รถไฟฟ้าBTS สถานีตลิ่งชัน บูมอสังหาฝั่งธน ชุมทางเชื่อม3สี แดง-ส้ม-น้ำเงิน รื้อผังเมืองพัฒนาเชิงพาณิชย์
กทม.ทุ่ม 1.3 หมื่นล้าน ขีดรถไฟฟ้าบีทีเอสไปฝั่งธนฯ จาก "บางหว้า-ตลิ่งชัน" ระยะทาง 7-8 กม. เตรียมรื้อผังเมือง จากพื้นที่รับน้ำ บูมพาณิช-ที่อยู่อาศัย รองรับ "สถานีตลิ่งชัน" ชุมทางรถไฟฟ้า 3 สาย "บีทีเอส-สีแดง-สีส้ม" ชง ครม.บรรจุแผนแม่บทหลังผลศึกษา ก.ย.นี้
เชื่อมรถไฟฟ้า 4 สาย
จะช่วยบรรเทาการจราจรฝั่งธนบุรี และเปิดพื้นที่ใหม่ ๆ เนื่องจากเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สายทาง ได้แก่ สายสีเขียว ช่วงถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถึงบางหว้า, สายสีน้ำเงิน ช่วงท่าพระถึงบางแค, สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อถึงตลิ่งชัน และสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชันถึงดินแดง
เสนอ 3 เส้นทาง
บริษัทที่ปรึกษาเสนอ 3 เส้นทาง โดยแนวเส้นทางที่ 1 ระยะทาง 7-8 ก.ม. มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก สถานีกระโจมทอง สถานีบางพรม สถานีอินทราวาส สถานีบรมราชชนนี สิ้นสุดที่สถานีตลิ่งชัน
เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อบริเวณบางหว้า ไปตามแนวถนนราชพฤกษ์ จะสร้างบนเกาะกลางกว้าง 3-3.5 เมตร ผ่านแยกตัดบางแวก ตรงซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 ทางแยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 จากนั้นจะยกระดับข้ามทางแยกตัดถนนบรมราชชนนี และยกระดับข้ามทางด่วนศรีรัช-วงแหวนตะวันตกที่กำลังสร้างตามแนวรถไฟสายใต้ สิ้นสุดที่ทางลาดลงของสะพานข้ามรถไฟสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และรถไฟสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี)
แนวเส้นทางที่ 2 ระยะทาง 10 กิโลเมตร มี 8 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก สถานีกระโจมทอง สถานีบางพรม สถานีพุทธมณฑลสาย 1 สถานีโพธิสาร สถานีบรมราชชนนี สถานีตลิ่งชัน สิ้นสุดที่สถานีฉิมพลี
เริ่มต้นจุดเดียวกับแนวที่ 1 คือใช้เกาะกลางตามแนวถนนราชพฤกษ์ แต่เลี้ยวซ้ายที่ทางแยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 เลี้ยวขวาเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 1 สิ้นสุดที่ปลายถนนสวนผัก บรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) ที่สถานีศาลาธรรมสพน์
แนวเส้นทางที่ 3 เหมือนแนวที่ 1 ยกเว้นปลายทางหลังจากทางยกระดับบรมราชชนนี จะเบี่ยงเส้นทางเข้าสู่สถานีตลิ่งชัน ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟสายสีแดงอ่อนมากที่สุด จากนั้นจะเบี่ยงผ่านพื้นที่เอกชนกลับมายังถนนราชพฤกษ์อีกครั้ง ระยะทาง 7-8 ก.ม. มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก สถานีกระโจมทอง สถานีบางพรม สถานีอินทราวาส สถานีบรม ราชชนนี และสิ้นสุดสถานีตลิ่งชัน
เคาะแนวสร้างบน ถ.ราชพฤกษ์
แนวที่ 1 กับ 3 เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นทางตัดตรง ระยะทางสั้น เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ที่สถานีตลิ่งชัน, สายสีน้ำเงิน (ท่าพระ-บางแค) และสาย สีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี
เปิดใช้ปี 64
จะไม่มีการเวนคืนที่ดินเพราะสร้างบนเกาะกลางถนนเดิม อาจมีเวนคืนเล็กน้อยช่วงปลายทางแนวที่ 3 จำนวน 30 ไร่ ที่ต้องตัดผ่านที่ดินเอกชน เพื่อเชื่อมกับสถานีตลิ่งชันของสายสีแดง คาดเริ่มก่อสร้างปี'61 แล้วเสร็จเปิดใช้ปี'64"
"สถานีตลิ่งชันจะกลายเป็นชุมทางรถไฟฟ้า 3 สาย คือ บีทีเอส สีแดง สีส้ม เตรียมปรับผังเมืองใหม่ ตลิ่งชันเป็นพื้นที่สีเขียวลายขาว หรือพื้นที่รับน้ำ เน้นเกษตรกรรม จะปรับใหม่ เช่น พื้นที่พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งผังเมือง กทม.จะหมดอายุปี'62 คาดจะพอดีกับที่รถไฟฟ้าเปิดใช้บริการ"
ประชาชาติออนไลน์
เจ้าของกระทู้ ขอออกความเห็น>>>ไม่เข้าใจทำไมประเทศชาติไทย สร้างรถไฟฟ้าไม่เชื่อมต่อระบบการขนส่งเหมือนต่างชาติ (เช่น ไปเยอรมันลงใต้ดิน ขึ้นรถบัสไปเที่ยวได้ต่อข้ามไป สาธารณรัฐเชค)ไปสร้างทำไมบนเส้นราชพฤกษ์ ทั้งที่สร้างบนแนวที่ 2 (บนถนนพุทธมณฑลสาย 1) เชื่อมต่อระบบการคมนาคมได้(ขนส่งสายใต้) ทำไมมองไม่เห็นประโยชน์ส่วนนี้กัน ??? ไม่กล่าวถึงเลย?? น่าจะเป็นเรื่องสำคัญด้วยซ้ำ??
เหตุใดรถไฟฟ้าไทยไม่เชื่อมต่อขนส่งสายใต้>>รถไฟฟ้าBTS สถานีตลิ่งชัน บูมอสังหาฝั่งธน ชุมทางเชื่อม3สี แดง-ส้ม-น้ำเงิน
กทม.ทุ่ม 1.3 หมื่นล้าน ขีดรถไฟฟ้าบีทีเอสไปฝั่งธนฯ จาก "บางหว้า-ตลิ่งชัน" ระยะทาง 7-8 กม. เตรียมรื้อผังเมือง จากพื้นที่รับน้ำ บูมพาณิช-ที่อยู่อาศัย รองรับ "สถานีตลิ่งชัน" ชุมทางรถไฟฟ้า 3 สาย "บีทีเอส-สีแดง-สีส้ม" ชง ครม.บรรจุแผนแม่บทหลังผลศึกษา ก.ย.นี้
เชื่อมรถไฟฟ้า 4 สาย
จะช่วยบรรเทาการจราจรฝั่งธนบุรี และเปิดพื้นที่ใหม่ ๆ เนื่องจากเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สายทาง ได้แก่ สายสีเขียว ช่วงถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถึงบางหว้า, สายสีน้ำเงิน ช่วงท่าพระถึงบางแค, สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อถึงตลิ่งชัน และสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชันถึงดินแดง
เสนอ 3 เส้นทาง
บริษัทที่ปรึกษาเสนอ 3 เส้นทาง โดยแนวเส้นทางที่ 1 ระยะทาง 7-8 ก.ม. มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก สถานีกระโจมทอง สถานีบางพรม สถานีอินทราวาส สถานีบรมราชชนนี สิ้นสุดที่สถานีตลิ่งชัน
เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อบริเวณบางหว้า ไปตามแนวถนนราชพฤกษ์ จะสร้างบนเกาะกลางกว้าง 3-3.5 เมตร ผ่านแยกตัดบางแวก ตรงซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 ทางแยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 จากนั้นจะยกระดับข้ามทางแยกตัดถนนบรมราชชนนี และยกระดับข้ามทางด่วนศรีรัช-วงแหวนตะวันตกที่กำลังสร้างตามแนวรถไฟสายใต้ สิ้นสุดที่ทางลาดลงของสะพานข้ามรถไฟสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และรถไฟสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี)
แนวเส้นทางที่ 2 ระยะทาง 10 กิโลเมตร มี 8 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก สถานีกระโจมทอง สถานีบางพรม สถานีพุทธมณฑลสาย 1 สถานีโพธิสาร สถานีบรมราชชนนี สถานีตลิ่งชัน สิ้นสุดที่สถานีฉิมพลี
เริ่มต้นจุดเดียวกับแนวที่ 1 คือใช้เกาะกลางตามแนวถนนราชพฤกษ์ แต่เลี้ยวซ้ายที่ทางแยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 เลี้ยวขวาเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 1 สิ้นสุดที่ปลายถนนสวนผัก บรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) ที่สถานีศาลาธรรมสพน์
แนวเส้นทางที่ 3 เหมือนแนวที่ 1 ยกเว้นปลายทางหลังจากทางยกระดับบรมราชชนนี จะเบี่ยงเส้นทางเข้าสู่สถานีตลิ่งชัน ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟสายสีแดงอ่อนมากที่สุด จากนั้นจะเบี่ยงผ่านพื้นที่เอกชนกลับมายังถนนราชพฤกษ์อีกครั้ง ระยะทาง 7-8 ก.ม. มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก สถานีกระโจมทอง สถานีบางพรม สถานีอินทราวาส สถานีบรม ราชชนนี และสิ้นสุดสถานีตลิ่งชัน
เคาะแนวสร้างบน ถ.ราชพฤกษ์
แนวที่ 1 กับ 3 เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นทางตัดตรง ระยะทางสั้น เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ที่สถานีตลิ่งชัน, สายสีน้ำเงิน (ท่าพระ-บางแค) และสาย สีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี
เปิดใช้ปี 64
จะไม่มีการเวนคืนที่ดินเพราะสร้างบนเกาะกลางถนนเดิม อาจมีเวนคืนเล็กน้อยช่วงปลายทางแนวที่ 3 จำนวน 30 ไร่ ที่ต้องตัดผ่านที่ดินเอกชน เพื่อเชื่อมกับสถานีตลิ่งชันของสายสีแดง คาดเริ่มก่อสร้างปี'61 แล้วเสร็จเปิดใช้ปี'64"
"สถานีตลิ่งชันจะกลายเป็นชุมทางรถไฟฟ้า 3 สาย คือ บีทีเอส สีแดง สีส้ม เตรียมปรับผังเมืองใหม่ ตลิ่งชันเป็นพื้นที่สีเขียวลายขาว หรือพื้นที่รับน้ำ เน้นเกษตรกรรม จะปรับใหม่ เช่น พื้นที่พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งผังเมือง กทม.จะหมดอายุปี'62 คาดจะพอดีกับที่รถไฟฟ้าเปิดใช้บริการ"
ประชาชาติออนไลน์
เจ้าของกระทู้ ขอออกความเห็น>>>ไม่เข้าใจทำไมประเทศชาติไทย สร้างรถไฟฟ้าไม่เชื่อมต่อระบบการขนส่งเหมือนต่างชาติ (เช่น ไปเยอรมันลงใต้ดิน ขึ้นรถบัสไปเที่ยวได้ต่อข้ามไป สาธารณรัฐเชค)ไปสร้างทำไมบนเส้นราชพฤกษ์ ทั้งที่สร้างบนแนวที่ 2 (บนถนนพุทธมณฑลสาย 1) เชื่อมต่อระบบการคมนาคมได้(ขนส่งสายใต้) ทำไมมองไม่เห็นประโยชน์ส่วนนี้กัน ??? ไม่กล่าวถึงเลย?? น่าจะเป็นเรื่องสำคัญด้วยซ้ำ??