รหัสพันธุกรรม มันเหมือนเลขฐาน 2 ในคอมพิวเตอร์ไหมครับ

กระทู้คำถาม
มันคล้ายๆ กันไหมครับ  ที่คู่เบส จับตัวกันหลายๆคู่  ซ้อนกันเป็นโครงสร้างข้อมูล stack เมื่อเอาไปแปลงเป็น ยีน
ก็จะเป็นอ็อบเจ็ตคุณลักษณะพันธุกรรม

อ็อบเจ็ตคุณลักษณะพันธุกรรม จะสร้างโนดต่อไป เมื่อได้ชุดข้อมูลจากอีกโครโมโซม เพื่อกำหนิดทิศทางของโนดข้อมูล เป็นโครงสร้างข้อมูล Hash map เพื่อที่จะแสดงผลลัพท์ปลายทางนั้นคือ พฤติกรรมและรูปแบบสิ่งมีชีวิต

โดยพฤติกรรมปลายทางหรือสภาพแวดล้อมเป็นตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลต่อโครงสร้าง DNA
ทำให้เกิดลักษณะเด่นและด้อยในยีนบางชุด แต่ไม่มียีนตัวใดถูกทำลาย ก็เหมือน CLR ในคอมพิวเตอร์ที่ค่อยตรวจว่าอ็อบเจ็ตใดทำงานหรือไม่ทำงาน เมื่อผ่านไป 3 รุ่น ก็จะทำลายอ็อบเจ็ตนั้น แต่สำหรับ อ็อบเจ็ตพันธุกรรม เมื่อยาวเกินไปจะสร้าง โครโมโซมชุดใหม่ โดยเหตุที่มันต้องมีเป็นคู่เพราะ ชุดหนึ่งเก็บข้อมูลดั้งเดิมที่เป็นอยู่ ณ ขนาดนั้น และอีกชุดเป็น property ค่อยปรับเปลี่ยนโครงสร้าง จากภายนอก  โดยนิวเคียสเป็นโฟลเดอร์เก็บข้อมูล

สมมุติ สิ่งชีวิตอาศัยกลางแสงแดด  เป็นผลจากสภาพแวดล้อม ความร้อนรังสีส่งผลต่อ  เซลล์จะ interface กับโครโมโซม  จะค่อยส่งข้อมูลแปลงเป็นตัวแปรเข้าออก ไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง DNA โดย true false  ยีนบางชุด หรือสร้างยีนใหม่

โดยเซลล์จำนวนมาก ส่วนใหญ่ที่โดนผลกระทบ จะมีค่าอนาล็อก ที่ไม่ได้เป็นตัวแปรชุดข้อมูล เหมือนกันๆหลายอย่าง นั้นคือ ความร้อนแสงแดด รังสี ....

เซลล์จะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับค่าอนาล็อก  ที่จะกำหนดชนิดตัวแปรและขนาดตัวแปร และสร้างเป็นตัวแปรข้อมูลดิจิตอล(ดิจิตอล ฉบับ DNA ที่ไม่ได้มีแค่ 0 กับ 1) ที่จะส่งเข้าไปเป็นโครงสร้างข้อมูลให้กับ DNA

เมื่อสร้างเซลล์ใหม่ ชุดข้อมูลโครงสร้าง DNA จะต่างจากเซลล์เก่า โดยปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด
และ ถ้าเซลล์ที่เกิดใหม่มีโครงสร้าง DNA ต่างจากเซลล์ดั้งเดิม มีจำนวนเซลล์มากพอๆกับเซลล์เก่า จะส่งผลให้เห็นความแตกต่างและพฤติกรรมให้เห็นชัดเจน
(เซลล์ผิวหนังจะมีโครงสร้าง DNA เหมือนกับเซลล์สมองแต่จะ true false  ลักษณะยีนบางตัว ที่ใช้งานเท่านั้น ? )

ตอนนี้มีใคร สามารถถอดรหัส ให้เป็นภาษามนุษย์เข้าใจได้หมครับ แบบที่  ภาษาโปรแกรม เป็น เลขฐาน 2 ได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ชีววิทยา
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่