สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
การขึ้นศาลมีข้อดีมากตรงที่ค่าอะไรจิปาถะที่มันไม่อยู่ในกฎหมาย ที่กำหนดว่า "ต้องคิดได้แต่ดอกเบี้ย" ขอลดได้หมดและลดได้เยอะมากครับ
เช่นค่าเสียโอกาส ค่าทวงถาม ฯลฯ พวกนี้ลดได้หมด บางทีเวฟทิ้งเลยด้วยซ้ำ
และพอฟ้องศาลปั๊บ ดอกเบี้ยปรับมันจะหยุดวิ่งครับ ทำให้หนี้มันนิ่ง ไม่งอกเพิ่มทุกวันแบบช่วงยื้อ
1. ให้เพื่อนคุณเอาหมายศาลไปที่ศาล เอาเลขคดีไปขอคัดคำส่งฟ้องจากเสมียนศาลนะครับ
แล้วเอาคำฟ้องมาอ่านให้ละเอียด ในคำฟ้องเจ้าหนี้จะบอกตัวเลขที่ฟ้องชัดเจนเลยครับ
ว่าต้นเงินเท่าไหร่ ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ค่าติดตามเท่าไหร่ ค่าบลาๆๆๆ
เอาตัวเลขนั้นแหละเป็นตัวตั้งในการต่อรอง
เจ้าหนี้คิดกับลูกหนี้ได้จริงคือต้นเงินกับดอกเบี้ยเท่านั้นครับ อย่างอื่นไม่ได้เลยครับ
และดอกเบี้ยก็คิดได้ไม่เกิน 15%
2. จากนั้นให้เพื่อนคำนวณตัวเลขไปก่อนขึ้นศาล เขาจะมีช่วงไกล่เกลี่ยครับ
ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จถึงจะขึ้นศาลจริงครับ
3. เพื่อนบอกส่งได้ 5000 ก็ต้องปรับโครงสร้างแบบยืดเวลาชำระหนี้ครับ
แต่เท่ากับหนี้จะเพิ่มกว่าเดิมนะครับ
ทำการบ้านไปเลยครับ 5000 เท่ากับส่งกี่ปีถึงจะหมด
แต่เพื่อนต้อง "ห้ามผิดนัดอีกแม้แต่งวดเดียว" นะครับ เพราะนี่มันคือขั้นตอนศาลแล้ว ไม่ใช่แค่ปรับโครงสร้างหนี้เฉยๆ
ถ้าผิดนัดอีกเจ้าหนี้ก็ยึดรถ และยังยึดทรัพย์สินอื่นตามมาอีก
ดังนั้น เพื่อนต้องทำการบ้านเป๊ะๆเลยว่าส่งเท่าไหร่ถึงจะไม่ผิดนัดอีก
อย่าแค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าครับ เพราะจะไม่รอดซ้ำอีกรอบ คราวนี้จะหนักกว่าเดิม
ถ้า 5 พันแล้วยังตึง ให้ลดลงอีกแบบที่แน่ใจว่าไม่ผิดนัดซ้ำ
4. รถยังอยู่กับเราก็ดีแล้ว เพราะถ้ายึดขายทอดตลาดจะได้ราคาต่ำแบบสุดๆ ทำให้หนี้เหลือค้าง
ถ้าปรับโครวสร้างแล้วไม่ไหวอีก บอกเพื่อนเลยว่าอย่ายื้อ ให้ตัดใจขายรถแล้วเอาเงินไปปิดหนี้ให้หมด
ดีกว่าปล่อยให้ยึดครับ เพราะถ้าหนี้ยังเหลือค้างอยู่ เจ้าหนี้จะตามยึดทรัพย์สินอื่นต่อ
เช่นค่าเสียโอกาส ค่าทวงถาม ฯลฯ พวกนี้ลดได้หมด บางทีเวฟทิ้งเลยด้วยซ้ำ
และพอฟ้องศาลปั๊บ ดอกเบี้ยปรับมันจะหยุดวิ่งครับ ทำให้หนี้มันนิ่ง ไม่งอกเพิ่มทุกวันแบบช่วงยื้อ
1. ให้เพื่อนคุณเอาหมายศาลไปที่ศาล เอาเลขคดีไปขอคัดคำส่งฟ้องจากเสมียนศาลนะครับ
แล้วเอาคำฟ้องมาอ่านให้ละเอียด ในคำฟ้องเจ้าหนี้จะบอกตัวเลขที่ฟ้องชัดเจนเลยครับ
ว่าต้นเงินเท่าไหร่ ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ค่าติดตามเท่าไหร่ ค่าบลาๆๆๆ
เอาตัวเลขนั้นแหละเป็นตัวตั้งในการต่อรอง
เจ้าหนี้คิดกับลูกหนี้ได้จริงคือต้นเงินกับดอกเบี้ยเท่านั้นครับ อย่างอื่นไม่ได้เลยครับ
และดอกเบี้ยก็คิดได้ไม่เกิน 15%
2. จากนั้นให้เพื่อนคำนวณตัวเลขไปก่อนขึ้นศาล เขาจะมีช่วงไกล่เกลี่ยครับ
ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จถึงจะขึ้นศาลจริงครับ
3. เพื่อนบอกส่งได้ 5000 ก็ต้องปรับโครงสร้างแบบยืดเวลาชำระหนี้ครับ
แต่เท่ากับหนี้จะเพิ่มกว่าเดิมนะครับ
ทำการบ้านไปเลยครับ 5000 เท่ากับส่งกี่ปีถึงจะหมด
แต่เพื่อนต้อง "ห้ามผิดนัดอีกแม้แต่งวดเดียว" นะครับ เพราะนี่มันคือขั้นตอนศาลแล้ว ไม่ใช่แค่ปรับโครงสร้างหนี้เฉยๆ
ถ้าผิดนัดอีกเจ้าหนี้ก็ยึดรถ และยังยึดทรัพย์สินอื่นตามมาอีก
ดังนั้น เพื่อนต้องทำการบ้านเป๊ะๆเลยว่าส่งเท่าไหร่ถึงจะไม่ผิดนัดอีก
อย่าแค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าครับ เพราะจะไม่รอดซ้ำอีกรอบ คราวนี้จะหนักกว่าเดิม
ถ้า 5 พันแล้วยังตึง ให้ลดลงอีกแบบที่แน่ใจว่าไม่ผิดนัดซ้ำ
4. รถยังอยู่กับเราก็ดีแล้ว เพราะถ้ายึดขายทอดตลาดจะได้ราคาต่ำแบบสุดๆ ทำให้หนี้เหลือค้าง
ถ้าปรับโครวสร้างแล้วไม่ไหวอีก บอกเพื่อนเลยว่าอย่ายื้อ ให้ตัดใจขายรถแล้วเอาเงินไปปิดหนี้ให้หมด
ดีกว่าปล่อยให้ยึดครับ เพราะถ้าหนี้ยังเหลือค้างอยู่ เจ้าหนี้จะตามยึดทรัพย์สินอื่นต่อ
แสดงความคิดเห็น
ค้างค่างวดรถ 6เดือน แต่ค่างวดเหลือ10งวด หมายศาลมา ควรทำอย่างไรครับ
เพื่อนผ่อนรถไปแล้ว เหลือ10งวด(รวมค้างอยู่) ยอดคงเหลือ ประมาณ 8-90,000 บาท แต่รวมดอกเบี้ย+ค่าติดตาม+ค่าบราๆๆๆๆๆ(ประมาณ 25,000บาท)
รวมแล้วประมาณแสนหนึ่งถึงแสนสอง
ส่วนมูลค่ารถ(ราคากลาง)ประมาณสามแสนถึงสามแสนห้าหมื่นบาท แต่หลายเดือนที่ที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องการเงินขนาดหนัก
เลยขาดส่ง
เพื่อนโทรมาปรึกษาว่ามีหมายศาลมา ให้ไปขึ้นศาลปลายเดือนมีนาคมนี้ โดยศาลนัดไกล่เกลี่ยก่อน
ควรทำอย่างไร
เพื่อนยินดีที่จะผ่อนต่อ แต่ค่างวดผ่อนตอนนี้ไม่ไหว ตอนนี้ผ่อนอยู่ประมาณ 9,000 กว่า ว่าจะขอผ่อนเป็นเดือนละ5,000
คิดว่าไก้ไหม?
ส่วนตัวผมไม่รู้กฎหมายอะไรมากนักนะครับ ส่วนใหญ่ก็อ่านจากในนี้หรือหาในกูเกิ้ล
สำหรับผม ผมแนะนำว่า ควรไปไกล่เกลี่ยที่ศาล ขอลดดอกเบี้ย ขอปรับโครงสร้างหนี้
ไม่ทราบว่าสามารถทำได้มั้ยครับ หรือต้องหาเงินก้อนมาโปะ แต่คงยากเพราะถ้ามี เพื่อนผมคงไม่โดนฟ้อง
หมายเหตุ ผมพยายามหากระทู้แนวนี้แล้ว แต่หาไม่เจอ
คือกระทู้แนวผ่อนรถใกล้จะหมด แต่ค้างค่างวดแล้วถูกฟ้องเนี่ย ควรทำอย่างไรน่ะ หาไม่เจอครับ
จะได้เป็นความรู้แก่เพื่อนที่ผ่อนรถใกล้หมดแล้วมีปัญหาเรื่องค่างวดด้วย
อ้อ รถเพื่อนยังไม่ถูกยึดนะครับ ยังใช้อยู่ประจำ