Cottage รูปแบบอาคารสไตล์หนึ่งของฝรั่งที่เราพอจะคุ้นตากันอยู่บ้าง มีลักษณะโดดเด่นชัดเจนเมื่อได้เห็นก็สามารถสื่อได้ถึงอารมณ์ของภาพชีวิตแบบฝรั่งซึ่งหลายๆท่านชื่นชอบ ส่วนใหญ่จะมีชั้นเดียว ใช้วัสดุก่อสร้างแบบโบราณเช่นการใช้ไม้แผ่นตีซ้อนเกล็ดเป็นฝาผนัง การใช้วัสดุมุงหลังคาเป็นชิ้นเล็กๆ มีรูปแบบกลมกลืนไปกับธรรมชาติ ซึ่งมักจะนิยมปลูกกันมาแต่โบราณตามเขตชานเมืองหรือชนบท สะท้อนรูปแบบชีวิตสงบเรียบง่ายแต่มีชีวิตชีวา ในบ้านเราพบเห็นอาคารลักษณะแบบนี้ได้บ่อยๆในรูปแบบของ ร้านกาแฟ-ขนมของฝรั่ง นัยว่าไปกันได้ดีระหว่างสถาปัตยกรรมการออกแบบและเรื่องของอาหาร และยังนิยมปลูกเป็นที่พักในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นภูเขาที่สูงอากาศเย็น เช่นเขาใหญ่ เขาค้อ เป็นต้น
ผมจะพาไปดูการก่อสร้างอาคารไสตล์ cottage แห่งหนึ่งในแถบชายทะเลจันทบุรี ซึ่งแถวนี้ไม่ค่อยพบไสตล์งานลักษณะนี้ อาจจะมองว่าไม่ค่อยเข้ากับบรรยากาศทะเล แต่เนื่องจากเจ้าของร้านมีกิจการรีสอร์ทอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว ต้องการขยายธุรกิจมาทำร้านอาหาร-กาแฟ เบเกอรี่อีก จึงเกิดโจทย์การก่อสร้างนี้ขึ้นมา เพราะต้องการให้เข้ากับอาหารที่โฟกัสไปยังอาหารฝรั่งเป็นหลัก ผมเก็บเอาภาพถ่ายขั้นตอนการก่อสร้างคร่าวๆมาแชร์พื่อเป็นไอเดียสำหรับท่านๆที่ชื่นชอบและสนใจ อาจะได้ข้อมูลไปปรับใช้กับโครงการของท่านได้บ้างไม่มากก็น้อย
ดีไซน์ที่ตกลงใจกันแล้วเป็นรูปแบบตามนี้ครับ ตัวร้านหลักพื้นที่ ราวๆ90 ตรม. พื้นที่ระเบียงด้านนอกอีก 160 ตรม. ด้านหลังเป็นครัว และห้องน้ำ
มาดูส่วนก่อสร้างกันครับ
ฐานรากใช้เป็นฐานแผ่ เนื่องจากพยายามให้โครงสร้างทั้งหมดไม่หนักมากโดยการเลือกใช้วัสดุเบา มีงานพื้นที่ค่อนข้างหนักหน่อย ส่วนของระเบียงใช้ฐานรากเป็นเสาตอม่อสำเร็จรูป
ฐานรากเสร็จก็มาหล่อคานหลักของร้าน เตรียมลูกปูนไว้หนุนเหล็กเสริมให้ได้ระยะหุ้มคอนกรีตตามแบบทุกจุด ที่ยกตัวอคารสูงขึ้นจากแนวถมดินขนาดนี้ เพราะต้องการให้ร้านมองเห็นจากถนนเป็นตัวอาคารเด่นขึ้นมา ตรงมุมของแนวคานเตรียมเพลทเหล็กฝังไว้รอเชื่อมกับเสาอาคาร
พื้นตัวร้านและครัวใช้แผ่นพื้นสำเร็จปูแล้วทับหน้าแบบปกติทั่วไป พื้นห้องน้ำหล่อในที่ ส่วนยื่นต่างๆเช่น bay window ก็เสริมเหล็กหล่อเพิ่มออกมา
เตรียมสีกันสนิมสำหรับเหล็กรูปพรรณที่จะใช้งาน เจ้าของเป็นห่วงเรื่องสภาพอากาศของแถบทะเลจะทำให้เหล็กขึ้นสนิมง่ายไม่ทนทาน เพื่อความสบายใจ ก็เล่นอย่างนี้เลย เอาท่อ PVC หกนิ้วมาแปลงเป็นรางชุบสี เอาเหล็กทั้งท่อนลงไปอาบสีกันสนิมแบบนี้เลยจะได้เคลือบทั้งนอกใน ส่วนสีทับหน้าก็เอามาแผ่แล้วทา
งานโครงสร้างตั้งแต่เหนือพื้นขึ้นมา ประยุกต์เป็นงานเหล็กเพื่อความรวดเร็วและสะดวกครับ ตามสไตล์เดิมของ cottage จะต้องเป็นโครงสร้างไม้เป็นหลัก แต่เราก็แปลงเอาตามความเหมาะสม เสาหลักของอาคารใช้เหล็กเหลี่ยม 100x100 มม.กรอกปูนด้านในเต็ม กระทงผนัง คานบน จั่วและแปหลังคาเป็นเหล็กหมด
งานเหล็กขึ้นมาเป็นรูปร่างหมดแล้วก็เริ่มก่อกำแพงในส่วนที่จำเป็นต้องใช้งานหนัก ทนน้ำทนชื้นเช่นกำแพงครัวและห้องน้ำ แต่เดิมจะให้เป็นอิฐมวลเบา แต่ผู้รับเหมาท้องถิ่นไม่คุ้นเคย และมีอิฐเหลือจากโครงการอื่นมาก็เลยก่อฉาบปุนเอาตามปกติ
แนวตงพื้นระเบียงใช้เหล็กล่องไม้ขีดกับกล่องจัตุรัสปนกัน เนื่องจากเราจะใช้พื้นไม้เทียม ไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งมีการให้ตัวยืดหยุ่นน้อยกว่าไม้จริงจึงต้องตีตงระยะถี่กว่าการปูไม้จริง ไม้เทียมรุ่นใช้ปูพื้นทุกรุ่นมีระยะบอกความเหมาะสมในการวางตงอยู่แล้วครับอย่าประหยัดเหล็ก อาจมีคนเหยียบหักตกลงไปด้านล่างได้ มีหลายโครงการเจอมาแล้ว
หลังคาเราใช้แผ่นที่เรียกกันว่า shingle asphalt เป็นแผ่นหลังคาแบนๆที่เลียนแบบลักษณะของหลังคา shingle ตามไสตล์เดิม โดยเราจะปูไม้อัดชานอ้อยอัดน้ำยากันชื้นไว้ด้านล่าง แล้วเอาแผ่นหลังคา ชิ้นใหญ่ๆยึดด้วยตะปูลงบนแผ่นไม้อัดเลยครับ ปุไม่ยาก แต่ก็ใช้ทีมงานติดตั้งของผู้จำหน่ายแผ่นหลังคาเลยเพื่อรับประกันผลงานไปในตัวด้วย
ข้อดีของหลังคาแบบนี้ เนื่องจากเราใช้ไม้อัดเป็นตัวรองยึด การออกแบบชิ้นหลังคาหลายระดับโสลป หรือชนเข้ามุมลักษณะต่างๆอันเป็นแนวทางการออกแบบหลังคาของงาน cottage อยู่แล้ว ตัวอย่างเช่นช่องแสงบนหลังคา เราไม่ต้องกลัวเรื่องน้ำรั่วซึมมากนัก ถ้าหากสามารถตัดแผ่นไม้อัดปิดแนวจั่วหลังคาได้หมด ตัวแผ่นหลังคาก็ไล่ตามไปได้เช่นกัน ซึ่งหากเป็นกระเบื้องหลังคาแบบต่างๆจะต้องใช้ตัวครอบใช้ปูนปั้นค่อนข้างวุ่นวายและอาจเก็บงานไม่เรียบร้อยทำให้น้ำรั่วซึมได้ง่าย อีกข้อหนึ่งก็คือชิ้นวัสดุทั้งไม้อัดและแผ่น asphalt รวมกันเป็นฉนวนกันความร้อนสะสมจากหลังคาเข้าตัวอาคารได้ดีทีเดียว
สำหรับผนังด้านนอกอาคารหลักส่วนโชว์ที่เป็นตัวร้านใช้ไม้ฝาเทียมตีซ้อนเกล็ดเอาทำงานง่ายสะดวก มีขนาดคงที่ไม่ต้องมาไสปรับอีก ทาสีทับได้ทันที สะดวกไม่ต้องมาเตรียมผิวรองพื้นเหมือนไม้จริง สังเกตการเก็บงานระหว่างไม้ผนังกับหลังคา ตรง bay window วัสดุมันจบกันได้ลงตัวดีทีเดียวเพราะต่างเป็นวัสดุทรงแบน แต่เพื่อความแน่นอน เราจะยิงด้วย Acrylic sealant กันน้ำรั่วซึมเข้าด้านในด้วยอีกครั้งหนึ่ง
ผนังด้านในตั้งใจให้เรียบและเบาจึงบุด้วยยิปซั่มกันชื้น ใส่ฉนวนใยแก้วไว้ตรงกลางกันความร้อน ผนังครัวฉาบปูน
ที่เห็นเป็นปล่องควันนี่ ด้านในต่อท่อมาจากฮูดดูดควันในครัวด้วยครับ เป่าไปออกด้านบนเลย โครงสร้างขึ้นด้วยโครงเหล็กฉาก กรุด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ แล้วสุดท้ายเอากระเบื้องลายอิฐมาปูทับืลดน้ำหนักไปได้เยอะพอดู
มาดูการสร้างอาคารสไตล์ Cottage กันครับ
ผมจะพาไปดูการก่อสร้างอาคารไสตล์ cottage แห่งหนึ่งในแถบชายทะเลจันทบุรี ซึ่งแถวนี้ไม่ค่อยพบไสตล์งานลักษณะนี้ อาจจะมองว่าไม่ค่อยเข้ากับบรรยากาศทะเล แต่เนื่องจากเจ้าของร้านมีกิจการรีสอร์ทอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว ต้องการขยายธุรกิจมาทำร้านอาหาร-กาแฟ เบเกอรี่อีก จึงเกิดโจทย์การก่อสร้างนี้ขึ้นมา เพราะต้องการให้เข้ากับอาหารที่โฟกัสไปยังอาหารฝรั่งเป็นหลัก ผมเก็บเอาภาพถ่ายขั้นตอนการก่อสร้างคร่าวๆมาแชร์พื่อเป็นไอเดียสำหรับท่านๆที่ชื่นชอบและสนใจ อาจะได้ข้อมูลไปปรับใช้กับโครงการของท่านได้บ้างไม่มากก็น้อย
ดีไซน์ที่ตกลงใจกันแล้วเป็นรูปแบบตามนี้ครับ ตัวร้านหลักพื้นที่ ราวๆ90 ตรม. พื้นที่ระเบียงด้านนอกอีก 160 ตรม. ด้านหลังเป็นครัว และห้องน้ำ
มาดูส่วนก่อสร้างกันครับ
ฐานรากใช้เป็นฐานแผ่ เนื่องจากพยายามให้โครงสร้างทั้งหมดไม่หนักมากโดยการเลือกใช้วัสดุเบา มีงานพื้นที่ค่อนข้างหนักหน่อย ส่วนของระเบียงใช้ฐานรากเป็นเสาตอม่อสำเร็จรูป
ฐานรากเสร็จก็มาหล่อคานหลักของร้าน เตรียมลูกปูนไว้หนุนเหล็กเสริมให้ได้ระยะหุ้มคอนกรีตตามแบบทุกจุด ที่ยกตัวอคารสูงขึ้นจากแนวถมดินขนาดนี้ เพราะต้องการให้ร้านมองเห็นจากถนนเป็นตัวอาคารเด่นขึ้นมา ตรงมุมของแนวคานเตรียมเพลทเหล็กฝังไว้รอเชื่อมกับเสาอาคาร
พื้นตัวร้านและครัวใช้แผ่นพื้นสำเร็จปูแล้วทับหน้าแบบปกติทั่วไป พื้นห้องน้ำหล่อในที่ ส่วนยื่นต่างๆเช่น bay window ก็เสริมเหล็กหล่อเพิ่มออกมา
เตรียมสีกันสนิมสำหรับเหล็กรูปพรรณที่จะใช้งาน เจ้าของเป็นห่วงเรื่องสภาพอากาศของแถบทะเลจะทำให้เหล็กขึ้นสนิมง่ายไม่ทนทาน เพื่อความสบายใจ ก็เล่นอย่างนี้เลย เอาท่อ PVC หกนิ้วมาแปลงเป็นรางชุบสี เอาเหล็กทั้งท่อนลงไปอาบสีกันสนิมแบบนี้เลยจะได้เคลือบทั้งนอกใน ส่วนสีทับหน้าก็เอามาแผ่แล้วทา
งานโครงสร้างตั้งแต่เหนือพื้นขึ้นมา ประยุกต์เป็นงานเหล็กเพื่อความรวดเร็วและสะดวกครับ ตามสไตล์เดิมของ cottage จะต้องเป็นโครงสร้างไม้เป็นหลัก แต่เราก็แปลงเอาตามความเหมาะสม เสาหลักของอาคารใช้เหล็กเหลี่ยม 100x100 มม.กรอกปูนด้านในเต็ม กระทงผนัง คานบน จั่วและแปหลังคาเป็นเหล็กหมด
งานเหล็กขึ้นมาเป็นรูปร่างหมดแล้วก็เริ่มก่อกำแพงในส่วนที่จำเป็นต้องใช้งานหนัก ทนน้ำทนชื้นเช่นกำแพงครัวและห้องน้ำ แต่เดิมจะให้เป็นอิฐมวลเบา แต่ผู้รับเหมาท้องถิ่นไม่คุ้นเคย และมีอิฐเหลือจากโครงการอื่นมาก็เลยก่อฉาบปุนเอาตามปกติ
แนวตงพื้นระเบียงใช้เหล็กล่องไม้ขีดกับกล่องจัตุรัสปนกัน เนื่องจากเราจะใช้พื้นไม้เทียม ไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งมีการให้ตัวยืดหยุ่นน้อยกว่าไม้จริงจึงต้องตีตงระยะถี่กว่าการปูไม้จริง ไม้เทียมรุ่นใช้ปูพื้นทุกรุ่นมีระยะบอกความเหมาะสมในการวางตงอยู่แล้วครับอย่าประหยัดเหล็ก อาจมีคนเหยียบหักตกลงไปด้านล่างได้ มีหลายโครงการเจอมาแล้ว
หลังคาเราใช้แผ่นที่เรียกกันว่า shingle asphalt เป็นแผ่นหลังคาแบนๆที่เลียนแบบลักษณะของหลังคา shingle ตามไสตล์เดิม โดยเราจะปูไม้อัดชานอ้อยอัดน้ำยากันชื้นไว้ด้านล่าง แล้วเอาแผ่นหลังคา ชิ้นใหญ่ๆยึดด้วยตะปูลงบนแผ่นไม้อัดเลยครับ ปุไม่ยาก แต่ก็ใช้ทีมงานติดตั้งของผู้จำหน่ายแผ่นหลังคาเลยเพื่อรับประกันผลงานไปในตัวด้วย
ข้อดีของหลังคาแบบนี้ เนื่องจากเราใช้ไม้อัดเป็นตัวรองยึด การออกแบบชิ้นหลังคาหลายระดับโสลป หรือชนเข้ามุมลักษณะต่างๆอันเป็นแนวทางการออกแบบหลังคาของงาน cottage อยู่แล้ว ตัวอย่างเช่นช่องแสงบนหลังคา เราไม่ต้องกลัวเรื่องน้ำรั่วซึมมากนัก ถ้าหากสามารถตัดแผ่นไม้อัดปิดแนวจั่วหลังคาได้หมด ตัวแผ่นหลังคาก็ไล่ตามไปได้เช่นกัน ซึ่งหากเป็นกระเบื้องหลังคาแบบต่างๆจะต้องใช้ตัวครอบใช้ปูนปั้นค่อนข้างวุ่นวายและอาจเก็บงานไม่เรียบร้อยทำให้น้ำรั่วซึมได้ง่าย อีกข้อหนึ่งก็คือชิ้นวัสดุทั้งไม้อัดและแผ่น asphalt รวมกันเป็นฉนวนกันความร้อนสะสมจากหลังคาเข้าตัวอาคารได้ดีทีเดียว
สำหรับผนังด้านนอกอาคารหลักส่วนโชว์ที่เป็นตัวร้านใช้ไม้ฝาเทียมตีซ้อนเกล็ดเอาทำงานง่ายสะดวก มีขนาดคงที่ไม่ต้องมาไสปรับอีก ทาสีทับได้ทันที สะดวกไม่ต้องมาเตรียมผิวรองพื้นเหมือนไม้จริง สังเกตการเก็บงานระหว่างไม้ผนังกับหลังคา ตรง bay window วัสดุมันจบกันได้ลงตัวดีทีเดียวเพราะต่างเป็นวัสดุทรงแบน แต่เพื่อความแน่นอน เราจะยิงด้วย Acrylic sealant กันน้ำรั่วซึมเข้าด้านในด้วยอีกครั้งหนึ่ง
ผนังด้านในตั้งใจให้เรียบและเบาจึงบุด้วยยิปซั่มกันชื้น ใส่ฉนวนใยแก้วไว้ตรงกลางกันความร้อน ผนังครัวฉาบปูน
ที่เห็นเป็นปล่องควันนี่ ด้านในต่อท่อมาจากฮูดดูดควันในครัวด้วยครับ เป่าไปออกด้านบนเลย โครงสร้างขึ้นด้วยโครงเหล็กฉาก กรุด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ แล้วสุดท้ายเอากระเบื้องลายอิฐมาปูทับืลดน้ำหนักไปได้เยอะพอดู