'ก่อหรือแก้'
มีสโลแกนดังในยุคที่ท่านอาจารย์ยังเป็นนักเรียน ซึ่งท่านฟังแล้วรู้สึกประทับใจมากและฝังใจมาโดยตลอด
“If you are not part of the solution, then you are part of the problem”
“เรามีทางเลือกว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา หรือจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
เราอยู่เฉยๆ หรือกลางๆ ไม่ได้หรอก ถ้าเราไม่ช่วยแก้ เราก็ช่วยก่อ”
ในสมัยนั้นมีปัญหาสังคมมากมาย ทั้งเรื่องความยากจนและความรุนแรงซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านอาจารย์สนใจ
ท่านสนใจเรื่องการปฏิรูปสังคม ทำอย่างไรสังคมจึงจะดีขึ้น ทำให้คนยากจนและการเอารัดเอาเปรียบลดน้อยลง ท่านอยากจะช่วยสังคม
การออกบวชนั้นไม่ใช่จะเลิกสนใจปัญหาเหล่านี้ ท่านเข้าใจและเชื่อว่า ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดจากจิตใจของมนุษย์
การแก้ที่ระบบการปกครองและการจัดระเบียบสังคมคงจะไม่ถึงรากเหง้าของปัญหา ถ้าจิตใจของคนยังเต็มไปด้วยโลภ โกรธ หลง
ระบบใดๆ ก็ตามจะค่อยๆ เสื่อมไป เพราะระบบต่างๆ ไม่มีอะไรนอกจากผู้ที่อยู่ในระบบ และถ้าผู้อยู่ในระบบขาดคุณธรรม
ระบบนั้นจะบังคับให้คนมีคุณธรรมไม่ได้
ฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จิตใจมนุษย์ เราจึงต้องฝึกและพัฒนาจิต
แต่ก่อนที่เราจะพัฒนาจิตใจของคนอื่นได้ เราต้องพัฒนาจิตใจของเราเองก่อน
ท่านอาจารย์จึงออกบวชโดยหวังความสงบ หวังปัญญา และหวังการพ้นทุกข์ส่วนตัว
แต่ในขณะเดียวกันท่านถือว่าเป็นการช่วยสังคม และเป็นการช่วยเพื่อนมนุษย์ที่ดีที่สุดด้วย
อย่างน้อยที่สุด ท่านก็ได้งดเว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น
แต่ถ้าดีกว่านั้น ท่านก็จะได้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องความเป็นมนุษย์ และจะได้แบ่งปันความรู้นั้นให้คนอื่นต่อไป
ท่านอาจารย์แนะนำให้เราตั้งอุดมการณ์เหมือนท่านว่า
ชาตินี้ขอเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปัญหา ขอเป็นผู้ช่วยแก้ปัญหา อย่าได้เป็นผู้ก่อปัญหาเลย
--
ที่มา: 'เรื่องท่านเล่า' หนังสือรวมนิทานที่พระอาจารย์ชยสาโรเมตตาเล่าไว้ เรียบเรียงโดย ศรีวรา อิสสระ
https://www.facebook.com/jayasaro.panyaprateep.org?fref=nf
“If you are not part of the solution, then you are part of the problem”
มีสโลแกนดังในยุคที่ท่านอาจารย์ยังเป็นนักเรียน ซึ่งท่านฟังแล้วรู้สึกประทับใจมากและฝังใจมาโดยตลอด
“If you are not part of the solution, then you are part of the problem”
“เรามีทางเลือกว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา หรือจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
เราอยู่เฉยๆ หรือกลางๆ ไม่ได้หรอก ถ้าเราไม่ช่วยแก้ เราก็ช่วยก่อ”
ในสมัยนั้นมีปัญหาสังคมมากมาย ทั้งเรื่องความยากจนและความรุนแรงซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านอาจารย์สนใจ
ท่านสนใจเรื่องการปฏิรูปสังคม ทำอย่างไรสังคมจึงจะดีขึ้น ทำให้คนยากจนและการเอารัดเอาเปรียบลดน้อยลง ท่านอยากจะช่วยสังคม
การออกบวชนั้นไม่ใช่จะเลิกสนใจปัญหาเหล่านี้ ท่านเข้าใจและเชื่อว่า ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดจากจิตใจของมนุษย์
การแก้ที่ระบบการปกครองและการจัดระเบียบสังคมคงจะไม่ถึงรากเหง้าของปัญหา ถ้าจิตใจของคนยังเต็มไปด้วยโลภ โกรธ หลง
ระบบใดๆ ก็ตามจะค่อยๆ เสื่อมไป เพราะระบบต่างๆ ไม่มีอะไรนอกจากผู้ที่อยู่ในระบบ และถ้าผู้อยู่ในระบบขาดคุณธรรม
ระบบนั้นจะบังคับให้คนมีคุณธรรมไม่ได้
ฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จิตใจมนุษย์ เราจึงต้องฝึกและพัฒนาจิต
แต่ก่อนที่เราจะพัฒนาจิตใจของคนอื่นได้ เราต้องพัฒนาจิตใจของเราเองก่อน
ท่านอาจารย์จึงออกบวชโดยหวังความสงบ หวังปัญญา และหวังการพ้นทุกข์ส่วนตัว
แต่ในขณะเดียวกันท่านถือว่าเป็นการช่วยสังคม และเป็นการช่วยเพื่อนมนุษย์ที่ดีที่สุดด้วย
อย่างน้อยที่สุด ท่านก็ได้งดเว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น
แต่ถ้าดีกว่านั้น ท่านก็จะได้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องความเป็นมนุษย์ และจะได้แบ่งปันความรู้นั้นให้คนอื่นต่อไป
ท่านอาจารย์แนะนำให้เราตั้งอุดมการณ์เหมือนท่านว่า
ชาตินี้ขอเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปัญหา ขอเป็นผู้ช่วยแก้ปัญหา อย่าได้เป็นผู้ก่อปัญหาเลย
--
ที่มา: 'เรื่องท่านเล่า' หนังสือรวมนิทานที่พระอาจารย์ชยสาโรเมตตาเล่าไว้ เรียบเรียงโดย ศรีวรา อิสสระ
https://www.facebook.com/jayasaro.panyaprateep.org?fref=nf