ถ้า "ประเทศไทยร้อนประมาณ 127 องศาเซลเซียสนาน 45 นาทีแบบในห้องทดลอง" คุณว่าคนไทยจะเป็นอย่างไร

นายแพทย์ชาวอังกฤษชาร์ล แบล็ก และจอร์จ โพดิส ได้ทดลองโดยให้อาสาสมัครถอดเสื้อผ้าเข้าไปอยู่ในห้องที่ร้อนเหมือนซาวน่า ปรากฏว่าอาสาสมัครสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 127 องศาเซลเซียสนานถึง 45 นาที

http://www.dek-d.com/education/32154/
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
127 องศาเซลเซียสนี่มันเลยจุดเดือดของน้ำนะครับ ร่างกายจะทนไหวหรือ

มันดูขัดแย้งชอบกล ถ้าเป็น 127 องศาฟาเรนไฮต์พอเป็นไปได้

127 องศาฟาเรนไฮต์ก็ประมาณ 53 องศาเซลเซียส

คือมุมมองความเป็นจริงมันดูแปลกๆครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ตาย ห่ า น ตั้งแต่นาทีแรกแล้วครับ 127 องศาเซลเซียส เชื้อโรคยังไม่รอดคนจะรอดหรอ
ความคิดเห็นที่ 28
เปเปอร์ของ Royal Society นี่เชื่อถือได้มั้ยคะ  ไม่ได้อยู่ในวงการนี้เลยไม่ทราบ
อันนี้เป็นคอมเมนต์เกี่ยวกับตัวการทดลองนะคะ  

1775
Hot stuff: survival in 260°F heat
In 1775 Charles Blagden, Secretary of the Royal Society, entered a room heated by a furnace to at least 260°F (around 127°C). At this temperature the ‘greatest part of a beefsteak was pretty well done in 13 minutes’ and eggs that were removed after 20 minutes were found to be ‘roasted quite hard’. Yet Dr Blagden and his colleagues were unharmed by an 8-minute exposure and their core temperature did not change. Furthermore, their dog, wrapped in a blanket to protect its feet from burning on the floor, remained there for 30 minutes and was ‘little so affected during the whole time as to show signs of pleasure whenever we approached the basket’. Blagden and colleagues showed that the reason humans and dogs are able to survive such heat is owing to evaporative cooling, either from sweating, as in the case of humans, or from panting, as in the case of the dog.

Frances Ashcroft, University of Oxford.

source: http://trailblazing.royalsociety.org/commentary.aspx?action=printCommentary&eventId=97


ส่วนผลการทดลองอยู่ในลิงค์นี้ค่ะ
http://publicdomainreview.org/collections/experiments-and-observations-in-a-heated-room-1774/


เท่าที่อ่าน สรุปว่าคนอยู่ในห้องอุณหภูมิ 127 เซลเซียสจริงค่ะ  แต่แค่ 8 นาที  โดยที่ไม่ตาย
เข้าใจว่าเป็นการทดลองเพื่อยืนยันว่าอุณหภูมิในร่างกายไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิภายนอกอย่างรวดเร็ว  แต่จะคงอยู่อย่างเดิมได้ในเวลาหนึ่งค่ะ
ความคิดเห็นที่ 48
127 องศาเซลเซียสน่าจะถูกแล้วครับ เพราะว่าเป็นการอยู่ในห้องเซาวน่า ไม่ได้แช่อยู่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 127 องศาเซลเซียส อีกทั้งร่างกายคนเราจะพยายามขับเหงื่อออกมา ซึ่งเหงื่อที่ออกมาและระเหยไปก็จะทำหน้าที่เสมือนการระบายความร้อนออกจากร่างกายและเป็นฉนวนกันไม่ให้ผิวหนังไหม้ได้ด้วย

ในช่วงปี 1999-2010 ก็มีการจัดการแข่งขันการนั่งในตู้อบเซาวน่าที่ประเทศฟินแลนด์ด้วย โดยที่อุณหภูมิในตู้อบจะถูกควบคุมไว้ที่ 110 องศาเซลเซียส แต่การแข่งขันก็ยุติแค่ปี 2010 เนื่องจากมีผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งเสียชีวิตครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/World_Sauna_Championships
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  วิทยาศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่