มีหลายคนที่ไม่เข้าใจว่าทำไมสมัยนี้ในหลักสูตรใหม่ๆ จึงต้องให้เด็กวาดรูปเยอะแยะนัก ในขณะเดียวกันโรงเรียนส่วนใหญ่กลับตัดลดความสำคัญของวิชาศิลปะ จนบางโรงเรียนแทบไม่ได้สอนอะไรเด็ก พอถึงเวลาก็สอบตามชีทที่ให้ไป แค่พอให้มีเกรด หน่วยกิจให้ครบตามหลักสูตรที่กระทรวงกำหนดแค่นั้น ทั้งทีกระบวนการเรียนรู้ของเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมวัย - ระดับประถมศึกษา
แต่ก็มีอีกหลายครอบครัวที่เห็นคุณค่า ความสำคัญจริง หรือบ้างก็เพราะฟังต่อๆ มาว่าเรียนศิลปะแล้วทำให้เกิดสมาธิเพราะลูกไม่นิ่ง ซนมาก พฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ก็แก้ยาก เช่น ไม่กล้าาคิด ไม่กล้าลงมือทำ กล้วไม่ถูก กลัวไปหมด อันที่จริงแล้วการเรียนศิลปะสำหรับเด็ก ต่างจาก การเรียนเพื่อเป็นศิลปินค่ะ ไม่เหมือนกัน คุณค่าก็ต่างกัน บางคนก็เข้าใจผิดเกี่ยวกับการเรียนศิลปะของเด็ก และตั้งวัตถุประสงค์ผิดเพี้ยนไป เช่น พาลูกสามารถระบายสีได้ไม่เลอะจากขอบได้เนียนเป๊ะ ก็เข้าใจว่าลูกมีแววอัจฉริยะทางด้านศิลปะ เลยส่งประกวดกันใหญ่ หวังให้โปรไฟล์ดูดีมีชาติตระกูล มีรางวี่รางวัลต่อท้าย เฮ้อ...เหนื่อย
แต่พอมีรายการหนึ่งนำรูปแบบการเรียนของประเทศฟินแลนด์ ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกมาเผยแพร่ ก็เริ่มสนใจ จริงๆ แล้ว เราไม่ต้องถึงกับเดินทางไปฟินแลนด์เพื่อหาระบบการศึกษาที่ดีที่สุดหรอกค่ะ เพราะบริบทมันต่างกัน แต่เราควรจะมองย้อนกลับมาที่ตัวเราว่าเราเข้าใจธรรมชาติของเรา วัฒนธรรมของเราดีแค่ไหน แล้วนำสิ่งดีๆ เหล่านั้นมาเป็นต้นทุน....ไปไกลแล้ว ปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ เราก็ต้องหาทางเติมเต็มเอาเอง
กลับมาที่เราให้ลูกเรียนศิลปะทำไม?...กิจกรรมศิลปะคุณค่าไม่ได้อยู่ที่ต้นทุนของวัสดุที่นำมาสร้างสรรค์ ผลงานงานจะออกมาเหมือนต้นแบบหรือไม่ ไม่ได้ตีกรอบแค่การระบายสีเนียนเรียบเนียบเป๊ะ เหมือนที่ครูทำ แต่คุณค่าอยู่ที่กระบวนการในขณะสร้างสรรค์ว่าเด็กเรียนรู้อะไร เกิดอะไรขึ้นใน ความคิด (เชิงสร้างสรรค์+ตรกะ) จิตใจของเด็ก ซึ่งแยกออกมาเป็นข้อต่างๆ ได้เช่น ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ การแก้ปัญหา ภาวะผู้นำที่กล้าแสดงออกในสิ่งที่ตนคิดซึ่งอาจจะเหมือน หรือต่างจากคนอื่น ความมั่นใจ ความรับผิดชอบ ความประณีตละเอียดลออ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มากันง่ายๆ แต่เราบ่มเพาะได้จากการทำงานศิลปะ ซึ่งจะทำให้เขาตระหนักถึงคุณค่าต่อตนเองและสัมคมเมื่อเขาเติบโตขึ้น ความงดงามและสุนทรียภาพจึงก่อเกิดไปตามสภาวะและพัฒนาการของเขาในแบบที่เขาเป็นค่ะ
แล้วศิลปะจะช่วยได้จริงหรือ ถ้าเด็กเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ที่ถูกทางนอกจากจะมีสมาธิดีแล้วสิ่งต่างๆ ที่
กล่าวถึงก็จะได้มาทั้งหมด
เราให้ลูกเรียนศิลปะทำไม? แล้วการเรียนศิลปะจะช่วยได้จริงหรือ?
แต่ก็มีอีกหลายครอบครัวที่เห็นคุณค่า ความสำคัญจริง หรือบ้างก็เพราะฟังต่อๆ มาว่าเรียนศิลปะแล้วทำให้เกิดสมาธิเพราะลูกไม่นิ่ง ซนมาก พฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ก็แก้ยาก เช่น ไม่กล้าาคิด ไม่กล้าลงมือทำ กล้วไม่ถูก กลัวไปหมด อันที่จริงแล้วการเรียนศิลปะสำหรับเด็ก ต่างจาก การเรียนเพื่อเป็นศิลปินค่ะ ไม่เหมือนกัน คุณค่าก็ต่างกัน บางคนก็เข้าใจผิดเกี่ยวกับการเรียนศิลปะของเด็ก และตั้งวัตถุประสงค์ผิดเพี้ยนไป เช่น พาลูกสามารถระบายสีได้ไม่เลอะจากขอบได้เนียนเป๊ะ ก็เข้าใจว่าลูกมีแววอัจฉริยะทางด้านศิลปะ เลยส่งประกวดกันใหญ่ หวังให้โปรไฟล์ดูดีมีชาติตระกูล มีรางวี่รางวัลต่อท้าย เฮ้อ...เหนื่อย
แต่พอมีรายการหนึ่งนำรูปแบบการเรียนของประเทศฟินแลนด์ ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกมาเผยแพร่ ก็เริ่มสนใจ จริงๆ แล้ว เราไม่ต้องถึงกับเดินทางไปฟินแลนด์เพื่อหาระบบการศึกษาที่ดีที่สุดหรอกค่ะ เพราะบริบทมันต่างกัน แต่เราควรจะมองย้อนกลับมาที่ตัวเราว่าเราเข้าใจธรรมชาติของเรา วัฒนธรรมของเราดีแค่ไหน แล้วนำสิ่งดีๆ เหล่านั้นมาเป็นต้นทุน....ไปไกลแล้ว ปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ เราก็ต้องหาทางเติมเต็มเอาเอง
กลับมาที่เราให้ลูกเรียนศิลปะทำไม?...กิจกรรมศิลปะคุณค่าไม่ได้อยู่ที่ต้นทุนของวัสดุที่นำมาสร้างสรรค์ ผลงานงานจะออกมาเหมือนต้นแบบหรือไม่ ไม่ได้ตีกรอบแค่การระบายสีเนียนเรียบเนียบเป๊ะ เหมือนที่ครูทำ แต่คุณค่าอยู่ที่กระบวนการในขณะสร้างสรรค์ว่าเด็กเรียนรู้อะไร เกิดอะไรขึ้นใน ความคิด (เชิงสร้างสรรค์+ตรกะ) จิตใจของเด็ก ซึ่งแยกออกมาเป็นข้อต่างๆ ได้เช่น ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ การแก้ปัญหา ภาวะผู้นำที่กล้าแสดงออกในสิ่งที่ตนคิดซึ่งอาจจะเหมือน หรือต่างจากคนอื่น ความมั่นใจ ความรับผิดชอบ ความประณีตละเอียดลออ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มากันง่ายๆ แต่เราบ่มเพาะได้จากการทำงานศิลปะ ซึ่งจะทำให้เขาตระหนักถึงคุณค่าต่อตนเองและสัมคมเมื่อเขาเติบโตขึ้น ความงดงามและสุนทรียภาพจึงก่อเกิดไปตามสภาวะและพัฒนาการของเขาในแบบที่เขาเป็นค่ะ
แล้วศิลปะจะช่วยได้จริงหรือ ถ้าเด็กเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ที่ถูกทางนอกจากจะมีสมาธิดีแล้วสิ่งต่างๆ ที่
กล่าวถึงก็จะได้มาทั้งหมด