พระพุทธดำรัส
บุคคลพึงเห็นผู้ใด ผู้แสดงโทษ กล่าวข่มขี่ มีปัญญาว่า
เป็นเหมือนบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้
พึงคบหาบุคคลเช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิต
เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณอันประเสริฐ ไม่มีโทษลามกเลย
บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ
บุคคลนั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น เป็นที่ชังของพวกอสัตบุรุษ ดังนี้.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=10137
☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆
เมื่อมีการยกข้อบกพร่องหรือการกระทำผิดพลาดของใครสักคนขึ้นมาว่ากล่าวกัน เรามักจะได้ยินเสียงท้วงติงด้วยถ้อยคำทำนองนี้ --
- จะมามัวจ้องจับผิดกันอยู่ทำไม
- คนไม่ดีมักจะคอยมองหาแต่ความไม่ดีของคนอื่น
- พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้กล่าวร้ายคนอื่น แต่ให้พิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง
- ทำหน้าที่ของตนดีกว่าตำหนิผู้อื่น
- ทำให้เกิดความแตกแยก
เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
บุคคลใดจะเข้ามาเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา
บุคคลนั้นก็ต้องเคารพพระธรรมวินัย
ถ้าอยากจะประพฤติอะไรที่เป็นอิสระ ก็ต้องออกไปจากวงของบรรพชิต หรือนอกวงพุทธศาสนิกชนไปเลย
เมื่ออยู่นอกวงแล้ว จะทำอะไรก็เชิญตามสบาย
จะเข้ามาอยู่ในวงบรรพชิตด้วย แล้วก็ละเมิดพระธรรมวินัยไปด้วย ไม่ได้
พระสงฆ์ที่ตกเป็นข่าว (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) หลายคนก็บอกว่า เออ ท่านก็เป็นพระที่ดีนี่
เห็นได้ชัดว่าคนพูดไม่รู้จักหลักพระธรรมวินัย
หรือถ้ารู้จัก ก็ไม่เห็นความสำคัญของพระธรรมวินัย
ถ้ารู้จักและเห็นความสำคัญของพระธรรมวินัย แต่ก็ยังชมว่าท่านก็เป็นพระที่ดีนี่ ก็แปลว่านับถือเลื่อมใสแบบคนหน้ามืดตามัว
ถ้าเรายอมรับว่าบรรพชิตในพระพุทธศาสนาที่ละเมิดพระธรรมวินัยเป็นพระที่ดี (เช่นเพราะท่านสร้างความเจริญนั่นโน่นนี่ดีเหลือเกิน)
เราก็วิปริต
------------------
หนทางปฏิบัติ :
ถ้าพิสูจน์แล้วว่าท่านผู้นั้นผู้นี้ละเมิดพระธรรมวินัย แต่เราเห็นว่าท่านเป็นพระที่ดีเหลือเกิน และเราต้องการจะให้ท่านเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องต่อไป
ก็ต้องให้ท่านแก้ไขข้อที่ละเมิดพระธรรมวินัยนั้นให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการแห่งพระธรรมวินัยเสียก่อน
เพราะผู้ละเมิดพระธรรมวินัยและยังไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้อง ย่อมไม่สามารถจะใช้อ้างอิงเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องได้เลย
------------
ผมได้ยินพูดกันว่า ขอให้สามัคคีกัน ขอให้ปรองดองกัน อะไรที่นิ่งได้ก็ควรนิ่งไว้ อย่าสร้างความแตกแยก
(เวลานี้ดูคล้ายกับจะอ้างว่าเป็นแผนของต่างศาสนาที่ต้องการจะให้พระสงฆ์ไทยทะเลาะกันเพื่อให้เราอ่อนแอ
แล้วจะได้เปลี่ยนสังคมไทยให้เป็นสังคมศาสนาอื่นได้ง่ายเข้า-ว่ากันถึงนั่นแล้ว)
แต่ไม่มีใครยกและยึดหลักพระธรรมวินัยขึ้นมาเป็นที่ตั้งอ้างอิงสูงสุด
เหมือนกับจะพากันบอกว่า ทำอย่างไรก็ได้ขอให้อยู่กันอย่างสงบๆ ก็แล้วกัน พระธรรมวินัยหรือกฎกติกาอะไร ก็ยอมๆ กันไปก่อนเถอะ
ลงสนามแล้ว ถ้าไม่เคารพกติกา ก็ไม่มีใครห้ามไม่ให้ออกจากสนาม
แต่จะไม่เคารพกติกาด้วย แล้วก็อยู่ในสนามไปด้วย ไม่ดีครับ
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๘
อ่านบทความเต็มได้ที่
https://touch.facebook.com/story.php?story_fbid=831648896928849&substory_index=0&id=100002512387360
ผู้ชี้โทษคือผู้บอกขุมทรัพย์
บุคคลพึงเห็นผู้ใด ผู้แสดงโทษ กล่าวข่มขี่ มีปัญญาว่า
เป็นเหมือนบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้
พึงคบหาบุคคลเช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิต
เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณอันประเสริฐ ไม่มีโทษลามกเลย
บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ
บุคคลนั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น เป็นที่ชังของพวกอสัตบุรุษ ดังนี้.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=10137
เมื่อมีการยกข้อบกพร่องหรือการกระทำผิดพลาดของใครสักคนขึ้นมาว่ากล่าวกัน เรามักจะได้ยินเสียงท้วงติงด้วยถ้อยคำทำนองนี้ --
- จะมามัวจ้องจับผิดกันอยู่ทำไม
- คนไม่ดีมักจะคอยมองหาแต่ความไม่ดีของคนอื่น
- พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้กล่าวร้ายคนอื่น แต่ให้พิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง
- ทำหน้าที่ของตนดีกว่าตำหนิผู้อื่น
- ทำให้เกิดความแตกแยก
เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
บุคคลใดจะเข้ามาเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา
บุคคลนั้นก็ต้องเคารพพระธรรมวินัย
ถ้าอยากจะประพฤติอะไรที่เป็นอิสระ ก็ต้องออกไปจากวงของบรรพชิต หรือนอกวงพุทธศาสนิกชนไปเลย
เมื่ออยู่นอกวงแล้ว จะทำอะไรก็เชิญตามสบาย
จะเข้ามาอยู่ในวงบรรพชิตด้วย แล้วก็ละเมิดพระธรรมวินัยไปด้วย ไม่ได้
พระสงฆ์ที่ตกเป็นข่าว (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) หลายคนก็บอกว่า เออ ท่านก็เป็นพระที่ดีนี่
เห็นได้ชัดว่าคนพูดไม่รู้จักหลักพระธรรมวินัย
หรือถ้ารู้จัก ก็ไม่เห็นความสำคัญของพระธรรมวินัย
ถ้ารู้จักและเห็นความสำคัญของพระธรรมวินัย แต่ก็ยังชมว่าท่านก็เป็นพระที่ดีนี่ ก็แปลว่านับถือเลื่อมใสแบบคนหน้ามืดตามัว
ถ้าเรายอมรับว่าบรรพชิตในพระพุทธศาสนาที่ละเมิดพระธรรมวินัยเป็นพระที่ดี (เช่นเพราะท่านสร้างความเจริญนั่นโน่นนี่ดีเหลือเกิน)
เราก็วิปริต
------------------
หนทางปฏิบัติ :
ถ้าพิสูจน์แล้วว่าท่านผู้นั้นผู้นี้ละเมิดพระธรรมวินัย แต่เราเห็นว่าท่านเป็นพระที่ดีเหลือเกิน และเราต้องการจะให้ท่านเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องต่อไป
ก็ต้องให้ท่านแก้ไขข้อที่ละเมิดพระธรรมวินัยนั้นให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการแห่งพระธรรมวินัยเสียก่อน
เพราะผู้ละเมิดพระธรรมวินัยและยังไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้อง ย่อมไม่สามารถจะใช้อ้างอิงเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องได้เลย
------------
ผมได้ยินพูดกันว่า ขอให้สามัคคีกัน ขอให้ปรองดองกัน อะไรที่นิ่งได้ก็ควรนิ่งไว้ อย่าสร้างความแตกแยก
(เวลานี้ดูคล้ายกับจะอ้างว่าเป็นแผนของต่างศาสนาที่ต้องการจะให้พระสงฆ์ไทยทะเลาะกันเพื่อให้เราอ่อนแอ
แล้วจะได้เปลี่ยนสังคมไทยให้เป็นสังคมศาสนาอื่นได้ง่ายเข้า-ว่ากันถึงนั่นแล้ว)
แต่ไม่มีใครยกและยึดหลักพระธรรมวินัยขึ้นมาเป็นที่ตั้งอ้างอิงสูงสุด
เหมือนกับจะพากันบอกว่า ทำอย่างไรก็ได้ขอให้อยู่กันอย่างสงบๆ ก็แล้วกัน พระธรรมวินัยหรือกฎกติกาอะไร ก็ยอมๆ กันไปก่อนเถอะ
ลงสนามแล้ว ถ้าไม่เคารพกติกา ก็ไม่มีใครห้ามไม่ให้ออกจากสนาม
แต่จะไม่เคารพกติกาด้วย แล้วก็อยู่ในสนามไปด้วย ไม่ดีครับ
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๘
อ่านบทความเต็มได้ที่
https://touch.facebook.com/story.php?story_fbid=831648896928849&substory_index=0&id=100002512387360