จีนพบหลุมดำยักษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 1.2 หมื่นล้านเท่า ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา คาดก่อตัวราว 900 ล้านปีหลังเกิดบิ๊กแบง
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ได้เผยการค้นพบหลุมดำยักษ์ใหม่ซึ่งถูกค้นพบโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน ผู้ค้นพบเผยว่ามองเห็นมันเป็นครั้งแรกจากการส่องกล้องโทรทรรศน์ในในมณฑลยูนนาน ก่อนทำการส่องสำรวจเพิ่มเติมจากกล้องโทรทัศน์ในอีกหลาย ๆ แห่งทั่วโลก
ทีมวิจัยจากปักกิ่งร่วมกับทีมวิจัยอเมริกันจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา ตั้งชื่อหลุมดำที่ค้นพบนี้ว่า SDSS J010013.02 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหลุมดำที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันถึง 6 เท่า นอกจากนี้ยังระบุว่าการได้ค้นพบหลุมดำเช่นนี้ในขณะที่จักรวาลหมื่นล้านปี เป็นการท้าทายทฤษฎีการก่อตัวและพัฒนาของหลุมดำ รวมทั้งทฤษฎีการวิวัฒนาการร่วมกันของหลุมดำและดาราจักรด้วย
นักวิจัยบางส่วนสันนิษฐานว่า หลุมดำดังกล่าวอยู่ที่ศูนย์กลางและให้พลังงานกับควอซาร์ (Quasar) ซึ่งเป็นมวลขนาดใหญ่ที่เปล่งแสงออกมาและดูดกลืนวัตถุที่อยู่รอบข้าง แล้วยังทำให้อุณหภูมิของสิ่งที่ดูดกลืนเข้าไปนั้นเพิ่มขึ้นด้วย และในขณะเดียวกันก็ชะลอการขยายตัวของหลุมดำ ขณะที่นักวิจัยบางรายให้ความคิดเห็นว่า หลุมดำอาจเกิดจากร่วมกันสลายของมวลก๊าซขนาดใหญ่ ไม่ใช่การสลายตัวของดาวดวงเดียว
ทั้งนี้ การก่อกำเนิดของหลุมดำยังคงเป็นปริศนาที่ไขไม่กระจ่างอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ก็คาดว่าการได้ค้นพบหลุมดำยักษ์ ซึ่งก่อตัวขึ้นในช่วงต้น ๆ ของการกำเนิดจักรวาล น่าจะช่วยต่อยอดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้
Credit ;
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณ ข่าวจาก http://hilight.kapook.com/view/116682
ค้นพบ หลุมดำยักษ์ มวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 1.2 หมื่นล้านเท่า SDSS J010013.02
จีนพบหลุมดำยักษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 1.2 หมื่นล้านเท่า ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา คาดก่อตัวราว 900 ล้านปีหลังเกิดบิ๊กแบง
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ได้เผยการค้นพบหลุมดำยักษ์ใหม่ซึ่งถูกค้นพบโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน ผู้ค้นพบเผยว่ามองเห็นมันเป็นครั้งแรกจากการส่องกล้องโทรทรรศน์ในในมณฑลยูนนาน ก่อนทำการส่องสำรวจเพิ่มเติมจากกล้องโทรทัศน์ในอีกหลาย ๆ แห่งทั่วโลก
ทีมวิจัยจากปักกิ่งร่วมกับทีมวิจัยอเมริกันจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา ตั้งชื่อหลุมดำที่ค้นพบนี้ว่า SDSS J010013.02 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหลุมดำที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันถึง 6 เท่า นอกจากนี้ยังระบุว่าการได้ค้นพบหลุมดำเช่นนี้ในขณะที่จักรวาลหมื่นล้านปี เป็นการท้าทายทฤษฎีการก่อตัวและพัฒนาของหลุมดำ รวมทั้งทฤษฎีการวิวัฒนาการร่วมกันของหลุมดำและดาราจักรด้วย
นักวิจัยบางส่วนสันนิษฐานว่า หลุมดำดังกล่าวอยู่ที่ศูนย์กลางและให้พลังงานกับควอซาร์ (Quasar) ซึ่งเป็นมวลขนาดใหญ่ที่เปล่งแสงออกมาและดูดกลืนวัตถุที่อยู่รอบข้าง แล้วยังทำให้อุณหภูมิของสิ่งที่ดูดกลืนเข้าไปนั้นเพิ่มขึ้นด้วย และในขณะเดียวกันก็ชะลอการขยายตัวของหลุมดำ ขณะที่นักวิจัยบางรายให้ความคิดเห็นว่า หลุมดำอาจเกิดจากร่วมกันสลายของมวลก๊าซขนาดใหญ่ ไม่ใช่การสลายตัวของดาวดวงเดียว
ทั้งนี้ การก่อกำเนิดของหลุมดำยังคงเป็นปริศนาที่ไขไม่กระจ่างอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ก็คาดว่าการได้ค้นพบหลุมดำยักษ์ ซึ่งก่อตัวขึ้นในช่วงต้น ๆ ของการกำเนิดจักรวาล น่าจะช่วยต่อยอดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้
Credit ;
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้