โดย ไทยรัฐออนไลน์ 17 มี.ค. 2558 11:50
ชาวสมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอมรายหนึ่ง ตั้งกระทู้เตือนภัย หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้กระเป๋าสัมภาระบนช่องเก็บของเหนือศีรษะบนเครื่องบินประจำชาติเนเธอร์แลนด์ ที่เพิ่งร่อนลงจอดสนามบินสุวรรณภูมิ เบื้องต้นสันนิษฐานว่า สาเหตุเกิดจากแบตเตอรี่สำรองที่ผู้โดยสารพกขึ้นเครื่องด้วย
โดยเหตุการณ์ดังกล่าว มาจากผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ได้บันทึกภาพ ขณะเกิดเพลิงไหม้กระเป๋าสัมภาระในช่องเก็บของเหนือศีรษะผู้โดยสารของเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777 สายการบินเคแอลเอ็ม โรยัลดัตช์ แอร์ไลน์ หรือ เคแอลเอ็ม เที่ยวบินเคแอล 875 พร้อมด้วยผู้โดยสารและลูกเรือ 321 คน มุ่งหน้าจากกรุงอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ ไปยังกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ภายหลังจากร่อนลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ไม่นาน ท่ามกลางความตกตะลึงของผู้โดยสาร เคราะห์ดีที่ลูกเรือสามารถควบคุมเพลิงได้ทัน ทำให้ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
เบื้องต้นมีการสันนิษฐานว่า สาเหตุของการเกิดเหตุเพลิงไหม้ในครั้งนี้อาจจะมีที่มาจากแบตเตอรี่ลิเธียมซึ่งผู้โดยสารได้พกขึ้นเครื่องไปด้วย ขณะที่โฆษกของสายการบินประจำชาติเนเธอร์แลนด์ออกแถลงการณ์ระบุ นับจนถึงตอนนี้ยังไม่สามารถฟันธงแน่ชัดได้ว่า การเกิดเพลิงไหม้บนเครื่องในครั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่สำรอง เนื่องจากยังคงอยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ โดยหลังจากนี้เครื่องบินจะถูกนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดและซ่อมแซมก่อนนำกลับไปให้บริการผู้โดยสารอีกครั้ง
ตามปกติสายการบินทั่วโลกจะอนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถพกพาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่มีแบตเตอรี่ลิเธียมอยู่ในตัว เช่น คอมพิวเตอร์พกพา โทรศัพท์มือถือ ขึ้นเครื่องไปด้วยได้ แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วบริษัทโบอิ้งและบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายอื่นๆได้เรียกร้องให้แต่ละสายการบินให้ยกเลิกการอนุญาตให้นำอุปกรณ์เหล่านี้เข้าไปภายในห้องโดยสารเนื่องจากอาจเกิดความเสี่ยงขึ้นได้ส่วนด้านการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ได้ออกมาชี้แจงว่า ยังไม่ทราบสาเหตุเกิดจากแบตเตอรี่สำรองมือถือหรือไม่ แต่ยืนยัน ทุกสายการบินมีมาตรฐานความปลอดภัยในการนำแบตเตอรี่สำรองขึ้นเครื่อง
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งเตือนผู้โดยสาร ถึงกรณีการพกพาแบตเตอรี่สำรอง หรือ Power Bank ขึ้นไปยังเครื่องบิน ดังนี้
1. สามารถนำแบตเตอรี่สำรองที่มีความจุไฟฟ้าน้อยกว่า 20,000 mAh ไปจนถึงความจุไฟฟ้าน้อยกว่า 32,000 mAh สามารถใส่กระเป๋าใบเล็กหิ้วขึ้นเครื่องไปกับตัวได้ไม่เกิน 2 ก้อน
2. ห้ามนำแบตเตอรี่สำรองที่มีความจุไฟฟ้ามากกว่า 32,000 mAh นำใส่กระเป๋าพกติดตัวขึ้นเครื่องบิน แต่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องได้จะต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่เมื่อทำการเช็คอินและเก็บไว้ในกระเป๋าสัมภาระใต้ท้องเครื่องเท่านั้น
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจจะเลือกซื้อแบตเตอรี่สำรอง ทางไทยรัฐขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อแบตเตอรี่สำรองที่ปลอดภัย ดังนี้
1. ตรวจสอบสเปคสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของคุณก่อนว่า ใช้แบตเตอรี่ขนาดความจุกี่มิลลิแอมป์ (mAh)
2. ตรวจสอบความสามารถในการจ่ายกระแสไฟของอะแดปเตอร์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต เพื่อเลือกซื้อ Power Bank ได้อย่างเหมาะสม สมมุติว่า อะแดปเตอร์ของแท็บเล็ตของคุณ สามารถจ่ายกระแสไฟได้ 2.0A ก็ควรเลือกซื้อ Power Bank ที่สามารถจ่ายกระแสไฟได้ 2.0A เท่ากับตัวอะแดปเตอร์ของแท็บเล็ต และถ้าหากคุณเลือกซื้อ Power Bank ที่จ่ายกระแสชาร์จได้เพียง 1.0A ก็จะใช้เวลาชาร์จแบตเตอรี่นานกว่าปกติ ดังนั้น ควรเลือก Power Bank ที่มีอัตราการจ่ายกระแสไฟเทียบเท่ากับตัวอะแดปเตอร์
3. เลือกซื้อ Power Bank ที่มีรายละเอียดข้อมูลจ่ายกระแสไฟ อย่างละเอียดไว้บนตัวผลิตภัณฑ์ และผ่านการรับรองมาตรฐานสากลจาก FC, CE และ RoHs
4. ตรวจดูความจุของ Power Bank หลักการเลือกขนาดความจุที่เหมาะสม คือ ควรเลือกซื้อ Power Bank ที่มีขนาดความจุเกินค่า 2 เท่าของแบตเตอรี่สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตของคุณอยู่เล็กน้อย ส่วนการซื้อ Power Bank ที่ขนาดความจุสูงเกินกว่านี้ แม้ว่าจะชาร์จได้หลายรอบมากกว่า แต่ก็จะตามมาด้วยขนาด Power Bank ที่ใหญ่โตมากกว่า, มีน้ำหนักมากกว่า และมีราคาสูงกว่าด้วยเช่นกัน
5. อย่าใช้สายชาร์จที่ไม่ได้มาตรฐาน แม้ว่าจะซื้อ Power Bank คุณภาพดีมาแล้วก็ตาม แต่กลับใช้สายชาร์จของปลอม หรือของก็อบ รู้หรือไม่ว่า สายชาร์จแบบนี้ เป็นอันตรายต่อการส่งกระแสไฟฟ้า ระหว่าง Power Bank กับอุปกรณ์ได้ ถ้าโชคร้าย ก็อาจทำให้ สมาร์ทโฟนของเรา เสียไปเลยก็มี ฉะนั้นควรจะเลือกสายชาร์จของแท้จากผู้ผลิตจะดีกว่า เพราะจะได้กำลังไฟที่เสถียรกว่า
http://www.thairath.co.th/content/487387
เตือนภัย! ระวังเรื่องการพกแบตเตอรี่สำรองขึ้นเครื่องบิน
ชาวสมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอมรายหนึ่ง ตั้งกระทู้เตือนภัย หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้กระเป๋าสัมภาระบนช่องเก็บของเหนือศีรษะบนเครื่องบินประจำชาติเนเธอร์แลนด์ ที่เพิ่งร่อนลงจอดสนามบินสุวรรณภูมิ เบื้องต้นสันนิษฐานว่า สาเหตุเกิดจากแบตเตอรี่สำรองที่ผู้โดยสารพกขึ้นเครื่องด้วย
โดยเหตุการณ์ดังกล่าว มาจากผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ได้บันทึกภาพ ขณะเกิดเพลิงไหม้กระเป๋าสัมภาระในช่องเก็บของเหนือศีรษะผู้โดยสารของเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777 สายการบินเคแอลเอ็ม โรยัลดัตช์ แอร์ไลน์ หรือ เคแอลเอ็ม เที่ยวบินเคแอล 875 พร้อมด้วยผู้โดยสารและลูกเรือ 321 คน มุ่งหน้าจากกรุงอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ ไปยังกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ภายหลังจากร่อนลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ไม่นาน ท่ามกลางความตกตะลึงของผู้โดยสาร เคราะห์ดีที่ลูกเรือสามารถควบคุมเพลิงได้ทัน ทำให้ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
เบื้องต้นมีการสันนิษฐานว่า สาเหตุของการเกิดเหตุเพลิงไหม้ในครั้งนี้อาจจะมีที่มาจากแบตเตอรี่ลิเธียมซึ่งผู้โดยสารได้พกขึ้นเครื่องไปด้วย ขณะที่โฆษกของสายการบินประจำชาติเนเธอร์แลนด์ออกแถลงการณ์ระบุ นับจนถึงตอนนี้ยังไม่สามารถฟันธงแน่ชัดได้ว่า การเกิดเพลิงไหม้บนเครื่องในครั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่สำรอง เนื่องจากยังคงอยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ โดยหลังจากนี้เครื่องบินจะถูกนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดและซ่อมแซมก่อนนำกลับไปให้บริการผู้โดยสารอีกครั้ง
ตามปกติสายการบินทั่วโลกจะอนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถพกพาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่มีแบตเตอรี่ลิเธียมอยู่ในตัว เช่น คอมพิวเตอร์พกพา โทรศัพท์มือถือ ขึ้นเครื่องไปด้วยได้ แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วบริษัทโบอิ้งและบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายอื่นๆได้เรียกร้องให้แต่ละสายการบินให้ยกเลิกการอนุญาตให้นำอุปกรณ์เหล่านี้เข้าไปภายในห้องโดยสารเนื่องจากอาจเกิดความเสี่ยงขึ้นได้ส่วนด้านการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ได้ออกมาชี้แจงว่า ยังไม่ทราบสาเหตุเกิดจากแบตเตอรี่สำรองมือถือหรือไม่ แต่ยืนยัน ทุกสายการบินมีมาตรฐานความปลอดภัยในการนำแบตเตอรี่สำรองขึ้นเครื่อง
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งเตือนผู้โดยสาร ถึงกรณีการพกพาแบตเตอรี่สำรอง หรือ Power Bank ขึ้นไปยังเครื่องบิน ดังนี้
1. สามารถนำแบตเตอรี่สำรองที่มีความจุไฟฟ้าน้อยกว่า 20,000 mAh ไปจนถึงความจุไฟฟ้าน้อยกว่า 32,000 mAh สามารถใส่กระเป๋าใบเล็กหิ้วขึ้นเครื่องไปกับตัวได้ไม่เกิน 2 ก้อน
2. ห้ามนำแบตเตอรี่สำรองที่มีความจุไฟฟ้ามากกว่า 32,000 mAh นำใส่กระเป๋าพกติดตัวขึ้นเครื่องบิน แต่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องได้จะต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่เมื่อทำการเช็คอินและเก็บไว้ในกระเป๋าสัมภาระใต้ท้องเครื่องเท่านั้น
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจจะเลือกซื้อแบตเตอรี่สำรอง ทางไทยรัฐขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อแบตเตอรี่สำรองที่ปลอดภัย ดังนี้
1. ตรวจสอบสเปคสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของคุณก่อนว่า ใช้แบตเตอรี่ขนาดความจุกี่มิลลิแอมป์ (mAh)
2. ตรวจสอบความสามารถในการจ่ายกระแสไฟของอะแดปเตอร์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต เพื่อเลือกซื้อ Power Bank ได้อย่างเหมาะสม สมมุติว่า อะแดปเตอร์ของแท็บเล็ตของคุณ สามารถจ่ายกระแสไฟได้ 2.0A ก็ควรเลือกซื้อ Power Bank ที่สามารถจ่ายกระแสไฟได้ 2.0A เท่ากับตัวอะแดปเตอร์ของแท็บเล็ต และถ้าหากคุณเลือกซื้อ Power Bank ที่จ่ายกระแสชาร์จได้เพียง 1.0A ก็จะใช้เวลาชาร์จแบตเตอรี่นานกว่าปกติ ดังนั้น ควรเลือก Power Bank ที่มีอัตราการจ่ายกระแสไฟเทียบเท่ากับตัวอะแดปเตอร์
3. เลือกซื้อ Power Bank ที่มีรายละเอียดข้อมูลจ่ายกระแสไฟ อย่างละเอียดไว้บนตัวผลิตภัณฑ์ และผ่านการรับรองมาตรฐานสากลจาก FC, CE และ RoHs
4. ตรวจดูความจุของ Power Bank หลักการเลือกขนาดความจุที่เหมาะสม คือ ควรเลือกซื้อ Power Bank ที่มีขนาดความจุเกินค่า 2 เท่าของแบตเตอรี่สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตของคุณอยู่เล็กน้อย ส่วนการซื้อ Power Bank ที่ขนาดความจุสูงเกินกว่านี้ แม้ว่าจะชาร์จได้หลายรอบมากกว่า แต่ก็จะตามมาด้วยขนาด Power Bank ที่ใหญ่โตมากกว่า, มีน้ำหนักมากกว่า และมีราคาสูงกว่าด้วยเช่นกัน
5. อย่าใช้สายชาร์จที่ไม่ได้มาตรฐาน แม้ว่าจะซื้อ Power Bank คุณภาพดีมาแล้วก็ตาม แต่กลับใช้สายชาร์จของปลอม หรือของก็อบ รู้หรือไม่ว่า สายชาร์จแบบนี้ เป็นอันตรายต่อการส่งกระแสไฟฟ้า ระหว่าง Power Bank กับอุปกรณ์ได้ ถ้าโชคร้าย ก็อาจทำให้ สมาร์ทโฟนของเรา เสียไปเลยก็มี ฉะนั้นควรจะเลือกสายชาร์จของแท้จากผู้ผลิตจะดีกว่า เพราะจะได้กำลังไฟที่เสถียรกว่า
http://www.thairath.co.th/content/487387