พอน้องๆจบม.ปลาย สิ่งที่ตามมาติดๆคือการสอบเข้ามหาลัย ช่วงเลือกคณะนี่แหล่ะ เป็นเหมือนการตัดสิน และกำหนดทางเดินว่าตัวเองจะทำอาชีพอะไร ขอบอกก่อนว่า จขกท.จะไม่แนะนำนะ ว่าสถาบันไหนดี คณะไหนดี แต่จะแนะนำแค่ว่า จะหาความชอบ ความถนัดของตัวเองได้ยังไงบ้าง เห็นว่าเป็นช่วงปิดเทอมของเด็กๆ เลยรวมประสบการณ์ส่วนตัว ที่จขกท.ผ่านมา(เมื่อนานมาแล้ว) เขียนกระทู้นี้เพื่อแนะนำน้อง ม.ปลาย และพ่อแม่รวมถึงญาติพี่น้องที่มีคนที่คุณรักเรียนอยู่ ม.ปลาย ก็2-3 ปี ที่ผ่านมา ใช้วิธีนี้แนะนำกับรุ่นน้องไปหลายคน ผลออกมาค่อนข้างดี อย่างน้อยเด็กๆได้เรียนในแนวที่ใกล้เคียงกับความถนัดตัวเอง เลยอยากแนะนำน้องๆคนอื่นบ้าง ให้เป็นแนวทาง จะได้หาความเป็นตัวเองมากขึ้น นิดนึงก็ยังดีอ่ะเนอะ และเนื้อหาข้างล่างค่อนข้างยาว แต่พยายามแบ่งเป็นข้อๆแล้ว ถ้าใครอยู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ ก็อดทนอ่านเห๊อะ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขต่อตัวท่านเอง
…."คิดไว้รึยังจะเรียนคณะอะไร?" คำนี้เป็นคำถามที่น่าปวดหัวสำหรับน้องๆม.ปลายแน่นอน ไม่ว่าจะพ่อ แม่ ป้าขายข้าว อาม่าปากซอย อาแปะข้างบ้าน พอรู้ว่าเราเรียนม.ปลายจะมีคำถามนี้มาเสมอ
สำหรับคนที่มีแนวทางแน่วแน่แล้วคงไม่เป็นปัญหาอะไร แต่สำหรับบางคนที่ยังไม่รู้ตัวเองเลยว่าชอบอะไร ถนัดอะไร อยากเป็นอะไร นี่ได้แต่ยิ้ม แหะๆ แล้วบอกว่า “ยังไม่รู้เลย” ผู้ใหญ่ก็จะบอกว่า “อ่าว ไม่รู้ได้ไง คิดได้แล้วนะ คณะนั้นสิ เรียนนี่สิดีนะ จบออกมา..บลาๆๆๆๆๆๆ” เรียกว่าเป็นปัญหาที่หนักใจสุดๆเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเด็กเอง หรือพ่อแม่ ที่คอยห่วงว่าจะมีที่เรียนมั้ย? จะได้ที่ดีๆรึเปล่า? จะเรียนไหวมั้ยนะ? จะจบมั้ย? จะมีงานรองรับรึเปล่า? ค่าตอบแทนจะดีมั้ย?....โอ๊ยยย!!!สารพัดความคิดที่จะถาโถมเข้ามาแบบสึนามิ แล้วที่นี้จะรู้ตัวได้ไงล่ะว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร แล้วเรียนอะไรดี
อย่างแรก พอน้องขึ้นม.4 อย่าทำตัวชิลมาก คิดว่าเพิ่ง ม.4-5 ยังไม่คิดหรอก ยังอีกไกล ยังอีกตั้ง 2 ปี แต่บอกเลยว่า ช่วง ม.4-5 นี่แหล่ะ เป็นช่วงที่เรามีเวลาค้นหาตัวเองได้มากที่สุดแล้ว ไอ่ตอน ม.6 น่ะ มันคือปีแห่งการตัดสินใจแล้วว่าตัวเองจะเลือกเดินทางไหน แล้วเตรียมตัวในขั้นต่อไป ถ้าจะทำตามคำแนะนำนี้ มันอาจไม่ทันแล้ว
ทีนี้ ก็ขอแนะนำเป็นข้อๆ เป็นส่วนๆ แล้วลองเอาเวลาว่างจากการเรียน แทนที่จะเล่นเน็ต เล่นเกมส์ ดูหนัง มาทำตามดูนะ
1. ไปหยิบใบเกรดมานั่งดูเลย ว่าตัวเองทำวิชาไหนได้ดีที่สุด หรือ เรียนแล้วชอบวิชานี้ ....แต่!!! ถ้าเอามาดูแล้ว แม่มมมเอ๊ย!!! คะแนนห่วยทุกวิชา ไม่ชอบเลยซักวิชานึง อันนี้เริ่มหนักใจแล้วล่ะ ...ไม่เป็นไร ลองอีกวิธี เอาเนื้อหาที่เรียนมาแล้ว ค่อยๆพิจารณาดูทีละวิชา ว่ามีวิชาไหนบ้างที่เราเรียนแล้วเข้าใจง่ายสุด พอเข้าใจเนื้อหาคร่าวๆบ้างก็ยังดี ชนิดแบบพอพูดถึงเรื่องนี้แล้วอธิบายคร่าวๆได้ว่ามันคืออะไร แล้วจดไว้ซะว่าวิชานี้ฉันทำได้ ไอ่วิชาที่เรียนน่ะ มันมีอยู่ไม่กี่วิชาหรอกน่า คณิต อังกฤษ ไทย สังคม วิทยาศาสตร์ พละ ศิลปะ คอม นึกไม่ออกก็ไปหยิบตารางเรียนมาดูซะ ถ้ายังสรุปไม่ได้อีก ...อ่านข้อต่อไปเถอะนะ
2. หาว่ามีสถาบัน มหาลัยอะไรบ้าง มีคณะ สาขา แขนง อะไรเปิดสอนบ้าง เด็กส่วนมากและผู้ใหญ่บางคนก็รู้จักที่ดังๆอยู่ไม่กี่ที่หรอก อย่าง จขกท. เองกว่าจะรู้เรื่องพวกนี้ก็ ม.5 แล้ว ว่าในไทยไม่ได้มีแค่ จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รามฯ แต่ยังมีสถาบันอีกเยอะมาก แล้วมีคณะอีกเยอะมากที่เราไม่รู้ ไม่ได้มีแค่ หมอ พยาบาล วิศวะ แต่ยังมี เทคนิคการแพทย์ รัฐศาสตร์ วนศาสตร์ อุตสาหกรรมการเกษตร ฯลฯ แล้วใน 1 คณะ ยังแตกอีกเป็นสาขา แถมบางสาขายังมีแตกย่อยเป็นแขนงเข้าไปอีก ถึงขั้นร้อง เฮ้ย!!! โลกมหาลัยมันเยอะขนาดนี้เลยเร๊อะ แล้วน้องๆกับพ่อแม่จะรู้ได้ไงล่ะว่ามีอะไร ที่ไหน ให้เรียนบ้าง แนะนำค่ะว่าไปหา คะแนนต่ำสุด-สูงสุดของปีล่าสุดมาดู ไม่ได้ให้มาดูคะแนนนะ ส่วนชื่อมหาลัย อย่าเพิ่งให้ความสำคัญมากนัก ให้ดูแค่รายชื่อคณะ ชื่อสาขา ก็พอแล้ว เพราะชื่อคณะ สาขา จะบอกถึงวิชาหลักที่เรียนได้มากพอตัว เช่นวิศวะไฟฟ้า แน่นอนล่ะมันต้องเรียนเกี่ยวกับไฟฟ้า หรือ สารสนเทศ มันต้องเรียนอะไรเกี่ยวกะคอม ส่วนไอ่คะแนนสูงสุด-ต่ำสุดที่ว่า หาไม่ยากเลย ในเน็ตก็มี รึเข้าร้านหนังสืออย่าง ซีเอ็ด นายอินทร์ B2S นะ เดินเข้าไปส่วนของหนังสือของม.ปลาย มันมีขายแน่นอน มีหลากหลายมากกกก เลือกเอาที่มันไม่ต้องแพงก็ได้ ดูจากเน็ตก็ปริ้นไม่ก็จดออกมา ถ้าได้เป็นหนังสือยิ่งดีใหญ่ สนใจสาขาไหน ก็เอา marker ขีดไว้เลย ได้ไม่ต้องเปิดเน็ตบ่อยๆ ดูแล้วมันต้องมีซักสาขาล่ะน่า ที่พอเห็นชื่อปุ๊บแล้วมันเออเตะเข้าเบ้าตาดีแฮะ ขีดมาร์กไว้ให้เห็นชัดๆ แต่ข้อเสียของการดูคะแนนสูงต่ำ คือจะมีไม่ครบทุกมหาลัยน่ะ มันจะมีไม่ครบทุกสถาบัน ไม่ครบทุกคณะสาขา มีเฉพาะที่เปิดรับ Admission เท่านั้น
3. จากข้อ 2 ทีนี้พอได้ชื่อสาขาที่คิดว่าน่าสนแล้ว ก็ใช้อินเตอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ โดยเอาชื่อคณะ/ สาขานั้นไปหาข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อคณะ สาขาแปลกๆก็มีเยอะ หาข้อมูลว่าเรียนอะไรเผื่อน่าสน บางครั้งสาขาเดียวกัน แต่เมื่ออยู่คนละสถาบันก็ใช้ชื่อต่างกัน ก็ลองดูลองอ่านลองเปรียบเทียบ... แล้วให้ดูอะไรบ้างเกี่ยวกับสาขานั้นๆบ้างล่ะ? ก็ให้ดูว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง เรียนวิชาอะไรบ้าง มีกี่สาขา กี่แขนง ต่างกันยังไง เช่น สนใจ วิศวะ-คอม, วิทยาศาสตร์-คอม, เทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) ซึ่ง 3 สาขานี้ชื่อคล้ายกัน แต่เรียนต่างกัน ก็หาซะว่าต่างกันยังไง ยังไม่ต้องคิดว่าสถาบันไหนดี-ไม่ดี แต่ให้หาว่าสาขาที่สนใจ สถาบัน A กับ สถาบัน B เรียนต่างกันยังไง วิชา หน่วยกิต แอบๆส่องค่าเทอมด้วยก็ดี ในส่วนนี้ให้เข้าไปดูหลักสูตรสาขานั้นๆของสถาบันไปเลย ถ้าขี้เกียจดูรายละเอียดอะไรขนาดนั้น ก็อย่างที่บอก ดูแค่ว่าสาขาที่สนใจ เค้าเรียนอะไรเป็นหลัก หรืออยากรู้ว่ามหาลัยนี้มีคณะอะไรเปิดสอน ก็เข้าเว็บของมหาลัยแล้วไปทัวร์ในเว็บมหาลัยแบบทุกซอกทุกมุมซะ
จากข้อเสียในข้อ 2 บางคณะ บางสาขา รับแต่สอบตรงกับโควตาเท่านั้น บางมหาลัย อย่างมหาลัยเอกชนบางที่ หรือมหาลัยเปิด แค่สมัคร ยื่นเกรด ก็เข้าเรียนได้ ซึ่งพวกนี้ไม่มีรายชื่ออยู่ในคะแนน Admission แล้วจะหารายละเอียดได้ยังไง ก็เปิดเน็ตนะ แล้วหา “รายชื่อมหาวิทยาลัยในไทย” อันไหนชื่อสถาบันไม่ได้อยู่ในไอ่ที่ดูก่อนหน้านี้ ก็เข้าไปในเว็บมหาลัยเลย
4. จากข้อ 3 ยังไม่หมดซะทีเดียว ให้ลองหาคร่าวๆว่า สาขานั้นจบออกมาแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง 1 สาขาที่จบมา ไม่จำเป็นว่าทำงานได้แค่อาชีพเดียว (ถ้าคิดทำตรงสายอาชีพนะ) มันยังมีแขนงอื่นให้เลือกอีกเยอะ เช่นคนจบวิทย์-คอม ไม่จำเป็นต้องสร้างโปรแกรมอย่างเดียว อาจรับทำเว็บ ทำแอนนิเมชั่น วิเคราะห์ระบบก็เป็นได้ บอกพ่อแม่ทุกคนเลยว่า ไม่ต้องห่วงว่าลูกจบมาไม่มีงานทำนะ ถ้าไม่มีงานทำ เค้าไม่เปิดให้เรียนเพื่อเอาความรู้ไปใช้หรอก เพียงแค่ว่าจะเลือกงานแบบไหนเท่านั้นเอง ถ้าหนักไม่เอา เบาไม่สู้ ไม่แปลกที่จะเดินเตะฝุ่น
เชื่อเถอะว่าถ้าได้ทำข้อ 3-4 ไปแล้ว น้องๆที่ไม่มีแนวทาง จะพอมีความฝันขึ้นมาบ้าง เล็กน้อย ว่าเออสาขานี้ งานแบบนี้น่าสนนะ ส่วนน้องที่มีแนวทางในใจอยู่แล้ว แต่ครอบครัวไม่สนับสนุน ยิ่งต้องทำข้อ 3-4 แบบเข้มข้นเลยล่ะ เพื่อเอาเหตุผลไปอธิบายได้ว่า ไม่ใช่อย่างที่คิดนะ เรียนที่นี่ แบบนี้ๆๆ มีงานรองรับด้วยงานก็ทำแบบนี้ๆๆ ไม่ใช่ขรี้ๆนะเออ ผู้ใหญ่มักจะพูดว่า.. “จบแล้วจะไปทำไรกิน ไม่รุ่งหรอก” นี่แหล่ะ คำตอบ ยิ่งถ้าคนมีความฝันอยู่แล้วนะ ยิ่งเป็นแรงผลักว่าต้องทำได้แน่ๆ
5. มาเริ่มเข้าสู่ลงรายละเอียดสาขาที่สนใจมากขึ้น สำหรับข้อนี้ นั้นคือการเข้าค่าย หรือดูงาน Open House ของที่มหาลัยจัด มีหลายแบบมาก ไม่ใช่แค่ควรไป แต่สำหรับน้องๆที่สนใจ “ต้องไป” ขออธิบายหน่อยว่า คืออะไร
--- งาน Open House หรือเรียกว่า งานเปิดบ้าน ส่วนมากจะเป็นงานประจำปีของ"คณะ" ในมหาลัยต่างๆ ใช้ชื่องานต่างกันไป จัดแบบ เช้า-เย็น อาจมีวันเดียว หรือหลายวัน ก็แล้วแต่ เปิดให้บุคคลภายนอกทุกคนที่สนใจเข้ามาเดินชมงานแบบฟรีๆได้เลย นักศึกษาแต่ละสาขา แต่ละชั้นปีก็ เอาผลงานของตัวเองมาแสดง มีของขาย มีแข่งขันของเด็กเล็กเด็กโตยันนักศึกษา งานแบบนี้จะมีทุกคณะแน่นอน และจัดทุกปี ถ้าน้องๆม.ปลาย หรือพ่อแม่ที่สามารถเสียสละเวลาไปได้ ไปเถอะมันมีประโยชน์จริงๆ อาจไม่ได้ไปดูว่าแค่ผลงานที่แสดง แต่ไปเพื่อให้รู้ว่าเค้าเรียนอะไรบ้าง เป็นโอกาสที่จะได้ไปพูดคุยกับนักศึกษาที่เรียนอยู่จริงๆ ว่าเป็นยังไง บรรยากาศในมหาลัยเป็นยังไง เดินทางจากบ้านยากมั้ย ยิ่งเจอระดับอาจารย์ที่คุมผลงานอยู่นี่เข้าไปคุยเลย ว่าถ้าเรียนสาขานี้ต้องถนัดอะไร เตรียมตัวยังไง นักศึกษาและอาจารย์ทุกคนยินดีบอกแน่นอน อันนี้นักเรียนสามารถไปดูงานได้ทุกระดับชั้น ม.1-6 ก็ไปดูได้ ถ้าสนใจนะ แต่ข้อเสียติดตรงที่ว่า บางที่ จัดในวันธรรมดา เด็กที่สนใจอยากไปจริงๆอาจต้องหยุดเรียน แต่ก็นะ ถ้าน้องสนใจจริงๆ หยุดเรียน 1 วัน แล้วมาดูงาน ก็ไม่เสียหายอะไร แต่อย่าลืมว่าต้องกลับไปตามงานและเนื้อหาที่เรียนอยู่ด้วยให้ทัน อย่าอ้างว่าอยากไปงาน เพื่อแค่ได้โดดเรียนล่ะ
---เข้าค่าย ค่ายที่ว่ามักจัดแยกของแต่ละ"สาขา" ที่จัดขึ้นเพื่อให้น้องๆได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสว่าเรียนอะไรบ้าง ต้องมีการกรอกใบสมัคร รับเข้าค่ายอย่างจำนวนจำกัด ใน 1 ค่าย อาจรับแค่ 50 คน หรือ 100 คน ก็เป็นได้ เช่นค่ายคบเด็กสร้างบ้านของสถาปัตย์ ค่ายทันต ค่าย CS-Camp ฯลฯ บางค่ายอาจฟรี บางค่ายต้องจ่ายเงิน เพื่อไปเป็นทุนในการจัดงาน งานค่ายแบบนี้มักจัดหลายวัน และเป็นแบบค้างคืน ส่วนมากค้างที่มหาลัยนั่นแหล่ะ (ไม่ต้องห่วง เพราะงานแบบนี้ รุ่นพี่จะคำนึงถึงความปลอดภัยของน้องเป็นสำคัญ การนอน แยกชาย-หญิง การเล่นหรือสันทนาการไม่รุนแรงเลย ถ้าน้องไม่คิดเล่นอะไรแผลงๆนอกสายตารุ่นพี่ รับรองว่าปลอดภัย ) บางค่ายจัดหลายวันแต่เป็นแบบเช้าไป-เย็นกลับก็มีนะ ....ในค่ายทำอะไรบ้างล่ะ? หลักๆคือ ให้น้องๆได้เข้ามาเรียนรู้เนื้อหาที่เรียนจริงๆ แบบฉบับย่อ ไม่ใช่แค่ดูผลงานคนอื่นเหมือน Open House แต่ในค่าย จะได้ลงมือทำจริงๆ เช่นค่ายทันตแพทย์ จะมีโอกาสได้ลองทำฟันปลอม ได้มีโอกาสไปดูตอนนักศึกษากำลังทำฟันให้คนไข้จริงๆ ได้เห็นเคสการป่วยของจริง หรืออย่างค่ายวิทย์-คอม น้องๆได้มีโอกาสเขียนโปรแกรมจริงๆ หรือค่ายของสถาปัตย์ จะได้ทำโมเดลแบบง่ายๆ และที่ได้จากค่ายพวกนี้อีกอย่างคือ เพื่อนใหม่ พร้อมรุ่นพี่ที่แนะนำได้อย่างดี ใครมีโอกาสได้เข้าค่ายแบบนี้ เป็นกำไรมากเลยนะ เพราะถือว่าเป็นการทดลองเรียน แถมถ้ามีโอกาสสอบสัมภาษณ์เข้าสาขานี้ สามารถบอกได้ด้วยว่า เราตั้งใจอยากเข้าจริงๆ เรารู้ว่าเรียนอะไรบ้าง เพราะเราได้เข้าค่ายที่สาขานี้จัดมาแล้ว เรียกว่า มีโอกาสเรียนที่นี่ไปเกินครึ่งตัวละ ******ค่ายพวกนี้ส่วนมาก ย้ำว่า “ส่วนมาก” มีโอกาสทำได้แค่น้องม.4 และม.5 เท่านั้น (ถ้าช่วงปิดเทอมใหญ่ก็คือน้องที่ จบ ม.4 ขึ้น ม.5 และรุ่นจบม. 5 ขึ้น ม.6)*******
---พิเศษอีกหน่อย หากน้องมีศักยภาพมากพอ แนะนำว่า พวกงานสัมมนา งานประกวดแข่งขัน อะไรก็แล้วแต่ที่โรงเรียน สถาบัน มหาลัย หรือหน่วยงานองค์กรต่างๆจัดขึ้นมา หากทำได้ ให้หาทางเข้าร่วมงาน ลงเข้าแข่งขันเลย ไม่ชนะไม่เป็นไร แต่ให้เก็บเป็นประสบการณ์ และเอาผลงานใส่แฟ้มได้ด้วย มันโคตรเท่เลยอ่ะ เวลาที่สอบสัมภาษณ์เปิดแฟ้มมาแล้วมีใบที่บอกว่าเราเคยผ่านการแข่งขันเกี่ยวกับสาขาที่จะเข้ามาด้วย เป็นใบเบิกทางชั้นยอด
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่างานพวกนี้จัดอะไรเมื่อไหร่ แนะนำว่า ดูหลักๆจาก 2 เว็บ คือเว็บ
Dek-d กับเว็บ
Camp Hub เป็นสองเว็บหลักๆที่ช่วยตามข่าวเกี่ยวกับพวกนี้ได้ดีมาก
------------เดี๋ยวต่อข้างล่างละกัน พิมพ์ไม่พอละ---------------
คำแนะนำสำหรับน้อง ม.ปลาย ที่ไม่รู้ว่าตัวเองถนัดวิชาอะไร แล้วจะเลือกเรียนคณะอะไรดี....
…."คิดไว้รึยังจะเรียนคณะอะไร?" คำนี้เป็นคำถามที่น่าปวดหัวสำหรับน้องๆม.ปลายแน่นอน ไม่ว่าจะพ่อ แม่ ป้าขายข้าว อาม่าปากซอย อาแปะข้างบ้าน พอรู้ว่าเราเรียนม.ปลายจะมีคำถามนี้มาเสมอ
สำหรับคนที่มีแนวทางแน่วแน่แล้วคงไม่เป็นปัญหาอะไร แต่สำหรับบางคนที่ยังไม่รู้ตัวเองเลยว่าชอบอะไร ถนัดอะไร อยากเป็นอะไร นี่ได้แต่ยิ้ม แหะๆ แล้วบอกว่า “ยังไม่รู้เลย” ผู้ใหญ่ก็จะบอกว่า “อ่าว ไม่รู้ได้ไง คิดได้แล้วนะ คณะนั้นสิ เรียนนี่สิดีนะ จบออกมา..บลาๆๆๆๆๆๆ” เรียกว่าเป็นปัญหาที่หนักใจสุดๆเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเด็กเอง หรือพ่อแม่ ที่คอยห่วงว่าจะมีที่เรียนมั้ย? จะได้ที่ดีๆรึเปล่า? จะเรียนไหวมั้ยนะ? จะจบมั้ย? จะมีงานรองรับรึเปล่า? ค่าตอบแทนจะดีมั้ย?....โอ๊ยยย!!!สารพัดความคิดที่จะถาโถมเข้ามาแบบสึนามิ แล้วที่นี้จะรู้ตัวได้ไงล่ะว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร แล้วเรียนอะไรดี
อย่างแรก พอน้องขึ้นม.4 อย่าทำตัวชิลมาก คิดว่าเพิ่ง ม.4-5 ยังไม่คิดหรอก ยังอีกไกล ยังอีกตั้ง 2 ปี แต่บอกเลยว่า ช่วง ม.4-5 นี่แหล่ะ เป็นช่วงที่เรามีเวลาค้นหาตัวเองได้มากที่สุดแล้ว ไอ่ตอน ม.6 น่ะ มันคือปีแห่งการตัดสินใจแล้วว่าตัวเองจะเลือกเดินทางไหน แล้วเตรียมตัวในขั้นต่อไป ถ้าจะทำตามคำแนะนำนี้ มันอาจไม่ทันแล้ว
ทีนี้ ก็ขอแนะนำเป็นข้อๆ เป็นส่วนๆ แล้วลองเอาเวลาว่างจากการเรียน แทนที่จะเล่นเน็ต เล่นเกมส์ ดูหนัง มาทำตามดูนะ
1. ไปหยิบใบเกรดมานั่งดูเลย ว่าตัวเองทำวิชาไหนได้ดีที่สุด หรือ เรียนแล้วชอบวิชานี้ ....แต่!!! ถ้าเอามาดูแล้ว แม่มมมเอ๊ย!!! คะแนนห่วยทุกวิชา ไม่ชอบเลยซักวิชานึง อันนี้เริ่มหนักใจแล้วล่ะ ...ไม่เป็นไร ลองอีกวิธี เอาเนื้อหาที่เรียนมาแล้ว ค่อยๆพิจารณาดูทีละวิชา ว่ามีวิชาไหนบ้างที่เราเรียนแล้วเข้าใจง่ายสุด พอเข้าใจเนื้อหาคร่าวๆบ้างก็ยังดี ชนิดแบบพอพูดถึงเรื่องนี้แล้วอธิบายคร่าวๆได้ว่ามันคืออะไร แล้วจดไว้ซะว่าวิชานี้ฉันทำได้ ไอ่วิชาที่เรียนน่ะ มันมีอยู่ไม่กี่วิชาหรอกน่า คณิต อังกฤษ ไทย สังคม วิทยาศาสตร์ พละ ศิลปะ คอม นึกไม่ออกก็ไปหยิบตารางเรียนมาดูซะ ถ้ายังสรุปไม่ได้อีก ...อ่านข้อต่อไปเถอะนะ
2. หาว่ามีสถาบัน มหาลัยอะไรบ้าง มีคณะ สาขา แขนง อะไรเปิดสอนบ้าง เด็กส่วนมากและผู้ใหญ่บางคนก็รู้จักที่ดังๆอยู่ไม่กี่ที่หรอก อย่าง จขกท. เองกว่าจะรู้เรื่องพวกนี้ก็ ม.5 แล้ว ว่าในไทยไม่ได้มีแค่ จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รามฯ แต่ยังมีสถาบันอีกเยอะมาก แล้วมีคณะอีกเยอะมากที่เราไม่รู้ ไม่ได้มีแค่ หมอ พยาบาล วิศวะ แต่ยังมี เทคนิคการแพทย์ รัฐศาสตร์ วนศาสตร์ อุตสาหกรรมการเกษตร ฯลฯ แล้วใน 1 คณะ ยังแตกอีกเป็นสาขา แถมบางสาขายังมีแตกย่อยเป็นแขนงเข้าไปอีก ถึงขั้นร้อง เฮ้ย!!! โลกมหาลัยมันเยอะขนาดนี้เลยเร๊อะ แล้วน้องๆกับพ่อแม่จะรู้ได้ไงล่ะว่ามีอะไร ที่ไหน ให้เรียนบ้าง แนะนำค่ะว่าไปหา คะแนนต่ำสุด-สูงสุดของปีล่าสุดมาดู ไม่ได้ให้มาดูคะแนนนะ ส่วนชื่อมหาลัย อย่าเพิ่งให้ความสำคัญมากนัก ให้ดูแค่รายชื่อคณะ ชื่อสาขา ก็พอแล้ว เพราะชื่อคณะ สาขา จะบอกถึงวิชาหลักที่เรียนได้มากพอตัว เช่นวิศวะไฟฟ้า แน่นอนล่ะมันต้องเรียนเกี่ยวกับไฟฟ้า หรือ สารสนเทศ มันต้องเรียนอะไรเกี่ยวกะคอม ส่วนไอ่คะแนนสูงสุด-ต่ำสุดที่ว่า หาไม่ยากเลย ในเน็ตก็มี รึเข้าร้านหนังสืออย่าง ซีเอ็ด นายอินทร์ B2S นะ เดินเข้าไปส่วนของหนังสือของม.ปลาย มันมีขายแน่นอน มีหลากหลายมากกกก เลือกเอาที่มันไม่ต้องแพงก็ได้ ดูจากเน็ตก็ปริ้นไม่ก็จดออกมา ถ้าได้เป็นหนังสือยิ่งดีใหญ่ สนใจสาขาไหน ก็เอา marker ขีดไว้เลย ได้ไม่ต้องเปิดเน็ตบ่อยๆ ดูแล้วมันต้องมีซักสาขาล่ะน่า ที่พอเห็นชื่อปุ๊บแล้วมันเออเตะเข้าเบ้าตาดีแฮะ ขีดมาร์กไว้ให้เห็นชัดๆ แต่ข้อเสียของการดูคะแนนสูงต่ำ คือจะมีไม่ครบทุกมหาลัยน่ะ มันจะมีไม่ครบทุกสถาบัน ไม่ครบทุกคณะสาขา มีเฉพาะที่เปิดรับ Admission เท่านั้น
3. จากข้อ 2 ทีนี้พอได้ชื่อสาขาที่คิดว่าน่าสนแล้ว ก็ใช้อินเตอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ โดยเอาชื่อคณะ/ สาขานั้นไปหาข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อคณะ สาขาแปลกๆก็มีเยอะ หาข้อมูลว่าเรียนอะไรเผื่อน่าสน บางครั้งสาขาเดียวกัน แต่เมื่ออยู่คนละสถาบันก็ใช้ชื่อต่างกัน ก็ลองดูลองอ่านลองเปรียบเทียบ... แล้วให้ดูอะไรบ้างเกี่ยวกับสาขานั้นๆบ้างล่ะ? ก็ให้ดูว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง เรียนวิชาอะไรบ้าง มีกี่สาขา กี่แขนง ต่างกันยังไง เช่น สนใจ วิศวะ-คอม, วิทยาศาสตร์-คอม, เทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) ซึ่ง 3 สาขานี้ชื่อคล้ายกัน แต่เรียนต่างกัน ก็หาซะว่าต่างกันยังไง ยังไม่ต้องคิดว่าสถาบันไหนดี-ไม่ดี แต่ให้หาว่าสาขาที่สนใจ สถาบัน A กับ สถาบัน B เรียนต่างกันยังไง วิชา หน่วยกิต แอบๆส่องค่าเทอมด้วยก็ดี ในส่วนนี้ให้เข้าไปดูหลักสูตรสาขานั้นๆของสถาบันไปเลย ถ้าขี้เกียจดูรายละเอียดอะไรขนาดนั้น ก็อย่างที่บอก ดูแค่ว่าสาขาที่สนใจ เค้าเรียนอะไรเป็นหลัก หรืออยากรู้ว่ามหาลัยนี้มีคณะอะไรเปิดสอน ก็เข้าเว็บของมหาลัยแล้วไปทัวร์ในเว็บมหาลัยแบบทุกซอกทุกมุมซะ
จากข้อเสียในข้อ 2 บางคณะ บางสาขา รับแต่สอบตรงกับโควตาเท่านั้น บางมหาลัย อย่างมหาลัยเอกชนบางที่ หรือมหาลัยเปิด แค่สมัคร ยื่นเกรด ก็เข้าเรียนได้ ซึ่งพวกนี้ไม่มีรายชื่ออยู่ในคะแนน Admission แล้วจะหารายละเอียดได้ยังไง ก็เปิดเน็ตนะ แล้วหา “รายชื่อมหาวิทยาลัยในไทย” อันไหนชื่อสถาบันไม่ได้อยู่ในไอ่ที่ดูก่อนหน้านี้ ก็เข้าไปในเว็บมหาลัยเลย
4. จากข้อ 3 ยังไม่หมดซะทีเดียว ให้ลองหาคร่าวๆว่า สาขานั้นจบออกมาแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง 1 สาขาที่จบมา ไม่จำเป็นว่าทำงานได้แค่อาชีพเดียว (ถ้าคิดทำตรงสายอาชีพนะ) มันยังมีแขนงอื่นให้เลือกอีกเยอะ เช่นคนจบวิทย์-คอม ไม่จำเป็นต้องสร้างโปรแกรมอย่างเดียว อาจรับทำเว็บ ทำแอนนิเมชั่น วิเคราะห์ระบบก็เป็นได้ บอกพ่อแม่ทุกคนเลยว่า ไม่ต้องห่วงว่าลูกจบมาไม่มีงานทำนะ ถ้าไม่มีงานทำ เค้าไม่เปิดให้เรียนเพื่อเอาความรู้ไปใช้หรอก เพียงแค่ว่าจะเลือกงานแบบไหนเท่านั้นเอง ถ้าหนักไม่เอา เบาไม่สู้ ไม่แปลกที่จะเดินเตะฝุ่น
เชื่อเถอะว่าถ้าได้ทำข้อ 3-4 ไปแล้ว น้องๆที่ไม่มีแนวทาง จะพอมีความฝันขึ้นมาบ้าง เล็กน้อย ว่าเออสาขานี้ งานแบบนี้น่าสนนะ ส่วนน้องที่มีแนวทางในใจอยู่แล้ว แต่ครอบครัวไม่สนับสนุน ยิ่งต้องทำข้อ 3-4 แบบเข้มข้นเลยล่ะ เพื่อเอาเหตุผลไปอธิบายได้ว่า ไม่ใช่อย่างที่คิดนะ เรียนที่นี่ แบบนี้ๆๆ มีงานรองรับด้วยงานก็ทำแบบนี้ๆๆ ไม่ใช่ขรี้ๆนะเออ ผู้ใหญ่มักจะพูดว่า.. “จบแล้วจะไปทำไรกิน ไม่รุ่งหรอก” นี่แหล่ะ คำตอบ ยิ่งถ้าคนมีความฝันอยู่แล้วนะ ยิ่งเป็นแรงผลักว่าต้องทำได้แน่ๆ
5. มาเริ่มเข้าสู่ลงรายละเอียดสาขาที่สนใจมากขึ้น สำหรับข้อนี้ นั้นคือการเข้าค่าย หรือดูงาน Open House ของที่มหาลัยจัด มีหลายแบบมาก ไม่ใช่แค่ควรไป แต่สำหรับน้องๆที่สนใจ “ต้องไป” ขออธิบายหน่อยว่า คืออะไร
--- งาน Open House หรือเรียกว่า งานเปิดบ้าน ส่วนมากจะเป็นงานประจำปีของ"คณะ" ในมหาลัยต่างๆ ใช้ชื่องานต่างกันไป จัดแบบ เช้า-เย็น อาจมีวันเดียว หรือหลายวัน ก็แล้วแต่ เปิดให้บุคคลภายนอกทุกคนที่สนใจเข้ามาเดินชมงานแบบฟรีๆได้เลย นักศึกษาแต่ละสาขา แต่ละชั้นปีก็ เอาผลงานของตัวเองมาแสดง มีของขาย มีแข่งขันของเด็กเล็กเด็กโตยันนักศึกษา งานแบบนี้จะมีทุกคณะแน่นอน และจัดทุกปี ถ้าน้องๆม.ปลาย หรือพ่อแม่ที่สามารถเสียสละเวลาไปได้ ไปเถอะมันมีประโยชน์จริงๆ อาจไม่ได้ไปดูว่าแค่ผลงานที่แสดง แต่ไปเพื่อให้รู้ว่าเค้าเรียนอะไรบ้าง เป็นโอกาสที่จะได้ไปพูดคุยกับนักศึกษาที่เรียนอยู่จริงๆ ว่าเป็นยังไง บรรยากาศในมหาลัยเป็นยังไง เดินทางจากบ้านยากมั้ย ยิ่งเจอระดับอาจารย์ที่คุมผลงานอยู่นี่เข้าไปคุยเลย ว่าถ้าเรียนสาขานี้ต้องถนัดอะไร เตรียมตัวยังไง นักศึกษาและอาจารย์ทุกคนยินดีบอกแน่นอน อันนี้นักเรียนสามารถไปดูงานได้ทุกระดับชั้น ม.1-6 ก็ไปดูได้ ถ้าสนใจนะ แต่ข้อเสียติดตรงที่ว่า บางที่ จัดในวันธรรมดา เด็กที่สนใจอยากไปจริงๆอาจต้องหยุดเรียน แต่ก็นะ ถ้าน้องสนใจจริงๆ หยุดเรียน 1 วัน แล้วมาดูงาน ก็ไม่เสียหายอะไร แต่อย่าลืมว่าต้องกลับไปตามงานและเนื้อหาที่เรียนอยู่ด้วยให้ทัน อย่าอ้างว่าอยากไปงาน เพื่อแค่ได้โดดเรียนล่ะ
---เข้าค่าย ค่ายที่ว่ามักจัดแยกของแต่ละ"สาขา" ที่จัดขึ้นเพื่อให้น้องๆได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสว่าเรียนอะไรบ้าง ต้องมีการกรอกใบสมัคร รับเข้าค่ายอย่างจำนวนจำกัด ใน 1 ค่าย อาจรับแค่ 50 คน หรือ 100 คน ก็เป็นได้ เช่นค่ายคบเด็กสร้างบ้านของสถาปัตย์ ค่ายทันต ค่าย CS-Camp ฯลฯ บางค่ายอาจฟรี บางค่ายต้องจ่ายเงิน เพื่อไปเป็นทุนในการจัดงาน งานค่ายแบบนี้มักจัดหลายวัน และเป็นแบบค้างคืน ส่วนมากค้างที่มหาลัยนั่นแหล่ะ (ไม่ต้องห่วง เพราะงานแบบนี้ รุ่นพี่จะคำนึงถึงความปลอดภัยของน้องเป็นสำคัญ การนอน แยกชาย-หญิง การเล่นหรือสันทนาการไม่รุนแรงเลย ถ้าน้องไม่คิดเล่นอะไรแผลงๆนอกสายตารุ่นพี่ รับรองว่าปลอดภัย ) บางค่ายจัดหลายวันแต่เป็นแบบเช้าไป-เย็นกลับก็มีนะ ....ในค่ายทำอะไรบ้างล่ะ? หลักๆคือ ให้น้องๆได้เข้ามาเรียนรู้เนื้อหาที่เรียนจริงๆ แบบฉบับย่อ ไม่ใช่แค่ดูผลงานคนอื่นเหมือน Open House แต่ในค่าย จะได้ลงมือทำจริงๆ เช่นค่ายทันตแพทย์ จะมีโอกาสได้ลองทำฟันปลอม ได้มีโอกาสไปดูตอนนักศึกษากำลังทำฟันให้คนไข้จริงๆ ได้เห็นเคสการป่วยของจริง หรืออย่างค่ายวิทย์-คอม น้องๆได้มีโอกาสเขียนโปรแกรมจริงๆ หรือค่ายของสถาปัตย์ จะได้ทำโมเดลแบบง่ายๆ และที่ได้จากค่ายพวกนี้อีกอย่างคือ เพื่อนใหม่ พร้อมรุ่นพี่ที่แนะนำได้อย่างดี ใครมีโอกาสได้เข้าค่ายแบบนี้ เป็นกำไรมากเลยนะ เพราะถือว่าเป็นการทดลองเรียน แถมถ้ามีโอกาสสอบสัมภาษณ์เข้าสาขานี้ สามารถบอกได้ด้วยว่า เราตั้งใจอยากเข้าจริงๆ เรารู้ว่าเรียนอะไรบ้าง เพราะเราได้เข้าค่ายที่สาขานี้จัดมาแล้ว เรียกว่า มีโอกาสเรียนที่นี่ไปเกินครึ่งตัวละ ******ค่ายพวกนี้ส่วนมาก ย้ำว่า “ส่วนมาก” มีโอกาสทำได้แค่น้องม.4 และม.5 เท่านั้น (ถ้าช่วงปิดเทอมใหญ่ก็คือน้องที่ จบ ม.4 ขึ้น ม.5 และรุ่นจบม. 5 ขึ้น ม.6)*******
---พิเศษอีกหน่อย หากน้องมีศักยภาพมากพอ แนะนำว่า พวกงานสัมมนา งานประกวดแข่งขัน อะไรก็แล้วแต่ที่โรงเรียน สถาบัน มหาลัย หรือหน่วยงานองค์กรต่างๆจัดขึ้นมา หากทำได้ ให้หาทางเข้าร่วมงาน ลงเข้าแข่งขันเลย ไม่ชนะไม่เป็นไร แต่ให้เก็บเป็นประสบการณ์ และเอาผลงานใส่แฟ้มได้ด้วย มันโคตรเท่เลยอ่ะ เวลาที่สอบสัมภาษณ์เปิดแฟ้มมาแล้วมีใบที่บอกว่าเราเคยผ่านการแข่งขันเกี่ยวกับสาขาที่จะเข้ามาด้วย เป็นใบเบิกทางชั้นยอด
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่างานพวกนี้จัดอะไรเมื่อไหร่ แนะนำว่า ดูหลักๆจาก 2 เว็บ คือเว็บ Dek-d กับเว็บ Camp Hub เป็นสองเว็บหลักๆที่ช่วยตามข่าวเกี่ยวกับพวกนี้ได้ดีมาก