แบงก์ชาติควรปล่อยเงินบาทอ่อนลงถึง 34-35 ต่อดอลลาร์
Prev1 of 1Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 17 มี.ค. 2558 เวลา 11:45:38 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
คอลัมน์ ทิศทางเศรษฐกิจ โดย พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ
ก่อนอื่น ผมต้องขอชื่นชมและให้กำลังใจ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของแบงก์ชาติ ที่กล้าตัดสินใจลดดอกเบี้ยไทยลงมา 0.25% เหลือ 1.75% เป็นการส่งสัญญาณที่ถูกต้องแล้ว และเหมาะกับสถานการณ์การเงินโลกขณะนี้ แม้จะผ่อนคลายนโยบายการเงินช้าไปหน่อย แต่ก็ดีกว่าอยู่นิ่ง ๆ แบบ 2 เดือนก่อน ซึ่งทำให้ไทย "ล้าหลังมาก" ในตลาดโลก
สถานการณ์การเงินโลกขณะนี้ เป็นช่วงที่หลายฝ่ายเรียกว่า อยู่ในช่วง "Currency War" หรือสงครามเงินตรา เป็นสงครามที่ประเทศใหญ่น้อย แข่งกันลดค่าเงินตราให้อ่อนที่สุด เท่าที่จะทำได้ การลดดอกเบี้ยลงให้มากที่สุด การอัดฉีดเงินใหม่เข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจภายในของตนเองให้มากที่สุด การผ่อนคลายนโยบายการเงิน และการผ่อนคลายการปล่อยสินเชื่อ
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อ 1)กระตุ้นเศรษฐกิจให้ GDP เติบโตมากขึ้น 2)ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น กระตุ้นประชาชนให้บริโภคมากขึ้น 3)แข่งขันด้านส่งออกและการลงทุนมากขึ้น เพื่อสร้างผลกำไรมากขึ้นให้บริษัทส่งออก
จะเห็นได้ว่าแทบทุกประเทศได้ผ่อนคลายนโยบาย "การเงิน-การคลัง" กันทั้งนั้น ( Easing Money and Fiscal Policy) เพื่อความอยู่รอดและยังเติบโตได้ ภายใต้สถานการณ์ที่สหรัฐอเมริกา มาเอาเปรียบชาติอื่นทั่วโลก ด้วยการปั๊มเงินดอลลาร์ออกมามากมายมหาศาลถึง 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ ในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา หลังวิกฤต Subprime Loan ช่วงเดือนกันยายน 2008 โดยไม่มีทองคำหนุนหลัง
สหรัฐอเมริกา อาศัยความเป็นชาติมหาอำนาจของโลก ปั๊มเงินดอลลาร์ออกมาไม่จำกัด ผลักดันหุ้นดาวโจนส์ขึ้นมาจาก 7,000 จุด ขึ้นไม่หยุดมาถึง 18,000 จุด เอาเงินเทียมของ FED มาจ้างงาน กดอัตราว่างงานลดจาก 8% ลงมาเหลือแค่ 5.5 % โดยที่เงินเฟ้อของตนยังอยู่ในอัตราต่ำได้ เพราะลดดอกเบี้ยดอลลาร์เหลือ 0% ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐโตเดี่ยว 3 ถึง 3.8% ในขณะที่กดดันให้ชาติอื่น ๆ ทั่วโลกเผชิญกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจ เพราะเมื่อค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นมาก ค่าเงินประเทศอื่น ๆ ก็ต้องอ่อนตัวลงไปหมด และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกก็ตกต่ำมากมาย ทำให้รายได้ของประเทศเล็ก ๆ Emerging Market หรือ EM (ตลาดเกิดใหม่) ลดลงมหาศาล โดยต้องขาดดุลการค้า ขาดดุลงบประมาณ เศรษฐกิจตกต่ำ คนว่างงานเพิ่มขึ้นมาก
กระแสการไหลของเงินทุน (Fund Flow) ของกองทุนทั่วโลก แทนที่จะไหลออกมายังประเทศเล็ก ๆ ที่ยากไร้ ขณะนี้กลับตรงข้าม ไหลกลับจากประเทศ EM กลับไปหาประเทศที่พัฒนาแล้ว DM (Developed Market)
นี่คือต้นเหตุที่ทำให้ประเทศ EM ทั้งหลาย กำลังลำบากเดือดร้อนทางเศรษฐกิจแสนสาหัส เพราะอเมริกาเล่นกลทางการเงิน (Financial Tactics) ประเทศผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหลาย (Commodities Country) เช่น บราซิล, อาร์เจนตินา, เอกวาดอร์, เวเนซุเอลา, เม็กซิโก, อินโดนีเซีย, อินเดีย, ไทย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ตุรกี, อียิปต์, ออสเตรเลีย, รัสเซีย ลำบากกันทั้งหมด
ยิ่งมีการทุบราคาน้ำมันโลกให้ไหลลงมามากมาย ยิ่งเป็นการฉุดราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั่วโลก ให้ร่วงลงตามราคาน้ำมัน จึงทำให้ค่าเงินตราของประเทศ EM เหล่านี้อ่อนตัวลงมากมาย เช่น อินเดียรูปี อ่อนจาก 1 ดอลลาร์แลกได้ 40 ลงมาเป็น 63 รูปี, อินโดนีเซียรูเปียห์ จาก 9,000 เป็น 12,000 รูเปียห์, เงินรัสเซียรูเบิล จาก 32 ร่วงมาถึง 65 (เคยร่วงลงไปถึง 85 เลย) เงินออสเตรเลียดอลลาร์ร่วงจาก 98 เซนต์ เหลือ 75 เซนต์ และอีกหลายชาติก็เลยต้องตามน้ำ ยอมปล่อยค่าเงินตราของตนให้อ่อนลงมาด้วย มิฉะนั้นก็ไม่สามารถแข่งขันด้านการส่งออกได้ เช่น เยนญี่ปุ่น อ่อนจาก 78 เยน/ดอลลาร์ เป็น 100 เยน/ดอลลาร์ และจาก 100 เยน/ดอลลาร์ เป็น 121 เยน/ดอลลาร์ ในขณะนี้หยวนจีน ก็อ่อนจาก 6.18 หยวน/ดอลลาร์ เป็น 6.28-6.30 หยวน/ดอลลาร์ แม้แต่สิงคโปร์ก็จำใจต้องปล่อยค่าเงินสิงคโปร์ดอลลาร์ ให้ไหลลงมาจาก 1.25 เป็น 1.38 สิงคโปร์ดอลลาร์ต่อดอลลาร์สหรัฐ แคนาดายังต้องยอมปล่อยเงินแคนาดาดอลลาร์ไหลลงมาจาก 100 เซนต์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ลงมาเหลือแค่ 78 เซนต์ต่อดอลลาร์สหรัฐในขณะนี้
แถมญี่ปุ่น ในยุคนายกฯ ชินโสะ อาเบะ ยังเลียนแบบอเมริกา ออก QE ญี่ปุ่น อัดฉีดเงินมากมายราว 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ไปกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่น จีนก็เอาบ้าง และล่าสุดกลุ่ม EU โดย ECB ก็เอาบ้าง อัดฉีดเงินยูโรมากมาย เดือนละ 60,000 ล้านยูโร รวม 18 เดือน คิดเป็น 1.1 ล้านล้านยูโร ส่งผลทำให้ทั้งเงินเยน เงินหยวน เงินยูโร อ่อนลงฮวบฮาบ เงินยูโรร่วงจาก 1.38 เหลือแค่ 1.05 ดอลลาร์
แล้วไทยจะอยู่นิ่งเฉยต่อไปได้อย่างไร ? ขืนไม่ผ่อนคลายนโยบายการเงินตามน้ำลงมาบ้าง มีหวังเหี่ยวแห้งเฉาตายแน่นอน
แบงก์ชาติไทยควรจะ "ลดค่าเงินบาท" ลงมาอย่างน้อยอีก 1-2 บาท เป็น 34 ถึง 35 บาทต่อดอลลาร์ จึงจะพอแข่งขันและสู้กับคู่แข่งในตลาดโลกได้
อ้อ ! ที่หลายคนหวังว่า เงิน QE ยุโรปจะไหลเข้ามาดันหุ้นไทยขึ้นนั้น คงจะต้องผิดหวังแน่ ! เพราะเงินเหล่านั้นยังวนเวียนซื้อหุ้นบริษัท Export ดี ๆ ของเยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษอยู่ ยังคงไม่ไหลมาไทยในช่วงใกล้ ๆ นี้หรอกครับ
ติดตามข่าวสารผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
แบงก์ชาติควรปล่อยเงินบาทอ่อนลงถึง 34-35 ต่อดอลลาร์
Prev1 of 1Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 17 มี.ค. 2558 เวลา 11:45:38 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
คอลัมน์ ทิศทางเศรษฐกิจ โดย พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ
ก่อนอื่น ผมต้องขอชื่นชมและให้กำลังใจ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของแบงก์ชาติ ที่กล้าตัดสินใจลดดอกเบี้ยไทยลงมา 0.25% เหลือ 1.75% เป็นการส่งสัญญาณที่ถูกต้องแล้ว และเหมาะกับสถานการณ์การเงินโลกขณะนี้ แม้จะผ่อนคลายนโยบายการเงินช้าไปหน่อย แต่ก็ดีกว่าอยู่นิ่ง ๆ แบบ 2 เดือนก่อน ซึ่งทำให้ไทย "ล้าหลังมาก" ในตลาดโลก
สถานการณ์การเงินโลกขณะนี้ เป็นช่วงที่หลายฝ่ายเรียกว่า อยู่ในช่วง "Currency War" หรือสงครามเงินตรา เป็นสงครามที่ประเทศใหญ่น้อย แข่งกันลดค่าเงินตราให้อ่อนที่สุด เท่าที่จะทำได้ การลดดอกเบี้ยลงให้มากที่สุด การอัดฉีดเงินใหม่เข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจภายในของตนเองให้มากที่สุด การผ่อนคลายนโยบายการเงิน และการผ่อนคลายการปล่อยสินเชื่อ
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อ 1)กระตุ้นเศรษฐกิจให้ GDP เติบโตมากขึ้น 2)ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น กระตุ้นประชาชนให้บริโภคมากขึ้น 3)แข่งขันด้านส่งออกและการลงทุนมากขึ้น เพื่อสร้างผลกำไรมากขึ้นให้บริษัทส่งออก
จะเห็นได้ว่าแทบทุกประเทศได้ผ่อนคลายนโยบาย "การเงิน-การคลัง" กันทั้งนั้น ( Easing Money and Fiscal Policy) เพื่อความอยู่รอดและยังเติบโตได้ ภายใต้สถานการณ์ที่สหรัฐอเมริกา มาเอาเปรียบชาติอื่นทั่วโลก ด้วยการปั๊มเงินดอลลาร์ออกมามากมายมหาศาลถึง 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ ในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา หลังวิกฤต Subprime Loan ช่วงเดือนกันยายน 2008 โดยไม่มีทองคำหนุนหลัง
สหรัฐอเมริกา อาศัยความเป็นชาติมหาอำนาจของโลก ปั๊มเงินดอลลาร์ออกมาไม่จำกัด ผลักดันหุ้นดาวโจนส์ขึ้นมาจาก 7,000 จุด ขึ้นไม่หยุดมาถึง 18,000 จุด เอาเงินเทียมของ FED มาจ้างงาน กดอัตราว่างงานลดจาก 8% ลงมาเหลือแค่ 5.5 % โดยที่เงินเฟ้อของตนยังอยู่ในอัตราต่ำได้ เพราะลดดอกเบี้ยดอลลาร์เหลือ 0% ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐโตเดี่ยว 3 ถึง 3.8% ในขณะที่กดดันให้ชาติอื่น ๆ ทั่วโลกเผชิญกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจ เพราะเมื่อค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นมาก ค่าเงินประเทศอื่น ๆ ก็ต้องอ่อนตัวลงไปหมด และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกก็ตกต่ำมากมาย ทำให้รายได้ของประเทศเล็ก ๆ Emerging Market หรือ EM (ตลาดเกิดใหม่) ลดลงมหาศาล โดยต้องขาดดุลการค้า ขาดดุลงบประมาณ เศรษฐกิจตกต่ำ คนว่างงานเพิ่มขึ้นมาก
กระแสการไหลของเงินทุน (Fund Flow) ของกองทุนทั่วโลก แทนที่จะไหลออกมายังประเทศเล็ก ๆ ที่ยากไร้ ขณะนี้กลับตรงข้าม ไหลกลับจากประเทศ EM กลับไปหาประเทศที่พัฒนาแล้ว DM (Developed Market)
นี่คือต้นเหตุที่ทำให้ประเทศ EM ทั้งหลาย กำลังลำบากเดือดร้อนทางเศรษฐกิจแสนสาหัส เพราะอเมริกาเล่นกลทางการเงิน (Financial Tactics) ประเทศผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหลาย (Commodities Country) เช่น บราซิล, อาร์เจนตินา, เอกวาดอร์, เวเนซุเอลา, เม็กซิโก, อินโดนีเซีย, อินเดีย, ไทย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ตุรกี, อียิปต์, ออสเตรเลีย, รัสเซีย ลำบากกันทั้งหมด
ยิ่งมีการทุบราคาน้ำมันโลกให้ไหลลงมามากมาย ยิ่งเป็นการฉุดราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั่วโลก ให้ร่วงลงตามราคาน้ำมัน จึงทำให้ค่าเงินตราของประเทศ EM เหล่านี้อ่อนตัวลงมากมาย เช่น อินเดียรูปี อ่อนจาก 1 ดอลลาร์แลกได้ 40 ลงมาเป็น 63 รูปี, อินโดนีเซียรูเปียห์ จาก 9,000 เป็น 12,000 รูเปียห์, เงินรัสเซียรูเบิล จาก 32 ร่วงมาถึง 65 (เคยร่วงลงไปถึง 85 เลย) เงินออสเตรเลียดอลลาร์ร่วงจาก 98 เซนต์ เหลือ 75 เซนต์ และอีกหลายชาติก็เลยต้องตามน้ำ ยอมปล่อยค่าเงินตราของตนให้อ่อนลงมาด้วย มิฉะนั้นก็ไม่สามารถแข่งขันด้านการส่งออกได้ เช่น เยนญี่ปุ่น อ่อนจาก 78 เยน/ดอลลาร์ เป็น 100 เยน/ดอลลาร์ และจาก 100 เยน/ดอลลาร์ เป็น 121 เยน/ดอลลาร์ ในขณะนี้หยวนจีน ก็อ่อนจาก 6.18 หยวน/ดอลลาร์ เป็น 6.28-6.30 หยวน/ดอลลาร์ แม้แต่สิงคโปร์ก็จำใจต้องปล่อยค่าเงินสิงคโปร์ดอลลาร์ ให้ไหลลงมาจาก 1.25 เป็น 1.38 สิงคโปร์ดอลลาร์ต่อดอลลาร์สหรัฐ แคนาดายังต้องยอมปล่อยเงินแคนาดาดอลลาร์ไหลลงมาจาก 100 เซนต์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ลงมาเหลือแค่ 78 เซนต์ต่อดอลลาร์สหรัฐในขณะนี้
แถมญี่ปุ่น ในยุคนายกฯ ชินโสะ อาเบะ ยังเลียนแบบอเมริกา ออก QE ญี่ปุ่น อัดฉีดเงินมากมายราว 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ ไปกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่น จีนก็เอาบ้าง และล่าสุดกลุ่ม EU โดย ECB ก็เอาบ้าง อัดฉีดเงินยูโรมากมาย เดือนละ 60,000 ล้านยูโร รวม 18 เดือน คิดเป็น 1.1 ล้านล้านยูโร ส่งผลทำให้ทั้งเงินเยน เงินหยวน เงินยูโร อ่อนลงฮวบฮาบ เงินยูโรร่วงจาก 1.38 เหลือแค่ 1.05 ดอลลาร์
แล้วไทยจะอยู่นิ่งเฉยต่อไปได้อย่างไร ? ขืนไม่ผ่อนคลายนโยบายการเงินตามน้ำลงมาบ้าง มีหวังเหี่ยวแห้งเฉาตายแน่นอน
แบงก์ชาติไทยควรจะ "ลดค่าเงินบาท" ลงมาอย่างน้อยอีก 1-2 บาท เป็น 34 ถึง 35 บาทต่อดอลลาร์ จึงจะพอแข่งขันและสู้กับคู่แข่งในตลาดโลกได้
อ้อ ! ที่หลายคนหวังว่า เงิน QE ยุโรปจะไหลเข้ามาดันหุ้นไทยขึ้นนั้น คงจะต้องผิดหวังแน่ ! เพราะเงินเหล่านั้นยังวนเวียนซื้อหุ้นบริษัท Export ดี ๆ ของเยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษอยู่ ยังคงไม่ไหลมาไทยในช่วงใกล้ ๆ นี้หรอกครับ
ติดตามข่าวสารผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat