ความคิดของผมคือ :ผมจะให้ผู้บริหารใส่ชุด แนวๆดอกชบาลายสงกรานต์ แบบก็มีคนนำขันใบใหญ่รองก่อนที่จะเอาขันใบเล็กตักน้ำแล้วรด มือให้ผู้บริหารให้พรถึงที่ เปลี่ยนจากการที่ให้ผู้บริหารนั่งเฉยๆแล้วให้ พนักงานเดินมารดน้ำ แบบนี้จะผิดอะไรมั้ยครับ คืออยากเปลี่ยนวิธีการ แบบนี้จะเหมาะสมหรือป่าว แต่คือผมว่าที่ผู้ใหญ่เค้าต้องนั่งเฉยๆ แล้วให้ลูกๆหลานๆรดน้ำแล้วให้พรเนี่ยเพราะว่าอายุท่านเยอะๆกันแล้ว แต่ผู้บริหารบริษัทผมนี่พึ่งจะ40ต้นๆครับ แล้วชอบอะไรที่แตกต่างแต่ให้ความหมายเหมือนกัน พอรดเสร็จก็จะให้พวกมาลัยเล็กๆแช่น้ำอบหอมๆไว้ที่โต๊ะพนักงานแล้วก็ทำงานกันต่อไป เลยอยากจะนำเสนอในวันศุกร์นี้ มีใครมีความคิดเห็นยังไงกันบ้างครับ มันจะดีหรือเปล่า
ดักคอไว้ก่อน มาแนวแบบประเพณีที่บอกว่า ให้พ่อแม่เดินมาแล้วให้ลูกรดน้ำหรืออะไรนั้นคนหละประเด็นนะครับ เพราะครอบครัวเราผมว่าน่าจะทำตามประเพณีเดิมๆนั้นหละครับ ขัดอะไรกันไม่ได้อยู่แล้ว
ความหมายของการ รดน้ำดำหัว
สงสัยกันมานานถึงที่มาของคำว่า “รดน้ำดำหัว” ในโอกาสใกล้วันสงกรานต์ปีนี้ มาคลายข้อสงสัยที่มาของคำนี้พร้อมๆกัน
“รดน้ำดำหัว” เป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมา(ขอโทษ) ผู้ใหญ่และขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ ซึ่งจะมีการอาบน้ำจริง ๆ คือ อาบทั้งตัว และดำหัวคือ สระผมด้วย สิ่งที่ใช้สระผมก็จะเป็นน้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูด
การดำหัว ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้นหมายถึงการ “สระผม” แต่ในพิธีกรรม โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ของทุกๆ ปี หมายถึง การชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้วิปลาสปราดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระ โดยใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยแช่ลงในน้ำสะอาดนำไปมอบให้ผู้ใหญ่แตะ ๆ แล้วลูบศีรษะ แต่ถ้าดำหัวตนเองก็ใช้ก้านใบมะยมจุ่มลงแล้วสะเด็ดน้ำใส่ตัว บางท่านบอกว่าใช้น้ำส้มป่อยอาบเพื่อขจัดพลังชั่วร้ายครอบงำ หากดำหัวผู้น้อยกว่าก็ใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะลูกหลานได้เช่นกัน
จึงใช้คำว่า “ดำหัว” มาต่อท้ายคำว่า “รดน้ำ” ซึ่งมีความหมายคล้ายกัน กลายเป็นคำซ้อนคำว่า “รดน้ำดำหัว”
จัดกิจกรรมสงกรานต์ที่บริษัท:เดินรดน้ำดำหัว เป็นระดับผู้บริหารเดินลงมาอวยพรพนักงาน เหมาะสมหรือเปล่า?
ดักคอไว้ก่อน มาแนวแบบประเพณีที่บอกว่า ให้พ่อแม่เดินมาแล้วให้ลูกรดน้ำหรืออะไรนั้นคนหละประเด็นนะครับ เพราะครอบครัวเราผมว่าน่าจะทำตามประเพณีเดิมๆนั้นหละครับ ขัดอะไรกันไม่ได้อยู่แล้ว
ความหมายของการ รดน้ำดำหัว
สงสัยกันมานานถึงที่มาของคำว่า “รดน้ำดำหัว” ในโอกาสใกล้วันสงกรานต์ปีนี้ มาคลายข้อสงสัยที่มาของคำนี้พร้อมๆกัน
“รดน้ำดำหัว” เป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมา(ขอโทษ) ผู้ใหญ่และขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ ซึ่งจะมีการอาบน้ำจริง ๆ คือ อาบทั้งตัว และดำหัวคือ สระผมด้วย สิ่งที่ใช้สระผมก็จะเป็นน้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูด
การดำหัว ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้นหมายถึงการ “สระผม” แต่ในพิธีกรรม โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ของทุกๆ ปี หมายถึง การชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้วิปลาสปราดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระ โดยใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยแช่ลงในน้ำสะอาดนำไปมอบให้ผู้ใหญ่แตะ ๆ แล้วลูบศีรษะ แต่ถ้าดำหัวตนเองก็ใช้ก้านใบมะยมจุ่มลงแล้วสะเด็ดน้ำใส่ตัว บางท่านบอกว่าใช้น้ำส้มป่อยอาบเพื่อขจัดพลังชั่วร้ายครอบงำ หากดำหัวผู้น้อยกว่าก็ใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะลูกหลานได้เช่นกัน
จึงใช้คำว่า “ดำหัว” มาต่อท้ายคำว่า “รดน้ำ” ซึ่งมีความหมายคล้ายกัน กลายเป็นคำซ้อนคำว่า “รดน้ำดำหัว”