สื่อโทรทัศน์เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้กว้างขวางและมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะนำไปสู่พัฒนาการที่ดีสำหรับเด็ก จึงต้องระมัดระวังนำเสนอเนื้อหาสาระที่สุ่มเสี่ยง อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อโต้แย้งว่า การผลิตสื่อโทรทัศน์ให้เป็นดินแดนบริสุทธิ์นั้น แลดูขัดแย้งกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เด็กสามารถเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายมากกว่า
มีเดียมอนิเตอร์ มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ศึกษาประเด็น ‘จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก’ ใน 4 ประเด็น คือ เพศ/พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศ (S) ภาษาส่อทางเพศและภาษาหยาบคาย (L) ความรุนแรง ( V) และอคติ/การเลือกปฏิบัติผ่านภาพตัวแทน (R)
ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผอ.มีเดียมอนิเตอร์ เปิดเผยว่า จากการศึกษาประเด็นเพศรายการโทรทัศน์ 72 รายการ ของสถานีโทรทัศน์ 6 ช่อง ได้รับความนิยมสูงสุดช่วง ตุลาคม 2557 และมกราคม 2558 จากการวิเคราะห์ของ AC Nielsen คือ ช่อง HD ได้แก่ ช่อง 3 HD ช่อง 7 HD ช่อง MCOT HD ช่อง SD ได้แก่ ช่อง เวิร์คพ้อยท์ ช่อง 8 และช่อง MONO 29
ทั้งนี้ ในช่วงเวลาสำหรับเด็ก (วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.00-18.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 7.00-9.00 น. และ 16.00-18.00 น.) และช่วงเวลาที่ต้องระมัดระวัง (18.00-20.00 น. ของทุกวัน) ตามประกาศ กสทช. และมีรูปแบบรายการที่ศึกษา กลุ่มรายการสำหรับเด็กและการ์ตูน กลุ่มละครและภาพยนตร์ และกลุ่มบันเทิง ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเป้าหมาย อายุ 10-14 ปี รูปแบบละ 3 อันดับ
“ผลการศึกษาพบรายการที่ปรากฏเนื้อหาความรุนแรง 41 รายการ รายการที่มีการใช้ภาษาส่อทางเพศและภาษาหยาบคาย 24 รายการ รายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศ 14 รายการ และรายการอคติ/การเลือกปฏิบัติผ่านภาพตัวแทน 14 รายการ” ผอ.มีเดียมอนิเตอร์ ระบุ
ดร.เอื้อจิต ชี้ให้เห็นภาพรวมทุกช่องที่ศึกษาว่า ช่อง MCOT HD มีรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง การใช้ภาษาส่อทางเพศ ภาษาหยาบคาย จำนวนมากที่สุด แบ่งเป็น ใช้ภาษาส่อทางเพศและภาษาหยาบคาย 7 รายการ ความรุนแรง 10 รายการ อคติและการเลือกปฏิบัติผ่านภาพตัวแทน 7 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบใน ‘ละครซิทคอม’
ขณะที่ ช่อง MONO 29 มีรายการเนื้อหาความรุนแรงเท่ากับช่อง MCOT HD จำนวน 10 รายการ แต่ไม่พบเนื้อหาเกี่ยวกับอคติและการเลือกปฏิบัติผ่านภาพตัวแทน
อ่านรายละเอียดต่อในลิงค์
http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-documentary/item/37270-thaireform170358.html#.VQlV2YQqEIQ.facebook
เกิดความสงสัยว่าใช้วิธีอะไรวิจัยถึงออกมาแบบนี้ มันควรจะตกที่ช่องสามช่องเจ็ด HD มากกว่ารึเปล่า
เป็นผลวิจัยที่ค้านจากการดูรายการจริง ๆ สำหรับผมแฮะ คนที่ดู MCOT คิดว่าไงครับ
MCOT HD มีรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง การใช้ภาษาส่อทางเพศ ภาษาหยาบคาย จำนวนมากที่สุด
มีเดียมอนิเตอร์ มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ศึกษาประเด็น ‘จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก’ ใน 4 ประเด็น คือ เพศ/พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศ (S) ภาษาส่อทางเพศและภาษาหยาบคาย (L) ความรุนแรง ( V) และอคติ/การเลือกปฏิบัติผ่านภาพตัวแทน (R)
ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผอ.มีเดียมอนิเตอร์ เปิดเผยว่า จากการศึกษาประเด็นเพศรายการโทรทัศน์ 72 รายการ ของสถานีโทรทัศน์ 6 ช่อง ได้รับความนิยมสูงสุดช่วง ตุลาคม 2557 และมกราคม 2558 จากการวิเคราะห์ของ AC Nielsen คือ ช่อง HD ได้แก่ ช่อง 3 HD ช่อง 7 HD ช่อง MCOT HD ช่อง SD ได้แก่ ช่อง เวิร์คพ้อยท์ ช่อง 8 และช่อง MONO 29
ทั้งนี้ ในช่วงเวลาสำหรับเด็ก (วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.00-18.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 7.00-9.00 น. และ 16.00-18.00 น.) และช่วงเวลาที่ต้องระมัดระวัง (18.00-20.00 น. ของทุกวัน) ตามประกาศ กสทช. และมีรูปแบบรายการที่ศึกษา กลุ่มรายการสำหรับเด็กและการ์ตูน กลุ่มละครและภาพยนตร์ และกลุ่มบันเทิง ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเป้าหมาย อายุ 10-14 ปี รูปแบบละ 3 อันดับ
“ผลการศึกษาพบรายการที่ปรากฏเนื้อหาความรุนแรง 41 รายการ รายการที่มีการใช้ภาษาส่อทางเพศและภาษาหยาบคาย 24 รายการ รายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศ 14 รายการ และรายการอคติ/การเลือกปฏิบัติผ่านภาพตัวแทน 14 รายการ” ผอ.มีเดียมอนิเตอร์ ระบุ
ดร.เอื้อจิต ชี้ให้เห็นภาพรวมทุกช่องที่ศึกษาว่า ช่อง MCOT HD มีรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง การใช้ภาษาส่อทางเพศ ภาษาหยาบคาย จำนวนมากที่สุด แบ่งเป็น ใช้ภาษาส่อทางเพศและภาษาหยาบคาย 7 รายการ ความรุนแรง 10 รายการ อคติและการเลือกปฏิบัติผ่านภาพตัวแทน 7 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบใน ‘ละครซิทคอม’
ขณะที่ ช่อง MONO 29 มีรายการเนื้อหาความรุนแรงเท่ากับช่อง MCOT HD จำนวน 10 รายการ แต่ไม่พบเนื้อหาเกี่ยวกับอคติและการเลือกปฏิบัติผ่านภาพตัวแทน
อ่านรายละเอียดต่อในลิงค์
http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-documentary/item/37270-thaireform170358.html#.VQlV2YQqEIQ.facebook
เกิดความสงสัยว่าใช้วิธีอะไรวิจัยถึงออกมาแบบนี้ มันควรจะตกที่ช่องสามช่องเจ็ด HD มากกว่ารึเปล่า
เป็นผลวิจัยที่ค้านจากการดูรายการจริง ๆ สำหรับผมแฮะ คนที่ดู MCOT คิดว่าไงครับ