ตอนอื่นๆ
ตอนที่ 1: Next Stop...Turkey
ตอนที่ 2: พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ณ Istanbul
ตอนที่ 3: Pamukkale ปรากฏการณ์ขาวเนียนวิ้งๆ
ตอนที่ 4: Ephesus เมืองโบราณของเหล่าทาสแมว
ตอนที่ 5: Cappadocia ขาวและหนาวมาก
ตอนที่ 6: สองคนหนึ่งคัน Road Trip มันส์ๆใน Cappadocia
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆได้ที่
https://www.facebook.com/janestoriesblog
ตุรกี ดินแดนที่สองทวีปมาบรรจบกัน เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีต ลึกลับ น่าค้นหา สิ่งก่อสร้างตระการตาจากน้ำมือมนุษย์นับย้อนได้เป็นพันปี รวมไปถึงวิวทิวทัศน์งดงามจากพลังธรรมชาติ เรียกได้ว่ามีครบทุกรสชาติเลยจริงๆ
รีวิวนี้ บอกได้เลยว่าละเอียดมากกกก ข้อมูลแน่นปึ๊ก ชนิดอ่านให้สลบกันไปข้างหนึ่ง เป็นรีวิวที่ฉันตั้งใจทำจริงๆ
1) ตั๋วเครื่องบิน...จุดเริ่มต้นของทริปนี้
จริงๆแล้ว เพิ่งจะเคยมาได้ยินชื่อประเทศนี้ตอนจบเข้าทำงาน ซึ่งก็คือ 2 ปีที่ผ่านมา หลักๆก็มาจากพี่และเพื่อนที่ทำงาน เห็นรูปแว๊บๆตาม facebook ของแต่ละคนบ้าง แต่ตอนนั้น ว่าก็ว่าเถอะ ด้วยงบ ด้วยประสบการณ์อันน้อยนิด ได้ออกไปเที่ยวในประเทศใกล้ๆก็พอใจแล้ว ยังจำได้ว่า ทริปต่างประเทศด้วยตัวเองทริปแรก ยังเถียงกับคุณสำลี (เพื่อนร่วมทริปขาประจำ) อยู่เลยว่า ฮ่องกง หรือ สิงคโปร์ดี (สรุปว่าไปฮ่องกงทริปแรก ส่วนสิงคโปร์ก็มาอยู่มันซะเลย หมั่นไส้ 555)
สำหรับตุรกี มาสนใจจริงๆจังตอนที่ได้ผ่านทริปฮ่องกงมาแล้ว รู้ว่าสนุก ตื่นเต้น ประทับใจขนาดไหน ประกอบกับมีพี่ที่ทำงานที่ค่อนข้างสนิทไปพอดี แล้วเห็นบอลลูน ชะงักเลย อ๊ากกก ร่ำร้องกับคุณสำลีว่าอยากไป แล้วถล่มส่งรูปไปให้นางดู เลยวางแผนกันไว้ว่า ยี่สิบปลายๆเจอกันแน่นอน
จากที่แพลนไว้ว่า ปีนี้อยากจะไปญี่ปุ่น เพราะคุณสำลีไม่เคยไป ประกอบกับพอเปลี่ยนกฎว่าไม่ต้องขอ VISA คนไทยเลยแห่ไปกันเกือบทั้งประเทศ ดูง่ายมากถ้าจะไปเอง ข้อมูลมีอยู่ตรึม หนังสือ คนให้ถาม มีเยอะมาก แต่แล้ว โชคชะตาฟ้าลิขิตให้ Qatar Airways ออกโปรตั๋วเครื่องบินจากไทย - ตุรกี พอดี (ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าจากเท่าไหร่ แต่รู้ว่ามันลดก็ตื่นเต้นแล้ว) ลองไปเช็คไฟลท์จากสิงคโปร์ไปตุรกี ก็มีเวลาตรงกันแบบเป๊ะๆ คือมาถึงที่ Doha ซึ่งเป็นสถานที่เปลี่ยนเครื่องพร้อมกันแบบพอดิบพอดี นั่งมองหน้ากัน (ในสไกป์) แล้วก็กดจองมันเลย เนื่องจากจองล่วงหน้า 6 เดือน เลยได้ราคามาแบบสวยๆ ไทย - ตุรกี 23,000 บาท (ตั๋วลด) สิงคโปร์ - ตุรกี 22,000 ่บาท (เงิบนิดนึง ตั๋วไม่ลดดันถูกกว่า แถมบินไปไกลกว่าอีก เพื่อนบอกมาว่าเพราะสิงคโปร์เป็น hub ของ Qatar Airways)
*สำหรับคนไทย ไปตุรกีไม่ต้องขอ VISA ค่ะ
ปรากฎว่าไปเช็คกับราคาดูภายหลัง พบว่าได้ตั๋วมาในราคาที่ถูกแล้ว (ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะช่วงที่ไปมัน Low Season) อิอิอิอิ ในรีวิวต่างๆ ตั๋วลดจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 - 28,000 บาท ส่วนราคาเฉลี่ยตั๋วเครื่องบินของแต่ละสายการบินก็ราคาแพงโขอยู่
Source: หนังสือ "ได้เวลาเที่ยวตุรกี"
อีกเรื่องหนึ่งที่ควรรู้คือ Istanbul มี 2 สนามบิน (คล้ายๆกับของเราที่มีสุวรรณภูมิกับดอนเมือง) นั่นก็คือ 1) Istanbul Ataturk Airport ซึ่งจะอยู่ฝั่งยุโรป (ทางซ้ายมือ) จะคล้ายสนามบินสุวรรณภูมิบ้านเราที่จะเน้นไปทางไฟลท์ต่างประเทศมากกว่า และ 2) Sabiha Gokcen International Airport อยู่ฝั่งเอเชีย (ทางขวามือ) คล้ายสนามบินดอนเมืองที่เน้นไฟลท์ภายในประเทศ ประกอบกับเนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ฝั่งยุโรป ราวๆในเขตวงกลม ดังนั้นพยายามหาไฟลท์ที่มาลงที่ Ataturk จะดีกว่า ของพวกเราขากลับกลับ Sabiha เนื่องจากเวลาลงตัวที่สุด
สายการบินที่เป็น full-service แบบนี้ จะมีน้ำหนักกระเป๋าให้ และสามารถเลือกที่นั่งได้ฟรี อย่าลืมเข้าไปเลือกที่นั่งล่วงหน้าในเว็บไซต์ของสายการบิน หากใครมีข้อจำกัดในด้านอาหารเช่นแพ้อาหารประเภทไหน หรือกินมังสวิรัต ก็สามารถเข้าไปเลือกได้ แนะนำว่าถ้าบินระยะทางไกลๆ ใช้เวลาหลายๆชั่วโมง ควรจะนั่งข้างทางเดินจะได้ลุกไปเข้าห้องน้ำได้สะดวก ฉันลองทั้ง 2 แบบ ขาไปนั่งข้างทางเดิน ขากลับนั่งข้างหน้าต่าง จะบอกว่าวิวข้างหน้าต่างมันแป๊บเดียวจริงๆไม่ต้องเสียดาย หลังจากนั้นปวดห้องน้ำทีแทบจะกายกรรมออกไปเข้าห้องน้ำ ให้อั้นก็ไม่ไหวเพราะเจ็บคอสุดชีวิตเลยต้องดื่มน้ำเยอะ ชีวิตรันทดยิ่งนัก
2) สภาพอากาศ...ดูสักนิดก่อนคลิ๊กจอง
เนื่องจากวันหยุดราชการที่สิงคโปร์มีน้อยมากถึงมากที่สุด (ปีละ 9 วัน) แล้วช่วงเดือนกุมภาพันธ์จะมี Chinese New Year ที่เป็นวันหยุดแบบ 2 วันติด เลยตัดสินในว่าไปมันช่วงนี้ล่ะ ลืมคิดถึงสภาพอากาศไปอย่างสินเชิง กะว่าอากาศกำลังสบายๆเหมือนตอนไปฮ่องกงแน่ๆ วันรุ่งขึ้นถึงเริ่มหาข้อมูลสภาพอากาศถึงกับช็อคไปแป๊บนึง ตามที่โชว์ในตารางข้างล่างเลยค่ะ เป็นอุณหภูมิระหว่างปี 2011 - 2012 เอามาแต่เมืองที่กำลังจะไป อุณหภูมิต่ำสุดที่กำลังจะเผชิญแบบไม่รวมลมอะไรทั้งสิ้น -7 องศาเซลเซียส ใครก็ได้บอกฉันทีว่ามันไม่จริง หนาวสุดที่เคยเผชิญมาประมาณ 4 องศาบนดอยอินทนนท์ แค่นั้นก็แทบตายแล้ว ยังจำความรู้สึกตอนที่อยู่บน The Peak ที่ฮ่องกงได้ ตอนนั้นประมาณ 10-15 องศามั้ง ประมาณว่า โคตรหนาว ไม่ไหวแล้ว
มาดูฟ้าฝนกันบ้าง กราฟข้างล่างแสดงจำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยในแต่ละเดือน (เฉพาะแค่ของ Istanbul) กุมภาพันธ์ก็อยู่ในกลุ่มนำโด่ง ฝนตกเยอะสุดกับเค้าเหมือนกัน 12 วันใน 28 วัน จะเยอะไปหน๋ายยยย
ยัง ยังไม่หมดแค่นั้น กลางวันยังสั้นนัก พอดูเปรียบเทียบกับเดือนอื่นๆแบบนี้แทบร้องไห้
ดังนั้นเค้าถึงเรียกฤดูหนาวของที่นี่ว่า Low Season แต่ถ้าคิดในแง่ดี ไปเดือนนี้คนก็จะน้อย ไม่ต้องแย่งกันกินแย่งกันใช้มากนักกับจ่ายค่าโรงแรมค่อนข้างถูก (ไม่รู้จริงป่าว แต่ถ้าเทียบกับโรงแรมในสิงคโปร์นี่ถูกจริง กร๊าก) แถมการันตีว่าได้เจอหิมะแน่ๆ
สำหรับว่าจะเที่ยวช่วงไหนดี คงต้องถามว่าจะไปที่ไหนบ้าง เพราะตุรกีนั้นกว้างใหญ่ไพศาลมาก สภาพอากาศหลากหลาย ตั้งแต่เมืองชายทะเลไปจนถึงเมืองหุบเขา ถ้าไปเมืองชายทะเลก็คงต้องหน้าร้อน (กลางมิถุนา - กันยา) แต่สำหรับเมืองหลักๆอย่าง Istanbul และเมืองที่อยู่ในตอนกลางบริเวณ Cappadocia High Season จะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (เมษา - กลางมิถุนา) และฤดูใบไม้ร่วง (กลางกันยา - ตุลา) เพื่อนๆอย่าลืมพิจารณาปัจจัยนี้กันให้ดี
3) แผนการท่องเที่ยว...is the must
ตุรกีเป็นประเทศที่กว้างมาก สถานที่ท่องเที่ยวแต่ละที่ก็ไม่ได้อยู่ชิดติดกันเสมอไป (นอกจากอยากจะไปเที่ยวชมแค่ Istanbul) ปกติแล้วคนไทยส่วนใหญ่มักจะไปกับทัวร์เพราะการเดินทางจากเมืองหนึ่งสู่อีกเมือง หรือสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งสู่อีกที่ ไม่ได้สะดวกง่ายดายนัก ต้องนั่ง Overnight bus หรือขึ้นเครื่องบิน แต่สิ่งที่ฉันชอบที่สุดในการท่องเที่ยวคือความรู้สึกเหมือนได้ผจญภัย งงเมื่อหลง ดีใจเมื่อหาเจอ ตื่นเต้นและท้าทายเมื่อได้เจอสิ่งใหม่ๆ บางทีอยากใช้เวลาถ่ายรูปตรงนี้นิด ตรงนั้นนานหน่อย ดังนั้นการไปเองหรือที่เรียกว่า backpack จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ฉันเน้นย้ำทุกการทำรีวิว (โดยเฉพาะรีวิวแบบละเอียดเช่นนี้) คือการวางแผนการท่องเที่ยว สำคัญมากกกกกกกกกกกสำหรับการไปเที่ยวด้วยตัวเอง คิดดูว่ามีเวลาแค่ 12 วัน จะไปชิวๆค่อยๆนึกไม่ได้ถ้าอยากจะไปเห็นสถานที่สำคัญๆเยอะๆและประหยัดเงินให้มากที่สุด ควรจะต้องทำการบ้านไปอย่างดี แถมบางทีฟ้าฝนไม่เป็นใจ เราก็สามารถคิดหาที่เที่ยวที่อยู่ในร่มได้ทันที
ตอนที่พี่ที่เคยไปตุรกีมาแล้วรู้ว่าฉันจะไป backpack เอง พี่เค้าถามทันที่ว่า "พวกแกจะไปกันยังไง มันใหญ่นะ" ตอนนั้นฉันมีความคิดว่าก็ไม่เห็นยาก ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเล ฉันยังไปเองมาแล้ว มาค้นพบทีหลังว่า ตุรกีนี่คนละเรื่องเลยนะ ระดับ advance พอสมควร เรียกได้ว่ากระโดดข้ามขั้นไปเยอะมาก จากปกติใช้เวลาทำแผนทุกวันหลังเลิกงาน จะเสร็จภายใน 1 อาทิตย์ อันนี้ 1 เดือน! นั่งค้นข้อมูลเพื่อทำแผน จองโรงแรม จองตั๋วเครื่องบิน(ภายในประเทศ) มันส์มาก (คิดแว๊บนึงเลยว่าอยากทำบริษัททัวร์) สำหรับคนที่หลงไปจองตั๋วเครื่องบินไปแล้วอย่าเพิ่งตกใจ การทำแผนมันไม่ได้ยากขนาดนั้น เรามาดูการทำแบบ step by step กัน
Step 1 ทำความรู้จักประเทศตุรกีและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
ขั้นตอนนี้ง่ายมาก แค่ Google ว่า Turkey top destinations ก็จะมากันตรึมจนโพรเซสแทบไม่ไหว ถ้าดูจากแผนที่ จะเห็นว่าสถานที่ท่องเที่ยวนั้นเยอะจริงๆ เส้นทางที่การท่องเที่ยวตุรกีแนะนำจะเป็นลักษณะวงกลมแบ่งเป็น 3 เส้นทาง สำหรับคนที่ไปครั้งแรกแนะนำเส้นทางแรก Western/Central Turkey Tour ซึ่งจะเป็นเส้นทางของเมืองที่ครอบคลุมสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็น Highlight หลัก เช่น Istanbul, Cappadocia(เป็นชื่อภูมิภาค ใน Cappadocia จะแบ่งเป็นอีกหลายเมือง), Konya, Denizli, Izmir เป็นต้น
Step 2 เลือกเมืองที่อยากไปและจัดสรรเวลาต่อเมืองให้เรียบร้อย
หลังจากอ่านรีวิว ดูรูป ของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆแล้ว ก็ได้เวลาตัดสินใจเลือกที่และเมืองที่เราอยากไป รวมทั้งพล็อตจุดในแผนที่ให้เรียบร้อย
รูปข้างล่างคือ final selection ของทริปนี้ที่ผ่านการคัดกรอง เลือกสรรมาเป็นอย่างดีแล้ว (เว่อร์มาก) สรุปว่าจะไปทั้งหมด 5 เมืองหลักๆด้วยกัน แรกๆเพื่อนๆอาจจะงงกับชื่อเมืองนิดหน่อย เพราะแหล่งข้อมูลบางที่ก็ใช้เป็นชื่อภูมิภาค เช่น Cappadocia หรือชื่อจังหวัด (ในที่นี้ฉันจะเรียกว่าเมืองแทนเพราะรื่นหูกว่า) เช่น Istanbul บางทีก็จะเป็นชื่อเมืองที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆ เช่น Goreme, Selcuk
ณ จุดนี้ ควรจะมี list ของเมืองพร้อมสถานที่ที่อยากไปในเมืองนั้นๆให้พร้อม ดังนั้นสิ่งที่เราจะรู้ตามมาด้วยคือเวลาคร่าวๆที่ควรใช้อยู่ในเมืองนั้นๆ เช่น Istanbul 3-4 วัน, Nevsehir(Goreme) 2 วัน, Denilizi(Pamukkale) 1 วัน
[CR] [มหากาพย์รีวิวทุกซอกลืบ] Turkey ทริปนี้ที่ฝันไว้ ตอนที่ 0: เตรียมตัวท่องแดนไกล
ตอนอื่นๆ
ตอนที่ 1: Next Stop...Turkey
ตอนที่ 2: พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ณ Istanbul
ตอนที่ 3: Pamukkale ปรากฏการณ์ขาวเนียนวิ้งๆ
ตอนที่ 4: Ephesus เมืองโบราณของเหล่าทาสแมว
ตอนที่ 5: Cappadocia ขาวและหนาวมาก
ตอนที่ 6: สองคนหนึ่งคัน Road Trip มันส์ๆใน Cappadocia
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆได้ที่ https://www.facebook.com/janestoriesblog
ตุรกี ดินแดนที่สองทวีปมาบรรจบกัน เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีต ลึกลับ น่าค้นหา สิ่งก่อสร้างตระการตาจากน้ำมือมนุษย์นับย้อนได้เป็นพันปี รวมไปถึงวิวทิวทัศน์งดงามจากพลังธรรมชาติ เรียกได้ว่ามีครบทุกรสชาติเลยจริงๆ
รีวิวนี้ บอกได้เลยว่าละเอียดมากกกก ข้อมูลแน่นปึ๊ก ชนิดอ่านให้สลบกันไปข้างหนึ่ง เป็นรีวิวที่ฉันตั้งใจทำจริงๆ
1) ตั๋วเครื่องบิน...จุดเริ่มต้นของทริปนี้
จริงๆแล้ว เพิ่งจะเคยมาได้ยินชื่อประเทศนี้ตอนจบเข้าทำงาน ซึ่งก็คือ 2 ปีที่ผ่านมา หลักๆก็มาจากพี่และเพื่อนที่ทำงาน เห็นรูปแว๊บๆตาม facebook ของแต่ละคนบ้าง แต่ตอนนั้น ว่าก็ว่าเถอะ ด้วยงบ ด้วยประสบการณ์อันน้อยนิด ได้ออกไปเที่ยวในประเทศใกล้ๆก็พอใจแล้ว ยังจำได้ว่า ทริปต่างประเทศด้วยตัวเองทริปแรก ยังเถียงกับคุณสำลี (เพื่อนร่วมทริปขาประจำ) อยู่เลยว่า ฮ่องกง หรือ สิงคโปร์ดี (สรุปว่าไปฮ่องกงทริปแรก ส่วนสิงคโปร์ก็มาอยู่มันซะเลย หมั่นไส้ 555)
สำหรับตุรกี มาสนใจจริงๆจังตอนที่ได้ผ่านทริปฮ่องกงมาแล้ว รู้ว่าสนุก ตื่นเต้น ประทับใจขนาดไหน ประกอบกับมีพี่ที่ทำงานที่ค่อนข้างสนิทไปพอดี แล้วเห็นบอลลูน ชะงักเลย อ๊ากกก ร่ำร้องกับคุณสำลีว่าอยากไป แล้วถล่มส่งรูปไปให้นางดู เลยวางแผนกันไว้ว่า ยี่สิบปลายๆเจอกันแน่นอน
จากที่แพลนไว้ว่า ปีนี้อยากจะไปญี่ปุ่น เพราะคุณสำลีไม่เคยไป ประกอบกับพอเปลี่ยนกฎว่าไม่ต้องขอ VISA คนไทยเลยแห่ไปกันเกือบทั้งประเทศ ดูง่ายมากถ้าจะไปเอง ข้อมูลมีอยู่ตรึม หนังสือ คนให้ถาม มีเยอะมาก แต่แล้ว โชคชะตาฟ้าลิขิตให้ Qatar Airways ออกโปรตั๋วเครื่องบินจากไทย - ตุรกี พอดี (ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าจากเท่าไหร่ แต่รู้ว่ามันลดก็ตื่นเต้นแล้ว) ลองไปเช็คไฟลท์จากสิงคโปร์ไปตุรกี ก็มีเวลาตรงกันแบบเป๊ะๆ คือมาถึงที่ Doha ซึ่งเป็นสถานที่เปลี่ยนเครื่องพร้อมกันแบบพอดิบพอดี นั่งมองหน้ากัน (ในสไกป์) แล้วก็กดจองมันเลย เนื่องจากจองล่วงหน้า 6 เดือน เลยได้ราคามาแบบสวยๆ ไทย - ตุรกี 23,000 บาท (ตั๋วลด) สิงคโปร์ - ตุรกี 22,000 ่บาท (เงิบนิดนึง ตั๋วไม่ลดดันถูกกว่า แถมบินไปไกลกว่าอีก เพื่อนบอกมาว่าเพราะสิงคโปร์เป็น hub ของ Qatar Airways)
*สำหรับคนไทย ไปตุรกีไม่ต้องขอ VISA ค่ะ
ปรากฎว่าไปเช็คกับราคาดูภายหลัง พบว่าได้ตั๋วมาในราคาที่ถูกแล้ว (ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะช่วงที่ไปมัน Low Season) อิอิอิอิ ในรีวิวต่างๆ ตั๋วลดจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 - 28,000 บาท ส่วนราคาเฉลี่ยตั๋วเครื่องบินของแต่ละสายการบินก็ราคาแพงโขอยู่
อีกเรื่องหนึ่งที่ควรรู้คือ Istanbul มี 2 สนามบิน (คล้ายๆกับของเราที่มีสุวรรณภูมิกับดอนเมือง) นั่นก็คือ 1) Istanbul Ataturk Airport ซึ่งจะอยู่ฝั่งยุโรป (ทางซ้ายมือ) จะคล้ายสนามบินสุวรรณภูมิบ้านเราที่จะเน้นไปทางไฟลท์ต่างประเทศมากกว่า และ 2) Sabiha Gokcen International Airport อยู่ฝั่งเอเชีย (ทางขวามือ) คล้ายสนามบินดอนเมืองที่เน้นไฟลท์ภายในประเทศ ประกอบกับเนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ฝั่งยุโรป ราวๆในเขตวงกลม ดังนั้นพยายามหาไฟลท์ที่มาลงที่ Ataturk จะดีกว่า ของพวกเราขากลับกลับ Sabiha เนื่องจากเวลาลงตัวที่สุด
สายการบินที่เป็น full-service แบบนี้ จะมีน้ำหนักกระเป๋าให้ และสามารถเลือกที่นั่งได้ฟรี อย่าลืมเข้าไปเลือกที่นั่งล่วงหน้าในเว็บไซต์ของสายการบิน หากใครมีข้อจำกัดในด้านอาหารเช่นแพ้อาหารประเภทไหน หรือกินมังสวิรัต ก็สามารถเข้าไปเลือกได้ แนะนำว่าถ้าบินระยะทางไกลๆ ใช้เวลาหลายๆชั่วโมง ควรจะนั่งข้างทางเดินจะได้ลุกไปเข้าห้องน้ำได้สะดวก ฉันลองทั้ง 2 แบบ ขาไปนั่งข้างทางเดิน ขากลับนั่งข้างหน้าต่าง จะบอกว่าวิวข้างหน้าต่างมันแป๊บเดียวจริงๆไม่ต้องเสียดาย หลังจากนั้นปวดห้องน้ำทีแทบจะกายกรรมออกไปเข้าห้องน้ำ ให้อั้นก็ไม่ไหวเพราะเจ็บคอสุดชีวิตเลยต้องดื่มน้ำเยอะ ชีวิตรันทดยิ่งนัก
2) สภาพอากาศ...ดูสักนิดก่อนคลิ๊กจอง
เนื่องจากวันหยุดราชการที่สิงคโปร์มีน้อยมากถึงมากที่สุด (ปีละ 9 วัน) แล้วช่วงเดือนกุมภาพันธ์จะมี Chinese New Year ที่เป็นวันหยุดแบบ 2 วันติด เลยตัดสินในว่าไปมันช่วงนี้ล่ะ ลืมคิดถึงสภาพอากาศไปอย่างสินเชิง กะว่าอากาศกำลังสบายๆเหมือนตอนไปฮ่องกงแน่ๆ วันรุ่งขึ้นถึงเริ่มหาข้อมูลสภาพอากาศถึงกับช็อคไปแป๊บนึง ตามที่โชว์ในตารางข้างล่างเลยค่ะ เป็นอุณหภูมิระหว่างปี 2011 - 2012 เอามาแต่เมืองที่กำลังจะไป อุณหภูมิต่ำสุดที่กำลังจะเผชิญแบบไม่รวมลมอะไรทั้งสิ้น -7 องศาเซลเซียส ใครก็ได้บอกฉันทีว่ามันไม่จริง หนาวสุดที่เคยเผชิญมาประมาณ 4 องศาบนดอยอินทนนท์ แค่นั้นก็แทบตายแล้ว ยังจำความรู้สึกตอนที่อยู่บน The Peak ที่ฮ่องกงได้ ตอนนั้นประมาณ 10-15 องศามั้ง ประมาณว่า โคตรหนาว ไม่ไหวแล้ว
มาดูฟ้าฝนกันบ้าง กราฟข้างล่างแสดงจำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยในแต่ละเดือน (เฉพาะแค่ของ Istanbul) กุมภาพันธ์ก็อยู่ในกลุ่มนำโด่ง ฝนตกเยอะสุดกับเค้าเหมือนกัน 12 วันใน 28 วัน จะเยอะไปหน๋ายยยย
ยัง ยังไม่หมดแค่นั้น กลางวันยังสั้นนัก พอดูเปรียบเทียบกับเดือนอื่นๆแบบนี้แทบร้องไห้
ดังนั้นเค้าถึงเรียกฤดูหนาวของที่นี่ว่า Low Season แต่ถ้าคิดในแง่ดี ไปเดือนนี้คนก็จะน้อย ไม่ต้องแย่งกันกินแย่งกันใช้มากนักกับจ่ายค่าโรงแรมค่อนข้างถูก (ไม่รู้จริงป่าว แต่ถ้าเทียบกับโรงแรมในสิงคโปร์นี่ถูกจริง กร๊าก) แถมการันตีว่าได้เจอหิมะแน่ๆ
สำหรับว่าจะเที่ยวช่วงไหนดี คงต้องถามว่าจะไปที่ไหนบ้าง เพราะตุรกีนั้นกว้างใหญ่ไพศาลมาก สภาพอากาศหลากหลาย ตั้งแต่เมืองชายทะเลไปจนถึงเมืองหุบเขา ถ้าไปเมืองชายทะเลก็คงต้องหน้าร้อน (กลางมิถุนา - กันยา) แต่สำหรับเมืองหลักๆอย่าง Istanbul และเมืองที่อยู่ในตอนกลางบริเวณ Cappadocia High Season จะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (เมษา - กลางมิถุนา) และฤดูใบไม้ร่วง (กลางกันยา - ตุลา) เพื่อนๆอย่าลืมพิจารณาปัจจัยนี้กันให้ดี
3) แผนการท่องเที่ยว...is the must
ตุรกีเป็นประเทศที่กว้างมาก สถานที่ท่องเที่ยวแต่ละที่ก็ไม่ได้อยู่ชิดติดกันเสมอไป (นอกจากอยากจะไปเที่ยวชมแค่ Istanbul) ปกติแล้วคนไทยส่วนใหญ่มักจะไปกับทัวร์เพราะการเดินทางจากเมืองหนึ่งสู่อีกเมือง หรือสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งสู่อีกที่ ไม่ได้สะดวกง่ายดายนัก ต้องนั่ง Overnight bus หรือขึ้นเครื่องบิน แต่สิ่งที่ฉันชอบที่สุดในการท่องเที่ยวคือความรู้สึกเหมือนได้ผจญภัย งงเมื่อหลง ดีใจเมื่อหาเจอ ตื่นเต้นและท้าทายเมื่อได้เจอสิ่งใหม่ๆ บางทีอยากใช้เวลาถ่ายรูปตรงนี้นิด ตรงนั้นนานหน่อย ดังนั้นการไปเองหรือที่เรียกว่า backpack จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ฉันเน้นย้ำทุกการทำรีวิว (โดยเฉพาะรีวิวแบบละเอียดเช่นนี้) คือการวางแผนการท่องเที่ยว สำคัญมากกกกกกกกกกกสำหรับการไปเที่ยวด้วยตัวเอง คิดดูว่ามีเวลาแค่ 12 วัน จะไปชิวๆค่อยๆนึกไม่ได้ถ้าอยากจะไปเห็นสถานที่สำคัญๆเยอะๆและประหยัดเงินให้มากที่สุด ควรจะต้องทำการบ้านไปอย่างดี แถมบางทีฟ้าฝนไม่เป็นใจ เราก็สามารถคิดหาที่เที่ยวที่อยู่ในร่มได้ทันที
ตอนที่พี่ที่เคยไปตุรกีมาแล้วรู้ว่าฉันจะไป backpack เอง พี่เค้าถามทันที่ว่า "พวกแกจะไปกันยังไง มันใหญ่นะ" ตอนนั้นฉันมีความคิดว่าก็ไม่เห็นยาก ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเล ฉันยังไปเองมาแล้ว มาค้นพบทีหลังว่า ตุรกีนี่คนละเรื่องเลยนะ ระดับ advance พอสมควร เรียกได้ว่ากระโดดข้ามขั้นไปเยอะมาก จากปกติใช้เวลาทำแผนทุกวันหลังเลิกงาน จะเสร็จภายใน 1 อาทิตย์ อันนี้ 1 เดือน! นั่งค้นข้อมูลเพื่อทำแผน จองโรงแรม จองตั๋วเครื่องบิน(ภายในประเทศ) มันส์มาก (คิดแว๊บนึงเลยว่าอยากทำบริษัททัวร์) สำหรับคนที่หลงไปจองตั๋วเครื่องบินไปแล้วอย่าเพิ่งตกใจ การทำแผนมันไม่ได้ยากขนาดนั้น เรามาดูการทำแบบ step by step กัน
Step 1 ทำความรู้จักประเทศตุรกีและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
ขั้นตอนนี้ง่ายมาก แค่ Google ว่า Turkey top destinations ก็จะมากันตรึมจนโพรเซสแทบไม่ไหว ถ้าดูจากแผนที่ จะเห็นว่าสถานที่ท่องเที่ยวนั้นเยอะจริงๆ เส้นทางที่การท่องเที่ยวตุรกีแนะนำจะเป็นลักษณะวงกลมแบ่งเป็น 3 เส้นทาง สำหรับคนที่ไปครั้งแรกแนะนำเส้นทางแรก Western/Central Turkey Tour ซึ่งจะเป็นเส้นทางของเมืองที่ครอบคลุมสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็น Highlight หลัก เช่น Istanbul, Cappadocia(เป็นชื่อภูมิภาค ใน Cappadocia จะแบ่งเป็นอีกหลายเมือง), Konya, Denizli, Izmir เป็นต้น
Step 2 เลือกเมืองที่อยากไปและจัดสรรเวลาต่อเมืองให้เรียบร้อย
หลังจากอ่านรีวิว ดูรูป ของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆแล้ว ก็ได้เวลาตัดสินใจเลือกที่และเมืองที่เราอยากไป รวมทั้งพล็อตจุดในแผนที่ให้เรียบร้อย
รูปข้างล่างคือ final selection ของทริปนี้ที่ผ่านการคัดกรอง เลือกสรรมาเป็นอย่างดีแล้ว (เว่อร์มาก) สรุปว่าจะไปทั้งหมด 5 เมืองหลักๆด้วยกัน แรกๆเพื่อนๆอาจจะงงกับชื่อเมืองนิดหน่อย เพราะแหล่งข้อมูลบางที่ก็ใช้เป็นชื่อภูมิภาค เช่น Cappadocia หรือชื่อจังหวัด (ในที่นี้ฉันจะเรียกว่าเมืองแทนเพราะรื่นหูกว่า) เช่น Istanbul บางทีก็จะเป็นชื่อเมืองที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆ เช่น Goreme, Selcuk
ณ จุดนี้ ควรจะมี list ของเมืองพร้อมสถานที่ที่อยากไปในเมืองนั้นๆให้พร้อม ดังนั้นสิ่งที่เราจะรู้ตามมาด้วยคือเวลาคร่าวๆที่ควรใช้อยู่ในเมืองนั้นๆ เช่น Istanbul 3-4 วัน, Nevsehir(Goreme) 2 วัน, Denilizi(Pamukkale) 1 วัน