เสวนาหัวข้อ “ค่ายอาสาฯ อดีต ปัจจุบัน อนาคต”
จัดโดย
คณะนักศึกษาโครงการโบราณคดีบูรณาการเพื่อเด็กและชุมชน คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันที่ 14 มีนาคม 2558
ลงทะเบียน เวลา 13.30 น.
ณ สวนแก้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
--------------------------------------------------------------------------------
ท่ามกลางพลวัตแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน มักจะเกิดคำถามต่อ คำว่า “พัฒนา” มากมาย เช่น ท้องถิ่นไม่เจริญจริงหรือไม่ ความเจริญที่แท้จริงเป็นเช่นไร แล้วจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาอะไร เป็นต้น คำถามนี้ส่งผลต่อกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ทั้งสิ้น และแน่นอนเหล่านักศึกษาทั้งหลายในอดีตมองว่า ชนบทนั้นด้อยพัฒนาจริง จึงมีการจัดทำโครงการอาสาต่างๆ อันเกิดจากอุดมการณ์ในขณะนั้น และปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมา
การกระทำอันสืบทอดกันเรื่อยมาหลายทศวรรษนี้มีนัยยะสำคัญ คือ กิจกรรมดังกล่าวกลายเป็นลักษณะของการสืบทอดพิธีกรรมมากกว่าการจัดทำโดยอุดมการณ์ หรือการทบทวนถึงบริบทต่างๆ ที่ผันแปรไป หนึ่งในกิจกรรมนั้น คือ ค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กในชนบท ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาถึง สองทศวรรษ สิ่งนี้จึงทำให้สมาชิกโครงการค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กเกิดความต้องการที่จะทบทวนบริบทของกิจกรรม โดย ทำความเข้าใจถึงความเป็นมาของค่ายอาสาตามบริบทของสังคมในอดีต และเชิญนักศึกษา นักกิจกรรมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละค่ายหรือโครงการที่เพิ่งจัดกันมา ท้ายที่สุดคือการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงอนาคตของกิจกรรมเพื่อสังคม ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร และจะดำเนินกิจกรรมอาสา หรือกิจกรรมเพื่อสังคมให้สอดคล้องกับแต่ละความคิดเห็นอย่างไร
ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการตั้งคำถามต่อกิจกรรม และแลกเปลี่ยนวิธีคิด ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดพัฒนากิจกรรมเพื่อชุมชนของนักศึกษาจากกลุ่มค่ายอาสาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เข้าร่วมพูดคุย ให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดในอนาคต
โดยเนื้อหาของการพูดคุยจะถูกแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
1. “ทบทวนอดีต ผ่านค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กในชนบท” โดย ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี
2. “กิจกรรมในปัจจุบัน” โดยนักศึกษาปัจจุบันจากกลุ่มค่ายอาสาโบราณดดีเพื่อเด็กและชุมชน โดยจะพูดถึงวิธีคิดและการดำเนินกิจกรรมที่เพิ่งผ่านมาในช่วง 2-3 ปีนี้
3. “ปัจจุบันสู่อนาคต ของกิจกรรมอาสาในสังคมไทย” โดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเป็นเวทีของพูดคุยถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกเสรีนิยมใหม่ แลกเปลี่ยนมุมมองต่อความหมายของการ “พัฒนา” และแนวคิดการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในอนาคต
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้ร่วมเสวนา
“อดีต ของค่ายอาสาฯ ผ่านค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กในชนบท”
โดย ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี
“ปัจจุบัน ของค่ายอาสา ผ่านค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กและชุมชน”
โดย นักศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กและชุมชน
“ปัจจุบันสู่อนาคต ของกิจกรรมอาสาพัฒนาในสังคมไทย”
โดย นักนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชาวไทยภูเขา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค่ายอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา
ค่ายอาสาสถาปัตย์พัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เสวนา "ค่ายอาสาฯ อดีต ปัจจุบัน อนาคต" กิจกรรมค่ายอาสาฯ ที่นักศึกษาหลายคนรู้จัก งานเสวนาที่นักกิจกรรมทุกคนต้องมาฟัง
เสวนาหัวข้อ “ค่ายอาสาฯ อดีต ปัจจุบัน อนาคต”
จัดโดย
คณะนักศึกษาโครงการโบราณคดีบูรณาการเพื่อเด็กและชุมชน คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันที่ 14 มีนาคม 2558
ลงทะเบียน เวลา 13.30 น.
ณ สวนแก้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
--------------------------------------------------------------------------------
ท่ามกลางพลวัตแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน มักจะเกิดคำถามต่อ คำว่า “พัฒนา” มากมาย เช่น ท้องถิ่นไม่เจริญจริงหรือไม่ ความเจริญที่แท้จริงเป็นเช่นไร แล้วจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาอะไร เป็นต้น คำถามนี้ส่งผลต่อกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ทั้งสิ้น และแน่นอนเหล่านักศึกษาทั้งหลายในอดีตมองว่า ชนบทนั้นด้อยพัฒนาจริง จึงมีการจัดทำโครงการอาสาต่างๆ อันเกิดจากอุดมการณ์ในขณะนั้น และปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมา
การกระทำอันสืบทอดกันเรื่อยมาหลายทศวรรษนี้มีนัยยะสำคัญ คือ กิจกรรมดังกล่าวกลายเป็นลักษณะของการสืบทอดพิธีกรรมมากกว่าการจัดทำโดยอุดมการณ์ หรือการทบทวนถึงบริบทต่างๆ ที่ผันแปรไป หนึ่งในกิจกรรมนั้น คือ ค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กในชนบท ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาถึง สองทศวรรษ สิ่งนี้จึงทำให้สมาชิกโครงการค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กเกิดความต้องการที่จะทบทวนบริบทของกิจกรรม โดย ทำความเข้าใจถึงความเป็นมาของค่ายอาสาตามบริบทของสังคมในอดีต และเชิญนักศึกษา นักกิจกรรมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละค่ายหรือโครงการที่เพิ่งจัดกันมา ท้ายที่สุดคือการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงอนาคตของกิจกรรมเพื่อสังคม ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร และจะดำเนินกิจกรรมอาสา หรือกิจกรรมเพื่อสังคมให้สอดคล้องกับแต่ละความคิดเห็นอย่างไร
ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการตั้งคำถามต่อกิจกรรม และแลกเปลี่ยนวิธีคิด ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดพัฒนากิจกรรมเพื่อชุมชนของนักศึกษาจากกลุ่มค่ายอาสาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เข้าร่วมพูดคุย ให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดในอนาคต
โดยเนื้อหาของการพูดคุยจะถูกแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
1. “ทบทวนอดีต ผ่านค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กในชนบท” โดย ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี
2. “กิจกรรมในปัจจุบัน” โดยนักศึกษาปัจจุบันจากกลุ่มค่ายอาสาโบราณดดีเพื่อเด็กและชุมชน โดยจะพูดถึงวิธีคิดและการดำเนินกิจกรรมที่เพิ่งผ่านมาในช่วง 2-3 ปีนี้
3. “ปัจจุบันสู่อนาคต ของกิจกรรมอาสาในสังคมไทย” โดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเป็นเวทีของพูดคุยถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกเสรีนิยมใหม่ แลกเปลี่ยนมุมมองต่อความหมายของการ “พัฒนา” และแนวคิดการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในอนาคต
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
“อดีต ของค่ายอาสาฯ ผ่านค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กในชนบท”
โดย ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี
“ปัจจุบัน ของค่ายอาสา ผ่านค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กและชุมชน”
โดย นักศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กและชุมชน
“ปัจจุบันสู่อนาคต ของกิจกรรมอาสาพัฒนาในสังคมไทย”
โดย นักนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชาวไทยภูเขา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค่ายอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา
ค่ายอาสาสถาปัตย์พัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
https://www.facebook.com/21starchaeostudentvolunteercamp
email : borankidscamp@gmail.com