(ขอถามมุสลิมและผู้รู้) ความสำคัญของภาษาอาหรับในพิธีกรรมทางศาสนากับหลักศาสนา

หากเทียบภาษาอาหรับกับศาสนาอิสลาม ก็คงเทียบกับภาษาละตินของคริสตศาสนาโรมันคาธอลิก บาลี-สันสกฤตของพุทธศาสนา

แต่ประเด็นที่สงสัยนั้นเริ่มมาจาก การสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีของอตาเติร์ก ซึ่งมีการปฏิรูปศาสนาอิสลามในประเทศขนานใหญ่ หนึ่งในนั้นคือ การยกเลิกการใช้ภาษาอาหรับในพิธีกรรมทางศาสนาเปลี่ยนมาใช้ภาษาเติร์กแทน ซึ่งมีมุสลิมหลายๆท่านโจมตีเรื่องนี้ด้วย ผมเลยสงสัยว่า ทำไมแค่เปลี่ยนมาใช้ภาษาท้องถิ่นแทนภาษาอาหรับ มันผิดขนาดนั้นเลยเหรอ

ผมเข้าใจว่าการใช้หรือการเรียนภาาาอาหรับนั้นเป็นการรักษาความหมายเดิมของคัมภีร์ทางศาสนาให้เพี้ยนจากการการแปลน้อยที่สุดเหมือนการบันทึกคัมภีร์ทางศาสนาพุทธโดยภาษาบาลี-สันสกฤต แต่ประเด็นคือในพาทของการประกอบพิธีทางศาสนานั้นจำเป็นตามหลักศาสนารึเปล่าที่จะต้องใช้ภาษาอาหรับในการประกอบพิธี เช่นละหมาดประจำวัน หรือละหมาดวันศุกร์รึเปล่า

ซึ่งในส่วนของศาสนาพุทธนั้นอาจจะมีคนถามว่าทำไมพุทธต้องใช้ภาาาบาลี ตอบคือ ชาวพุทธพระสงฆ์ใช้ภาษาบาลีเพราะ "มันดูขลัง" นั้นเอง เพราะไม่มีบัญญัติไว้เลยว่าการประกอบพิธีทางศาสนาพุทธต้องใช้ภาษาบาลีเท่านั้น และพระสามารถประกอบพิธีกรรม สังฆกรรม ทุกอย่างเป็นภาษาไทยทั้งหมดได้ ท่องนะโมฯเป็นภาาาไทยก้ได้ ให้ศีลเป็นภาษาไทยก้ได้ สวดปาฏิโมกขืเป็นภาษาไทยก็ได้ ไม่ได้บังคับต้องเป็นภาษาบาลี

เลยอยากทราบว่าตามหลักศาสนาและตามวิชาการทางศาสนา จำเป็นถึงต้องบังคับรึเปล่าว่าต้องเป็นภาษาอาหรับเท่านั้น และอย่างชีอะห์ ที่ศูนยืกลางของนิกายอยู่ที่อิหร่านใช้ภาษาฟาซี เค้าประกอบพิธีทางศาสนาเป็นภาษาอาหรับด้วยรึเปล่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่