อะไรคือนิยามของคำว่า "รูปเคารพ"ในทัศนะของอิสลาม

กระทู้คำถาม
อะไรคือนิยามของคำว่า "รูปเคารพ"ในทัศนะของอิสลาม
1. รูปเหมือนมนุษย์หรือคล้ายมนุษย์ที่อาจมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากมนุษย์อยู่บ้างใช่หรือไม่
2. รูปบิดามารดาเป็นรูปเคารพที่มุสลิมห้ามเคารพหรือไม่
3. สิ่งที่เป็นวัตถุรูปร่างหรือสัญญลักษณ์ที่คิดว่าเป็นสิ่งศักดืสิทธิ์แล้วก้อนหินกาบาร์ในเมกกะจัดเป็นรูปเคารพหรือไม่
4. พระพุทธรุปหากเป็นเพียงสัญญลักษณ์ให้นึกถึงธรรมะคำสั่งสอนอันเป็นสัจจธรรมโดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิมีฤทธิปาฎิหาริย์จัดว่าเป็นรุปเคารพหรือไม่
5. เจดีย์หรือธรรมจักรสัญญลักษณ์ในพระพุทธศาสนาที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงสัจจธรรมจัดเป็นรูปเคารพหรือไม่

ขออภัยที่คำถามอาจระคายเคืองใจใครบ้าง แต่ต้องการคำตอบเพื่อการทำความเข้าใจร่วมกันในเรื่องศาสนาว่าแต่ละคนมีมุมมองต่อศาสนาอื่นอย่างไรบ้างก็เท่านั้น
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ขอบคุณจ่ะที่ช่วยตอบข้อข้องใจในเรื่องนี้ ก็พอสรุปได้ดังนี้
1. อิสลามปฎิเสธการเคารพวัตถุที่เป็นตัวแทนเทพเจ้า  ถ้าอย่างนั้นก็มิใช่รูปเคารพในพระพุทธศาสนาเพราะพระพุทธเจ้ามิใช่พระเจ้าหรือเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งแต่เป็นตัวอย่างของการใช้สติปัญญาแก้ปัญหามนุษย์ด้วยตัวมนุษย์เองหรือจะเรียกว่าเป็น ครุของมนุษย์  แต่เอาเหอะไม่ไหว้ก้ไม่ว่าอะไรกัน อย่าถึงขั้นคิดว่าคนที่ไหว้รุปเคารพเป็นคนชั่วก็พอ  หลักธรรมของศาสนาไหนที่สอนดีก็เอามาใช้ ไอ้ของที่ปลอมมาไม่ได้ความก็ทิ้งไป
2. อิสลามบางส่วนยังเห็นแย้งอยุ่ในเรื่องความศักดืสิทธิของหินดำถึงว่าสิว่าทำไมจึงมีการทำลายวิหารอยุ่หลายครั้ง
3. ในทัศนะของฉัน  ฉันเห็นว่าที่พระนบีสอนไม่ให้กราบไหว้รูปเคารพนั้นในฐานะเป็นของศักดิ์สิทธิเป็นเพราะของเหล่านั้นมันไม่มีฤทธิที่รักษาตัวเอง โยนลงน้ำก็จมโยนลงไฟก็ไหม้จึงไม่ควรแก่การเคารพ  หินดำก็ทำนองเดียวกันนั้นแหละ   แต่ถ้าหากเคารพในฐานะที่เป็นสื่อระลึกถือคำสั่งสอนของพระศาสดาโดยนัยยะนี้ฉันว่าไม่ผิด  อย่างที่ท่านพุทธทาสสอนว่า เวลากราบพระพุทธอย่าไปติดเนื้อทองเหลืองแต่ให้ระลึกถึงคำสอนของพระองค์
4. แต่เรื่องห้ามเคารพแม้แต่บิดามารดาฉันว่าหนักไป  ไม่แน่ใจว่าพระนบีตรัสจริงหรือเปล่า  ในทัศนะของพระพุทธศาสนา บิดามารดาเป็นเสมือนพระพรหมหรือพระเจ้าของบุตรธิดา ปลายเท้าพ่อแม่คือประตูสู่สวรรค์ คุณคิดว่าจริงหรือไม่
5. โดยส่วนตัวฉันเห็นว่า พระนบีก็คือธรรมราชา พระเยซูเจ้าเป็นนักบุญผู้การุญ ผู้มองเห็นหลักธรรมที่ไร้รูปร่างให้จับต้องแต่เป็นของที่มีอยู่ตามธรรมชาติและสถิตย์อยู่กับจิตสำนึกดีชั่วในตัวมนุษย์  หรือพูดอีกอย่าง หลักธรรมของพระนบีและพระเยซุบัญญัติขึ้นจากการตระหนักรู้ถึงจิตสำนึกดีชั่วในตัวมนุษย์ ส่วนที่มาของหลักธรรมท่านคิดว่ามาจากพระเจ้า  ต่อมาเมื่อคำสอนถูกพัฒนาเป็นศาสนาก็มีการขยายความกันมากขึ้นจนไม่แน่ใจว่า เป็นคำที่ศาสดาตรัสจริงหรือเปล่าเพราะคนที่ได้ยินไม่มีใครอยู่ถึงตอนนี้  ฉันว่าเจ้าบรรดาคำสอนที่พิพากษาในคนศาสนาอื่นเป็นคนชั่วนี้น่าจะมีเสริมแต่งขึ้นในภายหลังเป็นอุบายวิธีในการรวมกลุ่มให้เป็นหนึ่งเดียวของพวกบรรดานักปกครองที่กระหายอำนาจ ปรารถนาที่จะเหบียยยำศพพวกคนอื่นและพวกเดียวกันต่างบันไดไต่ขึ้นสู่บัลลังค์แห่งอำนาจก็เท่านั้น   ดังนั้นฉันขอเสนอแนะหลักพิจารณาว่าคำสอนใดเป็นของแท้หรือไม่ดังนี้
1. ต้องสอนให้ละชั่ว  ตัวความชั่วทุกคนรู้ดีว่าเป็นแบบไหนไม่ต้องอ้างคัมภีร์ใดๆ
2. มองเห็นเพื่อนมนุษย์เสมอภาคกัน  วัดความเป็นมนุษย์จากดีชั่วที่กระทำไม่ใช่วัดจากศาสนาที่นับถือ
3. หลักธรรมของศาสนามีไว้เพื่อความสุขของมวลมนุษย์ มิใช่เพื่อการเฆ่นฆ่าทำลายล้างหรือดูหมิ่น
4.  ศาสนาเป็นเพียงเสื้อผ้าต่างสีที่ใครชอบแบบไหนก็ใส่แบบนั้น ไม่มีใครดีใครเด่นใครด้อยกว่าใคร แต่ขอให้มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ก็พอ
5.  มีขันติและเมตตาเป็นเลือดเนื้อและกระดูก อดทนต่อการดูหมื่นของคนอื่น อดทนต่อการหักห้ามใจไม่ให้กระทำความชั่ว มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่นประดุจเขาเหล่านั้นเป็นญาติมิตรของตน
6.  เลิกนินทาว่าร้ายเสียดสีกัน ไอ้พวกนิทานที่สอนให้เกลียดกันให้มันหมดๆไปชั่วรุ่นของเรานี้แหละอย่าไปถ่ายทอดวิชาสร้างความเกลียดชังพวกนี้ต่อไปอีก(นิทานทำนองสอนให้ดูหมื่นกันนี้คงไม่ต้องบอกน่ะว่าเป็นอะไร ผมเองเกิดที่ยะลา เป็นคนพหุวัฒนธรรมมีทั้งเชื้อจีนเชื้อไทยเชื้อแขกปนอยู่ในคนเดียวกันเหมือนกับคนทั่วไปแถวนั้น แม้จะมาโตที่อื่นแต่ก็ยังพอจำความอะไรได้อยู่ ไอ้เรื่องพวกนั้นเอาไว้พูดกันเวลาคันปากอยากนินทาตามธรรมดาคนขี้เหม็นเหมือนกัน  แต่ก็ยังมีบรรยากาศแห่งความเป็นพี่น้องอยู่  แต่ไม่รู้มันหายไปไหนหมดแล้วหรือว่าจริงๆแล้วยังมีอยู่  เพียงแต่โดนกระแสข่าวร้าย ๆมันกลบไป  พอดีไม่ได้กลับบ้านนานหลายปีแล้วได้แต่ฟังข่าวอย่างเดียว ยังนึกถึงรอยยิ้มของโต็ะครูอยุ่อย่างราง ๆ  ถึงหน้าจะเข้มไปหน่อยก็เหอะน่า  )
  เอาล่ะพอแค่นี้ก่อนเดี่ยวยาวไปจบไม่ลง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่