ด้วยความเคารพ ผมขอใช้สิทธิโดยสุจริตของประชาชนแย้งบทความของ ท่านชูชาติ ที่ลงไว้ในในมติชนออนไลน์ บ่ายวันนี้ ซึ่งมีบทความลงไว้ดังนี้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427004792
แม้ผมจะเป็นเพียงประชาชนธรรมดา แต่ขอแย้งท่านสักนิด ดังนี้
ประการแรก
ท่านได้ยกอ้างว่า องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้กำหนดไว้ถาวร เมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลแต่ละคดี ประธานศาลฎีกาจะเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 9 ท่าน จึงไม่มีผู้พิพากษาท่านใดตั้งจะธงได้ว่าจะเข้าไปเป็นองค์คณะเพื่อพิพากษาลงโทษจำเลยได้
ผมขอเรียนชี้แจงและแย้งดังนี้
ความเห็น ที่ท่านได้กรุณายกมานั้น เป็นข้อกำหนดตามกฎหมายที่มีมาแต่เดิมตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งหากเรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยก่อนปี 2549 ก็คงน่าเชื่อว่าข้อกำหนดของกฎหมายเช่นนี้จะทำให้ได้ผู้พิพากษาที่เป็นกลาง ไม่มีอคติต่อจำเลยอย่างแท้จริงขึ้นมา
แต่ขอกราบเรียนท่านว่าในปัจจุบัน ประชาชนหลายส่วนยังมีข้อสงสัยในความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของข้อกำหนดนี้ เพราะปรากฎว่าในแวดวงตุลาการนั้น มีท่านผู้พิพากษาหลายๆท่าน ไปร่วมแสดงความเห็นทางการเมืองด้วย มีการตั้งกลุ่ม กลุ่มตุลาการผู้รักแผ่นดิน หรือ แม้กระทั่งมีผู้พิพากษาบางท่านเมื่อเลิกงานก็ไปปรากฏตัวในที่ชุมนุม กปปส ซึ่งกปปสเอง เป็นกระบวนการที่เป็นศัตรูกับรัฐพรรคเพื่อไทยและมีลักษณะจะล้มล้างรัฐธรรมนูญในเวลา มีผู้พบนำมาลงในเฟสบุคครับ สิ่งเหล่านี้ ทำให้ประชาชนเกิดความไม่สบายใจและสงสัยว่าในวงการยุติธรรมนั้น ได้มีการฝักใฝ่เลือกข้างทางการเมืองไปแล้วหรือไม่ อย่างไรครับ
ยิ่งก่อนหน้านี้ มีเหตุการณ์การลงโทษอดีตนายกฯทักษิณด้วยโทษจำคุก เพียงเพราะไปเซ็นชื่อรับรองภรรยา ในนิติกรรมที่ศาลเองก็ถือว่าถูกกฎหมาย ภรรยาเองไม่มีความผิด ยิ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความไม่เข้าใจ และมีความคลางแคลงใจมากครับ
ประการที่สอง
ท่านได้ชี้ว่า “ มีผู้กล่าวว่า ถ้านางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องรับผิดในโครงการรับจำนำข้าว หากเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านรีดไถประชาชน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็ต้องรับผิดด้วย หรือถ้าทหารบกคุมบ่อน คุมซ่องโสเภณี ผู้บัญชาการทหารบกก็ต้องรับผิดด้วย เช่นเดียวกัน....แต่ถ้ามีผู้แจ้งให้ ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ทราบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชากระการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ.ไม่ได้ห้ามปรามผู้ใต้บังคับบัญชาและปล่อยให้กระทำผิดต่อไป ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ย่อมมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ” และท่านได้กล่าวถึงว่า เรื่องจำนำข้าวนั้น ปปช.มีหนังสือแจ้งไป และ ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ก็มีหนังสือแจ้งให้ทราบ
แต่นางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่เคยกระทำการใดเพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าว กลับยืนยันว่า เป็นโครงการที่ชาวนาได้รับประโยชน์และไม่มีความเสียหายใดๆ
ผมขอเรียนชี้แจงและแย้งดังนี้
1. กรณีปปช ทักท้วงมา คุณยิ่งลักษณ์ก็ได้ดำเนินการโดยนำหนังสือเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้วนะครับ และได้มีการมอบหมายให้รตอ.เฉลิม อยู่บำรุงไปติดตามดูแลเรื่องนี้ ดังนั้นที่ว่าไม่เคยกระทำการใดเพื่อตรวจสอบเรื่องที่ปปช เสนอนั้น จึงไม่น่าจะเป็นความจริงครับ ดูได้จากมติครม.นี้ครับ
2. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้มีหนังสือ มาถึงรัฐบาลให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวจริง 4 ฉบับ แต่หนังสือฉบับแรกเป็นรายงานที่แจ้งว่าอาจมีการทุจริตเท่านั้น และยังมีการให้ความเห็นด้วยว่า
รัฐบาลอาจจะดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อไปได้เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาล ไม่มีข้อแนะนำของสตง ในหนังสือฉบับแรก
ให้ยุติโครงการจำนำข้าวเลยแม้แต่น้อย ลองอ่านดูรายละเอียดในหนังสือสตง ฉบับแรกดูครับ
3.หนังสือฉบับที่สามที่กล่าวถึงการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ที่มาถึงรัฐบาลเมื่อกลางปี 2556 ก็
ไม่ได้มีคำแนะนำให้รัฐบาลยุติโครงการนี้เสีย และหากมีคำแนะนำใดๆที่รัฐบาลควรต้องปฏิบัติเพื่อไม่ให้ถูกกล่าวหาว่าละเว้นหน้าที่
ก็ต้องเป็นการกระทำหลังจากได้หนังสือนี้แล้ว คือครึ่งปีหลังของปี 2556 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการประท้วงกปปส และตามมาด้วยรัฐบาลยุบสภา
หากการทุจริตมีจริง แต่เกิดในช่วงปี 2554-2556 จะกล่าวหาว่ารัฐบาลเพิกเฉยต่อคำเตือนของสตง ได้อย่างไร ในเมื่อหนังสือเตือนสตง ยังมาไม่ถึงรัฐบาลเลย
ลองดูเนื้อความในหนังสือฉบับที่สามที่มาถึงรัฐบาลกลางปี 2556
4.หนังสือฉบับที่สี่ ที่มีคำแนะนำให้รัฐบาลยุติโครงการรับจำนำข้าวเสีย ก็มาถึงรัฐเพื่อไทยมกราคม 2557 หลังจากคุณยิ่งลักษณ์
พ้นตำแหน่งเพราะยุบสภาไปแล้ว จะมากล่าวหาว่ารัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์เพิกเฉยต่อหนังสือฉบับที่ 4 ได้อย่างไร ในเมื่อหนังสือมาเมื่อพ้นตำแหน่งไปแล้ว
ลองอ่านดูรายละเอียดใหหนังสือฉบับที่สี่ ที่มาถึงหลังจากมีการยุบสภาครับ
ดังนั้น คำกล่าวอ้างที่ว่ารัฐบาลเพิกเฉยต่อการเตือนของสตง. จึงต้องคำนึงในข้อเท็จจริงว่า หนังสือสตง.ที่มีการเตือนอย่างจริงจังนั้น มาถึงรัฐบาลช้ามากคือกลางปี 2556 ไปแล้ว แล้วจะนำมาอ้างว่ารัฐปล่อยปละละเลยได้อย่างไร เพราะช่วงเวลาหลังจากนั้นคือหลังกลางปี 2556 รัฐบาลก็พยายามปรับแก้ปัญหาโครงการจำนำข้าวตลอด จะมาอ้างเอาผิดย้อนหลังไปก่อนที่จดหมายจะมา คือช่วงปี 2554 ถึง ต้นปี 2556 ได้อย่างไร
ทั้งหมดนี้ ทำให้ประชาชนเกิดความไม่สบายใจว่า ในเมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ ทำไมปปช จึงต้องเร่งเอาผิดต่อคุณยิ่งลักษณ์ ประกอบกับเหตุการณ์ในอดีต ทำให้เกิดความไม่สบายใจครับ คุณยิ่งลักษณ์เอง ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ย่อมมีสิทธิแสดงความเห็นเช่นนั้นครับ เพราะประชาชนคนอื่น ก็รู้สึกถึงเรื่องที่ไม่น่าสบายใจนี้เช่นกันนะครับ
แม้คุณยิ่งลักษณ์จะไม่พูดออกมา ประชาชนก็รู้สึกถึงความไม่ค่อยจะปกตินี้อยู่แล้วครับ
ประการที่สาม
ท่านเองก็เป็นผู้พิพากษาผู้อาวุโสมิใช่หรือ ท่านสมควรเป็นตัวอย่างแห่งความเที่ยง ความเป็นกลาง ความยุติธรรม ความเมตตาปราณีแก่ทุกผู้คนมิใช่หรือ การออกบทความมาในทำนองเช่นนี้ สมควรแล้วหรือ สำหรับผู้ที่มีใจเป็นกลาง มีความเที่ยง ความยุติธรรมอยู่ในใจ ท่านได้มีความเมตตาปราณีแก่บุคคลที่ต้องถือว่ามิได้กระทำความผิดจนกว่าจะพิสูจน์หรือไม่
ผมเคยมีความเชื่อว่า ศาลจะมีความเมตตาปราณีแก่ทุกผู้คน และลงโทษบุคคลเมื่อบุคคลนั้นมีหลักฐานความผิดอย่างชัดเจนปราศจากข้อเคลือบแคลงสงสัย และหากลงโทษก็ด้วยความปราณี ให้เขาสำนึกผิดมิใช่ด้วยมูลเหตุอื่นใดมากไปกว่านั้น
บทสรุป
อันการยุติธรรมนั้น สมควรที่เจ้าหน้าที่การยุติธรรมทุกระดับ จะต้องคำนึงหน้าที่และศักดิ์ศรีของตัวเอง ที่จะธำรงความยุติธรรมให้แก่ทุกผู้คน มิว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ที่มีความเห็นทางการเมืองแตกต่างไปจากตนหรือไม่ เป็นผู้ที่ตนได้รับการบอกเล่ามาให้เกิดความเกลียดชังและจะต้องทำลายเสียหรือไม่
แต่เมื่อเป็นเจ้าหน้าที่การยุติธรรมจักต้องคำนึงถึงแต่กฎหมายและความเป็นธรรมอย่างมั่นคง โดยจะต้องไม่คำนึงถึงสิ่งที่อาจจะทำให้เกิดความรวนเรเช่นนั้น จนความยุติธรรมนั้นสามารถที่ประชาชนคนทั่วไปสามารถประจักษ์และสัมผัสรับรู้ได้
ดังคำโบราณของฝ่ายตุลาการที่มีมานานกล่าวไว้ว่า "จงประสาทความยุติธรรม แม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที" สังคมและบ้านเมืองจึงจะอยู่อย่างเป็นสุข เพราะความยุติธรรมนำมาซึ่งความสามัคคีของทุกเหล่าทุกฝ่ายนั้นเองครับ
۞۞ :::ขอแย้งท่านชูชาติ "อดีตผู้พิพากษา" กรณีคุณยิ่งลักษณ์ครับ (ไทโร ครับ)::: ۞۞
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427004792
แม้ผมจะเป็นเพียงประชาชนธรรมดา แต่ขอแย้งท่านสักนิด ดังนี้
ประการแรก
ท่านได้ยกอ้างว่า องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้กำหนดไว้ถาวร เมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลแต่ละคดี ประธานศาลฎีกาจะเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 9 ท่าน จึงไม่มีผู้พิพากษาท่านใดตั้งจะธงได้ว่าจะเข้าไปเป็นองค์คณะเพื่อพิพากษาลงโทษจำเลยได้
ผมขอเรียนชี้แจงและแย้งดังนี้
ความเห็น ที่ท่านได้กรุณายกมานั้น เป็นข้อกำหนดตามกฎหมายที่มีมาแต่เดิมตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งหากเรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยก่อนปี 2549 ก็คงน่าเชื่อว่าข้อกำหนดของกฎหมายเช่นนี้จะทำให้ได้ผู้พิพากษาที่เป็นกลาง ไม่มีอคติต่อจำเลยอย่างแท้จริงขึ้นมา
แต่ขอกราบเรียนท่านว่าในปัจจุบัน ประชาชนหลายส่วนยังมีข้อสงสัยในความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของข้อกำหนดนี้ เพราะปรากฎว่าในแวดวงตุลาการนั้น มีท่านผู้พิพากษาหลายๆท่าน ไปร่วมแสดงความเห็นทางการเมืองด้วย มีการตั้งกลุ่ม กลุ่มตุลาการผู้รักแผ่นดิน หรือ แม้กระทั่งมีผู้พิพากษาบางท่านเมื่อเลิกงานก็ไปปรากฏตัวในที่ชุมนุม กปปส ซึ่งกปปสเอง เป็นกระบวนการที่เป็นศัตรูกับรัฐพรรคเพื่อไทยและมีลักษณะจะล้มล้างรัฐธรรมนูญในเวลา มีผู้พบนำมาลงในเฟสบุคครับ สิ่งเหล่านี้ ทำให้ประชาชนเกิดความไม่สบายใจและสงสัยว่าในวงการยุติธรรมนั้น ได้มีการฝักใฝ่เลือกข้างทางการเมืองไปแล้วหรือไม่ อย่างไรครับ
ยิ่งก่อนหน้านี้ มีเหตุการณ์การลงโทษอดีตนายกฯทักษิณด้วยโทษจำคุก เพียงเพราะไปเซ็นชื่อรับรองภรรยา ในนิติกรรมที่ศาลเองก็ถือว่าถูกกฎหมาย ภรรยาเองไม่มีความผิด ยิ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความไม่เข้าใจ และมีความคลางแคลงใจมากครับ
ประการที่สอง
ท่านได้ชี้ว่า “ มีผู้กล่าวว่า ถ้านางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องรับผิดในโครงการรับจำนำข้าว หากเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านรีดไถประชาชน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็ต้องรับผิดด้วย หรือถ้าทหารบกคุมบ่อน คุมซ่องโสเภณี ผู้บัญชาการทหารบกก็ต้องรับผิดด้วย เช่นเดียวกัน....แต่ถ้ามีผู้แจ้งให้ ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ทราบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชากระการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ.ไม่ได้ห้ามปรามผู้ใต้บังคับบัญชาและปล่อยให้กระทำผิดต่อไป ผบ.ตร. และ ผบ.ทบ. ย่อมมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ” และท่านได้กล่าวถึงว่า เรื่องจำนำข้าวนั้น ปปช.มีหนังสือแจ้งไป และ ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ก็มีหนังสือแจ้งให้ทราบ แต่นางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่เคยกระทำการใดเพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าว กลับยืนยันว่า เป็นโครงการที่ชาวนาได้รับประโยชน์และไม่มีความเสียหายใดๆ
ผมขอเรียนชี้แจงและแย้งดังนี้
1. กรณีปปช ทักท้วงมา คุณยิ่งลักษณ์ก็ได้ดำเนินการโดยนำหนังสือเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้วนะครับ และได้มีการมอบหมายให้รตอ.เฉลิม อยู่บำรุงไปติดตามดูแลเรื่องนี้ ดังนั้นที่ว่าไม่เคยกระทำการใดเพื่อตรวจสอบเรื่องที่ปปช เสนอนั้น จึงไม่น่าจะเป็นความจริงครับ ดูได้จากมติครม.นี้ครับ
2. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้มีหนังสือ มาถึงรัฐบาลให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวจริง 4 ฉบับ แต่หนังสือฉบับแรกเป็นรายงานที่แจ้งว่าอาจมีการทุจริตเท่านั้น และยังมีการให้ความเห็นด้วยว่ารัฐบาลอาจจะดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อไปได้เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาล ไม่มีข้อแนะนำของสตง ในหนังสือฉบับแรกให้ยุติโครงการจำนำข้าวเลยแม้แต่น้อย ลองอ่านดูรายละเอียดในหนังสือสตง ฉบับแรกดูครับ
3.หนังสือฉบับที่สามที่กล่าวถึงการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ที่มาถึงรัฐบาลเมื่อกลางปี 2556 ก็ไม่ได้มีคำแนะนำให้รัฐบาลยุติโครงการนี้เสีย และหากมีคำแนะนำใดๆที่รัฐบาลควรต้องปฏิบัติเพื่อไม่ให้ถูกกล่าวหาว่าละเว้นหน้าที่ ก็ต้องเป็นการกระทำหลังจากได้หนังสือนี้แล้ว คือครึ่งปีหลังของปี 2556 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการประท้วงกปปส และตามมาด้วยรัฐบาลยุบสภา
หากการทุจริตมีจริง แต่เกิดในช่วงปี 2554-2556 จะกล่าวหาว่ารัฐบาลเพิกเฉยต่อคำเตือนของสตง ได้อย่างไร ในเมื่อหนังสือเตือนสตง ยังมาไม่ถึงรัฐบาลเลย
ลองดูเนื้อความในหนังสือฉบับที่สามที่มาถึงรัฐบาลกลางปี 2556
4.หนังสือฉบับที่สี่ ที่มีคำแนะนำให้รัฐบาลยุติโครงการรับจำนำข้าวเสีย ก็มาถึงรัฐเพื่อไทยมกราคม 2557 หลังจากคุณยิ่งลักษณ์พ้นตำแหน่งเพราะยุบสภาไปแล้ว จะมากล่าวหาว่ารัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์เพิกเฉยต่อหนังสือฉบับที่ 4 ได้อย่างไร ในเมื่อหนังสือมาเมื่อพ้นตำแหน่งไปแล้ว
ลองอ่านดูรายละเอียดใหหนังสือฉบับที่สี่ ที่มาถึงหลังจากมีการยุบสภาครับ
ดังนั้น คำกล่าวอ้างที่ว่ารัฐบาลเพิกเฉยต่อการเตือนของสตง. จึงต้องคำนึงในข้อเท็จจริงว่า หนังสือสตง.ที่มีการเตือนอย่างจริงจังนั้น มาถึงรัฐบาลช้ามากคือกลางปี 2556 ไปแล้ว แล้วจะนำมาอ้างว่ารัฐปล่อยปละละเลยได้อย่างไร เพราะช่วงเวลาหลังจากนั้นคือหลังกลางปี 2556 รัฐบาลก็พยายามปรับแก้ปัญหาโครงการจำนำข้าวตลอด จะมาอ้างเอาผิดย้อนหลังไปก่อนที่จดหมายจะมา คือช่วงปี 2554 ถึง ต้นปี 2556 ได้อย่างไร
ทั้งหมดนี้ ทำให้ประชาชนเกิดความไม่สบายใจว่า ในเมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ ทำไมปปช จึงต้องเร่งเอาผิดต่อคุณยิ่งลักษณ์ ประกอบกับเหตุการณ์ในอดีต ทำให้เกิดความไม่สบายใจครับ คุณยิ่งลักษณ์เอง ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ย่อมมีสิทธิแสดงความเห็นเช่นนั้นครับ เพราะประชาชนคนอื่น ก็รู้สึกถึงเรื่องที่ไม่น่าสบายใจนี้เช่นกันนะครับ แม้คุณยิ่งลักษณ์จะไม่พูดออกมา ประชาชนก็รู้สึกถึงความไม่ค่อยจะปกตินี้อยู่แล้วครับ
ประการที่สาม
ท่านเองก็เป็นผู้พิพากษาผู้อาวุโสมิใช่หรือ ท่านสมควรเป็นตัวอย่างแห่งความเที่ยง ความเป็นกลาง ความยุติธรรม ความเมตตาปราณีแก่ทุกผู้คนมิใช่หรือ การออกบทความมาในทำนองเช่นนี้ สมควรแล้วหรือ สำหรับผู้ที่มีใจเป็นกลาง มีความเที่ยง ความยุติธรรมอยู่ในใจ ท่านได้มีความเมตตาปราณีแก่บุคคลที่ต้องถือว่ามิได้กระทำความผิดจนกว่าจะพิสูจน์หรือไม่
ผมเคยมีความเชื่อว่า ศาลจะมีความเมตตาปราณีแก่ทุกผู้คน และลงโทษบุคคลเมื่อบุคคลนั้นมีหลักฐานความผิดอย่างชัดเจนปราศจากข้อเคลือบแคลงสงสัย และหากลงโทษก็ด้วยความปราณี ให้เขาสำนึกผิดมิใช่ด้วยมูลเหตุอื่นใดมากไปกว่านั้น
บทสรุป
อันการยุติธรรมนั้น สมควรที่เจ้าหน้าที่การยุติธรรมทุกระดับ จะต้องคำนึงหน้าที่และศักดิ์ศรีของตัวเอง ที่จะธำรงความยุติธรรมให้แก่ทุกผู้คน มิว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ที่มีความเห็นทางการเมืองแตกต่างไปจากตนหรือไม่ เป็นผู้ที่ตนได้รับการบอกเล่ามาให้เกิดความเกลียดชังและจะต้องทำลายเสียหรือไม่
แต่เมื่อเป็นเจ้าหน้าที่การยุติธรรมจักต้องคำนึงถึงแต่กฎหมายและความเป็นธรรมอย่างมั่นคง โดยจะต้องไม่คำนึงถึงสิ่งที่อาจจะทำให้เกิดความรวนเรเช่นนั้น จนความยุติธรรมนั้นสามารถที่ประชาชนคนทั่วไปสามารถประจักษ์และสัมผัสรับรู้ได้
ดังคำโบราณของฝ่ายตุลาการที่มีมานานกล่าวไว้ว่า "จงประสาทความยุติธรรม แม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที" สังคมและบ้านเมืองจึงจะอยู่อย่างเป็นสุข เพราะความยุติธรรมนำมาซึ่งความสามัคคีของทุกเหล่าทุกฝ่ายนั้นเองครับ