขออนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติ กรณีเปลี่ยนนายจ้าง’ แนบไปด้วย
เมื่อเสร็จจากด่าน ๑ ทุกท่านจะได้รับบัตรคิวสีเขียว ให้ไปรอตรวจเอกสาร โดยขั้นตอนนี้จะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาอำนวยความสะดวก และพูดซ้ำ ๆ ว่า “ตรงไปขวามือข้างบันได อย่าไปรวมกับแถวลูกจ้างนะครับ”
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น