บางครั้งการเลือกคณะของน้องๆ อาจไม่ได้มาจากต้องการของตัวเอง แต่ถูกคนรอบข้างกดดัน ซึ่งมันก็อาจจะดีหรือร้ายก็ได้ แต่ก่อนเลือกคณะอะไรลองค้นในส่วนลึกของหัวใจตัวเองให้แน่ก่อนจะดีกว่ามั้ย?
น้องๆทุกวันนี้ต้องอยู่ในสังคมที่มีการแข่งขันสอบเข้ามหาวิทยาลัยสูงปี๊ดด ส่วนหนึ่งก็มาจากพ่อแม่ของน้องๆที่อยากให้อนาคตของลูกสบายไม่ต้องลำบาก ทำให้บางคณะมีการขับเคี่ยวเป็นพิเศษโดยเฉพาะคณะ “แพทย์หรือวิศวฯ” นั้นก็เพราะอาชีพเหล่านี้สามารถหางานได้ไม่ยาก มีเงินเดือนเฉลี่ยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคณะอื่นๆ .......แต่การที่เราเลือกรายได้เป็นเกณฑ์ตัดสินใจหลักมันจะถูกต้องจริงเหรอ?
พี่ไม่เถียงหรอกนะครับ ว่าการที่พี่สอบเข้าวิศวฯ ส่วนหนึ่งก็มาจากคาดหวังรายได้ที่สูงหางานได้ไม่ยาก แต่พี่ต้องชี้แจงก่อนว่า พี่ชอบวิชาคำนวณอย่างมากกก ซึ่งพี่ในชุดกางเกงขาสั้นเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ลองมองไปทั่ว 360 องศาของราชอาณาจักรไทย ก็ไม่มีคณะไหนที่มันจะมีความลงตัวอย่างนุ่มลึกระหว่าง “งานที่พี่รัก” และ “รายได้ที่งดงาม” อย่างอาชีพวิศวะ อีกแล้ว ดังนั้นตอนพี่อยู่ม.4 จึงตัดสินใจอย่างไม่ลังเลในการทุ่มเทเพื่อเข้าคณะวิศวฯ พี่บ้าอ่านวิชาที่เกี่ยวข้องกับคณะนี้เป็นหลัก สมัยนั้นการสอบเข้ายังใช้ระบบ Entrance ระบบนี้การสอบเข้าคณะวิศวฯก็ใช้เพียงเฉพาะวิชา เลข ฟิสิกส์ เคมี อังกฤษ พื้นฐานวิศวกรรม ส่วนภาษาไทยกับสังคมก็สอบให้พอผ่านเกณฑ์ไป ซึ่งมันก็ทำให้พี่เรียนเนื้อหาม.ปลายของวิชาเหล่านี้จบก่อนม.6 ส่วนเวลาที่เหลือก็เอามาใช้ทำโจทย์และสรุปเนื้อหา ผลจากกลยุทธ์ดังกล่าวก็ทำให้คะแนนสอบ Ent ครั้งแรกตอนเดือนตุลาคมของพี่ก็เกินเกณฑ์ขั้นต่ำของคณะวิศวฯจุฬาฯไปอย่างมั่นใจมากกว่า 90% ว่ากรูสอบติดชัวแล้วว้อยยยย
สิ่งที่พี่ต้องการจะบอกคืออะไร? สิ่งนั้นคือการที่คนเราจะสามารถทำอะไรได้ดีมันต้องมีการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่าง “สิ่งที่เรารัก” และ “งานที่มีอนาคต” การที่เราใช้เพียงอนาคตของงานแต่ไม่ได้พิจารณาความรักในอาชีพนั้นเลย โดยส่วนตัวพี่มองว่ามันไม่ถูกต้อง การที่เรา“ใช้เพียงสมอง แต่ไม่ใช้หัวใจ” ในการตัดสินเส้นทางอนาคต มันอาจจะทำให้เมื่อน้องเข้าไปเรียนคณะนั้นๆก็ไม่สามารถทำได้ดี เมื่อออกไปทำงานก็ไม่โดดเด่น ต้องมองหน้ากระจกดูตัวเองทำหน้าซังกะตาย ออกไปทำงานอย่างเซ็งๆทุกวัน ....... น้องลองคิดดูสิ! ว่าชีวิตน้องจะทรมานแค่ไหน น้องจะทำอย่างนั้นเพื่อได้รายได้ที่มั่นคงแต่แลกกับการใช้ชีวิตที่ไม่มีความสุขงั้นเหรอ?
แต่ในทางกลับกันการ บางคนเลือกแต่สิ่งที่รัก โดยมองข้ามความต้องการของตลาด(ย้ำว่าไม่ดูเลย) พี่ก็มองว่ามันไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะเมื่อเข้าสู่สังคมทำงานแล้ว เราอาจจะหาเงินได้อย่างยากลำบากแสนเข็ญ ใช้เงินเดือนชนเดือน หรืออาจขนาดถึงขั้นติดลบ จนวันหนึ่งเราอาจจะมานั่งคิดว่า !รู้งี้ ฉันน่าจะสอบเข้าคณะนู้นคณะนี้ดีกว่า...ไม่น่าเลยฉัน แต่เอาจริงๆมันก็ไม่แน่นักหรอก ถ้าน้องมั่นใจว่าตัวเองมีความพิเศษแบบโคตรเจิดจรัสในงานนั้นๆ น้องก็จงใช้หัวใจนำทางให้เต็มที่ เพราะไม่ว่าจะทำงานอะไรหากเรามีจุดเด่น เป็นคนพิเศษในสายอาชีพนั้นๆ การจะหารายได้เป็นกอบเป็นกำได้ไม่ยากไม่ว่าเราจะทำอาชีพอะไร
สุดท้ายนี้พี่อยากให้น้องๆคิดให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเลิอกคณะอะไร ความพอดีคือสิ่งสำคัญที่สุด ลองค้นใจของน้อง หาสิ่งที่น้องรักและทำได้ดี มองโอกาสในสิ่งที่เราชอบ บางครั้งน้องอาจไม่ต้องทำงานประจำก็ได้ โลกเรามีโอกาสหาเงินได้มากมายด้วยสิ่งเรารัก แต่การที่เราจะไปคว้ามันเราต้องเจ๋งพอ ลองคิดให้ดี “อย่าใช้สมอง แต่จงใช้หัวใจ”
ปรึกษาและพูดคุยกับพี่ได้ที่
http://www.facebook.com/SmartConcept.Academy
อ่านบทความที่เว็บเด็กดี
http://my.dek-d.com/nuttaponti/blog/?blog_id=10213227
"อย่าใช้สมอง แต่จงใช้หัวใจ ❤" ... จะเลือกคณะอะไรจงคิดให้ดี
น้องๆทุกวันนี้ต้องอยู่ในสังคมที่มีการแข่งขันสอบเข้ามหาวิทยาลัยสูงปี๊ดด ส่วนหนึ่งก็มาจากพ่อแม่ของน้องๆที่อยากให้อนาคตของลูกสบายไม่ต้องลำบาก ทำให้บางคณะมีการขับเคี่ยวเป็นพิเศษโดยเฉพาะคณะ “แพทย์หรือวิศวฯ” นั้นก็เพราะอาชีพเหล่านี้สามารถหางานได้ไม่ยาก มีเงินเดือนเฉลี่ยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคณะอื่นๆ .......แต่การที่เราเลือกรายได้เป็นเกณฑ์ตัดสินใจหลักมันจะถูกต้องจริงเหรอ?
พี่ไม่เถียงหรอกนะครับ ว่าการที่พี่สอบเข้าวิศวฯ ส่วนหนึ่งก็มาจากคาดหวังรายได้ที่สูงหางานได้ไม่ยาก แต่พี่ต้องชี้แจงก่อนว่า พี่ชอบวิชาคำนวณอย่างมากกก ซึ่งพี่ในชุดกางเกงขาสั้นเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ลองมองไปทั่ว 360 องศาของราชอาณาจักรไทย ก็ไม่มีคณะไหนที่มันจะมีความลงตัวอย่างนุ่มลึกระหว่าง “งานที่พี่รัก” และ “รายได้ที่งดงาม” อย่างอาชีพวิศวะ อีกแล้ว ดังนั้นตอนพี่อยู่ม.4 จึงตัดสินใจอย่างไม่ลังเลในการทุ่มเทเพื่อเข้าคณะวิศวฯ พี่บ้าอ่านวิชาที่เกี่ยวข้องกับคณะนี้เป็นหลัก สมัยนั้นการสอบเข้ายังใช้ระบบ Entrance ระบบนี้การสอบเข้าคณะวิศวฯก็ใช้เพียงเฉพาะวิชา เลข ฟิสิกส์ เคมี อังกฤษ พื้นฐานวิศวกรรม ส่วนภาษาไทยกับสังคมก็สอบให้พอผ่านเกณฑ์ไป ซึ่งมันก็ทำให้พี่เรียนเนื้อหาม.ปลายของวิชาเหล่านี้จบก่อนม.6 ส่วนเวลาที่เหลือก็เอามาใช้ทำโจทย์และสรุปเนื้อหา ผลจากกลยุทธ์ดังกล่าวก็ทำให้คะแนนสอบ Ent ครั้งแรกตอนเดือนตุลาคมของพี่ก็เกินเกณฑ์ขั้นต่ำของคณะวิศวฯจุฬาฯไปอย่างมั่นใจมากกว่า 90% ว่ากรูสอบติดชัวแล้วว้อยยยย
สิ่งที่พี่ต้องการจะบอกคืออะไร? สิ่งนั้นคือการที่คนเราจะสามารถทำอะไรได้ดีมันต้องมีการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่าง “สิ่งที่เรารัก” และ “งานที่มีอนาคต” การที่เราใช้เพียงอนาคตของงานแต่ไม่ได้พิจารณาความรักในอาชีพนั้นเลย โดยส่วนตัวพี่มองว่ามันไม่ถูกต้อง การที่เรา“ใช้เพียงสมอง แต่ไม่ใช้หัวใจ” ในการตัดสินเส้นทางอนาคต มันอาจจะทำให้เมื่อน้องเข้าไปเรียนคณะนั้นๆก็ไม่สามารถทำได้ดี เมื่อออกไปทำงานก็ไม่โดดเด่น ต้องมองหน้ากระจกดูตัวเองทำหน้าซังกะตาย ออกไปทำงานอย่างเซ็งๆทุกวัน ....... น้องลองคิดดูสิ! ว่าชีวิตน้องจะทรมานแค่ไหน น้องจะทำอย่างนั้นเพื่อได้รายได้ที่มั่นคงแต่แลกกับการใช้ชีวิตที่ไม่มีความสุขงั้นเหรอ?
แต่ในทางกลับกันการ บางคนเลือกแต่สิ่งที่รัก โดยมองข้ามความต้องการของตลาด(ย้ำว่าไม่ดูเลย) พี่ก็มองว่ามันไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะเมื่อเข้าสู่สังคมทำงานแล้ว เราอาจจะหาเงินได้อย่างยากลำบากแสนเข็ญ ใช้เงินเดือนชนเดือน หรืออาจขนาดถึงขั้นติดลบ จนวันหนึ่งเราอาจจะมานั่งคิดว่า !รู้งี้ ฉันน่าจะสอบเข้าคณะนู้นคณะนี้ดีกว่า...ไม่น่าเลยฉัน แต่เอาจริงๆมันก็ไม่แน่นักหรอก ถ้าน้องมั่นใจว่าตัวเองมีความพิเศษแบบโคตรเจิดจรัสในงานนั้นๆ น้องก็จงใช้หัวใจนำทางให้เต็มที่ เพราะไม่ว่าจะทำงานอะไรหากเรามีจุดเด่น เป็นคนพิเศษในสายอาชีพนั้นๆ การจะหารายได้เป็นกอบเป็นกำได้ไม่ยากไม่ว่าเราจะทำอาชีพอะไร
สุดท้ายนี้พี่อยากให้น้องๆคิดให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเลิอกคณะอะไร ความพอดีคือสิ่งสำคัญที่สุด ลองค้นใจของน้อง หาสิ่งที่น้องรักและทำได้ดี มองโอกาสในสิ่งที่เราชอบ บางครั้งน้องอาจไม่ต้องทำงานประจำก็ได้ โลกเรามีโอกาสหาเงินได้มากมายด้วยสิ่งเรารัก แต่การที่เราจะไปคว้ามันเราต้องเจ๋งพอ ลองคิดให้ดี “อย่าใช้สมอง แต่จงใช้หัวใจ”
ปรึกษาและพูดคุยกับพี่ได้ที่
http://www.facebook.com/SmartConcept.Academy
อ่านบทความที่เว็บเด็กดี
http://my.dek-d.com/nuttaponti/blog/?blog_id=10213227