๑๓. ควรเชื่อฤกษ์ยามหรือไม่
http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=13
ถาม
๑. เรื่องการเริ่มกิจการงานต่างๆ ต้องดูฤกษ์ยาม วันเวลา อาจารย์คิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
๒. อาจารย์มีความเชื่อเรื่องนี้หรือไม่ และอาจารย์เคยทำหรือไม่
หมายความว่า อาจารย์เคยหรือไม่ ที่ว่าการเริ่มกิจการงานของอาจารย์เคยเลือกวันเวลา ตามหลักทำนายของโหราศาสตร์
ความจริงผมไม่เชื่อเรื่องนี้เท่าไร ผมเชื่อหลักกรรมเหตุผลตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่มันก็ยังรู้สึกติดใจตัดไม่ออก
เพราะผมปฏิบัติกันมาแต่เด็กๆ และแม้แต่พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่บางท่านก็ยังดูฤกษ์ ดูดวงให้ศรัทธาประชาชน
ผมขอคำแนะนำของอาจารย์และผมจะปฏิบัติตาม ถ้าอาจารย์เห็นว่าควรทำ
ตอบ
เรื่องของการดูฤกษ์ยามเวลาจะเริ่มทำกิจการงานต่างๆ นั้น
ถ้าดูแล้วทำให้สบายใจ และไม่ทำให้เดือดร้อนก็ทำเถิด
แม้บางครั้งจะไร้สาระ แต่มีประโยชน์แก่จิตใจก็ทำตามสบาย ขอเพียงอย่าถึงกับเชื่อมั่นคงว่า ถ้าทำไม่ได้ตามฤกษ์ตามยามนั้น
แล้วทุกอย่างจะล้มเหลว
เพราะจริงๆ แล้วการดูฤกษ์ยามเป็นเพียงการช่วยให้เกิดความมั่นใจส่วนหนึ่งเท่านั้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อย่าลืมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า
เวลาที่สัตว์ประพฤติชอบชื่อฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดีเป็นต้น
ซึ่งหมายความว่า เมื่อบุคคลประพฤติดีประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นแหละเป็นฤกษ์ดี มงคลดีสำหรับบุคคลนั้นแล้ว
เพราะฉะนั้นการทำความดีจึงไม่ควรรอเวลา เพราะทำเมื่อไรก็เป็นความดีเมื่อนั้น
แม้ในนักขัตตชาดก เอกนิบาตชาดกข้อ ๔๙
พระพุทธเจ้าของเรา สมัยที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ก็ได้กล่าวคาถาสอนชาวเมืองผู้มัวแต่ถือฤกษ์ยามอยู่
จึงพลาดจากประโยชน์ที่ตนจะได้รับไป
ท่านกล่าวสอนว่า
“
ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลา ผู้มัวคอยฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดาวดวงจักทำอะไรได้”
แล้วท่านก็อธิบายให้ฟังว่า “คนโง่มัวแต่รอฤกษ์อยู่ว่า ฤกษ์จะมีในบัดนี้ จักมีในเวลานี้ ปล่อยเวลาให้ผ่านไปด้วยการอคอย
ประโยชน์ที่เขาความจะได้รับ ก็ได้ผ่านเลยไปเสีย ในช่วงเวลาที่เขารอคอยอยู่นั่นแหละ ดวงดาวในอากาศจักยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ได้อย่างไร การกระทำของตนต่างหากที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ”
และถ้าเราคิดถึงเรื่องนี้ให้ลึกซึ้ง บางครั้งในขณะที่เรามัวรอฤกษ์งามยามดีอยู่นั่นแหละ เราก็สิ้นชีวิตไปเสียก่อน
โดยที่ยังมิได้ทำตามที่ตั้งใจเลย เพราะฉะนั้น ถ้าจะทำความดีแล้ว ไม่จะเป็นต้องรอฤกษ์รอยามเลย จงทำทันทีจะดีกว่า
ทั้งชื่อว่าได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างถูกต้องด้วย
ในส่วนตัวนั้น ก็อาจจะ
เคยเชื่อฤกษ์ยามมาบ้าง เพราะเชื่อตามผู้ใหญ่ แต่เมื่อศึกษาพระธรรมจนพอ
เข้าใจแล้ว
ก็ไม่ได้ใส่ใจเรื่องฤกษ์ยามแต่ถือฤกษ์สะดวก คือความพร้อมของตนเป็นสำคัญ หรือถ้างานนั้นต้องทำหลายคน
ก็ถือเอาความสะดวกของทุกคนเป็นสำคัญ สะดวกและพร้อมเมื่อใดก็ทำเมื่อนั้น ไม่ต้องไปดูฤกษ์ดูยามให้ยุ่งยากใจ
ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
สุปุพพัณหสูตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สุปุพพัณหสูตร
[๕๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลา
เช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วย
วาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของ
สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา
ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่า
นั้น
สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็น
ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดี
ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา มโนกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา สัตว์ทั้งหลายทำ
กรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว ย่อมได้ผลประโยชน์อัน
เป็นส่วนเบื้องขวา ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับ
ความสุข จงงอกงามในพระพุทธศาสนา จงไม่มีโรค ถึง
ความสุข พร้อมด้วยญาติทั้งมวล ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7802&Z=7826&pagebreak=0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้๙. นักขัตตชาดก
ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
[๔๙] ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลาผู้มัวคอยฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของ
ประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=323&Z=327&pagebreak=0
อรรถกถา นักขัตตชาดก
ว่าด้วย ประโยชน์คือฤกษ์
http://www.84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270049
ควรเชื่อฤกษ์ยามหรือไม่
http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=13
ถาม
๑. เรื่องการเริ่มกิจการงานต่างๆ ต้องดูฤกษ์ยาม วันเวลา อาจารย์คิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
๒. อาจารย์มีความเชื่อเรื่องนี้หรือไม่ และอาจารย์เคยทำหรือไม่
หมายความว่า อาจารย์เคยหรือไม่ ที่ว่าการเริ่มกิจการงานของอาจารย์เคยเลือกวันเวลา ตามหลักทำนายของโหราศาสตร์
ความจริงผมไม่เชื่อเรื่องนี้เท่าไร ผมเชื่อหลักกรรมเหตุผลตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่มันก็ยังรู้สึกติดใจตัดไม่ออก
เพราะผมปฏิบัติกันมาแต่เด็กๆ และแม้แต่พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่บางท่านก็ยังดูฤกษ์ ดูดวงให้ศรัทธาประชาชน
ผมขอคำแนะนำของอาจารย์และผมจะปฏิบัติตาม ถ้าอาจารย์เห็นว่าควรทำ
ตอบ
เรื่องของการดูฤกษ์ยามเวลาจะเริ่มทำกิจการงานต่างๆ นั้น ถ้าดูแล้วทำให้สบายใจ และไม่ทำให้เดือดร้อนก็ทำเถิด
แม้บางครั้งจะไร้สาระ แต่มีประโยชน์แก่จิตใจก็ทำตามสบาย ขอเพียงอย่าถึงกับเชื่อมั่นคงว่า ถ้าทำไม่ได้ตามฤกษ์ตามยามนั้น
แล้วทุกอย่างจะล้มเหลว เพราะจริงๆ แล้วการดูฤกษ์ยามเป็นเพียงการช่วยให้เกิดความมั่นใจส่วนหนึ่งเท่านั้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อย่าลืมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า
เวลาที่สัตว์ประพฤติชอบชื่อฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดีเป็นต้น
ซึ่งหมายความว่า เมื่อบุคคลประพฤติดีประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นแหละเป็นฤกษ์ดี มงคลดีสำหรับบุคคลนั้นแล้ว
เพราะฉะนั้นการทำความดีจึงไม่ควรรอเวลา เพราะทำเมื่อไรก็เป็นความดีเมื่อนั้น
แม้ในนักขัตตชาดก เอกนิบาตชาดกข้อ ๔๙
พระพุทธเจ้าของเรา สมัยที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ก็ได้กล่าวคาถาสอนชาวเมืองผู้มัวแต่ถือฤกษ์ยามอยู่
จึงพลาดจากประโยชน์ที่ตนจะได้รับไป
ท่านกล่าวสอนว่า
“ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลา ผู้มัวคอยฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดาวดวงจักทำอะไรได้”
แล้วท่านก็อธิบายให้ฟังว่า “คนโง่มัวแต่รอฤกษ์อยู่ว่า ฤกษ์จะมีในบัดนี้ จักมีในเวลานี้ ปล่อยเวลาให้ผ่านไปด้วยการอคอย
ประโยชน์ที่เขาความจะได้รับ ก็ได้ผ่านเลยไปเสีย ในช่วงเวลาที่เขารอคอยอยู่นั่นแหละ ดวงดาวในอากาศจักยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ได้อย่างไร การกระทำของตนต่างหากที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ”
และถ้าเราคิดถึงเรื่องนี้ให้ลึกซึ้ง บางครั้งในขณะที่เรามัวรอฤกษ์งามยามดีอยู่นั่นแหละ เราก็สิ้นชีวิตไปเสียก่อน
โดยที่ยังมิได้ทำตามที่ตั้งใจเลย เพราะฉะนั้น ถ้าจะทำความดีแล้ว ไม่จะเป็นต้องรอฤกษ์รอยามเลย จงทำทันทีจะดีกว่า
ทั้งชื่อว่าได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างถูกต้องด้วย
ในส่วนตัวนั้น ก็อาจจะเคยเชื่อฤกษ์ยามมาบ้าง เพราะเชื่อตามผู้ใหญ่ แต่เมื่อศึกษาพระธรรมจนพอเข้าใจแล้ว
ก็ไม่ได้ใส่ใจเรื่องฤกษ์ยามแต่ถือฤกษ์สะดวก คือความพร้อมของตนเป็นสำคัญ หรือถ้างานนั้นต้องทำหลายคน
ก็ถือเอาความสะดวกของทุกคนเป็นสำคัญ สะดวกและพร้อมเมื่อใดก็ทำเมื่อนั้น ไม่ต้องไปดูฤกษ์ดูยามให้ยุ่งยากใจ
ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
สุปุพพัณหสูตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7802&Z=7826&pagebreak=0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=323&Z=327&pagebreak=0
อรรถกถา นักขัตตชาดก
ว่าด้วย ประโยชน์คือฤกษ์
http://www.84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270049