ไอ้ตัวเราก็ผ่านละครมาหลายยุคหลายสมัยนะ กำลังนึกถึงละครเกี่ยวกับอาชีพในไทยว่ามีอะไรบ้าง เอาเท่าที่จำได้
กว่าจะสวมหมวกขาว ... เรื่องนี้เคยได้ยินชื่ออยู่ แต่ไม่ทันได้ดู หรือ แม่ไม่ให้ดู (จำไม่ได้) แต่น่าจะเป็นตอนเด็กมากแหละ
สารวัตรใหญ่ เอ๊ะ หรือ เลือดเข้าตา .... ตีแผ่วงการตำรวจ (ลืมเนื้อหาไปแหล่ว) เหมือนเรื่องนี้มีประท้วงด้วยนะ
นายร้อยสอยดาว .... เรื่องนี้ดูอยู่ตอนเรียนป.ตรี แต่แหมมันมาตอนเวลากินข้าวพอดี อยู่หอเพื่อนมาเรียกก็ต้องลงไปกินข้าว
จะบอกเพื่อนว่า เพื่อนคะ ดั๊นติดละครมันก็ออกจะมากไป แต่สนุกดีนะ เรื่องเกี่ยวกับชีวิตนักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย
ก็ได้เห็นชีวิตส่วนหนึ่งว่าในโรงเรียนนายร้อยเขาหัดอะไรกัน แม้ไม่ถึงกับลงรายละเอียดมากมาก แต่ก็พอเห็นได้
จินตปาตี .... จะว่าละครอาชีพตรง ๆ ก็ไม่เชิง แต่ถือเป็นละครการเมืองเรื่องแรก(ที่เราดู)ของไทย คือมันอาจจะมีเรื่องอื่น
ที่มีมาก่อน(ไหม) เรื่องนี้ส่วนตัวเราว่าเป็นหนึ่งก้าวที่เราอยากให้ละครไทยเป็น เป็นละครไทยเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่พ่อ
กับแม่นั่งดูด้วย และ อนุญาตให้เราดูแม้ละครเรื่องนี้จะมาวันพุธพฤหัส(ซึ่งเป็นวันธรรมดา) รายละเอียดในลงอาชีพอาจจะ
ไม่เยอะนัก แต่ฉากบังคับของละครไทย (สะดุดล้มจูบกัน กอดกัน ) แทบไม่มี ตอนที่ดูคือสัมผัสได้ว่าทุกคนดูมีวุฒิภาวะ
มีความรู้ ทำงานทำการ มีฉากที่แสดงความสามารถตามอาชีพอยู่ตามสมควร มีเซ็นแฟ้มกับประชุมเป็น basic แต่ก็มีช็อต
ให้รู้ถึงไหวพริบของคุณเม้าท์ในการเป็นนักข่าวและคอลัมภ์นิส รวมถึงโชว์ความนุ่มนวลที่แฝงไว้ด้วยความเด็ดขาดของคุณภูมัย
ในฐานะนักการฑูต
จริง ๆ ก็คิดว่าอารมณ์คล้าย ๆ แอบรักออนไลน์นิด ๆ แต่ จินตปาตี ใจความหลักไม่ได้วิ่งวนอยู่ที่เรื่องราวความรัก แต่พูดถึง
การทุจริตนักการเมือง แล้วประกบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกนางเอก คือ คุณภูมัย และ คุณจิน (ตามคุณภูมัยเรียก)
สำหรับเราแล้ว "จินตปาตี" น่าจะเป็นละครที่บาลานซ์เรื่องสาระและบันเทิงไว้ด้วยกันอย่างลงตัวที่สุดนะ ในสมัยนั้นก็ไม่รู้
เหมือนกันว่ากระแสเป็นยังไง อินเตอร์เน็ตน่ะมีแล้วแต่ยังไม่แพร่หลาย 56k อยู่เล้ย
ส่วนเรื่องต่อจากนั้นถ้าเป็นละครที่ทำให้เห็นภาพคนประกอบอาชีพชัด ๆ ยังนึกไม่ออกเหมือนกัน กรณี "สงครามนางฟ้า" อันนั้นไม่คิดว่ามันคือ "ละครอาชีพ" นะ แต่เป็นเมโลดราม่าที่ตัวละครมีอาชีพเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ซึ่งเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ค่อนข้างจะน้อย เน้นไปที่การแย่งชิงกัปตันพี่หนิงและการตบตีกับน้องเชอรี่(ชื่อเชอรี่เนอะ) การแก่งแย่งชิงดีในทางเรื่องผู้ชายเป็นส่วนมากก่อให้เกิดการประท้วงจากผู้ประกอบอาชีพนี้ เรื่องการประท้วงกับละครในเรื่องเกี่ยวกับอาชีพนี่ นอกจากสงครามนางฟ้า
กำลังคิดได้อีกเรื่องนึง ... นักศึกษาก็ถือเป็นอาชีพเนอะ สมัยนั้นเรื่อง "คุณชาย" ที่มีตัวละครอย่าง "เต้ย" เด็กชายซึ่งพ่อแม่เลี้ยงมาอย่างเกินฐานะ ก็ไม่ใช่ว่าที่บ้านจะจนอะไรฐานะปานกลางแต่พ่อแม่ก็อยากเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูก "เต้ย" จึงเข้าข่ายลูกเทวดาไป เต้ยเรียนเก่งแต่ดูถูกคนอื่น หรูหราไปกับรสนิยมวิไลที่สังคมปลูกฝังและพ่อแม่ก็เห็นดี และ ตอนนั้นเองที่ในละครนั้นมนุษย์เหยียดคนอื่นอย่างเต้มีตรามหาวิทยาลัยชื่อดังแปะหน้าผากอยู่ คือสวมชุดนิสิตของมหาชลัยแห่งหนึ่ง จึงมีการประท้วงเกิดขึ้นมาอีก อ้อ แล้วก็เรื่องนั้นที่มีการตัดจบ (แต่อันนี้การเมืองล้วน ๆ อย่าเพิ่งไปยุ่งกะมันเลยเนอะ)
เอ๊ออออ เกือบลืม เกมริษยา มารขาวมารดำ เรื่องแสบแซ่บในออฟฟิศ ฟาดกันทั้งเรื่องงาน และ เรื่องส่วนตัว สะท้อนชีวิตคนทำงานสายอสังหาฯ ทั้งบุ๋นบู๊มีครบครัน แต่เผอิญว่าไม่ได้อยู่ช่องหลัก (คนเลยไม่ค่อยรู้จัก)
ข้อถกเถียงเรื่องตัวละครไม่มีอาชีพนี่มีมาเรื่อย ๆ คิดว่าแรงกระเพื่อมจากการประท้วงที่ผ่าน ๆ มาคงทำให้คนทำละครลำบากมากขึ้น อาจจะทำให้การทำละครที่คาบเกี่ยวกับแวดวงอาชีพหาย ๆ ไปบ้าง คิดอีกที ไม่บ้างแล้วล่ะนะ หายไปเยอะ นอกจากเกมริษยาแล้ว ส่วนตัวคิดว่ายังหาละครที่เด่นเรื่องความรักควบคู่ไปกับอาชีพไม่ได้เลย มักจะเด่นเรื่องความรักแล้วงานเป็นน้ำจิ้มไปเสียทุกที บางทีงานไม่มีเลย อีกอย่างพิจารณาแล้วคนดูสนใจเรื่องโรแมนติคมากกว่าเรื่องหนักหัว ฟิน อิน จิ้นกันไป อาจจะเป็นเพราะการโฟกัสเรื่องไปที่เรื่องรักด้วยนี่แหละมั้ง ทำให้เรื่องสาระการงานที่อยู่ในเรื่องโดนกลบไปจนไม่มีใครพูดถึง หรือ เห็นความสำคัญ พอคนดูไม่เห็นความสำคัญคนทำก็ไม่เห็นความสำคัญด้วย ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นต้องสื่อสาร และ เมื่อไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นต้องสื่อสารเลยไม่พิถีพิถันแสดงออกกันผิด ๆ ไปก็มีบ่อย (กระทู้หมอในละครขึ้นกระทู้แนะนำถี่อยู่ช่วงนึงเลย ประมาณว่ารักษาแบบนี้ คนไข้ตายน่ะถูกแล้ว อะไรทำนองนี้)
แล้วมันก็วนกลับมาเป็นลูปเดิมคือทำไมตัวละครไทยไม่มีอาชีพ
ถึงมีอาชีพก็ไม่บ่งเลยว่าเป็นคนที่อยู่ในสายอาชีพนั้นจริง ๆ
สุดท้าย ... อาชีพในละครไทยส่วนใหญ่(ไม่ทุกเรื่องนะ)
เลยออกแนว
เป็นนักธุรกิจเซ็นแต่แฟ้มกะประชุม
เป็นคุณหมอก็มีบทแค่มารายงานอาการคนป่วย
คนดูบางกลุ่มก็เรียกร้องว่า เอ่อ ใจคอจะไม่ให้เขาทำงานทำการกันเลยหรืออย่างไร ใจคอจะแตะเรื่องอาชีพแค่นี้เหรอ ให้มันดูเป็นงานเป็นการเหมือนชีวิตจริงหน่อยจะได้ไหม ? ก็วนเข้าลูปเดิมว่าแตะเรื่องอาชีพมันลำบาก เดี๋ยวมีประทงประท้วงอีก อันนี้ก็ข้อหนึ่ง แต่เราว่าอีกข้อหนึ่งคือมันใช้เวลาและแรงงานมากเลย research workshop ดี ๆ ทั้งนั้น ตัวละลายทรัพย์ ถ้าไม่รู้ก็ต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญมา แต่อันนั้นยกไว้ก่อนเป็นเรื่องทางโปรดัคชั่น เอาเป็นว่าปัญหาที่จะจะอยู่ตอนนี้ก็คงเรื่องข้อขัดแย้งของคนประกอบอาชีพเพราะมีเคสให้เห็นมาแล้ว
ส่วนตัวเราคิดว่ามันธรรมดาที่คนในองค์กรจะ defend องค์กรตัวเอง หรือ คนอยู่ในอาชีพไหนก็คงคล้าย ๆ กัน ไม่อยากให้คนมองในแง่ไม่ดี โดยเฉพาะองค์กรเก่าแก่มีชื่อเสียง ถ้าเป็นวงธุรกิจนี่ไม่เท่าไหร่ธรรมชาติองค์กรทางเอกชนยืดหยุ่นอยู่ ไม่ได้มีหน้ามีชื่อต้องรักษา แล้วมันก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงด้วย เพราะฉะนั้นการฟาดฟันกันในบริษัทเอกชน ไม่ว่าธุรกิจประเภทไหน ๆ ก็ไม่ค่อยมีคนประท้วง ผิดกับองค์กรที่มาแบบดิ่งเดี่ยว องค์กรรัฐ องค์กรวิชาชีพ สถานศึกษา เขาก็มีภาพมีอะไรของเขาอยู่ ก็น่าเห็นใจอยู่ประมาณนึงนะ เพราะภาพที่ออกไปทางสื่อมันมี impact ไม่น้อยเลย ปัญหาประเด็นนี้เราคิดว่ามันอยู่ที่บท
สังเกตเอาว่าถ้าเป็นละครที่จะตีแผ่เรื่องอาชีพ มักจะใช้ conflict ในลักษณะฉันถูกเธอผิด มาในแนวตีแผ่ความเลวร้ายดำมืดขององค์กร หรือ อาชีพตลอด หรือ บางทีผลักคนในอีกอาชีพนึงเป็นคนเลวไปเลย คนที่อยู่ในอาชีพนั้น ๆ ก็คงมีบ้างที่เป็นเดือดเป็นร้อน ก็ใจเขาใจเรานะ ก็เลยคิดว่าถ้าอยากจะทำละครเกี่ยวกับอาชีพละก็ในเมื่อรู้ว่าองค์กรเขา defend ทำไมไม่ลองทำละครที่ไม่ได้มี conflict ในลักษณะผลักใครไปเป็นผู้ร้ายล่ะ ผูกเรื่องได้ไหมว่ากว่าจะทำงานในอาชีพนั้นอาชีพนี้จะต้องทำยังไงต้องผ่านอะไรต้องฝึกอะไร แล้วให้องค์กรเหล่านั้นมาเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นแหล่งข้อมูล ใคร ๆ ก็คงอยากให้คนทั่วไปรู้จักองค์กร และ รู้จักแบบข้อมูลถูกต้อง คิดว่านะ
ยกตัวอย่างละครอาชีพในประเทศแถบเอเชียอย่างญี่ปุ่น เอาเป็นวงจรอาชีพในสายการบินก่อนเลย ครบพอดี มีตั้งแต่แอร์ กราวน์ ATC นักบินซึ่งไอเดียในการทำละครแนวอาชีพนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
1. ถ้าอยากจะอยู่ในอาชีพนี้ต้องทำอะไร เช่น
Attention Please เป็นละครร่วมมือระหว่างสถานีโทรทัศน์ Fuji กับ JAL (ไม่ให้น้อยหน้าอีกสถานนึงคือ TBS ที่ประสานกับ ANA) กับการฝึกเป็นแอร์จากเดสาวพังก์ร็อคคนหนึ่งซึ่งไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการเป็นแอร์เลย แค่ไปสนามบินส่งเพื่อน แล้วเห็นว่าเพื่อนผู้ชายเหลือบแลไปทางแอร์สาว ๆ สวย ๆ ใส่เครื่องแบบ แค่นั้นแหละแรงบันดาลใจของเธอ แต่กว่าเธอจะได้ติดปีก ... เธอเรียนรู้อะไรมากกว่ายูนิฟอร์มที่เธอเห็นวันนั้นมากนัก (ของเราถ้าเป็นสถานี ... ร่วมกับ โหวว สายการบินบ้านเราเยอะนะ สายการบินแห่งชาติ โลว์คอสผุดเป็นดอกเห็ดเราว่าถ้ามีโปรเจคเค้าน่าจะช่วยเหลือได้นะ ดีไม่ดีอาจจะส่งแอร์มารับเชิญก็ได้)
Miss Pilot อันนี้โฆษณา ANA มาเต็ม (เรื่องแรกคือ Good Luck) กับเด็กผู้หญิงที่เพิ่งเรียนจบมหาลัยแล้วก็ยังไม่รู้ว่าต้องการอะไรในชีวิต ก็เลยมาสมัครเป็นนักบินแล้วดันติด เธอไม่พร้อมที่สุดในกลุ่ม ช้าที่สุดในกลุ่ม ด้อยที่สุดในกลุ่ม แต่ทำไมเธอติดสองขีดเป็น co-pilot สายการบินพาณิชย์ได้ ? อันนี้มันแสดงให้เห็นนะ เวลาผูกเรื่องเขาไม่ฟาดฟันองค์กร เขาไม่ judge ใครดีเลว แต่เขาสร้าง conflict ให้ตัวเอกฟาดฟันปัญหา ปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวเองนี่แหละ
2. เมื่ออยู่ในอาชีพนี้แล้วต้องเจออะไร
Good Luck (co ระหว่าง TBS กับ ANA)พูดถึง co-pilot หนุ่มน้อยไฟแรงใจร้อนใจเร็วหัวแข็งแต่ไม่ก้าวร้าว นี่ก็จบช้าที่สุดในรุ่น ทุกวันคือการเผชิญสถานการณ์กับความไม่แน่ไม่นอนบนท้องฟ้า ไม่ได้ฟันกับใคร ไม่ได้มีอะไรกับองค์กร แต่เรื่องนี้จะมีเส้นเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติที่ไม่ตรงกันระหว่างหน่วย audit ในสายการบิน กับ ตัวเอก เหมือนกันไม่ judge แค่ความคิดไม่ตรงกัน มองคนละมุม ส่วนคนรอบ ๆ ข้างมีความคิดแบบ neutral คือมองกลางแบบคนนอกจริง ๆ
Tokyo Airpot (ได้รับความร่วมมือจากท่าอากาศยานฮาเนดะ) เรื่องนี้พูดถึงหญิงสาวที่เคยทำงานกราวน์แล้วผันตัวไปเป็น ATC เพราะเหตุส่วนตัว เข้ามาทำงานที่หอคอยฮาเนดะเป็นวันแรก นี่ก็ทุกวันคือการเผชิญสถานการณ์ เส้นเรื่องคือการปฏิบัติงานจัดระบบการจราจรทางอากาศ ซึ่งแต่ละคนมีสไตล์ วิธีการเรียงเครื่องบินไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะนางเอกวางเส้นทางเหมือนมั่วแต่ได้ผลดี ทำให้เห็นว่างานนี้ก็เป็นอาร์ตอย่างหนึ่ง จุดเด่นของเรื่องนี้คือ ศัพท์เทคนิคเยอะมาก และ ต้องพูดไวมาก นักแสดงเก่งจริง ๆ เทรนมาดีทุกคนชนิดดูละครแล้วไปเปิดคลิป ATC จริง ๆ ยังคิดว่าเนียนใช้ได้
เราว่าถ้าเปลี่ยน paradigm การเขียนบทให้เป็นแนวนี้น่าจะขจัดปัญหาเกี่ยวกับการร้องเรียนขององค์กรได้นะ เส้นเรื่องอาจจะคล้ายคลึงแต่เราเปลี่ยนรายละเอียดเปลี่ยนอาชีพได้ เปลี่ยนสถานการณ์ก็ได้ คิดว่าไม่น่าเบื่อ และ ได้ความรู้ด้วย
ใครมีอะไรก็ลองแชร์ได้นะ เผื่อมีผู้จัด มีคนเขียนบทมาอ่าน
เมื่อพูดถึงละครไทยกับอาชีพของตัวละคร
กว่าจะสวมหมวกขาว ... เรื่องนี้เคยได้ยินชื่ออยู่ แต่ไม่ทันได้ดู หรือ แม่ไม่ให้ดู (จำไม่ได้) แต่น่าจะเป็นตอนเด็กมากแหละ
สารวัตรใหญ่ เอ๊ะ หรือ เลือดเข้าตา .... ตีแผ่วงการตำรวจ (ลืมเนื้อหาไปแหล่ว) เหมือนเรื่องนี้มีประท้วงด้วยนะ
นายร้อยสอยดาว .... เรื่องนี้ดูอยู่ตอนเรียนป.ตรี แต่แหมมันมาตอนเวลากินข้าวพอดี อยู่หอเพื่อนมาเรียกก็ต้องลงไปกินข้าว
จะบอกเพื่อนว่า เพื่อนคะ ดั๊นติดละครมันก็ออกจะมากไป แต่สนุกดีนะ เรื่องเกี่ยวกับชีวิตนักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย
ก็ได้เห็นชีวิตส่วนหนึ่งว่าในโรงเรียนนายร้อยเขาหัดอะไรกัน แม้ไม่ถึงกับลงรายละเอียดมากมาก แต่ก็พอเห็นได้
จินตปาตี .... จะว่าละครอาชีพตรง ๆ ก็ไม่เชิง แต่ถือเป็นละครการเมืองเรื่องแรก(ที่เราดู)ของไทย คือมันอาจจะมีเรื่องอื่น
ที่มีมาก่อน(ไหม) เรื่องนี้ส่วนตัวเราว่าเป็นหนึ่งก้าวที่เราอยากให้ละครไทยเป็น เป็นละครไทยเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่พ่อ
กับแม่นั่งดูด้วย และ อนุญาตให้เราดูแม้ละครเรื่องนี้จะมาวันพุธพฤหัส(ซึ่งเป็นวันธรรมดา) รายละเอียดในลงอาชีพอาจจะ
ไม่เยอะนัก แต่ฉากบังคับของละครไทย (สะดุดล้มจูบกัน กอดกัน ) แทบไม่มี ตอนที่ดูคือสัมผัสได้ว่าทุกคนดูมีวุฒิภาวะ
มีความรู้ ทำงานทำการ มีฉากที่แสดงความสามารถตามอาชีพอยู่ตามสมควร มีเซ็นแฟ้มกับประชุมเป็น basic แต่ก็มีช็อต
ให้รู้ถึงไหวพริบของคุณเม้าท์ในการเป็นนักข่าวและคอลัมภ์นิส รวมถึงโชว์ความนุ่มนวลที่แฝงไว้ด้วยความเด็ดขาดของคุณภูมัย
ในฐานะนักการฑูต
จริง ๆ ก็คิดว่าอารมณ์คล้าย ๆ แอบรักออนไลน์นิด ๆ แต่ จินตปาตี ใจความหลักไม่ได้วิ่งวนอยู่ที่เรื่องราวความรัก แต่พูดถึง
การทุจริตนักการเมือง แล้วประกบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกนางเอก คือ คุณภูมัย และ คุณจิน (ตามคุณภูมัยเรียก)
สำหรับเราแล้ว "จินตปาตี" น่าจะเป็นละครที่บาลานซ์เรื่องสาระและบันเทิงไว้ด้วยกันอย่างลงตัวที่สุดนะ ในสมัยนั้นก็ไม่รู้
เหมือนกันว่ากระแสเป็นยังไง อินเตอร์เน็ตน่ะมีแล้วแต่ยังไม่แพร่หลาย 56k อยู่เล้ย
ส่วนเรื่องต่อจากนั้นถ้าเป็นละครที่ทำให้เห็นภาพคนประกอบอาชีพชัด ๆ ยังนึกไม่ออกเหมือนกัน กรณี "สงครามนางฟ้า" อันนั้นไม่คิดว่ามันคือ "ละครอาชีพ" นะ แต่เป็นเมโลดราม่าที่ตัวละครมีอาชีพเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ซึ่งเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ค่อนข้างจะน้อย เน้นไปที่การแย่งชิงกัปตันพี่หนิงและการตบตีกับน้องเชอรี่(ชื่อเชอรี่เนอะ) การแก่งแย่งชิงดีในทางเรื่องผู้ชายเป็นส่วนมากก่อให้เกิดการประท้วงจากผู้ประกอบอาชีพนี้ เรื่องการประท้วงกับละครในเรื่องเกี่ยวกับอาชีพนี่ นอกจากสงครามนางฟ้า
กำลังคิดได้อีกเรื่องนึง ... นักศึกษาก็ถือเป็นอาชีพเนอะ สมัยนั้นเรื่อง "คุณชาย" ที่มีตัวละครอย่าง "เต้ย" เด็กชายซึ่งพ่อแม่เลี้ยงมาอย่างเกินฐานะ ก็ไม่ใช่ว่าที่บ้านจะจนอะไรฐานะปานกลางแต่พ่อแม่ก็อยากเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูก "เต้ย" จึงเข้าข่ายลูกเทวดาไป เต้ยเรียนเก่งแต่ดูถูกคนอื่น หรูหราไปกับรสนิยมวิไลที่สังคมปลูกฝังและพ่อแม่ก็เห็นดี และ ตอนนั้นเองที่ในละครนั้นมนุษย์เหยียดคนอื่นอย่างเต้มีตรามหาวิทยาลัยชื่อดังแปะหน้าผากอยู่ คือสวมชุดนิสิตของมหาชลัยแห่งหนึ่ง จึงมีการประท้วงเกิดขึ้นมาอีก อ้อ แล้วก็เรื่องนั้นที่มีการตัดจบ (แต่อันนี้การเมืองล้วน ๆ อย่าเพิ่งไปยุ่งกะมันเลยเนอะ)
เอ๊ออออ เกือบลืม เกมริษยา มารขาวมารดำ เรื่องแสบแซ่บในออฟฟิศ ฟาดกันทั้งเรื่องงาน และ เรื่องส่วนตัว สะท้อนชีวิตคนทำงานสายอสังหาฯ ทั้งบุ๋นบู๊มีครบครัน แต่เผอิญว่าไม่ได้อยู่ช่องหลัก (คนเลยไม่ค่อยรู้จัก)
ข้อถกเถียงเรื่องตัวละครไม่มีอาชีพนี่มีมาเรื่อย ๆ คิดว่าแรงกระเพื่อมจากการประท้วงที่ผ่าน ๆ มาคงทำให้คนทำละครลำบากมากขึ้น อาจจะทำให้การทำละครที่คาบเกี่ยวกับแวดวงอาชีพหาย ๆ ไปบ้าง คิดอีกที ไม่บ้างแล้วล่ะนะ หายไปเยอะ นอกจากเกมริษยาแล้ว ส่วนตัวคิดว่ายังหาละครที่เด่นเรื่องความรักควบคู่ไปกับอาชีพไม่ได้เลย มักจะเด่นเรื่องความรักแล้วงานเป็นน้ำจิ้มไปเสียทุกที บางทีงานไม่มีเลย อีกอย่างพิจารณาแล้วคนดูสนใจเรื่องโรแมนติคมากกว่าเรื่องหนักหัว ฟิน อิน จิ้นกันไป อาจจะเป็นเพราะการโฟกัสเรื่องไปที่เรื่องรักด้วยนี่แหละมั้ง ทำให้เรื่องสาระการงานที่อยู่ในเรื่องโดนกลบไปจนไม่มีใครพูดถึง หรือ เห็นความสำคัญ พอคนดูไม่เห็นความสำคัญคนทำก็ไม่เห็นความสำคัญด้วย ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นต้องสื่อสาร และ เมื่อไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นต้องสื่อสารเลยไม่พิถีพิถันแสดงออกกันผิด ๆ ไปก็มีบ่อย (กระทู้หมอในละครขึ้นกระทู้แนะนำถี่อยู่ช่วงนึงเลย ประมาณว่ารักษาแบบนี้ คนไข้ตายน่ะถูกแล้ว อะไรทำนองนี้)
ถึงมีอาชีพก็ไม่บ่งเลยว่าเป็นคนที่อยู่ในสายอาชีพนั้นจริง ๆ
สุดท้าย ... อาชีพในละครไทยส่วนใหญ่(ไม่ทุกเรื่องนะ)
เลยออกแนว
เป็นนักธุรกิจเซ็นแต่แฟ้มกะประชุม
เป็นคุณหมอก็มีบทแค่มารายงานอาการคนป่วย
คนดูบางกลุ่มก็เรียกร้องว่า เอ่อ ใจคอจะไม่ให้เขาทำงานทำการกันเลยหรืออย่างไร ใจคอจะแตะเรื่องอาชีพแค่นี้เหรอ ให้มันดูเป็นงานเป็นการเหมือนชีวิตจริงหน่อยจะได้ไหม ? ก็วนเข้าลูปเดิมว่าแตะเรื่องอาชีพมันลำบาก เดี๋ยวมีประทงประท้วงอีก อันนี้ก็ข้อหนึ่ง แต่เราว่าอีกข้อหนึ่งคือมันใช้เวลาและแรงงานมากเลย research workshop ดี ๆ ทั้งนั้น ตัวละลายทรัพย์ ถ้าไม่รู้ก็ต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญมา แต่อันนั้นยกไว้ก่อนเป็นเรื่องทางโปรดัคชั่น เอาเป็นว่าปัญหาที่จะจะอยู่ตอนนี้ก็คงเรื่องข้อขัดแย้งของคนประกอบอาชีพเพราะมีเคสให้เห็นมาแล้ว
ส่วนตัวเราคิดว่ามันธรรมดาที่คนในองค์กรจะ defend องค์กรตัวเอง หรือ คนอยู่ในอาชีพไหนก็คงคล้าย ๆ กัน ไม่อยากให้คนมองในแง่ไม่ดี โดยเฉพาะองค์กรเก่าแก่มีชื่อเสียง ถ้าเป็นวงธุรกิจนี่ไม่เท่าไหร่ธรรมชาติองค์กรทางเอกชนยืดหยุ่นอยู่ ไม่ได้มีหน้ามีชื่อต้องรักษา แล้วมันก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงด้วย เพราะฉะนั้นการฟาดฟันกันในบริษัทเอกชน ไม่ว่าธุรกิจประเภทไหน ๆ ก็ไม่ค่อยมีคนประท้วง ผิดกับองค์กรที่มาแบบดิ่งเดี่ยว องค์กรรัฐ องค์กรวิชาชีพ สถานศึกษา เขาก็มีภาพมีอะไรของเขาอยู่ ก็น่าเห็นใจอยู่ประมาณนึงนะ เพราะภาพที่ออกไปทางสื่อมันมี impact ไม่น้อยเลย ปัญหาประเด็นนี้เราคิดว่ามันอยู่ที่บท
สังเกตเอาว่าถ้าเป็นละครที่จะตีแผ่เรื่องอาชีพ มักจะใช้ conflict ในลักษณะฉันถูกเธอผิด มาในแนวตีแผ่ความเลวร้ายดำมืดขององค์กร หรือ อาชีพตลอด หรือ บางทีผลักคนในอีกอาชีพนึงเป็นคนเลวไปเลย คนที่อยู่ในอาชีพนั้น ๆ ก็คงมีบ้างที่เป็นเดือดเป็นร้อน ก็ใจเขาใจเรานะ ก็เลยคิดว่าถ้าอยากจะทำละครเกี่ยวกับอาชีพละก็ในเมื่อรู้ว่าองค์กรเขา defend ทำไมไม่ลองทำละครที่ไม่ได้มี conflict ในลักษณะผลักใครไปเป็นผู้ร้ายล่ะ ผูกเรื่องได้ไหมว่ากว่าจะทำงานในอาชีพนั้นอาชีพนี้จะต้องทำยังไงต้องผ่านอะไรต้องฝึกอะไร แล้วให้องค์กรเหล่านั้นมาเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นแหล่งข้อมูล ใคร ๆ ก็คงอยากให้คนทั่วไปรู้จักองค์กร และ รู้จักแบบข้อมูลถูกต้อง คิดว่านะ
ยกตัวอย่างละครอาชีพในประเทศแถบเอเชียอย่างญี่ปุ่น เอาเป็นวงจรอาชีพในสายการบินก่อนเลย ครบพอดี มีตั้งแต่แอร์ กราวน์ ATC นักบินซึ่งไอเดียในการทำละครแนวอาชีพนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
1. ถ้าอยากจะอยู่ในอาชีพนี้ต้องทำอะไร เช่น
Attention Please เป็นละครร่วมมือระหว่างสถานีโทรทัศน์ Fuji กับ JAL (ไม่ให้น้อยหน้าอีกสถานนึงคือ TBS ที่ประสานกับ ANA) กับการฝึกเป็นแอร์จากเดสาวพังก์ร็อคคนหนึ่งซึ่งไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการเป็นแอร์เลย แค่ไปสนามบินส่งเพื่อน แล้วเห็นว่าเพื่อนผู้ชายเหลือบแลไปทางแอร์สาว ๆ สวย ๆ ใส่เครื่องแบบ แค่นั้นแหละแรงบันดาลใจของเธอ แต่กว่าเธอจะได้ติดปีก ... เธอเรียนรู้อะไรมากกว่ายูนิฟอร์มที่เธอเห็นวันนั้นมากนัก (ของเราถ้าเป็นสถานี ... ร่วมกับ โหวว สายการบินบ้านเราเยอะนะ สายการบินแห่งชาติ โลว์คอสผุดเป็นดอกเห็ดเราว่าถ้ามีโปรเจคเค้าน่าจะช่วยเหลือได้นะ ดีไม่ดีอาจจะส่งแอร์มารับเชิญก็ได้)
Miss Pilot อันนี้โฆษณา ANA มาเต็ม (เรื่องแรกคือ Good Luck) กับเด็กผู้หญิงที่เพิ่งเรียนจบมหาลัยแล้วก็ยังไม่รู้ว่าต้องการอะไรในชีวิต ก็เลยมาสมัครเป็นนักบินแล้วดันติด เธอไม่พร้อมที่สุดในกลุ่ม ช้าที่สุดในกลุ่ม ด้อยที่สุดในกลุ่ม แต่ทำไมเธอติดสองขีดเป็น co-pilot สายการบินพาณิชย์ได้ ? อันนี้มันแสดงให้เห็นนะ เวลาผูกเรื่องเขาไม่ฟาดฟันองค์กร เขาไม่ judge ใครดีเลว แต่เขาสร้าง conflict ให้ตัวเอกฟาดฟันปัญหา ปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวเองนี่แหละ
2. เมื่ออยู่ในอาชีพนี้แล้วต้องเจออะไร
Good Luck (co ระหว่าง TBS กับ ANA)พูดถึง co-pilot หนุ่มน้อยไฟแรงใจร้อนใจเร็วหัวแข็งแต่ไม่ก้าวร้าว นี่ก็จบช้าที่สุดในรุ่น ทุกวันคือการเผชิญสถานการณ์กับความไม่แน่ไม่นอนบนท้องฟ้า ไม่ได้ฟันกับใคร ไม่ได้มีอะไรกับองค์กร แต่เรื่องนี้จะมีเส้นเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติที่ไม่ตรงกันระหว่างหน่วย audit ในสายการบิน กับ ตัวเอก เหมือนกันไม่ judge แค่ความคิดไม่ตรงกัน มองคนละมุม ส่วนคนรอบ ๆ ข้างมีความคิดแบบ neutral คือมองกลางแบบคนนอกจริง ๆ
Tokyo Airpot (ได้รับความร่วมมือจากท่าอากาศยานฮาเนดะ) เรื่องนี้พูดถึงหญิงสาวที่เคยทำงานกราวน์แล้วผันตัวไปเป็น ATC เพราะเหตุส่วนตัว เข้ามาทำงานที่หอคอยฮาเนดะเป็นวันแรก นี่ก็ทุกวันคือการเผชิญสถานการณ์ เส้นเรื่องคือการปฏิบัติงานจัดระบบการจราจรทางอากาศ ซึ่งแต่ละคนมีสไตล์ วิธีการเรียงเครื่องบินไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะนางเอกวางเส้นทางเหมือนมั่วแต่ได้ผลดี ทำให้เห็นว่างานนี้ก็เป็นอาร์ตอย่างหนึ่ง จุดเด่นของเรื่องนี้คือ ศัพท์เทคนิคเยอะมาก และ ต้องพูดไวมาก นักแสดงเก่งจริง ๆ เทรนมาดีทุกคนชนิดดูละครแล้วไปเปิดคลิป ATC จริง ๆ ยังคิดว่าเนียนใช้ได้
เราว่าถ้าเปลี่ยน paradigm การเขียนบทให้เป็นแนวนี้น่าจะขจัดปัญหาเกี่ยวกับการร้องเรียนขององค์กรได้นะ เส้นเรื่องอาจจะคล้ายคลึงแต่เราเปลี่ยนรายละเอียดเปลี่ยนอาชีพได้ เปลี่ยนสถานการณ์ก็ได้ คิดว่าไม่น่าเบื่อ และ ได้ความรู้ด้วย
ใครมีอะไรก็ลองแชร์ได้นะ เผื่อมีผู้จัด มีคนเขียนบทมาอ่าน