ตามหัวข้อเลยครับ...
ช่วงหน้าหนาวต่อเนื่องปี 2014-2015 ที่บ้านผมต่างจังหวัด อุณหภูมิพื้นผิวช่วงเช้าและค่ำนั้นเรียกได้ว่า หนาว ถึงหนาวมาก
ด้วยความที่เครื่องทำน้ำอุ่นตัวเก่าเสีย เลยถอยตัวใหม่มา ก็ได้มาเจอกับเจ้าตัวนี้
(ขอขอบคุณภาพจาก www.soonthorngas.com)
ตัวเก่าใช้ Rinnai ก็ผ่านร้อนผ่านหนาวกันมาได้สิบกว่าปี ทนมากๆ
จริงๆเครื่องทำน้ำอุ่นแบบใช้ไฟฟ้ามันก็มีความปลอดภัยอยู่แล้วนะ ถ้าต่อสายกราวด์ดีๆหน่อย
ค่าไฟก็ไม่ได้ถือว่าหนักหนาสาหัสมาก แต่เผอิญบ้านผมมันไม่ใช่อย่างนั้นนี่สิ T_T
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เวรกรรมพาดวงไปตกกับผู้รับเหมานรก (ซึ่งเป็นอาเขยแท้ๆ) ซะงั้นน่ะ!
ดราม่าจึงบังเกิด อย่างที่รู้ๆกันว่าราคาวัสดุ ค่าแรง ถ้าเจอผู้รับเหมานรก มันก็จะบานปลาย
จ่ายแพงแต่ได้ของดีนี่จะไม่ว่ากันเลย แต่นี่ได้ของห่วยๆมาใช้ แถมต้องซ่อมตรงนู้นตรงนี้ทั้งปีอีกต่างหาก
ก็เลยเกิดความไม่มั่นใจเกิดขึ้น จึงได้ Go On Continue ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นแบบแก๊สต่อดีกว่า
(ยังดีที่ห้องน้ำยังติดพัดลมระบายอากาศ เลยไม่ต้องกังวลเรื่องคนในบ้านจะน๊อคเพราะแก๊ส)
ดังนั้นเครื่องทำน้ำอุ่นตัวใหม่ก็ยังไว้ใจใช้ Rinnai อยู่ แต่เดี๋ยวก่อน!!!
ปัญหาที่แทบทุกคนที่ซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นรุ่นนี้เจอก็คือ "น้ำ(โคตร)ร้อนมากกกกกกก"
แล้วจะแก้ปัญหายังไงดีล่ะ? แต่ละคนในบ้านก็ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน
ก็เลยต้องทนอาบไปทั้งๆที่น้ำร้อนๆยังงั้นแหละ (ผมนี่คิดเลย อะไรที่ต้องทนนี่มันใช่เหรอว๊ะ?)
ค้นหาทางแก้ไขหลายๆเวปก็แล้ว ก็เจอตรงประเด็นบ้าง ไม่เข้าประเด็นบ้าง
ส่งอีเมลไปหาผู้ผลิตก็แล้ว จนป่านนี้ก็ยังไม่เห็นตอบกลับ
สลับซับซ้อนเกินไปบ้าง ต้องทุบ ต้องต่อท่อใหม่บ้าง ซึ่งดูแล้วมันคงยุ่งยากพอสมควร
และแล้ววันหนึ่ง ผมก็เจอหนทาง...
ขอบคุณภาพจาก baan9chang.com
(เนื้อหาในโพสไม่เกี่ยวข้องกับเวปไซต์ในภาพแต่ประการใด)
นี่แหละครับ พระเอกขี่ม้าขาวที่เข้ามาช่วยทำให้คนในบ้านผมอาบน้ำได้อย่างสบายกายสบายใจมากขึ้น!!!
จริงๆก๊อกของ Hafele เห็นพนักงานในร้านบอกว่ามันเอาไว้ใช้กับชักโครกนะครับ มันเอาไว้ปล่อยน้ำเข้าชักโครกกับสายชำระ (ไม่รู้จริงมั้ย)
ผมนี่จัดเลย เหตุเพราะต้องการเอามาดัดแปลงใช้กับเครื่องทำน้ำอุ่น (รูปลักษณ์มันสวยกว่าตัวอื่นๆ)
ราคาก็สามร้อยกว่าบาท หาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไป
จริงๆก๊อกสามทาง (Stop Valve) แบบที่ราคาถูกกว่านี้ก็มีนะครับ
แต่เผอิญ จขกท. ดัดจริตอยากได้สวยๆดูไฮโซๆขึ้นมานิดนึง ก็เลยเลือกตัวนี้มา
แล้วทีนี้จะติดตั้งยังไงหละ
Keyword ของเรื่องนี้ คือการติดตั้งก๊อกผสมน้ำร้อนน้ำเย็นขึ้นมานั่นเองครับ
แต่จะทำยังไงหละ ในเมื่อห้องน้ำบ้านเราไม่ได้ออกแบบมาสำหรับก๊อกผสมตั้งแต่แรก
มันก็มีวิธีอยู่นะครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบทางเดินน้ำของแต่ละบ้าน
มาดูที่ห้องน้ำของบ้าน จขกท. ละกันว่าจะแก้ปัญหายังไง
ก่อนอื่น เรามาดู Anatomy (ใช้ศัพท์เวอร์ไปป่ะ?) ของตัวเครื่องทำน้ำอุ่นก่อน ว่าการไหลเวียนของของเหลวมันเข้ามันออกยังไง
ตามรูปเลยนะครับ
จริงๆมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากอะไรเลย (หลังจากติดตั้งทุกอย่างเสร็จแล้ว) แต่ก่อนหน้านั้นสิ
จขกท. คิดนั่นนู่นนี่เยอะแยะยุ่งยากไปหมด (เพราะรับข้อมูลมาเยอะเกิน ไม่รู้จะเลือกเอาตัวไหนมา Apply)
ทีนี้มาดูสถานที่ถ่ายทำจริงกันบ้าง
เริ่มต้นจากตัวเครื่องที่ติดตั้งที่ห้องน้ำบ้าน จขกท. ก่อนเลย
ปล. ห้องน้ำบ้าน จขกท. แต่เดิมทำก๊อกน้ำไว้ 2 ก๊อกนะครับ ดังนั้นจึงมีทั้งก๊อกปล่อยน้ำเข้าเครื่องทำน้ำอุ่น
และอีกตัวเป็นก๊อกน้ำธรรมดาๆออกฝักบัวอีกอัน
ดูจากรูปก็พอจะนึกออกใช่มั้ยครับว่าต้องต่ออะไรยังไง ก็ตามรูปเลยครับ
ต่อสายจากก๊อกน้ำของบ้าน (Outlet Hose) เข้าทางท่อน้ำเข้าของเครื่อง (Inlet Water)
แล้วต่อสายจากท่อน้ำออกของเครื่อง (Outlet Water) ไปยังฝักบัว
ส่วนท่อทางเข้าแก๊สของเครื่อง (Gas Inlet) ก็เอาสายแก๊สต่อตรงจากถังแก๊สได้เลยครับ
อ้อ! อย่าลืมนะ ถังแก๊สอย่าลืมใช่หัวปรับแรงดันด้วยนะจ้ะ
ทีนี้มาดูอีกฝั่งดีกว่า ตรงจุดที่เอาไว้ใช้เป็นก๊อกผสมน้ำนะครับ
จากรูป ผมใช้ Stop Valve สีแดง น้ำเงิน ไว้เพื่อให้ง่ายสำหรับคนในบ้านว่า ก๊อกไหนน้ำร้อน ก๊อกไหนน้ำเย็น
ตามรูปเลยครับ เราจะใช้ Stop Valve สามทางของ Hafele เป็นตัวผสมน้ำร้อนน้ำเย็น
ซึ่งเอาเข้าจริงหน้าที่ของมันก็แค่เป็นตัวปล่อยน้ำให้เบาหรือแรงเท่านั้นเอง เพราะตัวที่ทำหน้าที่ผสมน้ำจริงๆ
มันคือ Stop Valve สีแดง กับสีน้ำเงินนั่นเอง
อยากได้ร้อนมาก ก็เปิดวาล์วแดงเยอะ และถ้าอยากได้น้ำไม่ร้อนมากก็เปิดน้ำเย็นให้เต็ม Max
แล้วเปิดวาล์วน้ำร้อนระดับกลางๆ (แต่อย่าเปิดเบามาก เพราะแรงดันของน้ำมันจะทำให้แก๊สของเครื่องรุ่นนี้ดับ ผมก็ไม่รู้ว่าทำไมมันถึงดับ)
ทุกวันนี้ทุกครั้งที่ผมใช้ ผมก็ยังงมๆกับมันอยู่ มันก็ยังเป็นระบบผสมที่ยังไม่สมบูรณ์แบบเท่าห้องน้ำที่ออกแบบมาให้ใช้ก๊อกผสมโดยเฉพาะ
จากภาพตัดขวาง (อั้ยย่ะ ศัพท์หรูอีกแระ) มาดูอีกรูปครับ
ก็ตามนั้นครับ อย่างที่บอก Hafele สุดท้ายหน้าที่มันก็คือก๊อกผสม(เทียม) ที่เอาไว้ใช้ในการปล่อยน้ำที่ผสมแล้วให้แรงรึเบาแค่นั้นเอง
เมื่อติดตั้งตัดต่อแต่งเติมทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว สภาพก็อย่างที่เห็น
อาจจะดูงงๆ รุงรังๆเหมือนงูพันกันนิซนึงนะครับ แต่ถ้าใครยังมองหาวิธีทำก๊อกผสมสำหรับเครื่องทำน้ำอุ่นแบบแก๊สแนวๆนี้อยู่
ผมว่าวิธีนี้ก็ไม่เลวเหมือนกันนะ ซื้อแค่ Stop Valve มาสามสี่ตัว ก็สามารถปรับอุณหภูมิได้ละ
ผมขอจบการรีวิวเพียงเท่านี้ หวังว่าจะท่านที่กำลังมองหาวิธีทำก๊อกผสม จะสามารถเอาไปต่อยอดพัฒนาให้เกิดวิวัฒนาการใหม่ๆได้ต่อไป
สวัสดีครับ
เครื่องทำน้ำอุ่นใช้แก๊ส Rinnai ใครใช้ ก็ว่าร้อน (เกิน)
ช่วงหน้าหนาวต่อเนื่องปี 2014-2015 ที่บ้านผมต่างจังหวัด อุณหภูมิพื้นผิวช่วงเช้าและค่ำนั้นเรียกได้ว่า หนาว ถึงหนาวมาก
ด้วยความที่เครื่องทำน้ำอุ่นตัวเก่าเสีย เลยถอยตัวใหม่มา ก็ได้มาเจอกับเจ้าตัวนี้
(ขอขอบคุณภาพจาก www.soonthorngas.com)
ตัวเก่าใช้ Rinnai ก็ผ่านร้อนผ่านหนาวกันมาได้สิบกว่าปี ทนมากๆ
จริงๆเครื่องทำน้ำอุ่นแบบใช้ไฟฟ้ามันก็มีความปลอดภัยอยู่แล้วนะ ถ้าต่อสายกราวด์ดีๆหน่อย
ค่าไฟก็ไม่ได้ถือว่าหนักหนาสาหัสมาก แต่เผอิญบ้านผมมันไม่ใช่อย่างนั้นนี่สิ T_T
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เวรกรรมพาดวงไปตกกับผู้รับเหมานรก (ซึ่งเป็นอาเขยแท้ๆ) ซะงั้นน่ะ!
ดราม่าจึงบังเกิด อย่างที่รู้ๆกันว่าราคาวัสดุ ค่าแรง ถ้าเจอผู้รับเหมานรก มันก็จะบานปลาย
จ่ายแพงแต่ได้ของดีนี่จะไม่ว่ากันเลย แต่นี่ได้ของห่วยๆมาใช้ แถมต้องซ่อมตรงนู้นตรงนี้ทั้งปีอีกต่างหาก
ก็เลยเกิดความไม่มั่นใจเกิดขึ้น จึงได้ Go On Continue ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นแบบแก๊สต่อดีกว่า
(ยังดีที่ห้องน้ำยังติดพัดลมระบายอากาศ เลยไม่ต้องกังวลเรื่องคนในบ้านจะน๊อคเพราะแก๊ส)
ดังนั้นเครื่องทำน้ำอุ่นตัวใหม่ก็ยังไว้ใจใช้ Rinnai อยู่ แต่เดี๋ยวก่อน!!!
ปัญหาที่แทบทุกคนที่ซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นรุ่นนี้เจอก็คือ "น้ำ(โคตร)ร้อนมากกกกกกก"
แล้วจะแก้ปัญหายังไงดีล่ะ? แต่ละคนในบ้านก็ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน
ก็เลยต้องทนอาบไปทั้งๆที่น้ำร้อนๆยังงั้นแหละ (ผมนี่คิดเลย อะไรที่ต้องทนนี่มันใช่เหรอว๊ะ?)
ค้นหาทางแก้ไขหลายๆเวปก็แล้ว ก็เจอตรงประเด็นบ้าง ไม่เข้าประเด็นบ้าง
ส่งอีเมลไปหาผู้ผลิตก็แล้ว จนป่านนี้ก็ยังไม่เห็นตอบกลับ
สลับซับซ้อนเกินไปบ้าง ต้องทุบ ต้องต่อท่อใหม่บ้าง ซึ่งดูแล้วมันคงยุ่งยากพอสมควร
และแล้ววันหนึ่ง ผมก็เจอหนทาง...
ขอบคุณภาพจาก baan9chang.com
(เนื้อหาในโพสไม่เกี่ยวข้องกับเวปไซต์ในภาพแต่ประการใด)
นี่แหละครับ พระเอกขี่ม้าขาวที่เข้ามาช่วยทำให้คนในบ้านผมอาบน้ำได้อย่างสบายกายสบายใจมากขึ้น!!!
จริงๆก๊อกของ Hafele เห็นพนักงานในร้านบอกว่ามันเอาไว้ใช้กับชักโครกนะครับ มันเอาไว้ปล่อยน้ำเข้าชักโครกกับสายชำระ (ไม่รู้จริงมั้ย)
ผมนี่จัดเลย เหตุเพราะต้องการเอามาดัดแปลงใช้กับเครื่องทำน้ำอุ่น (รูปลักษณ์มันสวยกว่าตัวอื่นๆ)
ราคาก็สามร้อยกว่าบาท หาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไป
จริงๆก๊อกสามทาง (Stop Valve) แบบที่ราคาถูกกว่านี้ก็มีนะครับ
แต่เผอิญ จขกท. ดัดจริตอยากได้สวยๆดูไฮโซๆขึ้นมานิดนึง ก็เลยเลือกตัวนี้มา
แล้วทีนี้จะติดตั้งยังไงหละ
Keyword ของเรื่องนี้ คือการติดตั้งก๊อกผสมน้ำร้อนน้ำเย็นขึ้นมานั่นเองครับ
แต่จะทำยังไงหละ ในเมื่อห้องน้ำบ้านเราไม่ได้ออกแบบมาสำหรับก๊อกผสมตั้งแต่แรก
มันก็มีวิธีอยู่นะครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบทางเดินน้ำของแต่ละบ้าน
มาดูที่ห้องน้ำของบ้าน จขกท. ละกันว่าจะแก้ปัญหายังไง
ก่อนอื่น เรามาดู Anatomy (ใช้ศัพท์เวอร์ไปป่ะ?) ของตัวเครื่องทำน้ำอุ่นก่อน ว่าการไหลเวียนของของเหลวมันเข้ามันออกยังไง
ตามรูปเลยนะครับ
จริงๆมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากอะไรเลย (หลังจากติดตั้งทุกอย่างเสร็จแล้ว) แต่ก่อนหน้านั้นสิ
จขกท. คิดนั่นนู่นนี่เยอะแยะยุ่งยากไปหมด (เพราะรับข้อมูลมาเยอะเกิน ไม่รู้จะเลือกเอาตัวไหนมา Apply)
ทีนี้มาดูสถานที่ถ่ายทำจริงกันบ้าง
เริ่มต้นจากตัวเครื่องที่ติดตั้งที่ห้องน้ำบ้าน จขกท. ก่อนเลย
ปล. ห้องน้ำบ้าน จขกท. แต่เดิมทำก๊อกน้ำไว้ 2 ก๊อกนะครับ ดังนั้นจึงมีทั้งก๊อกปล่อยน้ำเข้าเครื่องทำน้ำอุ่น
และอีกตัวเป็นก๊อกน้ำธรรมดาๆออกฝักบัวอีกอัน
ดูจากรูปก็พอจะนึกออกใช่มั้ยครับว่าต้องต่ออะไรยังไง ก็ตามรูปเลยครับ
ต่อสายจากก๊อกน้ำของบ้าน (Outlet Hose) เข้าทางท่อน้ำเข้าของเครื่อง (Inlet Water)
แล้วต่อสายจากท่อน้ำออกของเครื่อง (Outlet Water) ไปยังฝักบัว
ส่วนท่อทางเข้าแก๊สของเครื่อง (Gas Inlet) ก็เอาสายแก๊สต่อตรงจากถังแก๊สได้เลยครับ
อ้อ! อย่าลืมนะ ถังแก๊สอย่าลืมใช่หัวปรับแรงดันด้วยนะจ้ะ
ทีนี้มาดูอีกฝั่งดีกว่า ตรงจุดที่เอาไว้ใช้เป็นก๊อกผสมน้ำนะครับ
จากรูป ผมใช้ Stop Valve สีแดง น้ำเงิน ไว้เพื่อให้ง่ายสำหรับคนในบ้านว่า ก๊อกไหนน้ำร้อน ก๊อกไหนน้ำเย็น
ตามรูปเลยครับ เราจะใช้ Stop Valve สามทางของ Hafele เป็นตัวผสมน้ำร้อนน้ำเย็น
ซึ่งเอาเข้าจริงหน้าที่ของมันก็แค่เป็นตัวปล่อยน้ำให้เบาหรือแรงเท่านั้นเอง เพราะตัวที่ทำหน้าที่ผสมน้ำจริงๆ
มันคือ Stop Valve สีแดง กับสีน้ำเงินนั่นเอง
อยากได้ร้อนมาก ก็เปิดวาล์วแดงเยอะ และถ้าอยากได้น้ำไม่ร้อนมากก็เปิดน้ำเย็นให้เต็ม Max
แล้วเปิดวาล์วน้ำร้อนระดับกลางๆ (แต่อย่าเปิดเบามาก เพราะแรงดันของน้ำมันจะทำให้แก๊สของเครื่องรุ่นนี้ดับ ผมก็ไม่รู้ว่าทำไมมันถึงดับ)
ทุกวันนี้ทุกครั้งที่ผมใช้ ผมก็ยังงมๆกับมันอยู่ มันก็ยังเป็นระบบผสมที่ยังไม่สมบูรณ์แบบเท่าห้องน้ำที่ออกแบบมาให้ใช้ก๊อกผสมโดยเฉพาะ
จากภาพตัดขวาง (อั้ยย่ะ ศัพท์หรูอีกแระ) มาดูอีกรูปครับ
ก็ตามนั้นครับ อย่างที่บอก Hafele สุดท้ายหน้าที่มันก็คือก๊อกผสม(เทียม) ที่เอาไว้ใช้ในการปล่อยน้ำที่ผสมแล้วให้แรงรึเบาแค่นั้นเอง
เมื่อติดตั้งตัดต่อแต่งเติมทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว สภาพก็อย่างที่เห็น
อาจจะดูงงๆ รุงรังๆเหมือนงูพันกันนิซนึงนะครับ แต่ถ้าใครยังมองหาวิธีทำก๊อกผสมสำหรับเครื่องทำน้ำอุ่นแบบแก๊สแนวๆนี้อยู่
ผมว่าวิธีนี้ก็ไม่เลวเหมือนกันนะ ซื้อแค่ Stop Valve มาสามสี่ตัว ก็สามารถปรับอุณหภูมิได้ละ
ผมขอจบการรีวิวเพียงเท่านี้ หวังว่าจะท่านที่กำลังมองหาวิธีทำก๊อกผสม จะสามารถเอาไปต่อยอดพัฒนาให้เกิดวิวัฒนาการใหม่ๆได้ต่อไป
สวัสดีครับ