เดือนมกราคมที่ผ่านมาถือเป็น golden month ของแฟนๆเว็ปไซต์ rockycameras.com เชียวนะครับ
เพราะเขาจะลดราคาสินค้าทุกรายการลง 50เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าสินค้าชิ้นนั้นจะมีราคาเท่าไหร่ก็ตาม
สินค้าราคา 10 ปอนด์ ก็เหลือเพียง 5 ปอนด์ สินค้าราคา 100 ปอนด์ ก็เหลือเพียง 50 ปอนด์ เท่านั้นครับ
……….
……….
และตลอดหลายเดือนที่ผ่านมานั้น ผมพยายามตามหากล้อง Voigtlander vito รุ่นอะไรก็ได้ที่ติดเลนส์ 2.8/50
เพื่อจะนำมาถอดเลนส์เอามาใช้ แต่ราคาค่าตัวใน ebay ค่อนข้างสูงครับ หนึ่งพันกลางๆถึงสองพันกว่าๆทั้งนั้น
ซึ่งผมถือว่าแพง ถ้าเราคิดเพียงเพื่อที่จะเอามาโมดิฟาย หรือที่หลายคนเรียกว่า “ฆ่าช้าง เอางา” นั่นแหละ
ราคาที่เหมาะสมนั้นผมเห็นว่าไม่ควรเกินหนึ่งพันบาท อันนี้ยอมรับได้ครับ สำหรับกล้องที่ติดเลนส์ระยะ 50mm
ส่วนจะเอฟกว้างมากหรือไม่นั้น ผมไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนักครับ
แต่ถ้าเป็นกล้องที่ติดเลนส์มาตรฐานเป็น 75mm หรือ 85mm รวมทั้ง 105mm และ 110mm
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Folding camera medium format นั้น ราคาก็ไม่ควรเกินสองพันครับ ถ้าเกินกว่านี้ไม่ควรเล่น
เพราะถ้ามันมีราคาสูงมาก เราจะไม่กล้างัดแงะมันครับ มันจะเกิดอารมณ์เสียดาย อาลัยอาวรณ์
อีกทั้งถ้าจะไปหาซื้อเลนส์ระยะเดียวกันที่ไม่ต้องโมดิฟายให้ยุ่งยากก็น่าจะแพงกว่าไม่กี่ตังค์ครับ
และคุณภาพก็น่าจะดีกว่าด้วย ซึ่งนี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล
……….
……….
ส่วนสาเหตุที่ผมตามหาเลนส์ตัวนี้เนื่องจากผมมีเลนส์ Voigtlander Vaskar 4.5/75
ที่ถอดมาจากกล้อง Voigtlander Peakeo 1 ซึ่งผลิตระหว่างปี 1951 ถึง 1955 อยู่ตัวหนึ่งแล้ว
ซึ่งมันให้อารมณ์ภาพที่คลาสสิคมากๆ คมนุ่มๆ ฟุ้งนิดๆ นัวๆ
ถ้าถ่ายขาวดำมันจะให้อารมณ์เหมือนอยู่ในยุคซิกซ์ตี้ กางเกงขาม้า เสื้อเชิ้ตแขนยาวรัดรูป ประมาณนั้น
จึงอยากเก็บให้ครบเซ็ทเท่านั้นเองครับ ไม่มีเหตุผลอื่น
และในช่วง Golden month นี้ผมจึงจัดแจงสั่งกล้อง Voigtlander vito CLR จากราคาจริงที่ตั้งไว้ 9.99 ปอนด์
เหลือเพียง 4.99 ปอนด์ ส่วนสภาพกล้องจะเป็นอย่างไรนั้น ผมไม่ใส่ใจครับ ขอให้เลนส์สวยเป็นอันใช้ได้
นอกจากนั้นยังสั่ง Voigtlander Braunschweig / Anastigmat Voigtar 11cm f 4.5 มาอีกหนึ่งตัว
ในราคาลดแล้วเหลือเพียง 7.49 ปอนด์ จากราคาที่ตั้งไว้ 14.99 ปอนด์
ส่วนค่าส่งทั้งสองชิ้นแพ็ครวมกันมาในราคา 13 ปอนด์ เบ็ดเสร็จผมจ่ายไปทั้งสิ้น 25.49 ปอนด์
หรือประมาณหนึ่งพันสามร้อยบาท ถือว่าเฉลี่ยตัวละหกร้อยกว่าบาทเท่านั้น คุ้มเกินคุ้มจริงๆครับ
Voigtlander vito CLR นั้นจากข้อมูลระบุว่าถูกผลิตขึ้นระหว่างปี 1963 ถึง 1968 ครับ
โดยตัวที่ผมได้มาเป็นรุ่น early models เพราะติดเลนส์ Lanthar 2.8/50
ส่วนโมเดลต่อๆมาจะติดเลนส์ Color Lenthar หรือ Color Skopar 2.8/50เป็นเลนส์มาตรฐานครับ
ส่วนเลนส์ Voigtar 4.5/110 นั้น เป็นเลนส์มาตรฐานของกล้อง Folding camera medium format 6x9
ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าอยู่ในกล้องรุ่นอะไร แต่อยู่ในกล้องตระกูล Bessa ซึ่งถูกผลิตขึ้นระหว่างปี 1929 ถึง 1956 แน่นอนครับ
แต่ตัวนี้มีมาเพียงหัวเลนส์ ไม่มีกล้องมาด้วย ซึ่งถือเป็นข้อดีครับ ไม่เสียเวลาในการถอด
หลังจากนั้นก็ถอดเลนส์ออกจากกล้อง ซึ่งใช้เวลาไม่มากนัก
แล้วจัดการส่งช่างตุ๋ย ช่างล้างเลนส์ประจำตระกูล ให้ล้างฝุ่นและถอดชุดชัตเตอร์ในเลนส์ออกทั้งสองตัว
เหลือไว้เพียงไดอะแฟรมรูรับแสงเท่านั้น ผลออกมามันยอดเยี่ยมจริงๆครับ เหมือนเลนส์ใหม่แกะกล่องไม่ผิดเพี้ยน
ต่อมาก็ทำการวัดระยะเพื่อแปลงเมาท์ครับ โดย Voigtar 4.5/110 แปลงเป็น M42
ส่วน Lanthar 2.8/50 แปลงเป็น M39
โดยการแปลงท้ายเลนส์ของผมนั้นมีหลักการง่ายๆคือ ผมจะแปลงเป็น M42 ก่อนเป็นอันดับแรก
ถ้า M42 แล้วอินฟินิตี้ไม่ได้ก็จะขยับลงมาเป็น M39
ถ้า M39 แล้วยังอินฟินิตี้ไม่ได้อีก ค่อยใช้วิธีการสุดท้ายคือแปลงลง M4/3 หรือ Nex หรืออะไรก็แล้วแต่กล้องที่เราใช้อยู่
ซึ่งความจริงแล้วจะแปลงลง M4/3 ตั้งแต่แรกเลยก็ย่อมได้ ง่ายดีด้วย
แต่มันจะทำให้เสียโอกาสในการนำไปใช้กับกล้องอื่นๆที่ไม่ใช่ Olympus หรือ Panasonic ครับ
จากนั้นสตารท์รถไปโรงกลึงพี่ชายทันที ไม่มีรีรอให้เสียอารมณ์
โดยช่างอ๋า มือวางอันดับหนึ่งของ PK precision parts CO., LTD ยืนยิ้มดูดเนสกาแฟกระป๋องเขียวรออยู่ก่อนแล้ว
ช่างอ๋าใช้เวลาไม่นานก็เสร็จสิ้นกระบวนการ เพราะงานไม่ยาก ไม่ซับซ้อนแต่อย่างใด ใครๆก็ทำได้
……….
……….
เสร็จแล้วจะมีหน้าตาแบบนี้ครับ
ทำการทดสอบเล็กน้อยครับ
..........
..........
จากการทดลองถ่ายภาพในลักษณะการใช้งานจริง หมายถึงผมใช้ F-stop ที่ 4 หรือ 5.6 เป็นหลักครับ
เพราะผมจะไม่ใช้เอฟกว้างสุดโดยไม่จำเป็นครับ โดยเฉพาะกับเลนส์รุ่นเก่าๆ
ผมมักจะหรี่รูรับแสงให้แคบลง 1 stop ขึ้นไปเสมอครับ
ปรากฏว่ามันให้ภาพที่คม สวย สีสดและไบรท์มากๆครับ
ตอนแรกผมคาดว่า Lanthar 2.8/50 ตัวนี้จะให้ภาพที่คมนัวๆ ฟุ้งๆ เหมือนกับ Vaskar 4.5/75 ที่มีอยู่
แต่ผิดคาดจริงๆครับ ความคมแตกต่างกันราวเป็นเลนส์คนละแบรนด์ทีเดียว
น้ำหนักกำลังสวยครับ ตัวเล็ก เหมาะมือ สีเงิน เงา วาววับ เรียกความสนใจจากคนรอบข้างได้ดีมากๆ
และเมื่อจับประกบกับ Hood ทรง vintage แล้วมันยิ่งทำให้เลนส์ตัวนี้กลายเป็นเลนส์ราคาแพงขึ้นมาทันทีครับ
จุดอ่อนมีอย่างเดียวคือระยะ Minimum focus ที่มากถึง 1เมตร แต่ก็ถือว่าเป็นมาตรฐานของเลนส์นอมอลในยุคนั้นครับ
สำหรับผู้ที่คิดจะหากล้องเก่ามาถอดเลนส์เอามาใช้นั้น
ผมมีข้อแนะนำว่าให้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะต้องเกิดขึ้นตามมาด้วยนะครับ มิเช่นนั้นงบประมาณอาจบานปลายได้
ถ้าเป็นกล้องเรนจ์ฟายเดอร์หรือพวก Folding camera นั้น มันจะต้องถอดชุดชัตเตอร์ออก และควรจะทำการล้างเลนส์
เพราะมันจะต้องมีฝุ่น มีราเล็กๆติดมาด้วย เนื่องจากอายุเลนส์ค่อนข้างมาก ควรทำความสะอาดไปพร้อมๆกันเลยครับ
ซึ่งถ้าเราส่งให้ช่างทำให้ก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณห้าร้อยถึงเจ็ดร้อยบาท ขึ้นอยู่กับความสนิทสนมกับช่างครับ
แต่ราคาปกติที่ช่างตุ๋ยบริการให้ผมในฐานะช่างล้างเลนส์ประจำตระกูลอยู่ที่สามร้อยบาทครับ
( แต่หากเป็นเลนส์ที่ไม่มีชุดชัตเตอร์อยู่ภายใน เช่น เลนส์กล้องถ่ายหนัง ก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ )
และจะต้องมีค่าจ้างกลึงที่ตกประมาณหกถึงแปดร้อยบาทขึ้นไป ( แต่ผมไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ )
โดยประมาณก็จะต้องเตรียมงบประมาณขั้นต้นไว้หนึ่งพันบาทครับ
เพราะฉะนั้นควรหากล้องที่มีราคาไม่สูงนัก หาเป็นแบบที่ผู้ขายระบุว่า For parts or repair ได้ยิ่งดี
เพราะราคาจะถูกกว่าตัวที่มีสภาพสมบูรณ์ ซึ่งผมก็ไม่รู้จะเอากล้องสภาพสมบูรณ์มาทำไม เดี๋ยวก็ต้องงัดแงะอยู่แล้ว
ขอเพียงให้ชิ้นเลนส์ไม่มีรอยมากนักเป็นพอครับ ส่วนจะมีฝุ่นเล็กน้อยนั้นไม่ใช่ปัญหา
ชัตเตอร์จะเสีย สปีดไม่ตรงก็ไม่ต้องสนใจ Self timer ไม่ทำงานก็ไม่ต้องไปแคร์ ขอแค่รูรับแสงทำงานปกติเป็นใช้ได้ครับ
เมื่อบวกลบคูณหารเรียบร้อย ถ้ารวมทั้งหมดแล้วไม่ถึงสองพันก็น่าสนใจ ( ในกรณีของเลนส์ระยะ 50mm นะครับ )
แต่ถ้าเกินกว่านั้น แนะนำให้ไปหาเลนส์ที่ไม่ต้องโมดิฟาย จะคุ้มกว่าครับ
แต่หากอยากได้มากโดยไม่เกี่ยงราคา ก็จัดไปเลยครับ ไม่ว่ากัน
……….
……….
หรืออีกวิธีหนึ่งที่สามารถประหยัดงบประมาณในกระเป๋าไปได้มากๆก็คือการโมดิฟายโดยใช้ท่อพีวีซีครับ
และแปลงลงเมาท์ของกล้องที่เราใช้อยู่ได้เลย โดยใช้อแดปเตอร์ C-mount to M4/3 หรือ Nex หรือ Fuji
ชึ่งทำได้ง่ายๆด้วยตัวเอง แต่งานอาจไม่สวยเนี๊ยบเท่างานที่กลึงจากอลูมิเนียม
แต่ใช้งานได้ไม่แตกต่างกันครับ
สุดท้าย…เมื่อทำการโมดิฟายเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เลนส์ที่เราลงทุนไปหนึ่งพันบาท หรืออาจมากกว่าหรือน้อยกว่านั้นเล็กน้อย
อาจให้คุณภาพไม่แพ้เลนส์ราคาแพงก็เป็นได้นะครับ
ที่สำคัญคือคาแรคเตอร์ของเลนส์ประเภทนี้มันชัดเจนมากๆ หาไม่ได้ในเลนส์รุ่นใหม่ๆ
และสำหรับเจ้า Voigtlander Lanthar 2.8/50 ที่ผมได้มานี้
ใครเสนอให้ผมห้าพัน …ผมก็ไม่ขายครับ!!!
และอีกสักหนึ่งสัปดาห์จะนำเรื่องราวของ Voigtlander Voigtar 4.5/110 มาฝากนะครับ
ขอให้สมาชิกทุกๆท่านมีสุขภาพแข็งแรง เดินทางด้วยความปลอดภัยเสมอครับ
สวัสดี!!!
ตามล่า Voigtlander VITO CLR...ตามหา Voigtlander Lanthar 2.8/50!!!
เดือนมกราคมที่ผ่านมาถือเป็น golden month ของแฟนๆเว็ปไซต์ rockycameras.com เชียวนะครับ
เพราะเขาจะลดราคาสินค้าทุกรายการลง 50เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าสินค้าชิ้นนั้นจะมีราคาเท่าไหร่ก็ตาม
สินค้าราคา 10 ปอนด์ ก็เหลือเพียง 5 ปอนด์ สินค้าราคา 100 ปอนด์ ก็เหลือเพียง 50 ปอนด์ เท่านั้นครับ
……….
……….
และตลอดหลายเดือนที่ผ่านมานั้น ผมพยายามตามหากล้อง Voigtlander vito รุ่นอะไรก็ได้ที่ติดเลนส์ 2.8/50
เพื่อจะนำมาถอดเลนส์เอามาใช้ แต่ราคาค่าตัวใน ebay ค่อนข้างสูงครับ หนึ่งพันกลางๆถึงสองพันกว่าๆทั้งนั้น
ซึ่งผมถือว่าแพง ถ้าเราคิดเพียงเพื่อที่จะเอามาโมดิฟาย หรือที่หลายคนเรียกว่า “ฆ่าช้าง เอางา” นั่นแหละ
ราคาที่เหมาะสมนั้นผมเห็นว่าไม่ควรเกินหนึ่งพันบาท อันนี้ยอมรับได้ครับ สำหรับกล้องที่ติดเลนส์ระยะ 50mm
ส่วนจะเอฟกว้างมากหรือไม่นั้น ผมไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนักครับ
แต่ถ้าเป็นกล้องที่ติดเลนส์มาตรฐานเป็น 75mm หรือ 85mm รวมทั้ง 105mm และ 110mm
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Folding camera medium format นั้น ราคาก็ไม่ควรเกินสองพันครับ ถ้าเกินกว่านี้ไม่ควรเล่น
เพราะถ้ามันมีราคาสูงมาก เราจะไม่กล้างัดแงะมันครับ มันจะเกิดอารมณ์เสียดาย อาลัยอาวรณ์
อีกทั้งถ้าจะไปหาซื้อเลนส์ระยะเดียวกันที่ไม่ต้องโมดิฟายให้ยุ่งยากก็น่าจะแพงกว่าไม่กี่ตังค์ครับ
และคุณภาพก็น่าจะดีกว่าด้วย ซึ่งนี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล
……….
……….
ส่วนสาเหตุที่ผมตามหาเลนส์ตัวนี้เนื่องจากผมมีเลนส์ Voigtlander Vaskar 4.5/75
ที่ถอดมาจากกล้อง Voigtlander Peakeo 1 ซึ่งผลิตระหว่างปี 1951 ถึง 1955 อยู่ตัวหนึ่งแล้ว
ซึ่งมันให้อารมณ์ภาพที่คลาสสิคมากๆ คมนุ่มๆ ฟุ้งนิดๆ นัวๆ
ถ้าถ่ายขาวดำมันจะให้อารมณ์เหมือนอยู่ในยุคซิกซ์ตี้ กางเกงขาม้า เสื้อเชิ้ตแขนยาวรัดรูป ประมาณนั้น
จึงอยากเก็บให้ครบเซ็ทเท่านั้นเองครับ ไม่มีเหตุผลอื่น
และในช่วง Golden month นี้ผมจึงจัดแจงสั่งกล้อง Voigtlander vito CLR จากราคาจริงที่ตั้งไว้ 9.99 ปอนด์
เหลือเพียง 4.99 ปอนด์ ส่วนสภาพกล้องจะเป็นอย่างไรนั้น ผมไม่ใส่ใจครับ ขอให้เลนส์สวยเป็นอันใช้ได้
นอกจากนั้นยังสั่ง Voigtlander Braunschweig / Anastigmat Voigtar 11cm f 4.5 มาอีกหนึ่งตัว
ในราคาลดแล้วเหลือเพียง 7.49 ปอนด์ จากราคาที่ตั้งไว้ 14.99 ปอนด์
ส่วนค่าส่งทั้งสองชิ้นแพ็ครวมกันมาในราคา 13 ปอนด์ เบ็ดเสร็จผมจ่ายไปทั้งสิ้น 25.49 ปอนด์
หรือประมาณหนึ่งพันสามร้อยบาท ถือว่าเฉลี่ยตัวละหกร้อยกว่าบาทเท่านั้น คุ้มเกินคุ้มจริงๆครับ
Voigtlander vito CLR นั้นจากข้อมูลระบุว่าถูกผลิตขึ้นระหว่างปี 1963 ถึง 1968 ครับ
โดยตัวที่ผมได้มาเป็นรุ่น early models เพราะติดเลนส์ Lanthar 2.8/50
ส่วนโมเดลต่อๆมาจะติดเลนส์ Color Lenthar หรือ Color Skopar 2.8/50เป็นเลนส์มาตรฐานครับ
ส่วนเลนส์ Voigtar 4.5/110 นั้น เป็นเลนส์มาตรฐานของกล้อง Folding camera medium format 6x9
ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าอยู่ในกล้องรุ่นอะไร แต่อยู่ในกล้องตระกูล Bessa ซึ่งถูกผลิตขึ้นระหว่างปี 1929 ถึง 1956 แน่นอนครับ
แต่ตัวนี้มีมาเพียงหัวเลนส์ ไม่มีกล้องมาด้วย ซึ่งถือเป็นข้อดีครับ ไม่เสียเวลาในการถอด
หลังจากนั้นก็ถอดเลนส์ออกจากกล้อง ซึ่งใช้เวลาไม่มากนัก
แล้วจัดการส่งช่างตุ๋ย ช่างล้างเลนส์ประจำตระกูล ให้ล้างฝุ่นและถอดชุดชัตเตอร์ในเลนส์ออกทั้งสองตัว
เหลือไว้เพียงไดอะแฟรมรูรับแสงเท่านั้น ผลออกมามันยอดเยี่ยมจริงๆครับ เหมือนเลนส์ใหม่แกะกล่องไม่ผิดเพี้ยน
ต่อมาก็ทำการวัดระยะเพื่อแปลงเมาท์ครับ โดย Voigtar 4.5/110 แปลงเป็น M42
ส่วน Lanthar 2.8/50 แปลงเป็น M39
โดยการแปลงท้ายเลนส์ของผมนั้นมีหลักการง่ายๆคือ ผมจะแปลงเป็น M42 ก่อนเป็นอันดับแรก
ถ้า M42 แล้วอินฟินิตี้ไม่ได้ก็จะขยับลงมาเป็น M39
ถ้า M39 แล้วยังอินฟินิตี้ไม่ได้อีก ค่อยใช้วิธีการสุดท้ายคือแปลงลง M4/3 หรือ Nex หรืออะไรก็แล้วแต่กล้องที่เราใช้อยู่
ซึ่งความจริงแล้วจะแปลงลง M4/3 ตั้งแต่แรกเลยก็ย่อมได้ ง่ายดีด้วย
แต่มันจะทำให้เสียโอกาสในการนำไปใช้กับกล้องอื่นๆที่ไม่ใช่ Olympus หรือ Panasonic ครับ
จากนั้นสตารท์รถไปโรงกลึงพี่ชายทันที ไม่มีรีรอให้เสียอารมณ์
โดยช่างอ๋า มือวางอันดับหนึ่งของ PK precision parts CO., LTD ยืนยิ้มดูดเนสกาแฟกระป๋องเขียวรออยู่ก่อนแล้ว
ช่างอ๋าใช้เวลาไม่นานก็เสร็จสิ้นกระบวนการ เพราะงานไม่ยาก ไม่ซับซ้อนแต่อย่างใด ใครๆก็ทำได้
……….
……….
เสร็จแล้วจะมีหน้าตาแบบนี้ครับ
ทำการทดสอบเล็กน้อยครับ
..........
..........
จากการทดลองถ่ายภาพในลักษณะการใช้งานจริง หมายถึงผมใช้ F-stop ที่ 4 หรือ 5.6 เป็นหลักครับ
เพราะผมจะไม่ใช้เอฟกว้างสุดโดยไม่จำเป็นครับ โดยเฉพาะกับเลนส์รุ่นเก่าๆ
ผมมักจะหรี่รูรับแสงให้แคบลง 1 stop ขึ้นไปเสมอครับ
ปรากฏว่ามันให้ภาพที่คม สวย สีสดและไบรท์มากๆครับ
ตอนแรกผมคาดว่า Lanthar 2.8/50 ตัวนี้จะให้ภาพที่คมนัวๆ ฟุ้งๆ เหมือนกับ Vaskar 4.5/75 ที่มีอยู่
แต่ผิดคาดจริงๆครับ ความคมแตกต่างกันราวเป็นเลนส์คนละแบรนด์ทีเดียว
น้ำหนักกำลังสวยครับ ตัวเล็ก เหมาะมือ สีเงิน เงา วาววับ เรียกความสนใจจากคนรอบข้างได้ดีมากๆ
และเมื่อจับประกบกับ Hood ทรง vintage แล้วมันยิ่งทำให้เลนส์ตัวนี้กลายเป็นเลนส์ราคาแพงขึ้นมาทันทีครับ
จุดอ่อนมีอย่างเดียวคือระยะ Minimum focus ที่มากถึง 1เมตร แต่ก็ถือว่าเป็นมาตรฐานของเลนส์นอมอลในยุคนั้นครับ
สำหรับผู้ที่คิดจะหากล้องเก่ามาถอดเลนส์เอามาใช้นั้น
ผมมีข้อแนะนำว่าให้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะต้องเกิดขึ้นตามมาด้วยนะครับ มิเช่นนั้นงบประมาณอาจบานปลายได้
ถ้าเป็นกล้องเรนจ์ฟายเดอร์หรือพวก Folding camera นั้น มันจะต้องถอดชุดชัตเตอร์ออก และควรจะทำการล้างเลนส์
เพราะมันจะต้องมีฝุ่น มีราเล็กๆติดมาด้วย เนื่องจากอายุเลนส์ค่อนข้างมาก ควรทำความสะอาดไปพร้อมๆกันเลยครับ
ซึ่งถ้าเราส่งให้ช่างทำให้ก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณห้าร้อยถึงเจ็ดร้อยบาท ขึ้นอยู่กับความสนิทสนมกับช่างครับ
แต่ราคาปกติที่ช่างตุ๋ยบริการให้ผมในฐานะช่างล้างเลนส์ประจำตระกูลอยู่ที่สามร้อยบาทครับ
( แต่หากเป็นเลนส์ที่ไม่มีชุดชัตเตอร์อยู่ภายใน เช่น เลนส์กล้องถ่ายหนัง ก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ )
และจะต้องมีค่าจ้างกลึงที่ตกประมาณหกถึงแปดร้อยบาทขึ้นไป ( แต่ผมไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ )
โดยประมาณก็จะต้องเตรียมงบประมาณขั้นต้นไว้หนึ่งพันบาทครับ
เพราะฉะนั้นควรหากล้องที่มีราคาไม่สูงนัก หาเป็นแบบที่ผู้ขายระบุว่า For parts or repair ได้ยิ่งดี
เพราะราคาจะถูกกว่าตัวที่มีสภาพสมบูรณ์ ซึ่งผมก็ไม่รู้จะเอากล้องสภาพสมบูรณ์มาทำไม เดี๋ยวก็ต้องงัดแงะอยู่แล้ว
ขอเพียงให้ชิ้นเลนส์ไม่มีรอยมากนักเป็นพอครับ ส่วนจะมีฝุ่นเล็กน้อยนั้นไม่ใช่ปัญหา
ชัตเตอร์จะเสีย สปีดไม่ตรงก็ไม่ต้องสนใจ Self timer ไม่ทำงานก็ไม่ต้องไปแคร์ ขอแค่รูรับแสงทำงานปกติเป็นใช้ได้ครับ
เมื่อบวกลบคูณหารเรียบร้อย ถ้ารวมทั้งหมดแล้วไม่ถึงสองพันก็น่าสนใจ ( ในกรณีของเลนส์ระยะ 50mm นะครับ )
แต่ถ้าเกินกว่านั้น แนะนำให้ไปหาเลนส์ที่ไม่ต้องโมดิฟาย จะคุ้มกว่าครับ
แต่หากอยากได้มากโดยไม่เกี่ยงราคา ก็จัดไปเลยครับ ไม่ว่ากัน
……….
……….
หรืออีกวิธีหนึ่งที่สามารถประหยัดงบประมาณในกระเป๋าไปได้มากๆก็คือการโมดิฟายโดยใช้ท่อพีวีซีครับ
และแปลงลงเมาท์ของกล้องที่เราใช้อยู่ได้เลย โดยใช้อแดปเตอร์ C-mount to M4/3 หรือ Nex หรือ Fuji
ชึ่งทำได้ง่ายๆด้วยตัวเอง แต่งานอาจไม่สวยเนี๊ยบเท่างานที่กลึงจากอลูมิเนียม
แต่ใช้งานได้ไม่แตกต่างกันครับ
สุดท้าย…เมื่อทำการโมดิฟายเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เลนส์ที่เราลงทุนไปหนึ่งพันบาท หรืออาจมากกว่าหรือน้อยกว่านั้นเล็กน้อย
อาจให้คุณภาพไม่แพ้เลนส์ราคาแพงก็เป็นได้นะครับ
ที่สำคัญคือคาแรคเตอร์ของเลนส์ประเภทนี้มันชัดเจนมากๆ หาไม่ได้ในเลนส์รุ่นใหม่ๆ
และสำหรับเจ้า Voigtlander Lanthar 2.8/50 ที่ผมได้มานี้
ใครเสนอให้ผมห้าพัน …ผมก็ไม่ขายครับ!!!
และอีกสักหนึ่งสัปดาห์จะนำเรื่องราวของ Voigtlander Voigtar 4.5/110 มาฝากนะครับ
ขอให้สมาชิกทุกๆท่านมีสุขภาพแข็งแรง เดินทางด้วยความปลอดภัยเสมอครับ
สวัสดี!!!