ใครกำลังหัดแต่งเพลง อยากเป็นนักแต่งเพลง ลองอ่านอันนี้ดูเป็นแนวทางนะครับ ผมว่า ได้ประโยขน์มาก ๆ สำหรับการเริ่มต้นเขียนเพลงขึ้นมาสักเพลงหนึ่ง...เยอะและอ่านยาวหน่อย แต่เชื่อว่าเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังนึกอยู่ว่าจะเริ่มยังไงแน่ๆครับ
หลักในการเขียนเพลงเบื้องต้น และหลักในการวิจารณ์เพลงเบื้องต้น by พี่ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค สำหรับ ทุกคน
หลักในการเขียนเพลงเบื้องต้น และหลักในการวิจารณ์เพลงเบื้องต้น
เนื่องจากหลายคนยังที่อยากแต่งเพลงมักจะถามเสมอว่าจะเริ่มต้นด้วยอะไรดี และเวลาจะวิจารณ์เพลงคนที่แต่งเพลงออกมา จะวิจารณ์อย่างไรให้มีแนวทาง ไม่เปะปะ กว้างมากจนจับประเด็นไม่ได้ จึงจะมีแนวทางสำหรับการแต่งเพลงเบื้องต้นและการวิจารณ์ดังต่อไปนี้
๑.นักร้อง นักร้องจะเป็นโจทย์ข้อแรกที่นักแต่งเพลงต้องนึกถึงว่า จะแต่งให้ใครร้อง บุคลิกของนักร้องเป็นอย่างไร ภาษาของนักร้องคนนั้นเป็นประเภทไหน เพื่อให้คนฟังเชื่อถือเมื่อเวลาเราเขียนเพลงให้นักร้องคนนั้นร้องได้อย่างพอเหมาะกับบุคลิก เช่น ภาษาและวิธีคิดของอัสนี โชติกุล ย่อมไม่เหมือนกับนันทิดา แก้วบัวสายเป็นต้น การวิจารณ์ก็น่าจะวิจารณ์ว่าเพลงนั้น ๆ ที่บอกว่าจะแต่งให้กับนักร้องคนนั้น เหมาะสมกับนักร้องนั้น ๆ จริงหรือไม่
๒.ทำนองเพลง ส่วนใหญ่การแต่งเนื้อร้องเพลงไทยในสมัยนี้มักจะแต่งตามทำนอง เนื่องจากการแต่งทำนองมีหลักเกณฑ์ชัดเจนมากกว่า นักแต่งเนื้อเพลงต้องฟังทำนองเพลงนั้น ๆ แล้วพยายามตีโจทย์ให้เข้าใจลึกซึ้งให้ได้ว่า ทำนองที่เขียนมานั้น เนื้อเพลงควรจะเป็นอารมณ์อะไร สนุกสนาน ยั่วเย้า โกรธแค้น เสียใจ ผิดหวัง คิดถึง โรแมนติก ฯลฯ จึงจะสามารถเขียนเนื้อเพลงได้ถูกต้องตามอารมณ์ของทำนอง สำหรับนักวิจารณ์สมัครเล่น ก็วิจารณ์ได้ว่า เนื้อเพลงนั้นเหมาะสมกับทำนองเพลงนั้นหรือไม่
๓.โครงเรื่อง เมื่อนักแต่งเพลงวิเคราะห์ในสองหัวข้อแรกแล้ว ก็ควรจะเริ่มคิดว่า ควรจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรให้เหมาะสมกับสองหัวข้อแรกนั้น จะพูดถึงอะไร ยกตัวอย่างเพลงที่เคยผ่านมาแล้ว เช่น ก็หมวยนี่คะ ก็คือการนึกถึงนักร้องว่าเป็นหมวย ส่วนทำนองและดนตรีก็สนุกสนาน ผู้แต่งก็ได้คิดเรื่องว่า เป็นการพูดหยอกล้อและถ่อมตัวว่าตัวเองเป็นหมวย ไม่สวย แถมยังโดนล้ออีก เป็นการระบายบุคลิกของนักร้องและทำนองได้ดี เป็นต้น นักวิจารณ์ก็อาจจะวิจารณ์ได้ว่า เรื่องราวในเพลงที่เพื่อนเขียนมานั้น มันน่าสนใจหรือไม่ มีมุมอะไรแตกต่าง หรือเป็นมุมเดิม ๆ ไม่มีอะไรใหม่
๔.การสื่อสาร เมื่อนักแต่งเพลงคิดออกแล้วว่าจะเขียนเพลงเกี่ยวกับอะไร พูดถึงอะไร ให้กับนักร้อง ก็เข้าสู่ขั้นตอนว่า เป็นคนเขียนที่ดีหรือไม่ คนฟังเข้าใจโครงเรื่องหรือคอนเซปต์ที่ตนเองพยายามจะบอกหรือไม่ เขียนวกไปวนมาหรือไม่ เริ่มต้นอย่างลงท้ายอีกอย่างหรือไม่ ใช้คำผิดความหมายหรือไม่ ที่สุดคือ ฟังแล้วงงหรือเปล่า
๕.ความประทับใจ นี่คือข้อสุดท้ายที่ยากที่สุด นักแต่งเพลงหลายคนเขียนตอบโจทย์สี่ข้อนั้นได้ทั้งหมด แต่จะมาสอบตกข้อสุดท้ายซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด นักแต่งเพลงต้องคิดให้ได้ว่า จะทำอย่างไรคนฟังถึงจะสนใจเพลงของเรา ไม่ว่าจะด้วยคำแรง ๆ หรือเนื้อหาที่แปลก ๆ หรือบางเพลงก็อาจจะไม่มีอะไรแปลกน่าสนใจเมื่อเวลาอ่านบนกระดาษ แต่เวลาฟังพร้อมกับทำนองกลับประทับใจอย่างประหลาด เพียงเพราะว่าเขียนได้เข้ากับทำนอง ลงโน้ต ลงจังหวะได้อย่างลงตัว
ความประทับใจนี้มีหลายหัวข้อมาก ซึ่งไม่สามารถเขียนลงในกฎห้าข้อนี้ได้ทั้งหมด แต่อยากจะให้นักแต่งเพลงที่กำลังเริ่มต้นลองค้นหาดู รวมทั้งนักวิจารณ์สมัครเล่นด้วย ลองวิจารณ์เพื่อนดูว่า สิ่งที่เพื่อนทำมานั้นมันน่าประทับใจตรงไหนบ้าง
อยากให้น้องที่อยากเริ่มแต่งเพลง ลองใช้ห้าข้อของพี่นี้ดู ส่วนนักวิจารณ์ด้วยกันในเว็บนี้ อยากให้ใช้หลักห้าข้อนี้วิจารณ์เพื่อนด้วยกันเองเหมือนกัน จะได้ไม่ฟุ้งซ่านไปไกล
พี่ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค
ใครอยากแต่งเพลงเป็นเชิญทางนี้
หลักในการเขียนเพลงเบื้องต้น และหลักในการวิจารณ์เพลงเบื้องต้น by พี่ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค สำหรับ ทุกคน
หลักในการเขียนเพลงเบื้องต้น และหลักในการวิจารณ์เพลงเบื้องต้น
เนื่องจากหลายคนยังที่อยากแต่งเพลงมักจะถามเสมอว่าจะเริ่มต้นด้วยอะไรดี และเวลาจะวิจารณ์เพลงคนที่แต่งเพลงออกมา จะวิจารณ์อย่างไรให้มีแนวทาง ไม่เปะปะ กว้างมากจนจับประเด็นไม่ได้ จึงจะมีแนวทางสำหรับการแต่งเพลงเบื้องต้นและการวิจารณ์ดังต่อไปนี้
๑.นักร้อง นักร้องจะเป็นโจทย์ข้อแรกที่นักแต่งเพลงต้องนึกถึงว่า จะแต่งให้ใครร้อง บุคลิกของนักร้องเป็นอย่างไร ภาษาของนักร้องคนนั้นเป็นประเภทไหน เพื่อให้คนฟังเชื่อถือเมื่อเวลาเราเขียนเพลงให้นักร้องคนนั้นร้องได้อย่างพอเหมาะกับบุคลิก เช่น ภาษาและวิธีคิดของอัสนี โชติกุล ย่อมไม่เหมือนกับนันทิดา แก้วบัวสายเป็นต้น การวิจารณ์ก็น่าจะวิจารณ์ว่าเพลงนั้น ๆ ที่บอกว่าจะแต่งให้กับนักร้องคนนั้น เหมาะสมกับนักร้องนั้น ๆ จริงหรือไม่
๒.ทำนองเพลง ส่วนใหญ่การแต่งเนื้อร้องเพลงไทยในสมัยนี้มักจะแต่งตามทำนอง เนื่องจากการแต่งทำนองมีหลักเกณฑ์ชัดเจนมากกว่า นักแต่งเนื้อเพลงต้องฟังทำนองเพลงนั้น ๆ แล้วพยายามตีโจทย์ให้เข้าใจลึกซึ้งให้ได้ว่า ทำนองที่เขียนมานั้น เนื้อเพลงควรจะเป็นอารมณ์อะไร สนุกสนาน ยั่วเย้า โกรธแค้น เสียใจ ผิดหวัง คิดถึง โรแมนติก ฯลฯ จึงจะสามารถเขียนเนื้อเพลงได้ถูกต้องตามอารมณ์ของทำนอง สำหรับนักวิจารณ์สมัครเล่น ก็วิจารณ์ได้ว่า เนื้อเพลงนั้นเหมาะสมกับทำนองเพลงนั้นหรือไม่
๓.โครงเรื่อง เมื่อนักแต่งเพลงวิเคราะห์ในสองหัวข้อแรกแล้ว ก็ควรจะเริ่มคิดว่า ควรจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรให้เหมาะสมกับสองหัวข้อแรกนั้น จะพูดถึงอะไร ยกตัวอย่างเพลงที่เคยผ่านมาแล้ว เช่น ก็หมวยนี่คะ ก็คือการนึกถึงนักร้องว่าเป็นหมวย ส่วนทำนองและดนตรีก็สนุกสนาน ผู้แต่งก็ได้คิดเรื่องว่า เป็นการพูดหยอกล้อและถ่อมตัวว่าตัวเองเป็นหมวย ไม่สวย แถมยังโดนล้ออีก เป็นการระบายบุคลิกของนักร้องและทำนองได้ดี เป็นต้น นักวิจารณ์ก็อาจจะวิจารณ์ได้ว่า เรื่องราวในเพลงที่เพื่อนเขียนมานั้น มันน่าสนใจหรือไม่ มีมุมอะไรแตกต่าง หรือเป็นมุมเดิม ๆ ไม่มีอะไรใหม่
๔.การสื่อสาร เมื่อนักแต่งเพลงคิดออกแล้วว่าจะเขียนเพลงเกี่ยวกับอะไร พูดถึงอะไร ให้กับนักร้อง ก็เข้าสู่ขั้นตอนว่า เป็นคนเขียนที่ดีหรือไม่ คนฟังเข้าใจโครงเรื่องหรือคอนเซปต์ที่ตนเองพยายามจะบอกหรือไม่ เขียนวกไปวนมาหรือไม่ เริ่มต้นอย่างลงท้ายอีกอย่างหรือไม่ ใช้คำผิดความหมายหรือไม่ ที่สุดคือ ฟังแล้วงงหรือเปล่า
๕.ความประทับใจ นี่คือข้อสุดท้ายที่ยากที่สุด นักแต่งเพลงหลายคนเขียนตอบโจทย์สี่ข้อนั้นได้ทั้งหมด แต่จะมาสอบตกข้อสุดท้ายซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด นักแต่งเพลงต้องคิดให้ได้ว่า จะทำอย่างไรคนฟังถึงจะสนใจเพลงของเรา ไม่ว่าจะด้วยคำแรง ๆ หรือเนื้อหาที่แปลก ๆ หรือบางเพลงก็อาจจะไม่มีอะไรแปลกน่าสนใจเมื่อเวลาอ่านบนกระดาษ แต่เวลาฟังพร้อมกับทำนองกลับประทับใจอย่างประหลาด เพียงเพราะว่าเขียนได้เข้ากับทำนอง ลงโน้ต ลงจังหวะได้อย่างลงตัว
ความประทับใจนี้มีหลายหัวข้อมาก ซึ่งไม่สามารถเขียนลงในกฎห้าข้อนี้ได้ทั้งหมด แต่อยากจะให้นักแต่งเพลงที่กำลังเริ่มต้นลองค้นหาดู รวมทั้งนักวิจารณ์สมัครเล่นด้วย ลองวิจารณ์เพื่อนดูว่า สิ่งที่เพื่อนทำมานั้นมันน่าประทับใจตรงไหนบ้าง
อยากให้น้องที่อยากเริ่มแต่งเพลง ลองใช้ห้าข้อของพี่นี้ดู ส่วนนักวิจารณ์ด้วยกันในเว็บนี้ อยากให้ใช้หลักห้าข้อนี้วิจารณ์เพื่อนด้วยกันเองเหมือนกัน จะได้ไม่ฟุ้งซ่านไปไกล
พี่ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค