ทำไมภาพถ่ายเก่าอย่างสมัยฟิล์ม ขาว-ดำ (ที่เห็นตามเว็บทั่วไป) ถึงไม่ค่อยจะโอเวอร์ หรืออันเดอร์

ทำไมภาพถ่ายเก่าอย่างสมัยฟิล์ม ขาว-ดำ (ที่เห็นตามเว็บทั่วๆ ไป) ถึงไม่ค่อยจะโอเวอร์ หรืออันเดอร์
เป็นเพราะภาพถ่ายโดยคนที่ถ่ายภาพเป็น?(การจะมีกล้อง หรือเข้าใจการถ่ายภาพสมัยก่อน ไม่ง่ายเหมือนตอนนี้)
การวัดแสงของกล้องดี?(10 ปีก่อน สมัยผมใช้กล้องฟิล์มกึ่งออโต้ ยังต้องถ่ายคร่อมเลย)
เพราะฟิล์มเก็บไดนามิคเรนจ์ได้ดี? เพราะโปรเสสในการอัดภาพ?
โดนแต่งในคอมพ์แล้วก่อนโพสต์ หรือโดนคัดมาแล้วแต่รูปดีๆ?
ก็ไม่ใช่ทุกรูปที่ดูดีหรอกนะครับ แต่ก็สงสัยว่าทำไมรูปเก่า แต่ภาพรวมๆ ออกมาดูดี
โดยเฉพาะรูปที่ไม่ได้มาจากศิลปินช่างภาพอาชีพดังๆ ทั้งหลายด้วย
ขอบคุณครับ

ปล.จริงๆ ก็คงจะหลายๆ ข้อรวมกันหล่ะมั้ง
แต่ถ้าไม่พูดถึงภาพที่ผ่านการปรับในคอมพ์
ภาพสมัยก่อนนู้นก็ยังไม่ค่อยโอเวอร์ อันเดอร์ หรือเปล่า?

ปล.2 หรือผมคิดไปเอง?
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
เล่าในฐานะเล่นกล้องฟิล์ม หรือ ต้องใช้กล้องฟิล์ม เพราะสมัยก่อนไม่มีกล้องดิจิตอล 555

เนื่องจากฟิล์มแต่ละภาพมันเป็นเงินเป็นทอง คนเล่นกล้องจึงต้องสนใจฝักใฝ่ที่จะรู้จักวิธีถ่ายให้ออกมา "ไม่ต้องลุ้น(มาก)" แบบว่า "สั่งได้" ก็ไม่โกหก

ทำไมจะไม่ได้ ซื้อกล้องมาทีแรกต้องรู้จักตัวการสำคัญ 1) ASA (ISO)  ตั้งตรงไหน ตั้งตามฟิล์ม  2) F-stop 3) speed

2 ตัวหลังนี้ ต้องแม่น-ตำรา ไม่ต้องถามว่า "ชัดลึก" ตั้งอย่างไร  "หมู หมา วิ่ง" จะใช้ speed อะไร  ดังที่เราเห็นเด็กๆเข้ามาตั้งกระทู้กันมากมาย

พอถ่ายม้วนแรก แต่ละภาพก็จดบันทึกเอาไว้ในสมุดพก เอาฟิล์มไปล้าง อัดภาพออกมา ดูแต่ละภาพ เอะ ภาพนี้มันยังไง ?? เราจะแก้ ปรับอย่างไร มันเกิดไอเดียขึ้นในหัว ...ไม่ใช่มาตั้งกระทู้ถาม โดยเจ้าตัวไม่รู้ว่า เปิด F-stop และ Speed อย่างไร ?

พอดูภาพม้วนแรกแล้ว ก็จะเกิดความคิด การตั้งหน้ากล้อง ถ่ายม้วนต่อไป ....ต้องดีขึ้น (ถ้าไม่โง่)

โดยวิธีนี้ คนเล่นกล้องจะกลายเป็นเซียน เอ้ย ปรับหน้ากล้องได้ ราวจับวาง ...และมีความเชื่อมั่นได้ โดยไม่ต้องรอลุ้นตัวโก่ง

แล้วโม้กันว่า "เล่นกล้องฟิล์ม มันได้อารมณ์ตอนลุ้นนี่แหละ"  

พูดอย่างนี้ สะท้อนให้เห็นว่า เล่นกล้องฟิล์มแบบ "ตามยถากรรม" ถ่ายเสร็จแล้ว ยังต้องลุ้นมาก

ลองนึกซิครับ ช่างภาพที่ถ่ายงานรับปริญญาต่อหน้าพระพักษ์ ถ้าถ่ายแล้วต้องลุ้น .... จะรู้สึกอย่างไร ??
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่