เว็บไซต์ sciencealert.com รายงาน (13 มี.ค.) อ้างคำกล่าวของ ริชาร์ด แมคคอลีย์ คอลัมนิสต์ จาก Quartz ว่า ปีที่แล้ว จีนได้ขยายกำลังการผลิตไฟฟ้ากังหันลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จากปีก่อนหน้า ซึ่งมากเพียงพอสำหรับบ้าน 110 ล้านครัวเรือน
เมื่อเทียบกับไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จะพบว่า ปริมาณพลังงานไฟ 115 กิกะวัตต์ ในปี 2014 จากกังหันลมนี้ มากกว่าไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งผลิตอยู่ที่ 20,000 เมกะวัตต์ (1 กิกะวัตต์ เท่ากับ 1,000 เมกะวัตต์) และมากกว่าไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ที่สหรัฐฯ ผลิตได้ (ข้อมูลจาก World Nuclear Association ระบุว่า ปี 2014 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ ยอดรวมที่ 98.7 กิกะวัตต์)
แมคคอลีย์ กล่าวว่า เรื่องไฟฟ้าพลังงานลมนี้ จีนระบุว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดของตน เพราะไม่มีอุปสรรคจากการป้อนน้ำเข้าโรงไฟฟ้าแบบระบบนิวเคลียร์ นอกจากนั้น หลังจากวิกฤตฟุกูชิม่า ในญี่ปุ่น จีนก็ยกเลิกแผนการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเขตที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว และเดินหน้าวางเป้าสร้างกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าให้ได้ถึง 200 กิกะวัตต์ ก่อนปี ค.ศ. 2020
ทั้งนี้ รายงานข่าวกล่าวว่า โลกมีปริมาณลมให้ผลิตไฟฟ้าใช้สำหรับคนทั้งโลกอย่างเพียงพอ และเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นว่า สองมหาอำนาจโลก กำลังให้ความสำคัญกับทางเลือกนี้
http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9580000031016
ปีที่แล้ว จีนผลิตไฟฟ้าพลังงานลม ได้มากกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดของสหรัฐ
เมื่อเทียบกับไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จะพบว่า ปริมาณพลังงานไฟ 115 กิกะวัตต์ ในปี 2014 จากกังหันลมนี้ มากกว่าไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งผลิตอยู่ที่ 20,000 เมกะวัตต์ (1 กิกะวัตต์ เท่ากับ 1,000 เมกะวัตต์) และมากกว่าไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ที่สหรัฐฯ ผลิตได้ (ข้อมูลจาก World Nuclear Association ระบุว่า ปี 2014 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ ยอดรวมที่ 98.7 กิกะวัตต์)
แมคคอลีย์ กล่าวว่า เรื่องไฟฟ้าพลังงานลมนี้ จีนระบุว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดของตน เพราะไม่มีอุปสรรคจากการป้อนน้ำเข้าโรงไฟฟ้าแบบระบบนิวเคลียร์ นอกจากนั้น หลังจากวิกฤตฟุกูชิม่า ในญี่ปุ่น จีนก็ยกเลิกแผนการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเขตที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว และเดินหน้าวางเป้าสร้างกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าให้ได้ถึง 200 กิกะวัตต์ ก่อนปี ค.ศ. 2020
ทั้งนี้ รายงานข่าวกล่าวว่า โลกมีปริมาณลมให้ผลิตไฟฟ้าใช้สำหรับคนทั้งโลกอย่างเพียงพอ และเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นว่า สองมหาอำนาจโลก กำลังให้ความสำคัญกับทางเลือกนี้
http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9580000031016