มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาลัยแห่งใหม่ของไทย

ท่านคิดอย่างไรกับการจัดตั้งนี้

ครม.ยังมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นการควบรวมระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เพื่อลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน โดยเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) - See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/637523#sthash.1vyPLD9I.dpuf

ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธาน โดยที่ประชุมได้พิจาณาเรื่องด่วน ร่างพ.ร.บ. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. โดยมีสาระสำคัญคือ ในมาตรา 36 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคลเพื่อให้ดำเนินกิจการโดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การดูแลของสภาสถานศึกษา เพื่อให้สามารถระดมทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มศักยภาพทางวิชาการ สมควรรวมมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เพื่อร่วมผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์และพื้นที่ใกล้เคียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสมาชิก สนช.ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ตั้งข้อสังเกตว่าการเปิดสาขาวิชาจะต้องตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ใช่เพื่อแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นที่เกิดขึ้นมานานแล้วและได้รับความนิยมมากกว่า นอจากนี้มหาวิทยาลัยจะต้องมีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อตอบสนองให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังที่ประชุมได้มีมติรับหลักการวาระแรกด้วยคะแนน 156 ต่อ 1 งดออกเสียง 2 ตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาจำนวน 15 คน
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/641101#sthash.u2YHFKdM.dpuf

นายกฤษณพงศ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังฝากถึงเรื่องการควบรวมระหว่าง มรภ.กาฬสินธุ์ และ มทร.ราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ว่า ควรรักษาตัวป้อนที่เข้าสู่ระบบอุดมศึกษาทั้งที่มาจากสายสามัญ และสายอาชีพด้วย เพราะเดิม มทร. จะเปิดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ต่อปริญญาตรี ขณะที่ มรภ. รับนักศึกษาระดับชั้น ม.6 เพื่อต่อปริญญาตรี ซึ่งตัวป้อนทั้งสองสายมีความสำคัญ ไม่ใช่จะเน้นรับแต่เด็กสายสามัญอย่างเดียว

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่