พ่อแม่ที่ปล่อยให้เด็กเล็กร้องไห้เสียงดังๆกลางที่สาธารณะนี้ เค้าคิดอะไรกันอยู่หรอคะ

เคยเห็นมั้ยคะ เวลาเดินตามห้าง ตามที่สาธานรณะ แล้วพ่อแม่ปล่อยให้เด็กเล็ก แบบน่าจะอนุบาลได้ ร้องไห้โวยวายเสียงดัง
คือ แล้วก็ไม่คิดจะห้ามลูก หรือพยายามทำให้มันดีขึ้นเลย เค้าปล่อยให้เด็กร้องและไม่สนใจ
บางบ้านยิ่งแล้วใหญ่ หัวเราะชอบใจที่เด็กร้อง บ้าไปแล้วหรอ -*-

คือ คนอื่นเค้าก็มอง รำคาน ความเกรงใจอะมีบ้างมั้ยคะ สายตาแต่ละคน พ่อแม่ไม่คิดจะทำอะไรเลยหรอ

เห็นหลายบ้านละ มีใครพอรู้เหตุผลปะคะ เค้าทำเพื่อออออออ??
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 283
เอิ่มมม = = สวัสดีค่ะ เราคือเจ้าของกระทู้นะคะ หลังจากตั้งไว้ ก็อ่านแค่วันแรกแล้วพอเข้าใจ ก็เลยไมไ่ด้เข้ามาดูอีกเลย ปรากฎว่า ท่าทางจะฮอตเหมือนกันนะคะกระทู้นี้ ฮ่าๆๆ วันนี้จะมาตอบข้อสงสัยที่อ่านคร่าวๆ (อ่านหมดไม่ไหวเยอะจริงๆ)

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนนะคะ ว่า เจตนาของดิฉันเอง ไม่ได้ต้องการให้ใครทะเลาะกันนะคะ มันเกิดจากความสงสัยเฉยๆค่ะ แค่สงสัย ไม่ได้เกลียดโกรธหรือโทษอะไรใครจริงจังขนาดนั้นหรอกค่ะ แต่ก็ดีเหมือนกันค่ะ การที่มีกระทู้นี้ ดิฉันเชื่อว่า หลายๆคนน่าจะได้อะไรดีๆจากที่นี้ไปนะคะ

0. ดิฉันไม่ได้มีปัญหากับเด็กค่ะ ดิฉันแค่อยากทราบมุมมองของคุณพ่อคุณแม่ก็เท่านั้น แค่ถามค่ะ ตอบดีๆก็ได้ ไม่เห็นต้องใส่อารมณ์เลย

1. ดิฉันเอง พักอยู่ในย่านมหาวิทยาลัยค่ะ มีร้านอาหารตามสั่งข้างล่างหอ (เป็นร้านไม่ใช่บ้านนะคะ ไม่มีที่นอน ไม่มีคนงานมากินนอนที่ร้าน) (เพราะฉะนั้นดิฉันจะได้ยินทุกวัน และบางวันก็หลายชั่วโมง) พนักงานเค้ามีลูกประมาณ ประถมได้แล้ว ร้องไห้ทุกวันร้องแบบได้ยินกัน 10 ซอยเลยค่ะ เวลาทำงานก็จะหิ้วเด็กมาด้วย เข้าใจว่าไม่ใช่คนไทยค่ะ ตอนเด็กคนนี้เด็กๆ ดิฉันก็พอทนและพยายามเข้าใจนะคะ ก็ดู แต่แม่เค้าก็ไม่สอนลูกด้วยเหตุผลเลยค่ะ ปล่อยให้เค้าร้อง แล้วก็โอ๋ ผลคือ ตอนนี้เด็กคนนั้นโต ประถมต้นได้แล้วละ ยังร้องแหกปากดิ้นๆๆสามบ้านแปดบ้านอยู่เลย นั้นน่าจะมาจากการเลี้ยงดู ดิฉันเชื่อว่ามีพ่อแม่อีกจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่ยังเลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี ดังนั้นการตั้งกระทู้นี้น่าจะสะกิดใจคนเหล่านั้นได้ ดิฉันหมายถึงพ่อแม่ที่สอนลูกไม่ถูกนะคะ สำหรับพ่อแม่ที่พยายามแล้ว อันนี้ดิฉันก็เข้าใจค่ะ (ถึงจะยังไม่มีลูกเป็นของตัวเองก็ตาม)

2. เรื่อง ใจแคบ นะคะ อืมมมม ดิฉันทนมาพอสมควรค่ะ ไปที่ไหนก็เจอ เลยฉุดคิดขึ้นมาได้ว่า อื้ม น่าจะมีคนอื่นบนโลกนี้ เป็นแบบเราอยู่แน่เลย ก็เลยมาตั้งกระทู้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ก็แค่นั้น ดิฉันไม่คิดว่าดิฉันใจแคบนะคะ ถ้าสถานการณ์เด็กร้องแล้วพ่อแม่พยายามทำอะไรสักอย่าง แสดงให้คนรอบๆเห็นว่า เราไม่ได้นิ่งนอนใจนะ แต่วิธีการแสดงออกของคุณก็ต้องถูกต้องด้วยนะคะ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมนั้นของเด็กอีกเหมือนกัน

3. ดิฉันดีใจนะคะ ทีมีคนมาให้ความรู้มากมาย กลายเป็นแหล่งความรู้ หวังว่าคุณพ่อคุณแม่น่าจะลองนำกลับไปคิดๆดูบ้าง

4. ดิฉันว่า ถ้าลองอ่านความคิดเห็นดู คนที่รู้สึกรำคานแบบดิฉันมีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว แต่อาจจะเลี่ยงเดินหนี หรืออะไร นั้นเป็นการเอาตัวเองออกจากปัญหา ไม่ได้ทำให้ปัญหามันถูกแก้(หรืออย่างน้อยก็ทำให้มันดีขึ้น) ดิฉันแค่อยากให้สังคมมันน่าอยู่ขึ้น ไม่ได้โลกสวย แต่คิดว่าทำไมทุกคนต้องทน ทำไมพ่อแม่ถึงทำยังงั้น กระทู้นี้น่าจะเป็นที่ที่แลกเปลี่ยนมุมมองของกันและกันได้ดีเลยนะคะ อย่าทะเลาะกันค่ะใจเย็น

5. สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ดีอยู่แล้ว ก็อย่าเดือดร้อนอะไรเลยนะคะ ถ้าคุณไม่สามารถแก้ไขได้ คุณก็แค่ผงกหัวขอโทษคนรอบข้างหรืออะไรก็ได้ค่ะ แค่นี้คนอื่นๆก็ไม่ได้ว่าอะไรแล้ว ต่างคนต่างเคยเป็นเด็ก ถูกเลี้ยงมาอาจจะไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนก็พร้อมที่จะเข้าใจค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 53
อธิบายแยกเป็นประเด็นนะคะ ประเด็นแรก เอาลูกไปห้างทำไม ทำไมไม่เก็บไว้ที่บ้าน หรือเวลาลูกร้องแล้ว ทำไมไม่อุ้มลูกกลับบ้านไปเลย

คุณนึกถึงพ่อแม่เลี้ยงเดียว ไม่มีปู่ย่าตายายช่วยเลี้ยงอ่ะค่ะ เวลาไปห้าง บางทีมันไม่ใช่แค่การช้อบปิ้ง แต่มันคือธุรกรรมทุกอย่างของครอบครัว จ่ายค่าน้ำค่าไฟ จ่ายบัตรเครดิต ฝากเงินถอนเงิน ซื้อของใช้ในบ้าน ซื้อกับข้าว การได้กินข้าวและเดินช้อบปิ้งบ้างถือเป็นกำไรค่ะ บางทีธุรกรรมยังไม่เสร็จ ยิ่งถ้าแม่อุ้มลูกไปคนเดียว 2-3 ขวบ คุณคิดดูสิว่า กว่าจะเดินไปยังจุดหมายได้แต่ละจุด ยากนะคะ ไม่ง่ายเลย

ออกธนาคาร ไปซุปเปอร์ บนห้างแพมเพิร์สถูกกว่าต้องไปซื้อข้างบน กางเกงลูกคับหมดแล้วต้องซื้อใหม่ แล้วธุระมันยังไม่เสร็จ ลูกเดินผ่านเห็นตุ๊กตาบาร์บี้ เริ่มหยุดเดิน มองหน้าเรา
"อยากซื้อบาร์บี้"
แม่หยิบมาดู ตัวละ 1500 "ไม่เอานะลูก ที่บ้านเรามีเยอะแล้ว วันก่อนหนูเพิ่งซื้อไปนี่คะ เรากลับไปเล่นที่บ้านก็ได้ลูก"
น้ำตาลูกเริ่มไหล แต่ในหัวแม่ยังคิดอีกว่า อ้าว....ยังไม่ได้ซื้อไก่เลย จะไปต้มซุปให้ลูกกินเย็นนี้ ค่าน้ำกับค่าไฟยังไม่ได้จ่าย
ลูกเห็นแม่ไม่สนใจ เริ่มร้องไห้หนักขึ้น "จะเอาๆๆๆๆๆๆ"
แม่มองนาฬิกา บ่ายโมงครึ่ง ได้เวลาลูกนอนกลางวันแล้วนี่ "ไม่เอานะคะ เราไปซื้อขนมกินที่ซุปเปอร์กันไม๊ มีช๊อคโกแลตที่หนูชอบด้วย"
(มีพ่อแม่คนไหนลูกเคยใช้คำนี้บ้างไม๊คะ ส่วนตัวเราได้ยินคำนี้ทีไรจุกอกทุกทีเลย) "หนูจะเอาบาร์บี้อย่างเดียว!!!!"
"ถ้าหนูไม่ไปแม่ไปแล้วนะ"
ลูกเริ่มกรี๊ด แม่เอื้อมจะไปอุ้ม ลุกสะบัดตัวหนี ในมือแม่มีกระเป๋าแม่ กระเป๋าลูก แพมเพิร์สที่เพิ่งซื้อมาสามถุง จะเอามือที่ไหนอุ้มคะ แล้วถ้าอุ้มเลย (พร้อมข้าวของในมือ) มีโอกาสสูงที่ลูกจะสบัดตัวหลุดจากมือได้รับบาดเจ็บ (แต่บางครั้งก็ทำนะคะ) และทางออกสุดท้ายถ้าทำทุกอย่างแล้วไม่ได้จริงๆ คือ ปล่อย ค่ะ

ประเด็นที่ 2 ที่อยากให้เข้าใจหัวใจคนเป็นแม่อีกนิด

คุณเคยได้ยินแม่คุณพูดไม๊คะ ว่าลูกร้องแม่ร้องหนักกว่า ทุกครั้งที่ลูกเอาแต่ใจแบบนี้ มันบีบคั้นหัวใจแม่มากนะคะ นอกจากเรื่องในสมองที่เยอะแยะมากมาย อันนั้นยังไม่เสร็จอันนี้ยังไม่ได้ทำ ยังต้องมาคิดว่าจะจัดการกับปัญหาตรงนั้นยังไง แล้วเวลาที่ลูกกรี๊ดๆๆ อ่ะค่ะ มันแสบบาดลึกลงไปในใจ ไม่มีแม่คนไหนอยากเห็นน้ำตาลูกหรอกนะคะ ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร

เลยสืบเนื่องมาจนเป็นประเด็นที่ 3 คือเรื่อง ignore

อันนี้หลายความเห็นข้างบนพูดแล้ว คุณอาจจะรำคาญ ณ ตรงนั้น จุดนั้น แต่พ่อแม่ ต้องทนกับการร้องไห้ของลูกแบบนี้แทบจะทุกวัน โอเคค่ะ คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็ต้องทน แต่ขอให้มองมุมนี้บ้าง ถ้าลูกร้องกินไอติม (ร้องนะคะ ไม่ใช่ขอ) แม่ซื้อให้ตามมที่ลูกร้อง เพราะอายคนอื่น เกรงใจคนอื่น ผลคือ ครั้งต่อๆมา ลูกจะร้องหนักขึ้น  เกิดวันนึงสิ่งที่เค้าร้องมันไม่ใช่ไอติม แต่เป็นชุดเพลย์โดชุดละ 5000 การร้องแค่ชั่วโมงนึงอาจจะน้อยไปก็ได้ค่ะ แต่กลับกัน ถ้าครั้งแรกแม่ใจแข็ง ลูกร้องครึ่งชั่วโมง ครั้งที่  2 ลูกอาจจะร้องแค่ 15 นาที ครั้งที่ 3 ที่ 4 ลูกจะเรียนรู้ว่า ร้องไห้ไปก็ไม่ได้ แล้วไม่ร้องในที่สุด มันคือการสอนลูกอย่างหนึ่ง

ประเด็นที่ 4 พ่อแม่ไม่รับผิดชอบ ทำลูกมาแล้ว ไม่รู้จักจัดการกับลูกตัวเอง

เอาจริงๆนะคะ พ่อแม่รู้จักลูกตัวเองที่สุด คนนอกต่างหากที่ตัดสินพ่อแม่เพียงแค่สิ่งที่เห็น ณ เวลานั้น ณ จุดนั้น คุณไม่รู้หรอกว่าพ่อแม่เจออะไรมาบ้างแล้ว สิ่งที่เค้าคิด ณ เวลานั้นคืออะไร เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันค่ะ บางคนฟังเหตุผลง่ายๆ บางคนยอมให้อุ้มหนี บางคนยอมให้เบี่ยงเบนความสนใจ และในขณะที่บางคน ไม่ยอมอะไรเลย จะร้องอย่างเดียว บางครั้งคุณก็ถูกล๊อตเตอรี่ เดินห้างอยู่ดีๆ เจอเด็กแบบสุดท้าย ส่วนตัวนะคะ สมัยที่ไม่มีลูก เราก็มองด้วยความเข้าใจค่ะ ว่าเด็กก็คือเด็ก เด็กกับการร้องไห้มันเป็นของคู่กัน ในใจยังคิดด้วยซ้ำว่า "เด็กร้องทำไม" ไม่ได้คิดว่า "ทำไมพ่อแม่ไม่จัดการ"

ขอพูดอีกประเด็นนะคะ เพราะเห็นกระทู้แนวๆนี้มาหลายที

เอาเฉพาะกรณีที่เด็กร้องในพื้นที่เปิดโล่ง เช่นตามห้าง ตามสวนสาธารณะ ตลาด นะคะ (ส่วนตามโรงหนัง ร้านอาหาร หรือพื้นที่ๆมีความเป็นส่วนตัว และต้องการความสงบนี่ จิตสำนึกของพ่อแม่ล้วนๆเลยค่ะ บางคนก็ไม่ไหวจริงๆ พาเด็กสามชวบไปดูหนังเนี่ย)
หลังๆมารู้สึกว่า ค่านิยมในการจัดการเด็กของบ้านเรามันไปในแนวทางที่เหมือนประเทศญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆน่ะค่ะ หมายความว่า พ่อแม่ต้องเกรงใจคนอื่นมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ลูกวิ่งไม่ได้ ซนไม่ได้ เล่นเสียงดังไม่ได้ พ่อแม่ต้องคอยคิดคอยกลัวเสมอว่าลูกตัวเองจะไปรบกวนใครเค้ารึเปล่า ฉันมีเพื่นเป็นคนญี่ปุ่นที่มาอาศัยอยู่ ทำงานที่เมืองไทยหลายคน มีลูกมีเต้าก็เยอะ พ่อแม่ญี่ปุ่นบอกว่า จะไม่พาลูกกลับไปญี่ปุ่นจนกว่าลูกจะ 4- 5 ขวบ เพราะค่านิยมของสังคมอย่างที่เล่ามาน่ะค่ะ เค้าบอกว่า พฤติกรรมของเด็กที่วิ่งไปมา ซนตามวัย คนญี่ปุ่นเค้าไม่โอเคกัน  และพ่อแม่จะถูกมองด้วยสายตา ตำหนิ ว่าไม่รัก ไม่ดูแลลูก เราว่ามันเกินไปอ่ะค่ะ
ในขณะที่ประเทศฝั่งตะวันตก กลับมีค่านิยมที่ว่า เด็กต้องมีพัฒนาการตามวัย Terrible two ก็เป็นแค่ช่วงเปลี่ยนผ่านทางอารมณ์ของเด็ก ที่จะเกิดขึ้นได้อีกตอนเป็นวัยรุ่น สังคมทางนู้นเค้ากลับมองพ่อแม่ด้วยความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ เด็กทางนู้นช่วยเหลือตัวเองได้มาก และมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่สมวัย
ฉันว่าทั้ง 2 ทางมันก็สุดโต่งทั้งคู่ ทางนึงมันก็เกรงใจกันเกินไป อีกทางมันก็ดูเหมือนสนใจแต่ตัวเอง เลี้ยงลูกในประเทศไทย เคยคิดว่า สังคมบ้านเราดี เพราะมีความเห็นอกเห็นใจกัน พูดคุยกันได้ จนหลังๆมาเจอกระทู้แนวนี้บ่อยๆ อดคิดไม่ได้ว่า ต่อไปคนมีลูก คงต้องเก็บตัวอยู่แต่ที่บ้าน ไม่ต้องออกไปไหนทำอะไร ลูกก็ไม่ต้องพัฒนาทักษะในการเข้าสังคม ช่วยเหลือตัวเอง พัฒนาความมั่นใจในตัวเอง อยู่เป็นเด็กบ้านไป ออกมาเจอผู้คนอีกทีก็ 4-5 ขวบไปเลย เพราะคนในสังคมรับพฤติกรรมตามวัยของเค้าไม่ได้

เขียนมายาวมากเลย เพียงแค่อยากให้คุณเข้าใจคนเป็นพ่อเป็นแม่บ้าง อย่างที่หลายความเห็นข้างบนบอกไว้ แต่ดูเหมือนคุณไม่สนใจอ่านเลย ก็ไม่รู้ว่าเขียนมาตั้งยาว จะพอเปลี่ยนทัศนคติคุณบ้างสักนิดได้หรือเปล่า ถ้าได้นิดเดียว ก็ถือเป็นประโยชน์มากแล้วค่ะ
ความคิดเห็นที่ 38
การ ignore ต่อพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจแง่ลบของเด็ก คือ สิ่งที่เหมาะสมแล้ว  แต่การ ignore แบบไม่สนใจเลย เขาเรียก ทอดทิ้ง ปล่อยปละ
เพราะจริงๆแล้ววัตถุประสงค์ของการ ignore คือ การให้เด็กได้อยู่กับตัวเอง แล้วเลิกสร้างเงื่อนไขต่อรอง  แต่มันต้องมาคู่กับการทำ time out ด้วย คือ ignore ต่อการสร้างเงื่อนไขเรียกร้องของเด็ก แต่ไม่ปล่อยให้เด็กร้องไห้โดยไม่ได้ทบทวนตัวเองเลย

ที่ถูกคือ ควรพาเด็กออกจากสถานการณ์ที่กระตุ้น เช่น  เด็กร้องไห้หน้าชั้นของเล่น ก็ปล่อยมันร้องเป็นชั่วโมงตรงนั้น อันนี้ไม่ถูกนะ  ต้องพาเด็กออกจากสถานการณ์ที่จะกระตุ้นอารมณ์ และพาไปอยู่ในๆที่เร้าเขาน้อยกว่า แล้วปล่อยให้เขาได้ระบายอารมณ์จนเริ่มดีขึ้น ก็เข้าไปซักถามเป็นระยะว่าเขาพร้อมจะคุยยัง ถ้ายัง ก็ปล่อยให้เขาอยู่คนเดียวไปก่อน แต่จะไม่แสดงออกว่า สนใจต่อการร้องไห้ของเขา หรือ ซื้อของเล่นให้หากเขายังร้องไห้อยู่

มันจะดีกว่า ถ้าคุณผู้ปกครองตั้งเงื่อนไขกับเด็กไว้เลยว่า ร้องงอแง กรี๊ดอยากได้ของ คือ ยุติการเที่ยวและกลับบ้านทันที  เป็นการตอบสนองต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ให้เด็กเรียนรู้เลยว่า สิ่งไหนทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้  และการร้องไห้ไม่สามารถสร้างเงื่อนไขให้พ่อแม่ได้  ไม่ใช่ปล่อยให้ร้องกลางห้างเป็นชั่วโมง แล้วบอกว่านั่นคือ การ ignore จริงๆมันไม่ใช่นะ เด็กไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย ได้แต่ร้องไปเรื่อย เพราะเด็กก็ไม่ทันอารมณ์ตัวเอง ไม่เข้าใจความรู้สึก ไม่มีคนชี้นำว่า อะไรเกิดขึ้นกับเขา และทำไมเขาควรหยุดพฤติกรรม  เด็กก็ได้แต่ร้องๆอย่างเดียว จนหมดแรงไป และเกิดเป็นความคับข้องใจมากกว่าจะเข้าใจว่า ทำไม และจะแก้ไขอย่างไรดีน่ะ

เพราะการปลูกฝังให้เด็กเคารพต่อสังคมก็สำคัญไม่แพ้กัน การให้เด็กแสดงพฤติกรรมอะไรก็ได้ที่เขาต้องการในที่สาธารณะโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น  มันก็ไม่ใช่เรื่องถูกน่ะ  เด็กเองนอกจากจะเรียนรู้อารมณ์ตัวเอง ยังสมควรเรียนรู้วิธีการอยู่ในสังคมกับผู้อื่นด้วย เขาควรเรียนรู้ว่าพื้นที่สาธารณะไม่ใช่ทำอะไรก็ได้  แต่มันคือ พื้นที่ๆเขาต้องคิดถึงผู้อื่นด้วยไม่ใช่การคิดถึงแค่ตนเอง  แต่ถ้าพ่อแม่ยังมีทัศนคติว่า ก็ที่สาธารณะ ลูกฉันจะร้องจะทำไม ฉันจะฝึกลูกจะทำไม เด็กก็รับทัศนคติแบบนี้มาด้วยเหมือนกันว่า เอาความต้องการตัวเองเป็นที่ตั้งก่อนเลย ส่วนรวมมาทีหลัง เพราะพ่อแม่ก็ฝึกฉันมาแบบนี้
ความคิดเห็นที่ 27
ผมไม่ว่าอะไรนะ ผมว่าคุณใจแคบ แค่นั้น
ความคิดเห็นที่ 24
ณ.วัดแห่งหนึ่ง
มีสีกาคนหนึ่งกำลังไหว้พระปฏิมาในโบสถ์ หมาวัดก็เห่าและกัดกันอยู่ข้างนอกโบสถ์ สร้างความรำคาญให้สีกายิ่งนัก คิดในใจว่า ทำไมไม่มีใครมาจัดการหมาเลยนะ คนจะไหว้พระ รบกวนเสียนี่กระไร

สีกามองหาพระ แต่กลับไม่เจอใครเลย เลยยิ่งโมโหใหญ่ กลับไปบ้านก็ครุ่นคิดแต่เรื่องนี้   

รุ่งเช้า สีกาไปวัดอีกครั้งนึง เจอพระที่ดูแลวัด ก็เข้าไปต่อว่า
"หลวงพี่ เมื่อวานดิฉันมาทำบุญ เสียงหมา มันเห่ามันกัดกันดังลั่น ทำไมหลวงพี่ไม่มาดูแลห้ามปรามมันบ้าง หลวงพี่ไม่ได้ยินเสียงมันเห่าบ้างหรือไร"

"อาตมาต้องขอโทษโยมด้วย   อาตมาไม่ได้ฟัง จึงไม่ได้ยิน ตอนนี้ก็ไม่ได้ยินเสียงเห่า ได้ยินแต่แค่เสียงสีกาเท่านั้น"

สรุป นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่ฟัง ก็ไม่ได้ยิน
สีกา ได้ยินที่วัด แต่เหมือนกลับได้ยินเสียงเห่าทั้งคืน

ปล.บางครั้งคำถามวันนี้ที่ถามมา  อาจจะได้คำตอบด้วยตัวเองในอีก10ปีข้างหน้า(แบบเข้าใจอย่างลึกซึ้ง)

ปล.ยิ่งไม่อยากเจอ จะยิ่งเห็น

ปล.อีกที พี่มาลองคิดดู เวลาไปเดินห้างก็เห็นบ่อย แต่ไม่เคยสนใจและไม่เคยหันไปดู เพราะสงสารพ่อแม่ ที่ต้องมาอับอาย
ความคิดเห็นที่ 35
ที่สาธารณะไง เค้ามีสิทธิ์ร้องไห้ พ่อแม่เด็กมีสิทธิ์สอนลูกด้วยวิธีปล่อยให้ร้องไห้ และคุณก็มีสิทธิ์ที่จะเดินหนี

เราจะไม่ว่าอะไรถ้าสถานที่นั้นเป็นที่ๆเราเดินหนีได้ เช่น กลางห้าง เราคงไม่อยู่ตรงนั้นเป็นชั่วโมงหรอก ครอบครัวนั้นด้วย เค้าต้องเดินไปที่อื่นบ้างแน่นอน ถ้าเป็นร้านอาหาร เค้าก็ควรพาเด็กออกไปเดินเล่นให้สงบใจลงบ้างก็น่าจะดี ยกเว้นถ้าผปคมากับเด็กแค่ 2 คน คงออกไปไหนไม่ได้ ไม่งั้นอาหารคงโดนเก็บ เราก็หยวนๆ ไม่กระทั่งจิกตาใส่ เพราะเห็นใจ

แต่ถ้าพาเด็กมาโรงหนัง หรือคอนเสิร์ตหรืออะไรที่ต้องการความเงียบสงบ เราก็คงรู้สึกแบบเดียวกับจขกท

พูดตามตรง เวลาเห็นใครบอกว่าเกลียดเด็กนี่ อยากจะถามว่าไม่ชอบเด็กแล้วเกิดมาทำไม ชาติถัดๆไปขอให้ไม่ได้เกิดมาเป็นเด็กตลอดกาลเลยละกัน จะได้ไม่ต้องเป็นเด็ก ทำความเดือดร้อนให้คนอื่น

หมั่นไส้พวกเกลียดเด็กจริงๆ ไร้สาระมาก (เราไม่ใช่พวกรักเด็กจนเว่อร์ แต่รู้สึกเมตตาเอ็นดูเด็กๆ ที่ไม่ใช่ซนหรือดื้อมากๆ )
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่