สวัสดีค่ะ กระทู้นี้เป็นกระทู้การเดินทางกระทู้แรกค่ะ เอาที่เราไปสัมผัสจริงๆ ได้มีโอกาสไปเยือนหลายครั้งเนื่องจากการทำวิจัย "รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จังหวัดตราด"ค่ะ อาจจะไม่คุ้นกับคำว่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ขออนุญาตขยายความค่ะ หมายถึง การท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวมีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้ วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชุมชน ไม่ได้ไปพยายามเปลี่ยนแหล่งอาศัยของคนในชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนำเม็ดเงินเข้าไปแล้วกลายเป็นปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือวิธีการทำมาหากินของคนในชุมชนนะคะ
อาจจะมีอะไรที่ตกหล่นหรือเกินไปบ้างก็ขออภัยไว้ล่วงหน้านะคะ หากใครมีสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเติม โปรดแนะนำได้เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
รีวิวนี้มีทั้งภาพถ่าย ภาพวาดสีน้ำ และก็ภาพลายเส้นนะคะ ^^
ตราด อาจจะเป็นจังหวัดที่หลายคนรู้จักแต่ไม่เคยไปหรืออาจจะไม่อยู่ในลิสต์ของสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเท่าไหร่นัก เจ้าของกระทู้เองก็เป็นหนึ่งในคนที่ไม่เคยเที่ยวตราด ไม่รู้ว่าตราดมีอะไรให้เที่ยว นอกจากเดินทางข้ามไปเกาะช้าง เกาะกูด เกาะกระดาดหรือเกาะหมาก ถ้าคุณเป็นคนที่คิดแบบนี้ วันนี้จะขออนุญาตนำท่านไปสู่การเดินทางท่องเที่ยวตราด ที่ไม่ใช่มีแค่เกาะค่ะ
การบันทึกของคนไทย
สมัยอยุธยามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองตราดที่ปรากฏชัดเจน ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร (พ.ศ. 2133-2148) ปรากฏชื่อ บ้านบางพระ บนแผนที่ ขณะนั้นยังไม่ตั้งเป็นเมืองตราด ปัจจุบันคือ ตำบลบางพระ เขตเทศบาลเมืองตราด
รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าประสาททอง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตรากฎหมายพระธรรมนูญ พ.ศ. 2179 ปรากฏชื่อเมืองตราดหรือ เมืองทุ่งใหญ่ เป็นครั้งแรก โดยอยู่ในสังกัดโกษาธิบดี (คลัง) ใช้ตราบัวแก้วขึ้นตรงกับพระยาศรีธรรมราชเดโชชาติ ผู้มีหน้าที่ดูแลกิจการคลังและกิจการต่างประเทศ
หลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่าราชสำนักอยุธยาให้ความสำคัญกับเมืองตราดในฐานเมืองท่า ชายฝั่งทะเลตะวันออกของราชอณาจักร ซึ่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยฯจากป่า ซี่งเป็นสินค้าส่งออกสำคีญในสมัยนั้น มีแม่น้ำลำคลอง เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าออกสู่ทะเล ซึ่งเป็นเวิ้งอ่างกว้างใหญ่ คลื่นลมสงบ เหมาะสมแก่การจอดเรือสำเภาเพื่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร เติมน้ำจืด โดยให้เมืองตราดทำหน้าที่หัวเมืองชายทะเล คอยดูแลรักษาผลประโยชน์ทางการค้า และการตางประเทศกับพ่อค้าสำเภาต่างาชาติ โดยเฉพาะชาวจีน ซึ่งคู่ค้าที่สำคัญของอยุธยา รวมถึงการทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกศัตรูด้านตะวันออก
จังหวัดตราดเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญมากจังหวัดหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย ยุทธนาวี สงครามอินโดจีน การเข้าครอบครองอณาเขตเกิดขึ้นมากมายหลายครั้ง ณ ดินแดนแห่งนี้ หนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์บันทึกเรื่องราวของจังหวัดนี้ให้เราได้ศึกษากัน แต่พอไม่ได้สัมผัส ความรู้เหล่านั้นก็ถูกลืมเลือนไป
หลายคนมีมุมมองของการท่องเที่ยวว่าคือการพักผ่อนหย่อนใจ การไปปลดปล่อยความเครียด บรรเทาและเบาบางปัญหาและอุปสรรค หลายคนพูดว่า เอาความขมขื่นไปทิ้งทะเล แน่นอนว่าทะเลอาจเป็นจุดหมายสำหรับการโยนทิ้งปัญหาต่างๆ แต่...การเดินทางครั้งนี้ไม่เหมือนทุกครั้งค่ะ เราจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการกินของคนตราดแบบอินไซต์กัน
เรามี theme ของการเที่ยวตราดอยู่ 3 themes ให้ท่านเลือกค่ะ
1. เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านงานศิลป์
2. วัฒนธรรมและวิถีชีวิตคนตราด
3. อาหารการกินบนถิ่นตราด
ธีมแรก เรียนรู้ประวัติศาสตร์....ผ่านงานศิลป์
โดยจะนำเสนอทั้งภาพถ่าย ควบคู่กับภาพวาดสีน้ำ เอามารีวิวร่วมกับภาพถ่ายเพื่อให้เกิดมุมมองแปลกใหม่เกิดขึ้น เผื่อว่าวันนึงนักท่องเที่ยวจะสนใจเดินทางมาเที่ยวตราดบนบกกันมากขึ้นค่ะ
ก่อนจะไปเที่ยว ก็อยากจะพาท่านไปสักการะและนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองคนตราด
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด มีเสาหลักเมืองที่....ได้ให้มาตั้งไว้ มีการเคลื่อนย้าย 1 ครั้ง และหลังจากนั้นก็ไม่เคยย้ายไปที่ไหนอีกเลย และมีศิวลึงก์ที่ได้ค้นพบ....มาตั้งคู่กัน
หากต้องการขอพรให้การงานมั่นคง เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ต้องไหว้เสาหลักเมืองนะคะ แต่ถ้าต้องการให้สุขภาพแข็งแรง ขอให้หายเจ็บป่วย หายเมื่อย ต่างๆ ต้องขอจากศิวลึงก์ค่ะ อันนี้แล้วแต่ความเชื่อแต่ละบุคคลนะคะ ไม่ผิดที่จะทราบไว้เน้อะ
บรรยากาศภายในศาลฯ
เสาหลักเมือง หากจะขอพรก็มักจะขอความยิ่งใหญ่ เรื่องทั่วไป .... แต่ที่หลักเมืองตราด จะพบศิวลึงก์เก่าแก่ ถูกค้นพบที่ห้วยแร้ง อายุพุทธศตวรรษ 12-14 คู่ศิวลึงก์ให้ขอเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ ขอให้หายป่วย ให้คุณทางด้านสุขภาพ ชาวห้วยแร้งขุดเจอในสมัยร.๕ เจ้าเมืองเห็นว่าศักดิ์สิทธิ์ จึงขอมาเป็นของคู่บ้านคู่เมืองเลย เคยย้ายตอนที่ ร.๕ เสด็จประพาส โดยมีสนมนางในตามเสด็จมากมาย เจ้าเมืองเกรงว่าจะมีโทษหากให้สนามนางในได้เห็นศิวลึงก์ ซึ่งสนมนางในบางท่านอาจจะยังมีอายุน้อย ฯลฯ จึงเอาไปแอบซ่อนไว้ หลังจากนั้นก็นำกลับมาวางไว้และไม่มีการเคลื่อนย้ายไปที่ไหนอีกเลย
ได้กราบไหว้ขอพรเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็จะพาไป
ยุทธนาวีเกาะช้างค่ะ
ชื่อเกาะช้างแต่ตั้งอยู่บนตราดฝั่งค่ะ
อนุสรณ์สถานยุทธนาวีเกาะช้างสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญทาประวัติศาสตร์ชาติไทยเมื่อครั้งที่เรือหลวงธนบุรีถูกลากจูงมาเกยตื้นวันที่ 17 มกราคม 2484 จากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์กรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส รศ. 112 สืบเนื่องจากการที่ไทยเรียกร้องให้ปรับปรุงเส้นพรมแดนแบ่งเขตแดนไทย-อินโดจีนฝรั่งเศสใหม่ โดยให้ใช้แนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและหลักความยุติธรรม และให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่เคยยึดไปจากเหตุการณ์ ร.ศ.112 และกองทัพเรือได้จัดงานรำลึกวีรกรรมแห่งยุทธนาวี ในวันที่ 17-21 มกราคมของทุกปี
อาคารพิพิธภัณฑ์คล้ายเรือรบ ด้านบนมีอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ผันพระพักตร์ไปยังบริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง
ด้านในจัดแสดงข้อมูลประวัติศาสตร์ของกรมหลวงชุมพรฯ ประวัติการสู้รบของกองทัพเรือไทยกับกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศส โดยจำลองภาพเหตุการณ์เมื่อกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศสในอินโดจีนส่งกำลังทางเรือเข้ามาทางหัวเรือชายทะเลตะวันออกของไทย พร้อมเครื่องบินลาดตระเวนทางอากาศ กองทัพเรือได้จัดกำลังทางเรือปกป้องย่านน้ำไทยและปะทะกันอย่างกล้าหาญ เรือรบหลวงธนบุรีได้ยินต่อสู้จนเรือข้าศึกล่าถอย ทั้งที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจนจมสู่ก้นทะเล ครั้งนี้ได้สูญเสียทหารหาญถึง 36 นาย
สถานที่ต่อมาคือ พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ค่ะ
สถานที่รวบรวมหน้าประวัติศาสตร์ของตราดไว้เกือบครบทุกหน้า คือ พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แบ่งห้องไว้ หกส่วน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เกี่ยวกับตราดได้เต็มที่ การจัดแสดงแต่ละส่วนมีเรื่องราวและความสำคัญแตกต่างกันแต่ไม่ลดย่อความสำคัญลงเลย โดยส่วนแรกจะจัดแสดงพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดตราด จึงเหมาะมากที่นักท่องเที่ยวจะมาเยือนที่นี้เป็นแห่งแรกเพื่อตัดสินใจวางแผนการเดินทางได้แม่นยำ
พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด เป็นสถานที่ที่ควรได้รับการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเป็นแหล่งแรก ตัวพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับการส่งมอบจากกรมศิลปากรและเปิดให้เยี่ยมชมมาตั้งแต่ปลายปี 2556 (หลังจากปิดปรับปรุงเนื่องจากเกิดไฟไหม้และตัวอาคารซึ่งเป็นไม้ ได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด) โดยส่งมอบให้ทางจังหวัดเป็นผู้ดูแลต่อไป ดังนั้น พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด มิใช่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเหมือนจังหวัดอื่นๆ ที่กรมศิลปากรดูแลอย่างต่อเนื่อง
การเก็บกู้ถ้วยชามจากการอับปางของเรือสำเภาที่มาทำการค้ากับชาวไทยในสมัยนั้น ชาวไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมเก็บหรืองมวัตถุโบราณ แต่เมื่อข่าวแพร่สะพัดไปจนถึงหูชาวสิงคโปร์ นักธุรกิจชาวสิงคโปร์กลับให้ความสนใจและจ้างชาวบ้านมาเก็บกู้โบราณวัตถุไปเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีบางส่วนที่ชาวบ้านพบแล้วนำมามอบเพื่อจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด
อาคารเรือนไม้หลังนี้บันทึกเรื่องราวของชาวตราดไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ชาวตราดที่ผสมผสานชาติพันธุ์อย่างหลากหลายแต่ลงตัว เช่น ชาวชอง ชาวมุสลิม ชาวญวน ชาวจีน ซึ่งอพยพมาจากหลากหลายพื้นที่ แต่มาตั้งรกรากอาศัยพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย การอพยพแต่ละครั้งมีประวัติศาสตร์ที่พ่วงมาด้วย ซึ่งจะขอเล่าต่อไปค่ะ
ขอนำเสนอความภาคภูมิใจของชาวตราดผ่านชุมชนบ้านน้ำเชื่ยว ชุมชนสองศาสนาที่อยู่ร่วมกันมาเกือบศตวรรษ
ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวมีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวมาก และชาวบ้านในชุมชนมีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว กลุ่มดูงาน นักเรียน เพราะมี homestay ที่กว้างขวาง และใหญ่พอที่จะรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทั้งนี้ พบว่า ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว แต่อาจขาดการสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว จึงยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างเท่าที่ควร
บ้านน้ำเชี่ยวมีเอกลักษณ์ที่เป็นชุมชนชาวประมง เป็นชุมชนที่มีสีสันสดใส เห็นได้ถึงความรู้สึกสนุกสนาน มีชีวิตชีวาของคนในชุมชน
ถ้ามีเวลาว่าง ลองเดินเข้าไปในชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว ไปดูวิถีชีวิตประมงของคนในชุมชนแล้ว ก็อย่าลืมชิมรสมืออาหารทะเลแสนอร่อยของคนที่นี่กันนะคะ รับรองอร่อยจริง ๆ อาหารทะเลขึ้นชื่อของตราดที่หาได้ที่นี่ที่เดียว คือ หอยปากเป็ด กินได้ทั้งตัว
ขอรีวิวต่อด้านล่างนะคะ จะเกิน 10000 ตัวอักษรละค่ะ
[SR] SR เยือนถิ่นประวัติศาสตร์ผ่านงานศิลป์ เช็คอิน @ ตราด
อาจจะมีอะไรที่ตกหล่นหรือเกินไปบ้างก็ขออภัยไว้ล่วงหน้านะคะ หากใครมีสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มเติม โปรดแนะนำได้เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
รีวิวนี้มีทั้งภาพถ่าย ภาพวาดสีน้ำ และก็ภาพลายเส้นนะคะ ^^
ตราด อาจจะเป็นจังหวัดที่หลายคนรู้จักแต่ไม่เคยไปหรืออาจจะไม่อยู่ในลิสต์ของสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเท่าไหร่นัก เจ้าของกระทู้เองก็เป็นหนึ่งในคนที่ไม่เคยเที่ยวตราด ไม่รู้ว่าตราดมีอะไรให้เที่ยว นอกจากเดินทางข้ามไปเกาะช้าง เกาะกูด เกาะกระดาดหรือเกาะหมาก ถ้าคุณเป็นคนที่คิดแบบนี้ วันนี้จะขออนุญาตนำท่านไปสู่การเดินทางท่องเที่ยวตราด ที่ไม่ใช่มีแค่เกาะค่ะ
สมัยอยุธยามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองตราดที่ปรากฏชัดเจน ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร (พ.ศ. 2133-2148) ปรากฏชื่อ บ้านบางพระ บนแผนที่ ขณะนั้นยังไม่ตั้งเป็นเมืองตราด ปัจจุบันคือ ตำบลบางพระ เขตเทศบาลเมืองตราด
รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าประสาททอง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตรากฎหมายพระธรรมนูญ พ.ศ. 2179 ปรากฏชื่อเมืองตราดหรือ เมืองทุ่งใหญ่ เป็นครั้งแรก โดยอยู่ในสังกัดโกษาธิบดี (คลัง) ใช้ตราบัวแก้วขึ้นตรงกับพระยาศรีธรรมราชเดโชชาติ ผู้มีหน้าที่ดูแลกิจการคลังและกิจการต่างประเทศ
หลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่าราชสำนักอยุธยาให้ความสำคัญกับเมืองตราดในฐานเมืองท่า ชายฝั่งทะเลตะวันออกของราชอณาจักร ซึ่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยฯจากป่า ซี่งเป็นสินค้าส่งออกสำคีญในสมัยนั้น มีแม่น้ำลำคลอง เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าออกสู่ทะเล ซึ่งเป็นเวิ้งอ่างกว้างใหญ่ คลื่นลมสงบ เหมาะสมแก่การจอดเรือสำเภาเพื่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร เติมน้ำจืด โดยให้เมืองตราดทำหน้าที่หัวเมืองชายทะเล คอยดูแลรักษาผลประโยชน์ทางการค้า และการตางประเทศกับพ่อค้าสำเภาต่างาชาติ โดยเฉพาะชาวจีน ซึ่งคู่ค้าที่สำคัญของอยุธยา รวมถึงการทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกศัตรูด้านตะวันออก
จังหวัดตราดเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญมากจังหวัดหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย ยุทธนาวี สงครามอินโดจีน การเข้าครอบครองอณาเขตเกิดขึ้นมากมายหลายครั้ง ณ ดินแดนแห่งนี้ หนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์บันทึกเรื่องราวของจังหวัดนี้ให้เราได้ศึกษากัน แต่พอไม่ได้สัมผัส ความรู้เหล่านั้นก็ถูกลืมเลือนไป
หลายคนมีมุมมองของการท่องเที่ยวว่าคือการพักผ่อนหย่อนใจ การไปปลดปล่อยความเครียด บรรเทาและเบาบางปัญหาและอุปสรรค หลายคนพูดว่า เอาความขมขื่นไปทิ้งทะเล แน่นอนว่าทะเลอาจเป็นจุดหมายสำหรับการโยนทิ้งปัญหาต่างๆ แต่...การเดินทางครั้งนี้ไม่เหมือนทุกครั้งค่ะ เราจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการกินของคนตราดแบบอินไซต์กัน
เรามี theme ของการเที่ยวตราดอยู่ 3 themes ให้ท่านเลือกค่ะ
1. เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านงานศิลป์
2. วัฒนธรรมและวิถีชีวิตคนตราด
3. อาหารการกินบนถิ่นตราด
ธีมแรก เรียนรู้ประวัติศาสตร์....ผ่านงานศิลป์
โดยจะนำเสนอทั้งภาพถ่าย ควบคู่กับภาพวาดสีน้ำ เอามารีวิวร่วมกับภาพถ่ายเพื่อให้เกิดมุมมองแปลกใหม่เกิดขึ้น เผื่อว่าวันนึงนักท่องเที่ยวจะสนใจเดินทางมาเที่ยวตราดบนบกกันมากขึ้นค่ะ
ก่อนจะไปเที่ยว ก็อยากจะพาท่านไปสักการะและนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองคนตราด
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด มีเสาหลักเมืองที่....ได้ให้มาตั้งไว้ มีการเคลื่อนย้าย 1 ครั้ง และหลังจากนั้นก็ไม่เคยย้ายไปที่ไหนอีกเลย และมีศิวลึงก์ที่ได้ค้นพบ....มาตั้งคู่กัน
หากต้องการขอพรให้การงานมั่นคง เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ต้องไหว้เสาหลักเมืองนะคะ แต่ถ้าต้องการให้สุขภาพแข็งแรง ขอให้หายเจ็บป่วย หายเมื่อย ต่างๆ ต้องขอจากศิวลึงก์ค่ะ อันนี้แล้วแต่ความเชื่อแต่ละบุคคลนะคะ ไม่ผิดที่จะทราบไว้เน้อะ
บรรยากาศภายในศาลฯ
เสาหลักเมือง หากจะขอพรก็มักจะขอความยิ่งใหญ่ เรื่องทั่วไป .... แต่ที่หลักเมืองตราด จะพบศิวลึงก์เก่าแก่ ถูกค้นพบที่ห้วยแร้ง อายุพุทธศตวรรษ 12-14 คู่ศิวลึงก์ให้ขอเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ ขอให้หายป่วย ให้คุณทางด้านสุขภาพ ชาวห้วยแร้งขุดเจอในสมัยร.๕ เจ้าเมืองเห็นว่าศักดิ์สิทธิ์ จึงขอมาเป็นของคู่บ้านคู่เมืองเลย เคยย้ายตอนที่ ร.๕ เสด็จประพาส โดยมีสนมนางในตามเสด็จมากมาย เจ้าเมืองเกรงว่าจะมีโทษหากให้สนามนางในได้เห็นศิวลึงก์ ซึ่งสนมนางในบางท่านอาจจะยังมีอายุน้อย ฯลฯ จึงเอาไปแอบซ่อนไว้ หลังจากนั้นก็นำกลับมาวางไว้และไม่มีการเคลื่อนย้ายไปที่ไหนอีกเลย
ได้กราบไหว้ขอพรเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็จะพาไป ยุทธนาวีเกาะช้างค่ะ
ชื่อเกาะช้างแต่ตั้งอยู่บนตราดฝั่งค่ะ
อนุสรณ์สถานยุทธนาวีเกาะช้างสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญทาประวัติศาสตร์ชาติไทยเมื่อครั้งที่เรือหลวงธนบุรีถูกลากจูงมาเกยตื้นวันที่ 17 มกราคม 2484 จากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์กรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส รศ. 112 สืบเนื่องจากการที่ไทยเรียกร้องให้ปรับปรุงเส้นพรมแดนแบ่งเขตแดนไทย-อินโดจีนฝรั่งเศสใหม่ โดยให้ใช้แนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและหลักความยุติธรรม และให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่เคยยึดไปจากเหตุการณ์ ร.ศ.112 และกองทัพเรือได้จัดงานรำลึกวีรกรรมแห่งยุทธนาวี ในวันที่ 17-21 มกราคมของทุกปี
อาคารพิพิธภัณฑ์คล้ายเรือรบ ด้านบนมีอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ผันพระพักตร์ไปยังบริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง
ด้านในจัดแสดงข้อมูลประวัติศาสตร์ของกรมหลวงชุมพรฯ ประวัติการสู้รบของกองทัพเรือไทยกับกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศส โดยจำลองภาพเหตุการณ์เมื่อกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศสในอินโดจีนส่งกำลังทางเรือเข้ามาทางหัวเรือชายทะเลตะวันออกของไทย พร้อมเครื่องบินลาดตระเวนทางอากาศ กองทัพเรือได้จัดกำลังทางเรือปกป้องย่านน้ำไทยและปะทะกันอย่างกล้าหาญ เรือรบหลวงธนบุรีได้ยินต่อสู้จนเรือข้าศึกล่าถอย ทั้งที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจนจมสู่ก้นทะเล ครั้งนี้ได้สูญเสียทหารหาญถึง 36 นาย
สถานที่ต่อมาคือ พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ค่ะ
สถานที่รวบรวมหน้าประวัติศาสตร์ของตราดไว้เกือบครบทุกหน้า คือ พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แบ่งห้องไว้ หกส่วน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เกี่ยวกับตราดได้เต็มที่ การจัดแสดงแต่ละส่วนมีเรื่องราวและความสำคัญแตกต่างกันแต่ไม่ลดย่อความสำคัญลงเลย โดยส่วนแรกจะจัดแสดงพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดตราด จึงเหมาะมากที่นักท่องเที่ยวจะมาเยือนที่นี้เป็นแห่งแรกเพื่อตัดสินใจวางแผนการเดินทางได้แม่นยำ
พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด เป็นสถานที่ที่ควรได้รับการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเป็นแหล่งแรก ตัวพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับการส่งมอบจากกรมศิลปากรและเปิดให้เยี่ยมชมมาตั้งแต่ปลายปี 2556 (หลังจากปิดปรับปรุงเนื่องจากเกิดไฟไหม้และตัวอาคารซึ่งเป็นไม้ ได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด) โดยส่งมอบให้ทางจังหวัดเป็นผู้ดูแลต่อไป ดังนั้น พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด มิใช่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเหมือนจังหวัดอื่นๆ ที่กรมศิลปากรดูแลอย่างต่อเนื่อง
การเก็บกู้ถ้วยชามจากการอับปางของเรือสำเภาที่มาทำการค้ากับชาวไทยในสมัยนั้น ชาวไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมเก็บหรืองมวัตถุโบราณ แต่เมื่อข่าวแพร่สะพัดไปจนถึงหูชาวสิงคโปร์ นักธุรกิจชาวสิงคโปร์กลับให้ความสนใจและจ้างชาวบ้านมาเก็บกู้โบราณวัตถุไปเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีบางส่วนที่ชาวบ้านพบแล้วนำมามอบเพื่อจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด
อาคารเรือนไม้หลังนี้บันทึกเรื่องราวของชาวตราดไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ชาวตราดที่ผสมผสานชาติพันธุ์อย่างหลากหลายแต่ลงตัว เช่น ชาวชอง ชาวมุสลิม ชาวญวน ชาวจีน ซึ่งอพยพมาจากหลากหลายพื้นที่ แต่มาตั้งรกรากอาศัยพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย การอพยพแต่ละครั้งมีประวัติศาสตร์ที่พ่วงมาด้วย ซึ่งจะขอเล่าต่อไปค่ะ
ขอนำเสนอความภาคภูมิใจของชาวตราดผ่านชุมชนบ้านน้ำเชื่ยว ชุมชนสองศาสนาที่อยู่ร่วมกันมาเกือบศตวรรษ
ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวมีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวมาก และชาวบ้านในชุมชนมีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว กลุ่มดูงาน นักเรียน เพราะมี homestay ที่กว้างขวาง และใหญ่พอที่จะรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทั้งนี้ พบว่า ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว แต่อาจขาดการสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว จึงยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างเท่าที่ควร
บ้านน้ำเชี่ยวมีเอกลักษณ์ที่เป็นชุมชนชาวประมง เป็นชุมชนที่มีสีสันสดใส เห็นได้ถึงความรู้สึกสนุกสนาน มีชีวิตชีวาของคนในชุมชน
ถ้ามีเวลาว่าง ลองเดินเข้าไปในชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว ไปดูวิถีชีวิตประมงของคนในชุมชนแล้ว ก็อย่าลืมชิมรสมืออาหารทะเลแสนอร่อยของคนที่นี่กันนะคะ รับรองอร่อยจริง ๆ อาหารทะเลขึ้นชื่อของตราดที่หาได้ที่นี่ที่เดียว คือ หอยปากเป็ด กินได้ทั้งตัว
ขอรีวิวต่อด้านล่างนะคะ จะเกิน 10000 ตัวอักษรละค่ะ
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น