"ไทยไม่ แต่ลาวทำได้" นับถอยหลังโรงไฟฟ้าหงสา 1,878 MW
การ รับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP (Power Development Plan) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 (2555-2573) มีโครงการที่ต้องเริ่มเข้าระบบในปี 2558 แล้วคือ โรงไฟฟ้าหงสา ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง กำลังผลิตติดตั้ง 1,878 เมกะวัตต์ จะส่งไฟฟ้าเข้ามารองรับความต้องการใช้ในประเทศไทยประมาณ 1,600 เมกะวัตต์ ในอัตราค่าไฟฟ้าไม่ถึง 2 บาท/หน่วย และรองรับการใช้ใน สปป.ลาวประมาณ 200 เมกะวัตต์เท่านั้น
โครงการโรงไฟฟ้าหงสามีพื้นที่รวม 76.2 ตารางกิโลเมตร ในเขตเมืองหงสา แขวงไซยะบุรี สปป.ลาว พื้นที่ใกล้เคียงเป็นเหมืองถ่านหินลิกไนต์ สามารถรองรับการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าตลอดอายุสัญญา
25 ปี ด้วยปริมาณถ่านหินสำรอง 577.4 ล้านตัน เหตุผลที่ต้องผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าใกล้พื้นที่เหมืองดังกล่าวเพราะถ่านหิน ลิกไนต์ไม่สามารถส่งออกได้ และที่สำคัญคือ สปป.ลาวต้องการพัฒนาประเทศให้เป็น "แหล่งพลังงานของภูมิภาคอาเซียน" หรือ Battery of ASEAN
โดยมีผู้ร่วมดำเนินโครงการทั้งหมด 3 ฝ่ายคือ 1) รัฐวิสาหกิจถือหุ้นลาว (Lao Holding state Enterprise-LHSE) ร้อยละ 20 2) บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด ถือร้อยละ 40 และ 3) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือร้อยละ 40 แล้ว และตั้งบริษัท ไฟฟ้า
หงสา จำกัด ขึ้นมาดูแลโครงการ ในปี 2553 ได้ลงนามสัญญากับรัฐบาล สปป.ลาวทันที พร้อมกับเริ่มขั้นตอนทางการเงิน เพราะโครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนสูงถึงประมาณ 3,710 ล้านเหรียญสหรัฐ ต้อง
กู้ เงินจากสถาบันการเงินประมาณ 11 แห่งในประเทศประมาณ 3,000 ล้านเหรียญ และที่สำคัญต้องมีการลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนรวม 450 ครัวเรือน
ที่ต้องย้ายออกจากพื้นที่ ก่อนที่โครงการจะเริ่มก่อสร้าง
การ ย้ายทั้ง 450 ครัวเรือน ทางบริษัท ไฟฟ้าหงสาฯได้ดำเนินการร่วมกับรัฐบาล สปป.ลาว ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด แม้ว่าประชาชนจะย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ตามที่รัฐบาลกำหนด ประเด็นหลัก ๆ ที่จะต้องดำเนินต่อ คือ 1) สร้างที่อยู่อาศัยใหม่ 2) สร้างอาชีพพร้อมกับการประกันรายได้ และ 3) โครงการต้องดูแลสังคมต่อเนื่องและ
ใส่เงินเพื่อดูแลสังคมสิ่งแวดล้อมประมาณ 2 ล้านเหรียญ/ปี และทุกขั้นตอนเบิกจ่ายจะต้องมีการลงนามร่วมกับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ
ขณะ นี้ในพื้นที่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมผลิตไฟฟ้า เข้าระบบได้ตามแผนในปี 2558 สำหรับการส่งไฟฟ้ามายังประเทศไทยจะมีจุดเชื่อมโยง
ที่อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน
ใน ส่วนของเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าได้ว่าจ้างให้บริษัทจากประเทศจีนที่เชี่ยวชาญ ด้านโรงไฟฟ้าถ่านหินมาดูแลการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งเทคโนโลยีได้มาตรฐานสากล โดยมีเงื่อนไขเป็น เครื่องผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินที่ออกแบบตามที่เจ้าของโครงการต้องการ (Make by order) เช่น กำลังผลิต-ค่าความร้อนเป็นอย่างไร ต้องปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในระดับที่ต่ำมาก
ทางบริษัทไฟฟ้าหง สาฯยืนยันว่า เทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าสามารถดักจับก๊าซซัลเฟอร์ฯได้สูงสุดถึงร้อยละ 92 และถ่านหินในแหล่งนี้ถือว่ามีปริมาณซัลเฟอร์ในระดับต่ำมากเพียงร้อยละ 0.7 ทำให้ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ฯที่จะปล่อยจากกระบวนการผลิตน้อยลงไปด้วย
สำหรับ การขยายโครงการโรงไฟฟ้าหงสาในอนาคตให้มากกว่ากำลังผลิตที่ 1,800 เมกะวัตต์นั้น ขณะนี้ยังไม่มีแผนขยายไว้รองรับ และหากจะขยายในช่วงท้ายของสัญญาจะต้องมีการเจรจากับรัฐบาลของ สปป.ลาวอีกครั้ง และอาจจะดำเนินการได้หลายวิธีคือ 1) รัฐบาล สปป.ลาวลงทุนขยายเอง และ 2) ให้เอกชนรายเดิมหรือรายใหม่เสนอพัฒนาโครงการส่วนขยายเข้ามาเพิ่มเติมได้
ทั้ง นี้ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด มองว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใน สปป.ลาวสามารถพัฒนาได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใน เมืองไทย เพราะการปกครองที่แตกต่างกัน และที่สำคัญ
คือให้ข้อมูล ประชาชนเข้าใจแท้จริงว่าระบบของโรงไฟฟ้าเป็นอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้นคือ ในพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลมาประจำโครงการ สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา หรือแม้แต่การเข้าตรวจการพัฒนาโครงการของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ระดับรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า สามารถตรวจได้ตลอดเวลา เป็นต้น
การรับ ซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านตามแผน PDP ฉบับปัจจุบันยังมีอีกหลายโครงการตามแผน เช่น โรงไฟฟ้าไซยะบุรี กำลังผลิตประมาณ 1,200 เมกะวัตต์ ที่จะเข้าระบบในปี 2562 ตามมาอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศต้องเผชิญกับวิกฤตไฟฟ้าในช่วง 5-14 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา เพราะก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาไม่สามารถส่งป้อนโรงไฟฟ้าในประเทศได้ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังเสี่ยง หากยังคงพึ่งพาก๊าซมากเกินไป
จึง มีความจำเป็นต้องกระจายเชื้อเพลิงไปยังประเภทอื่น ๆ มากขึ้น ซึ่งนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มีนโยบายชัดเจนว่า ในแผนระยะกลาง เพื่อลดความเสี่ยงของประเทศต้องรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านในช่วง 20 ปี เพิ่มเป็น 20,000 เมกะวัตต์ รวมไปถึงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศโดยเอกชน
Cr: ภาพสวยๆจาก Teenoi Sam
จาก
https://www.facebook.com/groups/1412754209008751/permalink/1566426900308147/
"ไทยไม่ แต่ลาวทำได้" นับถอยหลังโรงไฟฟ้าหงสา 1,878 MW
การ รับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP (Power Development Plan) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 (2555-2573) มีโครงการที่ต้องเริ่มเข้าระบบในปี 2558 แล้วคือ โรงไฟฟ้าหงสา ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง กำลังผลิตติดตั้ง 1,878 เมกะวัตต์ จะส่งไฟฟ้าเข้ามารองรับความต้องการใช้ในประเทศไทยประมาณ 1,600 เมกะวัตต์ ในอัตราค่าไฟฟ้าไม่ถึง 2 บาท/หน่วย และรองรับการใช้ใน สปป.ลาวประมาณ 200 เมกะวัตต์เท่านั้น
โครงการโรงไฟฟ้าหงสามีพื้นที่รวม 76.2 ตารางกิโลเมตร ในเขตเมืองหงสา แขวงไซยะบุรี สปป.ลาว พื้นที่ใกล้เคียงเป็นเหมืองถ่านหินลิกไนต์ สามารถรองรับการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าตลอดอายุสัญญา
25 ปี ด้วยปริมาณถ่านหินสำรอง 577.4 ล้านตัน เหตุผลที่ต้องผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าใกล้พื้นที่เหมืองดังกล่าวเพราะถ่านหิน ลิกไนต์ไม่สามารถส่งออกได้ และที่สำคัญคือ สปป.ลาวต้องการพัฒนาประเทศให้เป็น "แหล่งพลังงานของภูมิภาคอาเซียน" หรือ Battery of ASEAN
โดยมีผู้ร่วมดำเนินโครงการทั้งหมด 3 ฝ่ายคือ 1) รัฐวิสาหกิจถือหุ้นลาว (Lao Holding state Enterprise-LHSE) ร้อยละ 20 2) บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด ถือร้อยละ 40 และ 3) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือร้อยละ 40 แล้ว และตั้งบริษัท ไฟฟ้า
หงสา จำกัด ขึ้นมาดูแลโครงการ ในปี 2553 ได้ลงนามสัญญากับรัฐบาล สปป.ลาวทันที พร้อมกับเริ่มขั้นตอนทางการเงิน เพราะโครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนสูงถึงประมาณ 3,710 ล้านเหรียญสหรัฐ ต้อง
กู้ เงินจากสถาบันการเงินประมาณ 11 แห่งในประเทศประมาณ 3,000 ล้านเหรียญ และที่สำคัญต้องมีการลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนรวม 450 ครัวเรือน
ที่ต้องย้ายออกจากพื้นที่ ก่อนที่โครงการจะเริ่มก่อสร้าง
การ ย้ายทั้ง 450 ครัวเรือน ทางบริษัท ไฟฟ้าหงสาฯได้ดำเนินการร่วมกับรัฐบาล สปป.ลาว ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด แม้ว่าประชาชนจะย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ตามที่รัฐบาลกำหนด ประเด็นหลัก ๆ ที่จะต้องดำเนินต่อ คือ 1) สร้างที่อยู่อาศัยใหม่ 2) สร้างอาชีพพร้อมกับการประกันรายได้ และ 3) โครงการต้องดูแลสังคมต่อเนื่องและ
ใส่เงินเพื่อดูแลสังคมสิ่งแวดล้อมประมาณ 2 ล้านเหรียญ/ปี และทุกขั้นตอนเบิกจ่ายจะต้องมีการลงนามร่วมกับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ
ขณะ นี้ในพื้นที่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมผลิตไฟฟ้า เข้าระบบได้ตามแผนในปี 2558 สำหรับการส่งไฟฟ้ามายังประเทศไทยจะมีจุดเชื่อมโยง
ที่อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน
ใน ส่วนของเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าได้ว่าจ้างให้บริษัทจากประเทศจีนที่เชี่ยวชาญ ด้านโรงไฟฟ้าถ่านหินมาดูแลการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งเทคโนโลยีได้มาตรฐานสากล โดยมีเงื่อนไขเป็น เครื่องผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินที่ออกแบบตามที่เจ้าของโครงการต้องการ (Make by order) เช่น กำลังผลิต-ค่าความร้อนเป็นอย่างไร ต้องปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในระดับที่ต่ำมาก
ทางบริษัทไฟฟ้าหง สาฯยืนยันว่า เทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าสามารถดักจับก๊าซซัลเฟอร์ฯได้สูงสุดถึงร้อยละ 92 และถ่านหินในแหล่งนี้ถือว่ามีปริมาณซัลเฟอร์ในระดับต่ำมากเพียงร้อยละ 0.7 ทำให้ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ฯที่จะปล่อยจากกระบวนการผลิตน้อยลงไปด้วย
สำหรับ การขยายโครงการโรงไฟฟ้าหงสาในอนาคตให้มากกว่ากำลังผลิตที่ 1,800 เมกะวัตต์นั้น ขณะนี้ยังไม่มีแผนขยายไว้รองรับ และหากจะขยายในช่วงท้ายของสัญญาจะต้องมีการเจรจากับรัฐบาลของ สปป.ลาวอีกครั้ง และอาจจะดำเนินการได้หลายวิธีคือ 1) รัฐบาล สปป.ลาวลงทุนขยายเอง และ 2) ให้เอกชนรายเดิมหรือรายใหม่เสนอพัฒนาโครงการส่วนขยายเข้ามาเพิ่มเติมได้
ทั้ง นี้ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด มองว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใน สปป.ลาวสามารถพัฒนาได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใน เมืองไทย เพราะการปกครองที่แตกต่างกัน และที่สำคัญ
คือให้ข้อมูล ประชาชนเข้าใจแท้จริงว่าระบบของโรงไฟฟ้าเป็นอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้นคือ ในพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลมาประจำโครงการ สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา หรือแม้แต่การเข้าตรวจการพัฒนาโครงการของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ระดับรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า สามารถตรวจได้ตลอดเวลา เป็นต้น
การรับ ซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านตามแผน PDP ฉบับปัจจุบันยังมีอีกหลายโครงการตามแผน เช่น โรงไฟฟ้าไซยะบุรี กำลังผลิตประมาณ 1,200 เมกะวัตต์ ที่จะเข้าระบบในปี 2562 ตามมาอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศต้องเผชิญกับวิกฤตไฟฟ้าในช่วง 5-14 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา เพราะก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาไม่สามารถส่งป้อนโรงไฟฟ้าในประเทศได้ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังเสี่ยง หากยังคงพึ่งพาก๊าซมากเกินไป
จึง มีความจำเป็นต้องกระจายเชื้อเพลิงไปยังประเภทอื่น ๆ มากขึ้น ซึ่งนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มีนโยบายชัดเจนว่า ในแผนระยะกลาง เพื่อลดความเสี่ยงของประเทศต้องรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านในช่วง 20 ปี เพิ่มเป็น 20,000 เมกะวัตต์ รวมไปถึงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศโดยเอกชน
Cr: ภาพสวยๆจาก Teenoi Sam
จาก https://www.facebook.com/groups/1412754209008751/permalink/1566426900308147/