ได้ทำการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การละเล่นทายโจ๊ก ครับ ก็เลยนำมาเผยแพร่ ให้กับชาวพันทิพ
จากการศึกษารูปแบบของการทายโจ๊ก สามารถสรุปได้ดังนี้
การทายโจ๊ก หรือ โจ๊กปริศนา คือปริศนาร้อยกรอง ที่ฝึกสมองประลองปัญญาผู้เล่นทุกคน กล่าวคือ ปริศนาร้อยกรองดังกล่าว จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ กลอนก็ได้ ซึ่งปริศนา 1 ชุด จะมี 4 บรรทัด 4 คำตอบ โดยจะเรียกว่า “4 บาท” โดยทุกคำตอบจะมีความสัมพันธ์กัน อุปกรณ์การเล่นทายโจ๊ก จะประกอบด้วย ฆ้อง กริ่งไฟฟ้า และ กลอง ซึ่ง นายโจ๊ก หรือ ผู้จัดทำ จะเป็นผู้เตรียมไว้อยู่แล้ว
ทุกคำตอบของโจ๊กปริศนา ทั้ง 4 คำตอบ จะมีความสัมพันธ์กัน ปัจจุบัน รูปแบบที่นิยมมีทั้งหมด 10 รูปแบบ ดังนี้
1) พ้องคำเดี่ยว เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยเป็นคำเดียวพยางค์เดียวเหมือนกันทั้งชุด (เช่น เกลือ กลัว เกลอ กลอง)
2) พ้องคำหน้า เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีพยางค์เท่ากันทั้งชุดตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไปและคำหน้าเหมือนกันทุกคำตอบ (เช่น น้ำเต้า น้ำใจ น้ำค้าง น้ำยา)
3) พ้องคำหลัง เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีพยางค์เท่ากันทั้งชุดตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไปและคำสุดท้ายเหมือนกันทุกคำตอบ (เช่น สองใจ หัวใจ จิตใจ รวมใจ)
4) พ้องคำกลาง เป็นธงเจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีพยางค์เท่ากันตั้งแต่ 3 พยางค์ขึ้นไป และคำกลางเหมือนกันทุกคำตอบ (เช่น แก๊งสามช่า ตราสามดวง ม่วงสามหมอก หอกสามสี)
5) คำผัน เป็นธงโจ๊กที่คำเฉลยมีพื้นฐานมาจากคำเดี่ยวเสียงยาว บังคับด้วยไม้เอกไม้โทไม้ตรีและไม้จัตวา (เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ)
6) คำผวน เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีจำนวนพยางค์เท่ากันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป โดยเมื่อผวนแล้วจะได้คำตอบที่ถูกต้องในบาทนั้นๆ (เช่น นีรา-นารี นีวา-นาวี นีดา-นาดี นีคา-นาคี)
7) คำสุภาษิต พังเพย เป็นธงโจ๊กที่ไม่จำกัดพยางค์ก็ได้เพราะยึดถือ คำตอบตามสุภาษิต พังเพยที่เห็นอยู่ในสังคม (เช่น ปอก กล้วย เข้า ปาก)
8)คำพันหลักแบบลูกโซ่ เป็นธงโจ๊กที่บังคับจำนวนพยางค์ให้เท่ากันทุกบรรทัด ตั้งแต่ 2 คำหรือ 2 พยางค์ขึ้นไป เอาคำสุดท้ายของคำตอบแรกมาเป็น คำแรกของคำต่อไปจนครบทุกบรรทัดจะเห็นความเกี่ยวเนื่องกันไปเหมือนลูกโซ่ (เช่น แม่น้ำ น้ำพริก พริกไทย ไทยรัฐ )
9) คำตัดคำต่อ เป็นธงโจ๊กที่ต้องแก้ปริศนาหลายชั้นมากที่สุดมีหลักเกณฑ์เดียว คือต้องมีเหตุผลในการให้คำตอบ เพียงแต่อ่านปริศนาให้เข้าใจก่อนจะดีปัญหาเป็น รูปธรรม (เช่น มา มาลา มาลาคำ มาลาคำจันทร์, มา มาร มารยา มารยาท)
10) โจ๊กภาพ สามารถเอาแบบทั้ง 9 แบบ 14 อย่างมาเขียนเป็นภาพให้ทายกันได้ ยิ่งเป็นคำผวน คำผันยิ่งเขียนได้อีกหลายภาพ ถ้าเป็นการเล่นของเด็กนักเรียน ก็มีการผสมคำอีกต่างหาก (เช่น ในรายการเวทีทอง)
สุดท้ายนี้... นำโจ๊กปริศนาที่จัดทำขึ้น มาให้ทุกท่านได้ร่วมสนุกกันครับ
ติชมได้เลยนะครับ
การละเล่นทายโจ๊ก อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ได้ทำการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การละเล่นทายโจ๊ก ครับ ก็เลยนำมาเผยแพร่ ให้กับชาวพันทิพ
จากการศึกษารูปแบบของการทายโจ๊ก สามารถสรุปได้ดังนี้
การทายโจ๊ก หรือ โจ๊กปริศนา คือปริศนาร้อยกรอง ที่ฝึกสมองประลองปัญญาผู้เล่นทุกคน กล่าวคือ ปริศนาร้อยกรองดังกล่าว จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ กลอนก็ได้ ซึ่งปริศนา 1 ชุด จะมี 4 บรรทัด 4 คำตอบ โดยจะเรียกว่า “4 บาท” โดยทุกคำตอบจะมีความสัมพันธ์กัน อุปกรณ์การเล่นทายโจ๊ก จะประกอบด้วย ฆ้อง กริ่งไฟฟ้า และ กลอง ซึ่ง นายโจ๊ก หรือ ผู้จัดทำ จะเป็นผู้เตรียมไว้อยู่แล้ว
ทุกคำตอบของโจ๊กปริศนา ทั้ง 4 คำตอบ จะมีความสัมพันธ์กัน ปัจจุบัน รูปแบบที่นิยมมีทั้งหมด 10 รูปแบบ ดังนี้
1) พ้องคำเดี่ยว เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยเป็นคำเดียวพยางค์เดียวเหมือนกันทั้งชุด (เช่น เกลือ กลัว เกลอ กลอง)
2) พ้องคำหน้า เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีพยางค์เท่ากันทั้งชุดตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไปและคำหน้าเหมือนกันทุกคำตอบ (เช่น น้ำเต้า น้ำใจ น้ำค้าง น้ำยา)
3) พ้องคำหลัง เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีพยางค์เท่ากันทั้งชุดตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไปและคำสุดท้ายเหมือนกันทุกคำตอบ (เช่น สองใจ หัวใจ จิตใจ รวมใจ)
4) พ้องคำกลาง เป็นธงเจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีพยางค์เท่ากันตั้งแต่ 3 พยางค์ขึ้นไป และคำกลางเหมือนกันทุกคำตอบ (เช่น แก๊งสามช่า ตราสามดวง ม่วงสามหมอก หอกสามสี)
5) คำผัน เป็นธงโจ๊กที่คำเฉลยมีพื้นฐานมาจากคำเดี่ยวเสียงยาว บังคับด้วยไม้เอกไม้โทไม้ตรีและไม้จัตวา (เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ)
6) คำผวน เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีจำนวนพยางค์เท่ากันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป โดยเมื่อผวนแล้วจะได้คำตอบที่ถูกต้องในบาทนั้นๆ (เช่น นีรา-นารี นีวา-นาวี นีดา-นาดี นีคา-นาคี)
7) คำสุภาษิต พังเพย เป็นธงโจ๊กที่ไม่จำกัดพยางค์ก็ได้เพราะยึดถือ คำตอบตามสุภาษิต พังเพยที่เห็นอยู่ในสังคม (เช่น ปอก กล้วย เข้า ปาก)
8)คำพันหลักแบบลูกโซ่ เป็นธงโจ๊กที่บังคับจำนวนพยางค์ให้เท่ากันทุกบรรทัด ตั้งแต่ 2 คำหรือ 2 พยางค์ขึ้นไป เอาคำสุดท้ายของคำตอบแรกมาเป็น คำแรกของคำต่อไปจนครบทุกบรรทัดจะเห็นความเกี่ยวเนื่องกันไปเหมือนลูกโซ่ (เช่น แม่น้ำ น้ำพริก พริกไทย ไทยรัฐ )
9) คำตัดคำต่อ เป็นธงโจ๊กที่ต้องแก้ปริศนาหลายชั้นมากที่สุดมีหลักเกณฑ์เดียว คือต้องมีเหตุผลในการให้คำตอบ เพียงแต่อ่านปริศนาให้เข้าใจก่อนจะดีปัญหาเป็น รูปธรรม (เช่น มา มาลา มาลาคำ มาลาคำจันทร์, มา มาร มารยา มารยาท)
10) โจ๊กภาพ สามารถเอาแบบทั้ง 9 แบบ 14 อย่างมาเขียนเป็นภาพให้ทายกันได้ ยิ่งเป็นคำผวน คำผันยิ่งเขียนได้อีกหลายภาพ ถ้าเป็นการเล่นของเด็กนักเรียน ก็มีการผสมคำอีกต่างหาก (เช่น ในรายการเวทีทอง)
สุดท้ายนี้... นำโจ๊กปริศนาที่จัดทำขึ้น มาให้ทุกท่านได้ร่วมสนุกกันครับ
ติชมได้เลยนะครับ