โตแล้ว จะรีวิวยังไงก็ได้ 16
Perfect Blue | ความฝัน สวยงามที่สุดเมื่อยามที่มันเป็นเพียงแค่ความฝัน
(เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ) (แต่เปิดเผยไม่เยอะ)
การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่นเรื่องนี้เป็นผลงานชื่อก้องของ Satoshi Kon (ผู้ล่วงลับ) แห่ง Madhouse Studio ด้วยเนื้อหาที่ไปไกลเกินกว่าการเป็นการ์ตูนสำหรับเด็ก ประเด็นที่เสียดแทงเข้าไปในใจคน และความกล้าหาญในการเล่าด้วยภาพที่รุนแรงแต่สมจริง ทำให้ Perfect Blue กลายเป็นแอนนิเมชั่นที่ตราตรึงใจผู้ชม และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ Darren Aronofsky นำเอาไปสร้างเป็นภาพยนตร์จิตวิทยาชื่อดังของโลกเรื่อง Black Swan
Perfect Blue เล่าเรื่องของมิมะ นักร้องไอดอลวัยรุ่นขวัญใจมหาชน ที่ตัดสินใจหันหลังให้กับเวทีคอนเสิร์ตในช่วงที่กำลังรุ่งสุดขีด และหันหน้าเดินเข้าสู่เส้นทางการแสดง แม้ว่าจะสร้างความไม่พอใจให้กับแฟนๆที่ติดตามผลงานเธอมาตลอดก็ตาม
เมื่อชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นเรื่องยากเสมอที่ต้องรับมือกับสิ่งใหม่ๆที่ได้พบเจอ มิมะเองก็ต้องประสบปัญหากับเริ่มต้นบทบาทการเป็นนักแสดงเช่นกัน เธอต้องค่อยๆไต่เต้า จากนักแสดงโนเนมหน้าใหม่ที่มีบทพูดแค่เพียงประโยคเดียว เมื่อมีโอกาสที่จะได้เล่นบทที่แรงขึ้น เธอจึงตัดสินใจรับเล่น แม้ว่ามันจะเป็นฉากที่มีความรุนแรงทางเพศ ต้องเปลืองเนื้อเปลืองตัวแค่ไหนเธอก็ยอม แลกกับชื่อเสียงและที่ยืนในวงการมายา – จากไต่เต้า หลังๆจึงคล้ายจะเป็นเต้าไต่มากกว่า – ซึ่งในขณะที่เธอเริ่มโชว์เนื้อหนังมังสามากขึ้น คนรอบข้างเธอก็ค่อยๆถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยมไปทีละคน มิมะจึงเริ่มวิตกจริตและมีอาการประสาทหลอน เธอค่อยๆดำดิ่งลงไปในโลกแห่งการแสดงจนเกิดภาพซ้อนระหว่างโลกความจริงและความฝัน จมจ่อมอยู่กับความสงสัยคับข้องใจ เป็นดั่งคำถามที่ดังในใจว่า แท้จริงแล้วเธอเป็นใครและต้องการอะไรในชีวิตกันแน่
หนังแสดงด้านมืดของวงการบันเทิงได้จริงเสียจนน่ากลัว ด้านมืดที่ประกอบไปด้วยความลวงหลอกปลอกปลิ้นของคน, อำนาจของเงินตราและชื่อเสียง, ความฟอนเฟะของค่านิยมในสังคม และความรักความชื่นชมที่มากเกินไปจนควรเรียกว่าคือความลุ่มหลงมากกว่า
ชายไร้ชื่อ (หลังจากนี้จะขอเรียกว่า สต็อกเกอร์ (Stalker)) แฟนคลับที่พร้อมจะถวายชีวิตให้ (ติ่งนั่นเอง) และรูมิ ผู้จัดการส่วนตัวของมิมะ คือตัวอย่างของความลุ่มหลงดังกล่าว – ทั้งคู่ต่างรักและเทิดทูนมิมะเท่าๆกัน คือรักมาก รักขนาดที่ว่าพร้อมจะมอบชีวิตและจิตวิญญาณให้ และยังหวงในแบบที่มดไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม ใครหน้าไหนที่มากล้ำกรายหรือทำให้มิมะต้องหม่นหมอง ทั้งสองก็พร้อมจะเข้ามาปกป้อง และกำจัดมดหรือไรตัวนั้นให้สิ้น
แม้ว่ามดตัวที่ไต่อยู่นั้น จะหมายถึงตัวมิมะเองก็ตาม
เมื่อมิมะตัดสินใจปรับลุคของตัวเธอเองด้วยการปลดเปลื้องเสื้อผ้ามากขึ้น จนทำให้ภาพเก่าๆที่เคยเป็นไอดอลสาวสดใสจับไมค์ร้องเพลงเริ่มไม่ขลังอีกต่อไป แน่นอนว่าทั้งสต็อกเกอร์และรูมิต่างต้องรับไม่ได้ พวกเขาจึงทำหน้าที่แฟนคลับที่ดี (เกินไป) ด้วยการรับอาสาเป็นธุระในการไล่ตามลบล้างภาพใหม่ๆดังกล่าว ลามไปถึงการกำจัดต้นตอที่ทำให้มิมะต้องกลายมาเป็นดาราที่ขายเรือนร่าง ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดละครที่มอบบททุเรศๆให้ หรือช่างภาพหนังสือปลุกใจเสือป่าที่มอบคาแรกเตอร์ใหม่นี้ให้เธอ รวมไปถึงการตามรังควานตัวมิมะเอง ซึ่งเปลี่ยนไปแล้วในสายตาของบรรดาติ่ง เธอกลายเป็นเพียงคนที่ทำให้มิมะคนเก่าที่พวกเขารักต้องแปดเปื้อน
ความรักในตัวอดีตไอดอลสาวของสต็อกเกอร์และรูมิอาจจะต่างกันตรงที่ตัวสต็อกเกอร์นั้น เราอาจเปรียบได้กับความงมงายของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ – คือห้ามใครแตะต้องหรือดึงสิ่งที่เขาวางไว้บนหิ้งลงมาทำให้เกิดรอยด่างพร้อย เป็นความรักความศรัทธาที่เกินขอบเขต, ส่วนกรณีของรูมิ เธอหวังอยากจะเป็นอย่างมิมะ อยากจะเฉิดฉายอยู่บนเวที อยากจะเป็นที่โปรดปรานของคน อยากมีชื่อเสียง แต่ทั้งหมดล้วนเป็นไปไม่ได้ เพราะเธอทั้งอ้วนและไม่สวย – มันจึงเป็นความรักที่ฉาบทับอยู่บนความอิจฉา ซึ่งสุดท้ายพอถูกลอกออก จึงกลายเป็นอย่างฉากในตอนท้ายเรื่อง
ซึ่งการมีอยู่ของแฟนคลับอย่างสต็อกเกอร์และรูมิก็เหมือนเป็นการพูดย้ำคำถามที่ดังในใจของมิมะว่าตกลงแล้วเธออยากเป็นนักแสดงจริงๆหรือ – แม้แต่คนดูอย่างเราๆก็คงสงสัยไม่แพ้กัน ว่าทำไมคนที่ยืนอยู่บนยอดของภูเขาสูงอย่างเธอ ถึงเลือกลงมาเดินสู้อยู่บนพื้นราบที่วุ่นวายเพื่อหาทางขึ้นไปยังเขาลูกใหม่ ทำไมต้องยอมเหนื่อยขนาดนั้น
ประเด็นคำถามนี้ชวนให้ผมนึกถึงคำว่า Comfort Zone – การได้ยืนร้องเพลงสวยๆบนเวทีที่มีคนรอกรี๊ดมากมายอาจเป็น Comfort Zone ของมิมะ อาจเป็นสถานะที่ทำให้เธอรู้สึกสบายใจ แต่เมื่อเธอลองชะโงกหน้ามองออกไปนอกโซนก็พบว่ามันน่าสนใจกว่าที่ๆเธอยืนอยู่ อาชีพนักแสดงช่างน่าค้นหา และเธอก็อยากจะลองเสี่ยงดูให้รู้ว่า เธอสามารถเป็นนักแสดงได้ – มิมะจึงก้าวขาออกมาจากโซนที่คุ้นเคย ออกมาเสี่ยงอันตรายในโซนใหม่ที่เธอไม่รู้จักมันดีนัก
การเป็นที่ยอมรับของคนกลุ่มหนึ่งในฐานะนักร้องดูจะไม่เพียงพอให้เธอเริ่มต้นเส้นทางอาชีพนักแสดงได้อย่างสวยงาม อาจเพราะเธอเป็นที่รู้จักเพียงในหมู่คนฟังกลุ่มเล็กๆเท่านั้น มิมะไม่ต่างกับคนที่ไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ในช่วงแรกมันจึงยากสักหน่อยที่คนดูละครจะสนใจเธอ เพราะดังคำที่ใครๆเขาพูดกันว่า ของทุกอย่างล้วนมีราคาของมัน – หากการได้ขึ้นไปยืนในแถวหน้าของวงการมายาเป็นสิ่งของที่ว่า ราคาของมันก็คงจะสูงเอาเรื่อง ซึ่งในกรณีนี้ ราคาที่มิมะต้องจ่ายคือการยอมแสดงในบทที่มีฉากความรุนแรงทางเพศ และเปลื้องผ้าถ่ายแบบนู้ด
เธออาจไม่ทันได้คิดว่า โอเคล่ะ คนดูรู้จักเธอแน่ๆแล้ว แต่รู้จักในฐานะของดาวโป๊ ไม่ใช่ดาวรุ่ง
ในขณะที่มิมะค่อยๆถลำลึกเข้าไปสู่โลกของการแสดง ประสาทรับรู้ของเธอก็ค่อยๆพร่าเลือนเข้าไปทุกที เธอเริ่มสับสนระหว่างโลกจริงที่เกิดขึ้นตรงหน้า และโลกเสมือนจริงที่เกิดขึ้นในฝัน ซ้ำร้ายยังมีภาพซ้อนของบทบาทที่เธอแสดงกับตัวตนจริงของเธอเองอีก (และคนดูอย่างเราๆก็ชักจะสับสนเหมือนกัน ว่าอันไหนโลกจริงอันไหนโลกปลอม) จนสุดท้ายก็ดูคล้ายจะเป็นโรคจิตอ่อนๆ มองเห็นภาพหลอนบ่อยครั้ง ภาพหลอนซึ่งก็คือตัวเธอเองในชุดของนักร้องสาว หน้าตาผ่องใส เปื้อนรอยยิ้มแห่งความสุข
เป็นรอยยิ้มที่เธอแสนจะโหยหา
ผมว่ามิมะเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของวัยรุ่นโดยแท้ – วัยที่กำลังสับสน กล้าได้กล้าเสีย ชอบตั้งคำถามกับทุกสิ่งอย่าง ทั้งเรื่องรอบตัว และเรื่องตัวเอง วัยรุ่นมักจะคิดอยู่เสมอว่าชอบอะไร อยากทำอะไร อยากเป็นอะไร และที่สำคัญคือมักจะมีความฝันเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นหลักไมล์ที่ปักเอาไว้เพื่อใช้บอกตัวเองว่า ฉันต้องไปให้ถึงที่ตรงนั้นให้ได้ในสักวัน – ต้องทำฝันให้เป็นจริงให้ได้
ถ้าความฝันของมิมะคือการได้เป็นนักแสดง ผมว่าเธอน่าจะเกลียดประโยคข้างต้นนี้ไปเลยก็ได้
เพราะบางทีความฝันก็สวยงามที่สุดเมื่อยามที่มันเป็นเพียงแค่ความฝัน
หรือต่อให้มันไม่สวยงามสมบูรณ์แบบ อย่างน้อยมันก็ไม่ใช่ความจริง
PAGE |
โตแล้ว จะดูหนังเรื่องอะไรก็ได้ |
www.facebook.com/tohlaew
[วิจารณ์] Perfect Blue | ความฝัน สวยงามที่สุดเมื่อยามที่มันเป็นเพียงแค่ความฝัน (SPOIL)
Perfect Blue | ความฝัน สวยงามที่สุดเมื่อยามที่มันเป็นเพียงแค่ความฝัน
(เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ) (แต่เปิดเผยไม่เยอะ)
การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่นเรื่องนี้เป็นผลงานชื่อก้องของ Satoshi Kon (ผู้ล่วงลับ) แห่ง Madhouse Studio ด้วยเนื้อหาที่ไปไกลเกินกว่าการเป็นการ์ตูนสำหรับเด็ก ประเด็นที่เสียดแทงเข้าไปในใจคน และความกล้าหาญในการเล่าด้วยภาพที่รุนแรงแต่สมจริง ทำให้ Perfect Blue กลายเป็นแอนนิเมชั่นที่ตราตรึงใจผู้ชม และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ Darren Aronofsky นำเอาไปสร้างเป็นภาพยนตร์จิตวิทยาชื่อดังของโลกเรื่อง Black Swan
Perfect Blue เล่าเรื่องของมิมะ นักร้องไอดอลวัยรุ่นขวัญใจมหาชน ที่ตัดสินใจหันหลังให้กับเวทีคอนเสิร์ตในช่วงที่กำลังรุ่งสุดขีด และหันหน้าเดินเข้าสู่เส้นทางการแสดง แม้ว่าจะสร้างความไม่พอใจให้กับแฟนๆที่ติดตามผลงานเธอมาตลอดก็ตาม
เมื่อชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นเรื่องยากเสมอที่ต้องรับมือกับสิ่งใหม่ๆที่ได้พบเจอ มิมะเองก็ต้องประสบปัญหากับเริ่มต้นบทบาทการเป็นนักแสดงเช่นกัน เธอต้องค่อยๆไต่เต้า จากนักแสดงโนเนมหน้าใหม่ที่มีบทพูดแค่เพียงประโยคเดียว เมื่อมีโอกาสที่จะได้เล่นบทที่แรงขึ้น เธอจึงตัดสินใจรับเล่น แม้ว่ามันจะเป็นฉากที่มีความรุนแรงทางเพศ ต้องเปลืองเนื้อเปลืองตัวแค่ไหนเธอก็ยอม แลกกับชื่อเสียงและที่ยืนในวงการมายา – จากไต่เต้า หลังๆจึงคล้ายจะเป็นเต้าไต่มากกว่า – ซึ่งในขณะที่เธอเริ่มโชว์เนื้อหนังมังสามากขึ้น คนรอบข้างเธอก็ค่อยๆถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยมไปทีละคน มิมะจึงเริ่มวิตกจริตและมีอาการประสาทหลอน เธอค่อยๆดำดิ่งลงไปในโลกแห่งการแสดงจนเกิดภาพซ้อนระหว่างโลกความจริงและความฝัน จมจ่อมอยู่กับความสงสัยคับข้องใจ เป็นดั่งคำถามที่ดังในใจว่า แท้จริงแล้วเธอเป็นใครและต้องการอะไรในชีวิตกันแน่
หนังแสดงด้านมืดของวงการบันเทิงได้จริงเสียจนน่ากลัว ด้านมืดที่ประกอบไปด้วยความลวงหลอกปลอกปลิ้นของคน, อำนาจของเงินตราและชื่อเสียง, ความฟอนเฟะของค่านิยมในสังคม และความรักความชื่นชมที่มากเกินไปจนควรเรียกว่าคือความลุ่มหลงมากกว่า
ชายไร้ชื่อ (หลังจากนี้จะขอเรียกว่า สต็อกเกอร์ (Stalker)) แฟนคลับที่พร้อมจะถวายชีวิตให้ (ติ่งนั่นเอง) และรูมิ ผู้จัดการส่วนตัวของมิมะ คือตัวอย่างของความลุ่มหลงดังกล่าว – ทั้งคู่ต่างรักและเทิดทูนมิมะเท่าๆกัน คือรักมาก รักขนาดที่ว่าพร้อมจะมอบชีวิตและจิตวิญญาณให้ และยังหวงในแบบที่มดไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม ใครหน้าไหนที่มากล้ำกรายหรือทำให้มิมะต้องหม่นหมอง ทั้งสองก็พร้อมจะเข้ามาปกป้อง และกำจัดมดหรือไรตัวนั้นให้สิ้น
แม้ว่ามดตัวที่ไต่อยู่นั้น จะหมายถึงตัวมิมะเองก็ตาม
เมื่อมิมะตัดสินใจปรับลุคของตัวเธอเองด้วยการปลดเปลื้องเสื้อผ้ามากขึ้น จนทำให้ภาพเก่าๆที่เคยเป็นไอดอลสาวสดใสจับไมค์ร้องเพลงเริ่มไม่ขลังอีกต่อไป แน่นอนว่าทั้งสต็อกเกอร์และรูมิต่างต้องรับไม่ได้ พวกเขาจึงทำหน้าที่แฟนคลับที่ดี (เกินไป) ด้วยการรับอาสาเป็นธุระในการไล่ตามลบล้างภาพใหม่ๆดังกล่าว ลามไปถึงการกำจัดต้นตอที่ทำให้มิมะต้องกลายมาเป็นดาราที่ขายเรือนร่าง ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดละครที่มอบบททุเรศๆให้ หรือช่างภาพหนังสือปลุกใจเสือป่าที่มอบคาแรกเตอร์ใหม่นี้ให้เธอ รวมไปถึงการตามรังควานตัวมิมะเอง ซึ่งเปลี่ยนไปแล้วในสายตาของบรรดาติ่ง เธอกลายเป็นเพียงคนที่ทำให้มิมะคนเก่าที่พวกเขารักต้องแปดเปื้อน
ความรักในตัวอดีตไอดอลสาวของสต็อกเกอร์และรูมิอาจจะต่างกันตรงที่ตัวสต็อกเกอร์นั้น เราอาจเปรียบได้กับความงมงายของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ – คือห้ามใครแตะต้องหรือดึงสิ่งที่เขาวางไว้บนหิ้งลงมาทำให้เกิดรอยด่างพร้อย เป็นความรักความศรัทธาที่เกินขอบเขต, ส่วนกรณีของรูมิ เธอหวังอยากจะเป็นอย่างมิมะ อยากจะเฉิดฉายอยู่บนเวที อยากจะเป็นที่โปรดปรานของคน อยากมีชื่อเสียง แต่ทั้งหมดล้วนเป็นไปไม่ได้ เพราะเธอทั้งอ้วนและไม่สวย – มันจึงเป็นความรักที่ฉาบทับอยู่บนความอิจฉา ซึ่งสุดท้ายพอถูกลอกออก จึงกลายเป็นอย่างฉากในตอนท้ายเรื่อง
ซึ่งการมีอยู่ของแฟนคลับอย่างสต็อกเกอร์และรูมิก็เหมือนเป็นการพูดย้ำคำถามที่ดังในใจของมิมะว่าตกลงแล้วเธออยากเป็นนักแสดงจริงๆหรือ – แม้แต่คนดูอย่างเราๆก็คงสงสัยไม่แพ้กัน ว่าทำไมคนที่ยืนอยู่บนยอดของภูเขาสูงอย่างเธอ ถึงเลือกลงมาเดินสู้อยู่บนพื้นราบที่วุ่นวายเพื่อหาทางขึ้นไปยังเขาลูกใหม่ ทำไมต้องยอมเหนื่อยขนาดนั้น
ประเด็นคำถามนี้ชวนให้ผมนึกถึงคำว่า Comfort Zone – การได้ยืนร้องเพลงสวยๆบนเวทีที่มีคนรอกรี๊ดมากมายอาจเป็น Comfort Zone ของมิมะ อาจเป็นสถานะที่ทำให้เธอรู้สึกสบายใจ แต่เมื่อเธอลองชะโงกหน้ามองออกไปนอกโซนก็พบว่ามันน่าสนใจกว่าที่ๆเธอยืนอยู่ อาชีพนักแสดงช่างน่าค้นหา และเธอก็อยากจะลองเสี่ยงดูให้รู้ว่า เธอสามารถเป็นนักแสดงได้ – มิมะจึงก้าวขาออกมาจากโซนที่คุ้นเคย ออกมาเสี่ยงอันตรายในโซนใหม่ที่เธอไม่รู้จักมันดีนัก
การเป็นที่ยอมรับของคนกลุ่มหนึ่งในฐานะนักร้องดูจะไม่เพียงพอให้เธอเริ่มต้นเส้นทางอาชีพนักแสดงได้อย่างสวยงาม อาจเพราะเธอเป็นที่รู้จักเพียงในหมู่คนฟังกลุ่มเล็กๆเท่านั้น มิมะไม่ต่างกับคนที่ไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ในช่วงแรกมันจึงยากสักหน่อยที่คนดูละครจะสนใจเธอ เพราะดังคำที่ใครๆเขาพูดกันว่า ของทุกอย่างล้วนมีราคาของมัน – หากการได้ขึ้นไปยืนในแถวหน้าของวงการมายาเป็นสิ่งของที่ว่า ราคาของมันก็คงจะสูงเอาเรื่อง ซึ่งในกรณีนี้ ราคาที่มิมะต้องจ่ายคือการยอมแสดงในบทที่มีฉากความรุนแรงทางเพศ และเปลื้องผ้าถ่ายแบบนู้ด
เธออาจไม่ทันได้คิดว่า โอเคล่ะ คนดูรู้จักเธอแน่ๆแล้ว แต่รู้จักในฐานะของดาวโป๊ ไม่ใช่ดาวรุ่ง
ในขณะที่มิมะค่อยๆถลำลึกเข้าไปสู่โลกของการแสดง ประสาทรับรู้ของเธอก็ค่อยๆพร่าเลือนเข้าไปทุกที เธอเริ่มสับสนระหว่างโลกจริงที่เกิดขึ้นตรงหน้า และโลกเสมือนจริงที่เกิดขึ้นในฝัน ซ้ำร้ายยังมีภาพซ้อนของบทบาทที่เธอแสดงกับตัวตนจริงของเธอเองอีก (และคนดูอย่างเราๆก็ชักจะสับสนเหมือนกัน ว่าอันไหนโลกจริงอันไหนโลกปลอม) จนสุดท้ายก็ดูคล้ายจะเป็นโรคจิตอ่อนๆ มองเห็นภาพหลอนบ่อยครั้ง ภาพหลอนซึ่งก็คือตัวเธอเองในชุดของนักร้องสาว หน้าตาผ่องใส เปื้อนรอยยิ้มแห่งความสุข
เป็นรอยยิ้มที่เธอแสนจะโหยหา
ผมว่ามิมะเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของวัยรุ่นโดยแท้ – วัยที่กำลังสับสน กล้าได้กล้าเสีย ชอบตั้งคำถามกับทุกสิ่งอย่าง ทั้งเรื่องรอบตัว และเรื่องตัวเอง วัยรุ่นมักจะคิดอยู่เสมอว่าชอบอะไร อยากทำอะไร อยากเป็นอะไร และที่สำคัญคือมักจะมีความฝันเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นหลักไมล์ที่ปักเอาไว้เพื่อใช้บอกตัวเองว่า ฉันต้องไปให้ถึงที่ตรงนั้นให้ได้ในสักวัน – ต้องทำฝันให้เป็นจริงให้ได้
ถ้าความฝันของมิมะคือการได้เป็นนักแสดง ผมว่าเธอน่าจะเกลียดประโยคข้างต้นนี้ไปเลยก็ได้
เพราะบางทีความฝันก็สวยงามที่สุดเมื่อยามที่มันเป็นเพียงแค่ความฝัน
หรือต่อให้มันไม่สวยงามสมบูรณ์แบบ อย่างน้อยมันก็ไม่ใช่ความจริง
PAGE | โตแล้ว จะดูหนังเรื่องอะไรก็ได้ | www.facebook.com/tohlaew